การศึกษาเรื่องการวิเคราะห์ราคาทางเทคนิคเพื่อใช้ในการลงทุนหรือเก็งกำไร ก็เพื่อให้เราทราบสิ่งที่สำคัญ 3 เรื่องหลักๆคือ
1. แนวโน้มราคาในปัจจุบัน อยู่ในแนวโน้มอะไร เพื่อจะได้วางแผนการกลยุทธ์ในลงทุนที่ถูกต้อง
2. โมเมนตัม หรือราคามีความเร็วในการเปลี่ยนแปลงขึ้นหรือลงมากน้อยแค่ไหน และแรงซื้อแรงขาย ( Demand & Supply ) ฝ่ายใดกำลังได้เปรียบหรือเสียเปรียบอยู่ และสัญญาณเตือนความขัดแย้งของราคากับโมเมนตัม
3. รูปแบบราคา กำลังอยู่ในรูปแบบการกลับตัว หรือรูปแบบการพักตัว
ทั้ง 3 เรื่องนี้เป็นหัวใจหลักสำหรับการศึกษาเทคนิเคิล ซึ่งแต่ละข้อจะมีวิธี หรือมีเทคนิคอีกมากมายในการนำมาอธิบายหรือหาคำตอบ เช่น
ข้อที่ 1 เราจะทราบว่าราคาขณะนี้อยู่ในแนวโน้มอะไร ขาขึ้น / ขาลง หรือ sideway เราก็ต้องรู้คำจำกัดความของแต่ละแนวโน้มก่อนว่า มันมีหลักการพิจารณาอย่างไร จึงจะแยกแยะได้ถูก
เมื่อเราทราบคำจำกัดความของคำว่าแนวโน้มแล้ว เราก็นำไปเปรียบเทียบดูว่าราคาหุ้นที่เราสนใจนั้น มันเข้ากับคำจำกัดความข้อไหน ก็แสดงว่าราคากำลังอยู่ในแนวโน้มนั้น ซึ่งพฤติกรรมของราคา ( Price Action) ในแต่ละแนวโน้มนั้น มันก็ทำตัวไม่เหมือนกัน มีความแข็งแรงหรือความเร็วในการเปลี่ยนแปลงของราคาในแต่ละขั้นไม่เหมือนกัน มีแรงผลักดันราคาขึ้นตามมาด้วยการขายทำกำไรสลับกันไป ตลอดช่วงราคาเป็นขาขึ้น แต่ทุกครั้งจะมีแรงซื้อดันราคากลับขึ้นไปทำ new high ได้หากแนวโน้มขาขึ้นนั้นยังไม่จบ ซึ่งก็เป็นไปตามหลักการว่าราคาต้องทำ
higher high และ higher Low ขึ้นไปเรื่อยๆ จนกว่าแนวโน้มจะเปลี่ยนไปหรือแนวโน้มขาขึ้นนั้นจบลงแล้ว
เราสามารถใช้ Trend Indicators ในการแนวโน้มได้ ซึ่งมีมากมาย ที่ง่ายที่สุดคือ เส้นค่าเฉลี่ย ซึ่งใช้บอกแนวโน้มในแต่ละระยะตามช่วงเวลาที่เราสนใจได้โดยดูการชี้ขึ้น หรือชี้ลง หรือการที่เส้นค่าเฉลี่ยอยู่ในแนวระนาบ ซึ่งก็พอบอกเราได้คร่าวๆว่า แนวโน้มในช่วงนั้นอยู่ในแนวโน้มอะไร หรืออาจเลือกใช้ Indicators บางตัวที่สามารถใช้ระบุแนวโน้มราคาได้เป็นอย่างดีว่าอยู่ในแนวโน้มอะไร และแนวโน้มราคานั้นมีความแข็งแรงมากน้อยแค่ไหน เช่นระบบ DMS ( Directional Movement System ที่ประกอบด้วย +DI , -DI และ ADX ) เป็นต้น จะเห็นว่า แค่เรื่องการที่จะระบุแนวโน้มราคาหุ้นให้ได้ก็ต้องมีหลักการพิจารณา และมีตัวช่วยบอก และมีอีกหลายตัวที่เราสามารถเลือกนำมาใช้ได้ ขึ้นกับว่าเราพอใจและถนัดในการใช้งานแค่ไหน แต่จุดประสงค์หลักคือต้องระบุแนวโน้มราคาให้เราทราบได้
ส่วนในข้อที่ 2 เรื่องโมเมนตัมนั้น เราใช้เพื่อบอก
ความเร็วของการเปลี่ยนแปลงราคาในช่วงระยะเวลาหนึ่งตามที่กำหนดในสูตร เราเรียกกลุ่มนี้ว่าเป็นกลุ่ม
Momentum Oscillators ซึ่งกลุ่มนี้ทั้งหมดจะแสดงถึงอัตราการเปลี่ยนแปลงของราคาหรือความเร็วของการวิ่งขึ้นหรือวิ่งลงของราคา หากราคามีความเร็วของการเปลี่ยนแปลงราคามากขึ้นโมเมนตัมก็จะมีค่าเพิ่มขึ้น แต่เมื่อราคาเริ่มเพิ่มขึ้นในอัตราความเร็วลดลง ค่าโมเมนตัมก็จะค่อยๆลดลง ( แม้ว่าราคาจะยังคงทรงตัว ) และราคามักจะปรับตัวลงตามโมเมนตัมในที่สุด ทำให้เรามักจะเห็น Price Action เกิดตามหลังพฤติกรรมของ Momentum Oscillators เราจึงสามารถใช้กลุ่ม Momentum Oscillators เหล่านี้ในการชี้นำทิศทางราคาในระยะสั้นได้ เราเรียกว่าเป็น
Leading Indicators หรือตัวบ่งชี้นำ
กลุ่ม indicators ที่ใช้บอก โมเมนตัมนั้นมีมากมายหลายตัว ซึ่งทุกตัวก็ใช้บอกความเร็วของการเปลี่ยนแปลงราคาทั้งนั้น เพียงแต่บอกในมุมมองและนัยยะที่แตกต่างกันไป เช่น Stochastic Oscillator นั้นใช้บอกว่าราคาหุ้นในปัจจุบันนี้มันอยู่ที่ระดับสูงต่ำแค่ไหน เทียบกับช่วงระยะ 14 วันที่ผ่านมา เช่นค่า 90-100 หมายถึงราคากำลังทำจุดสูงสุดใหม่อยู่ แต่ทำไมนักลงทุนถึงยอมซื้อที่ระดับราคาสูงนั้นต้องหาคำตอบกันเอง และค่า 90-100 ในวันนี้กับค่า 90-100 ในช่วงเดือนที่ผ่านมาราคามันอาจแตกต่างกัน 30%-50% เลยก็ได้ ในทางกลับกันค่า Stochastic < 20 ซึ่งอยู่ในภาวะ Oversold นั้น เรามักจะคิดว่าเป็นช่วงที่ราคาหุ้นถูก ซึ่งก็จริงหากเทียบกับช่วง 14 วันที่ผ่านมาเท่านั้น แต่ต่อไปอีก 14 วันราคาหุ้นอาจลงต่อจากวันนี้ได้อีกหลายสิบเปอร์เซนต์ก็ได้ คือถูกแล้วยังมีถูกกว่าอีกเรื่อยๆหากแนวโน้มราคามันเป็นขาลงอยู่ ดังนั้นการใช้ Momentum Oscillators เช่น RSI CCI STOCHASTIC กลุ่มนี้จึงเป็นกลุ่มที่ผมเจอว่ามีการนำมาใช้อย่างผิดๆมากที่สุด เพราะขาดความรู้ในการใช้งานที่ถูกต้องและขาดหลักการพิจารณาอย่างเป็นขั้นตอน ทำให้การนำมาใช้งานผิดTrend ทำให้เสียโอกาส และขาดทุนกันไป และบางคนก็พลอยโทษว่าเทคนิเคิลมันใช้ไม่ได้
หลักการใช้ Momentum Oscillators จริงๆแล้ว เราใช้เพื่อบอกว่าราคากำลังมีการเปลี่ยนแปลงเร็วมากน้อยแค่ไหน ซึ่งการที่ราคาเปลี่ยนแปลงเร็วหรือช้ามันก็เกิดจาก Demand และ Supply ของนักลงทุนว่า มีความคาดหวังกับราคาหุ้นตัวนั้นมากน้อยแค่ไหน ซึ่งตัวที่ผลักดันความต้องการซื้อและความต้องการขาย ก็คือความโลภและความกลัวในขณะนั้นนั่นเอง ที่เป็นตัวสร้าง Demand และ supply ขึ้นมา หากมี Demand มากกว่า supply ราคาหุ้นก็จะวิ่งขึ้น จะวิ่งขึ้นมากหรือน้อยก็ขึ้นกับความแตกต่างของทั้ง 2 ฝ่าย จนบางครั้งหากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีมากกว่ามากๆก็จะเกิดราคาที่เป็นช่องว่างเกิดขึ้นเราเรียกว่า GAP ซึ่ง GAPS ก็คือความไม่สมดุลระหว่าง Demand และ Supply ในขณะนั้น และยิ่งไม่สมดุลมาก gap ก็ยิ่งกว้าง ซึ่งมันจะบอกนัยยะว่านักลงทุนคาดหวังว่าทิศทางราคาต่อไปจะไปทางไหน แต่จุดหนึ่งที่จะขอเตือนคือ การเกิด GAPs ต่างๆนั้น มันมีหลายประเภท ขึ้นกับช่วงบริเวณที่เกิดว่าแนวโน้มราคาที่ผ่านมาเป็นอย่างไร ซึ่ง Gaps แต่ละแบบ ต้องถูกปิด ( หมายถึงราคากลับมาปิดช่องว่างนั้น) หรือบางแบบอาจไม่จำเป็นต้องถูกปิดก็ได้ ก็ต้องลองไปศึกษาต่อกัน
ผมค่อนข้างอึดอัดใจกับคำว่า Overbought และ Oversold สำหรับ การใช้กลุ่ม Momentum Oscillators ทั้งหลาย ที่ผมพบว่านักลงทุนมีการเข้าใจผิดและนำมาใช้กันผิดๆมากที่สุด คำว่า Overbought หรือ ภาวะ ซื้อมากเกินไปนั้น ที่จริงแล้ว ไม่ได้จำเป็นว่าต้องมีการซื้อมากเหมือนกับคำที่ใช้บอก แต่ที่จริงแล้วทั้ง RSI CCI STO นั้น ไม่มีตัวใดเลยที่จะนำเอาปริมาณการซื้อขายเข้ามาคำนวณในสูตร ซึ่งจากสูตรทั้ง 3 ตัวนี้ ใช้เพียงราคา ( อาจเป็นราคาปิด หรือราคาเฉลี่ย ก็แล้วแต่ ) มาคำนวณความเร็วในการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของราคาหรือราคาในขณะนั้นอยู่ห่างจากเส้นค่าเฉลี่ยแค่ไหนเท่านั้น ซึ่งจะไปบอกว่าซื้อมากเกินไปก็คงไม่ค่อยถูกต้องนัก น่าจะบอกว่าราคาวิ่งเร็วเกินไปมากกว่า หรือผมเรียกว่า “ Over Up Speed “ และ “ Over Down Speed “ น่าจะถูกต้องกว่าครับ( ความเห็นส่วนตัวนะครับ )
ซึ่งใช้บอกความเร็วของการเปลี่ยนแปลงราคาขึ้นและลงที่เกิดจากความโลภ(ไล่ราคาขึ้น) และความกลัว( ขายทิ้ง ) ซึ่งหากผิดปกติมากๆก็จะทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างราคาและ Momentum เกิดขึ้น เราเรียกว่า “ Divergence “ ซึ่งสามารถใช้เตือนความผิดปกติได้ และมักจะติดตามด้วยการ Correction ของราคาทุกครั้ง แต่จะรุนแรงจนเปลี่ยนเป็นการกลับตัวของราคา ( Reversal ) หรือไม่ก็ต้องขึ้นกับความโลภและความกลัวของนักลงทุนในขณะนั้นจะมีมากน้อยเพียงใดและระยะเวลานานแค่ไหน
เรานำกลุ่ม Momentum Oscillators มาใช้ร่วมกับกลุ่มที่ใช้บอกแนวโน้ม หรือ Trend Indicators ก็จะทำให้เรามีระบบที่มีทั้งตัวใช้บอกแนวโน้มราคาว่า ราคาหุ้นอยู่ในแนวโน้มไหน แล้วจึงใช้ Momentum Oscillators เป็นตัวบอกแรงซื้อแรงขายว่า ความเร็วของการเคลื่อนที่ของราคามันขึ้นเร็วหรือช้า หรือความเร็วของราคาที่ปรับตัวลงมันยังมากหรือลดน้อยลงแล้ว ซึ่งทำให้เราหาจังหวะในการเข้าลงทุนได้อย่างมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น โดยมีหลักการว่า “
ให้ลงทุนตามเทรน ห้ามเล่นสวนเทรน ” โดยหากแนวโน้มราคาเป็นขาขึ้น ให้รอซื้อช่วงราคาปรับตัวเสร็จแล้วเริ่มวิ่งขึ้นต่อตามแนวโน้มเป็นจุดเข้าซื้อ ไม่ใช่ไล่ราคาหุ้น ซึ่งเทคนิคปลีกย่อยก็จะมีอีกมากมายหลายแบบหลายเทคนิค แต่หลักใหญ่ใจความมันก็เป็นไปในแนวนี้
ส่วนเรื่องสุดท้าย คือรูปแบบราคาที่เราจะต้องทราบคือ รูปแบบการกลับตัวของราคา ( Reversal Patterns ) และรูปแบบต่อเนื่องของราคา ( Continueous Patterns ) นั้นมันมีรูปแบบอะไรบ้างที่เราพบเห็นกันบ่อยๆ
รูปแบบกลับตัว เช่น Double Top / Head & Shoulders อะไรพวกนี้ ชื่อมันก็บอกอยู่แล้วว่าอยู่แถวบนๆ ดังนั้น เมื่อราคามันจะกลับตัว ราคาตอนนั้นก็ควรอยู่บริเวณ Overbought Area ซึ่งหมายถึงราคามันขึ้นมาสูงและเร็ว ยิ่งมีการเตือนด้วย Bearish Divergence ด้วยยิ่งยืนยัน ที่เหลือก็รอสัญญาณราคาทะลุ support trendline ลงมา ก็ขายออกก่อน
ส่วนรูปแบบราคาต่อเนื่องนั้น เป็นเพียงการพักตัวของราคาเพื่อให้นักลงทุนระยะสั้นทำกำไรออกมา หลังจบการพักตัวราคาก็จะวิ่งไปตามแนวโน้มเดิมต่อไป เช่นรูปแบบ Flag / Rectangle / Triangle / Wedge / Pennant เป็นต้น แต่ละรูปแบบมันมีพฤติกรรมแตกต่างกัน ลองศึกษาค้นคว้าดูก็จะเป็นประโยชน์เช่นกัน
เรื่องรูปแบบการกลับตัวของราคานั้น หากเราศึกษาเรื่อง Candlestick มาบ้างและเข้าใจการใช้งานกันจริงๆ ก็ไม่จำเป็นต้องจำรูปแบบนับร้อย แต่ให้เข้าใจว่า รูปแบบของแต่ละแท่งเทียนนั้นมันบอกการเปลี่ยนแปลงของโมเมนตัมเทียบกับแท่งก่อนหน้าว่าเป็นอย่างไร นอกจากนี้ผมมักจะใช้ประโยชน์เรื่องแท่งเทียนในช่วงที่เกิดการกลับตัวของแนวโน้มโดยการเกิดรูปแบบกลับแบบและอยู่ในบริเวณที่เป็น Overbought/Oversold และหากมี Divergence ด้วยก็จะยิ่งยืนยันสัญญาณการกลับตัวได้แม่นยำยิ่งขึ้น
เราสามารถใช้เทคนิคหลายๆเทคนิคที่เปรียบเสมือนกระจกคนละมุมในการส่องภาพให้เราเห็นและเข้าใจในมุมต่างๆของพฤติกรรมราคาที่เกิดจากความโลภและความกลัวของนักลงทุนได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
ที่เขียนแนวทางในการศึกษาทั้ง 3 เรื่องนั้น เพื่อให้มือใหม่ หรือนักลงทุนที่กำลังศึกษาด้านเทคนิคอยู่ได้มองเห็นว่า เราควรศึกษาเพื่อให้รู้อะไรบ้าง และแต่ละเรื่องมันเกี่ยงโยงกันยังไงบ้าง จะได้มีแนวทางในการค้นคว้าหรือหาความรู้ต่อยอดไป จนเราเข้าใจในพฤติกรรมของราคา และสามารถนำมาใช้หาโอกาสในการสร้างผลตอบแทน และลดความเสี่ยงในการลงทุนได้ จนเมื่อใดก็ตามที่คุณสามารถอ่านกราฟและเข้าใจว่ามันกำลังบอกอะไรคุณ ที่เหลือก็ขึ้นกับตัวคุณที่จะเลือกจังหวะลงทุนโดยให้มี Reward : Risk สูงๆ ได้มากน้อยแค่ไหน และผลตอบแทนสูงสม่ำเสมอได้เพียงใด
สิ่งที่เราควบคุมได้ คือการใช้ความรู้ในการหาโอกาสในแต่ละช่วงจังหวะของตลาด แต่เราไม่สามารถควบคุมให้ตลาดเป็นไปตามที่เราต้องการได้ ขอเอาใจช่วยทุกคนครับ .....สวัสดีครับ
แนวทางการศึกษาการวิเคราะห์ทางเทคนิค ( อย่างย่อ )
1. แนวโน้มราคาในปัจจุบัน อยู่ในแนวโน้มอะไร เพื่อจะได้วางแผนการกลยุทธ์ในลงทุนที่ถูกต้อง
2. โมเมนตัม หรือราคามีความเร็วในการเปลี่ยนแปลงขึ้นหรือลงมากน้อยแค่ไหน และแรงซื้อแรงขาย ( Demand & Supply ) ฝ่ายใดกำลังได้เปรียบหรือเสียเปรียบอยู่ และสัญญาณเตือนความขัดแย้งของราคากับโมเมนตัม
3. รูปแบบราคา กำลังอยู่ในรูปแบบการกลับตัว หรือรูปแบบการพักตัว
ทั้ง 3 เรื่องนี้เป็นหัวใจหลักสำหรับการศึกษาเทคนิเคิล ซึ่งแต่ละข้อจะมีวิธี หรือมีเทคนิคอีกมากมายในการนำมาอธิบายหรือหาคำตอบ เช่น
ข้อที่ 1 เราจะทราบว่าราคาขณะนี้อยู่ในแนวโน้มอะไร ขาขึ้น / ขาลง หรือ sideway เราก็ต้องรู้คำจำกัดความของแต่ละแนวโน้มก่อนว่า มันมีหลักการพิจารณาอย่างไร จึงจะแยกแยะได้ถูก
เมื่อเราทราบคำจำกัดความของคำว่าแนวโน้มแล้ว เราก็นำไปเปรียบเทียบดูว่าราคาหุ้นที่เราสนใจนั้น มันเข้ากับคำจำกัดความข้อไหน ก็แสดงว่าราคากำลังอยู่ในแนวโน้มนั้น ซึ่งพฤติกรรมของราคา ( Price Action) ในแต่ละแนวโน้มนั้น มันก็ทำตัวไม่เหมือนกัน มีความแข็งแรงหรือความเร็วในการเปลี่ยนแปลงของราคาในแต่ละขั้นไม่เหมือนกัน มีแรงผลักดันราคาขึ้นตามมาด้วยการขายทำกำไรสลับกันไป ตลอดช่วงราคาเป็นขาขึ้น แต่ทุกครั้งจะมีแรงซื้อดันราคากลับขึ้นไปทำ new high ได้หากแนวโน้มขาขึ้นนั้นยังไม่จบ ซึ่งก็เป็นไปตามหลักการว่าราคาต้องทำ higher high และ higher Low ขึ้นไปเรื่อยๆ จนกว่าแนวโน้มจะเปลี่ยนไปหรือแนวโน้มขาขึ้นนั้นจบลงแล้ว
เราสามารถใช้ Trend Indicators ในการแนวโน้มได้ ซึ่งมีมากมาย ที่ง่ายที่สุดคือ เส้นค่าเฉลี่ย ซึ่งใช้บอกแนวโน้มในแต่ละระยะตามช่วงเวลาที่เราสนใจได้โดยดูการชี้ขึ้น หรือชี้ลง หรือการที่เส้นค่าเฉลี่ยอยู่ในแนวระนาบ ซึ่งก็พอบอกเราได้คร่าวๆว่า แนวโน้มในช่วงนั้นอยู่ในแนวโน้มอะไร หรืออาจเลือกใช้ Indicators บางตัวที่สามารถใช้ระบุแนวโน้มราคาได้เป็นอย่างดีว่าอยู่ในแนวโน้มอะไร และแนวโน้มราคานั้นมีความแข็งแรงมากน้อยแค่ไหน เช่นระบบ DMS ( Directional Movement System ที่ประกอบด้วย +DI , -DI และ ADX ) เป็นต้น จะเห็นว่า แค่เรื่องการที่จะระบุแนวโน้มราคาหุ้นให้ได้ก็ต้องมีหลักการพิจารณา และมีตัวช่วยบอก และมีอีกหลายตัวที่เราสามารถเลือกนำมาใช้ได้ ขึ้นกับว่าเราพอใจและถนัดในการใช้งานแค่ไหน แต่จุดประสงค์หลักคือต้องระบุแนวโน้มราคาให้เราทราบได้
ส่วนในข้อที่ 2 เรื่องโมเมนตัมนั้น เราใช้เพื่อบอก ความเร็วของการเปลี่ยนแปลงราคาในช่วงระยะเวลาหนึ่งตามที่กำหนดในสูตร เราเรียกกลุ่มนี้ว่าเป็นกลุ่ม Momentum Oscillators ซึ่งกลุ่มนี้ทั้งหมดจะแสดงถึงอัตราการเปลี่ยนแปลงของราคาหรือความเร็วของการวิ่งขึ้นหรือวิ่งลงของราคา หากราคามีความเร็วของการเปลี่ยนแปลงราคามากขึ้นโมเมนตัมก็จะมีค่าเพิ่มขึ้น แต่เมื่อราคาเริ่มเพิ่มขึ้นในอัตราความเร็วลดลง ค่าโมเมนตัมก็จะค่อยๆลดลง ( แม้ว่าราคาจะยังคงทรงตัว ) และราคามักจะปรับตัวลงตามโมเมนตัมในที่สุด ทำให้เรามักจะเห็น Price Action เกิดตามหลังพฤติกรรมของ Momentum Oscillators เราจึงสามารถใช้กลุ่ม Momentum Oscillators เหล่านี้ในการชี้นำทิศทางราคาในระยะสั้นได้ เราเรียกว่าเป็น Leading Indicators หรือตัวบ่งชี้นำ
กลุ่ม indicators ที่ใช้บอก โมเมนตัมนั้นมีมากมายหลายตัว ซึ่งทุกตัวก็ใช้บอกความเร็วของการเปลี่ยนแปลงราคาทั้งนั้น เพียงแต่บอกในมุมมองและนัยยะที่แตกต่างกันไป เช่น Stochastic Oscillator นั้นใช้บอกว่าราคาหุ้นในปัจจุบันนี้มันอยู่ที่ระดับสูงต่ำแค่ไหน เทียบกับช่วงระยะ 14 วันที่ผ่านมา เช่นค่า 90-100 หมายถึงราคากำลังทำจุดสูงสุดใหม่อยู่ แต่ทำไมนักลงทุนถึงยอมซื้อที่ระดับราคาสูงนั้นต้องหาคำตอบกันเอง และค่า 90-100 ในวันนี้กับค่า 90-100 ในช่วงเดือนที่ผ่านมาราคามันอาจแตกต่างกัน 30%-50% เลยก็ได้ ในทางกลับกันค่า Stochastic < 20 ซึ่งอยู่ในภาวะ Oversold นั้น เรามักจะคิดว่าเป็นช่วงที่ราคาหุ้นถูก ซึ่งก็จริงหากเทียบกับช่วง 14 วันที่ผ่านมาเท่านั้น แต่ต่อไปอีก 14 วันราคาหุ้นอาจลงต่อจากวันนี้ได้อีกหลายสิบเปอร์เซนต์ก็ได้ คือถูกแล้วยังมีถูกกว่าอีกเรื่อยๆหากแนวโน้มราคามันเป็นขาลงอยู่ ดังนั้นการใช้ Momentum Oscillators เช่น RSI CCI STOCHASTIC กลุ่มนี้จึงเป็นกลุ่มที่ผมเจอว่ามีการนำมาใช้อย่างผิดๆมากที่สุด เพราะขาดความรู้ในการใช้งานที่ถูกต้องและขาดหลักการพิจารณาอย่างเป็นขั้นตอน ทำให้การนำมาใช้งานผิดTrend ทำให้เสียโอกาส และขาดทุนกันไป และบางคนก็พลอยโทษว่าเทคนิเคิลมันใช้ไม่ได้
หลักการใช้ Momentum Oscillators จริงๆแล้ว เราใช้เพื่อบอกว่าราคากำลังมีการเปลี่ยนแปลงเร็วมากน้อยแค่ไหน ซึ่งการที่ราคาเปลี่ยนแปลงเร็วหรือช้ามันก็เกิดจาก Demand และ Supply ของนักลงทุนว่า มีความคาดหวังกับราคาหุ้นตัวนั้นมากน้อยแค่ไหน ซึ่งตัวที่ผลักดันความต้องการซื้อและความต้องการขาย ก็คือความโลภและความกลัวในขณะนั้นนั่นเอง ที่เป็นตัวสร้าง Demand และ supply ขึ้นมา หากมี Demand มากกว่า supply ราคาหุ้นก็จะวิ่งขึ้น จะวิ่งขึ้นมากหรือน้อยก็ขึ้นกับความแตกต่างของทั้ง 2 ฝ่าย จนบางครั้งหากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีมากกว่ามากๆก็จะเกิดราคาที่เป็นช่องว่างเกิดขึ้นเราเรียกว่า GAP ซึ่ง GAPS ก็คือความไม่สมดุลระหว่าง Demand และ Supply ในขณะนั้น และยิ่งไม่สมดุลมาก gap ก็ยิ่งกว้าง ซึ่งมันจะบอกนัยยะว่านักลงทุนคาดหวังว่าทิศทางราคาต่อไปจะไปทางไหน แต่จุดหนึ่งที่จะขอเตือนคือ การเกิด GAPs ต่างๆนั้น มันมีหลายประเภท ขึ้นกับช่วงบริเวณที่เกิดว่าแนวโน้มราคาที่ผ่านมาเป็นอย่างไร ซึ่ง Gaps แต่ละแบบ ต้องถูกปิด ( หมายถึงราคากลับมาปิดช่องว่างนั้น) หรือบางแบบอาจไม่จำเป็นต้องถูกปิดก็ได้ ก็ต้องลองไปศึกษาต่อกัน
ผมค่อนข้างอึดอัดใจกับคำว่า Overbought และ Oversold สำหรับ การใช้กลุ่ม Momentum Oscillators ทั้งหลาย ที่ผมพบว่านักลงทุนมีการเข้าใจผิดและนำมาใช้กันผิดๆมากที่สุด คำว่า Overbought หรือ ภาวะ ซื้อมากเกินไปนั้น ที่จริงแล้ว ไม่ได้จำเป็นว่าต้องมีการซื้อมากเหมือนกับคำที่ใช้บอก แต่ที่จริงแล้วทั้ง RSI CCI STO นั้น ไม่มีตัวใดเลยที่จะนำเอาปริมาณการซื้อขายเข้ามาคำนวณในสูตร ซึ่งจากสูตรทั้ง 3 ตัวนี้ ใช้เพียงราคา ( อาจเป็นราคาปิด หรือราคาเฉลี่ย ก็แล้วแต่ ) มาคำนวณความเร็วในการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของราคาหรือราคาในขณะนั้นอยู่ห่างจากเส้นค่าเฉลี่ยแค่ไหนเท่านั้น ซึ่งจะไปบอกว่าซื้อมากเกินไปก็คงไม่ค่อยถูกต้องนัก น่าจะบอกว่าราคาวิ่งเร็วเกินไปมากกว่า หรือผมเรียกว่า “ Over Up Speed “ และ “ Over Down Speed “ น่าจะถูกต้องกว่าครับ( ความเห็นส่วนตัวนะครับ )
ซึ่งใช้บอกความเร็วของการเปลี่ยนแปลงราคาขึ้นและลงที่เกิดจากความโลภ(ไล่ราคาขึ้น) และความกลัว( ขายทิ้ง ) ซึ่งหากผิดปกติมากๆก็จะทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างราคาและ Momentum เกิดขึ้น เราเรียกว่า “ Divergence “ ซึ่งสามารถใช้เตือนความผิดปกติได้ และมักจะติดตามด้วยการ Correction ของราคาทุกครั้ง แต่จะรุนแรงจนเปลี่ยนเป็นการกลับตัวของราคา ( Reversal ) หรือไม่ก็ต้องขึ้นกับความโลภและความกลัวของนักลงทุนในขณะนั้นจะมีมากน้อยเพียงใดและระยะเวลานานแค่ไหน
เรานำกลุ่ม Momentum Oscillators มาใช้ร่วมกับกลุ่มที่ใช้บอกแนวโน้ม หรือ Trend Indicators ก็จะทำให้เรามีระบบที่มีทั้งตัวใช้บอกแนวโน้มราคาว่า ราคาหุ้นอยู่ในแนวโน้มไหน แล้วจึงใช้ Momentum Oscillators เป็นตัวบอกแรงซื้อแรงขายว่า ความเร็วของการเคลื่อนที่ของราคามันขึ้นเร็วหรือช้า หรือความเร็วของราคาที่ปรับตัวลงมันยังมากหรือลดน้อยลงแล้ว ซึ่งทำให้เราหาจังหวะในการเข้าลงทุนได้อย่างมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น โดยมีหลักการว่า “ ให้ลงทุนตามเทรน ห้ามเล่นสวนเทรน ” โดยหากแนวโน้มราคาเป็นขาขึ้น ให้รอซื้อช่วงราคาปรับตัวเสร็จแล้วเริ่มวิ่งขึ้นต่อตามแนวโน้มเป็นจุดเข้าซื้อ ไม่ใช่ไล่ราคาหุ้น ซึ่งเทคนิคปลีกย่อยก็จะมีอีกมากมายหลายแบบหลายเทคนิค แต่หลักใหญ่ใจความมันก็เป็นไปในแนวนี้
ส่วนเรื่องสุดท้าย คือรูปแบบราคาที่เราจะต้องทราบคือ รูปแบบการกลับตัวของราคา ( Reversal Patterns ) และรูปแบบต่อเนื่องของราคา ( Continueous Patterns ) นั้นมันมีรูปแบบอะไรบ้างที่เราพบเห็นกันบ่อยๆ
รูปแบบกลับตัว เช่น Double Top / Head & Shoulders อะไรพวกนี้ ชื่อมันก็บอกอยู่แล้วว่าอยู่แถวบนๆ ดังนั้น เมื่อราคามันจะกลับตัว ราคาตอนนั้นก็ควรอยู่บริเวณ Overbought Area ซึ่งหมายถึงราคามันขึ้นมาสูงและเร็ว ยิ่งมีการเตือนด้วย Bearish Divergence ด้วยยิ่งยืนยัน ที่เหลือก็รอสัญญาณราคาทะลุ support trendline ลงมา ก็ขายออกก่อน
ส่วนรูปแบบราคาต่อเนื่องนั้น เป็นเพียงการพักตัวของราคาเพื่อให้นักลงทุนระยะสั้นทำกำไรออกมา หลังจบการพักตัวราคาก็จะวิ่งไปตามแนวโน้มเดิมต่อไป เช่นรูปแบบ Flag / Rectangle / Triangle / Wedge / Pennant เป็นต้น แต่ละรูปแบบมันมีพฤติกรรมแตกต่างกัน ลองศึกษาค้นคว้าดูก็จะเป็นประโยชน์เช่นกัน
เรื่องรูปแบบการกลับตัวของราคานั้น หากเราศึกษาเรื่อง Candlestick มาบ้างและเข้าใจการใช้งานกันจริงๆ ก็ไม่จำเป็นต้องจำรูปแบบนับร้อย แต่ให้เข้าใจว่า รูปแบบของแต่ละแท่งเทียนนั้นมันบอกการเปลี่ยนแปลงของโมเมนตัมเทียบกับแท่งก่อนหน้าว่าเป็นอย่างไร นอกจากนี้ผมมักจะใช้ประโยชน์เรื่องแท่งเทียนในช่วงที่เกิดการกลับตัวของแนวโน้มโดยการเกิดรูปแบบกลับแบบและอยู่ในบริเวณที่เป็น Overbought/Oversold และหากมี Divergence ด้วยก็จะยิ่งยืนยันสัญญาณการกลับตัวได้แม่นยำยิ่งขึ้น
เราสามารถใช้เทคนิคหลายๆเทคนิคที่เปรียบเสมือนกระจกคนละมุมในการส่องภาพให้เราเห็นและเข้าใจในมุมต่างๆของพฤติกรรมราคาที่เกิดจากความโลภและความกลัวของนักลงทุนได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
ที่เขียนแนวทางในการศึกษาทั้ง 3 เรื่องนั้น เพื่อให้มือใหม่ หรือนักลงทุนที่กำลังศึกษาด้านเทคนิคอยู่ได้มองเห็นว่า เราควรศึกษาเพื่อให้รู้อะไรบ้าง และแต่ละเรื่องมันเกี่ยงโยงกันยังไงบ้าง จะได้มีแนวทางในการค้นคว้าหรือหาความรู้ต่อยอดไป จนเราเข้าใจในพฤติกรรมของราคา และสามารถนำมาใช้หาโอกาสในการสร้างผลตอบแทน และลดความเสี่ยงในการลงทุนได้ จนเมื่อใดก็ตามที่คุณสามารถอ่านกราฟและเข้าใจว่ามันกำลังบอกอะไรคุณ ที่เหลือก็ขึ้นกับตัวคุณที่จะเลือกจังหวะลงทุนโดยให้มี Reward : Risk สูงๆ ได้มากน้อยแค่ไหน และผลตอบแทนสูงสม่ำเสมอได้เพียงใด สิ่งที่เราควบคุมได้ คือการใช้ความรู้ในการหาโอกาสในแต่ละช่วงจังหวะของตลาด แต่เราไม่สามารถควบคุมให้ตลาดเป็นไปตามที่เราต้องการได้ ขอเอาใจช่วยทุกคนครับ .....สวัสดีครับ