สิทธิเสรีภาพในการชุมนุม ที่ควรทำความเข้าใจ

ตาม รธน. ๕๐ มาตรา ๖๓ วรรค์ ๑
ระบุเอาไว้ว่า “บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ”

อัน คำว่า “บุคคล” ตามความหมายของ รธน.๕๐ มาตรา ๑ ถึง ๗ น่าจะมีความหมายถึงว่า บุคคล ที่สามารถใช้สิทธิในการชุมนุม ภายใต้ความคุ้มครองเสมอภาคแห่ง รธน. นี้ คือ “ผู้ที่เป็นประชาชนไทย” เท่านั้น (รธน.๕๐ ม.๕) ได้เท่านั้น อย่างในกรณี ผู้ใช้สิทธิในการชุมนุม (อย่างที่ปรากฏ) ที่เป็น “บุคคลต่างด้าว” ที่สามารถได้รับความคุ้มครอง แต่เฉพาะในส่วนของ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิเสรีภาพ และความเสมอภาค ภายใต้ รธน. (รธน.๕๐ ม.๔) ฉนั้นน่าจะสรุปได้ว่า บุคคลผู้ชุมนุม ที่มิใช่ประชาชนไทย เป็นการใช้สิทธิโดยมิชอบธรรม และไม่มี บทบัญญัติรองรับ นั่นเองครับ

คำว่า “การชุมนุม” ตามความหมายของ รธน.๕๐ น่าจะเป็นกรอบลักษณะของการรวมกลุ่ม บุคคล ที่มีจุดประสงศ์การเข้าร่วม ตามสิทธิเสรีภาพความสมัครใจ หรือเจตน์จำนงค์ของตัวเอง ที่เป็นหนึ่งเดียวกันเท่านั้น ฉนั้น การเข้าร่วมชุมนุมที่มาจากการใช้เสรีภาพในลักษณะ บังคับหรือจ้างวาน (อย่างที่ปรากฏ) ก็น่าจะเป็นการใช้สิทธิในการชุมนุม โดยมิชอบธรรม และไม่มี บทบัญญัติรองรับ เช่นกันครับ

คำว่า “โดยสงบ” ตามความหมายของ รธน.๕๐ น่าจะมีกรอบลักษณะการใช้พื้นที่สาธารณะ ในการชุมนุมเพื่อประกอบกิจกรรมการเมือง ในด้านของการแสดงความคิดเห็นหรือเรียกร้อง ในตัวบท อันเป็นสิทธิการชุมนุมเฉพาะการ ที่มิใช้พื้นที่เป็นเคหสถาน กิจวัติประจำวันส่วนบุคคล หรือ กิจกรรมเศษฐกิจใดๆ โดยมิได้รับอนุญาติได้ ฉนั้น ผู้ใช้สิทธิในการชุมนุม ที่มีกิจกรรม หรือใช้พื้นที่สาธารณะผิดลักษณะและโดยมิได้รับอนุญาติ ไม่น่าจะตีความได้ว่า เป็นการชุมนุมโดยสงบ ส่วนการให้ความสดวกจาก จนท.รัฐ ด้วยประการทั้งปวงโดยมิเป็นไปตาม ระบบขั้นตอนของการยื่นคำร้องและให้อนุญาติ ก็น่าจะเป็น กรณีปฎิบัติหรือละเว้นการปฎิบัติหน้าที่ พร้อมกันไปด้วยครับ

ส่วนคำว่า “ปราศจากอาวุธ” ตามความหมายของ รธน.๕๐ และนิติกฏหมายอาญา ไม่น่าจะหมายถึง อาวุธ โดยสภาพเท่านั้น เพราะตามตัวบทที่ว่า “การชุมนุม” ควบคู่กับ “ปราศจาก” เป็นลักษณะก่อนที่จะมีการใช้ ที่เป็นความผิดทางอาญาโดยปริยายอยู่แล้ว แต่เป็นการควบคุมมิให้บังเกิด ฉนั้นลักษณะสิ่งของหรือเครื่องมือใดๆ ที่สามารถส่อถึงการใช้เป็นอาวุธ (อย่างเช่น มีดทำกับข้าว ท่อนไม้ ก้อนหิน สิ่งแหลมคม หรือ เครื่องมือซ่อมและก่อสร้าง ฯลฯ) ที่มิได้มีความจำเป็นในการใช้หรือพกพาเพื่อการชุมนุม รวมทั้งเคยมีปรากฏการณ์การใช้ (ในคดีอาญา) มาก่อนแล้ว ก็น่าจะอยู่ในความหมายของ “อาวุธ” ทันทีครับ

จากการตีความแสดงให้เห็นว่า การชุมนุมที่บังเกิดขึ้นในขณะนี้ เป็นลักษณะของการชุมนุมที่ไม่ชอบด้วย การใช้สิทธิอำนาจคุ้มครอง ของ รธน.๕๐ อัน จนท.รัฐ สามารถให้ยุติการชุมนุม หรือดำเนินคดี ต่อผู้ละเมิดเป็นรายบุคคลได้ทันทีนั่นเอง ครับ การอนุโลมกับสิ่งเหล่านี้เป็นข้อครหา และความไม่เข้าใจกับ รบ. กับ จนท.รัฐ ของประเทศไทย อันมาจากสากลประเทศต่างๆ ที่มีระบบปกครองประชาธิปไตย ครับ เป็นไปได้ใหมว่า มาตราการการตีความหมาย ของนักนิติศาสตร์ ในประเทศไทย แตกต่างกับ สากลประเทศ นั่นเองครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่