โยนิโสมนสิการ ปัจจัยภายใน อันเป็น บุพนิมิต แห่งทางสายกลาง

อ้างความจาก กระทู้ พระพุทธเจ้าเป็นใคร ก็ได้ http://ppantip.com/topic/31084691 นะครับ

เพื่อความกระชับ สั้น ขอเริ่มการอธิบายเลยนะครับ โดยเริ่มต้นที่ ล็อกอิน ning JFK



ประเด็นแรก ที่นางคนนี้ พยายามจะ "แย้ง" ก็คือ การอ้างว่า ท่านพุทธทาส มิได้กล่าวถึง โยนิโสมนสิการ และ ปรโตโฆสะ เลยสักคำ
ผมเห็นว่า เรื่องนี้ ต้องโทษที่ "ความโง่เขลา" ของตัวมันเอง แต่เพียงผู้เดียว นะครับ !

ทั้งนี้เพราะว่าอะไร ?

ก็เพราะ ท่านพุทธทาส กล่าวเอาไว้อย่างชัดเจนแล้วว่า .................................... "อาศัย กาลามสูตร เป็นหลัก"

เมื่ออาศัยกาลามสูตรเป็นหลัก มันก็หมายความว่า  ต้อง "พิจารณาโดยแยบคาย"
เพราะหากไม่พิจารณาโดยแยบคาย(ในใจ)เสียแล้ว มันจะ "รู้" และ ตัดสินใจ ได้อย่างไรว่า สิ่งใดควรเชื่อ หรือ ไม่ควรเชื่อ ?



และถ้าหาก (มัน)จะไม่ "โง่" จนเกินไปนัก ก็สมควรทราบด้วยว่า เหตุ ๑๐ ประการ ที่ไม่พึง "ปลงใจเชื่อ" นั่นแหละ คือ ปรโตโฆสะ !

ทั้งนี้ เมื่อกล่าวสำหรับ บุคคล ทั่วไปแล้ว บุพนิมิต แห่งทางสายกลาง มี ๒ ประการ คือ
(๑) ปัจจัยภายนอก คือ ปรโตโฆสะ
(๒) ปัจจัยภายใน คือ โยนิโสมนสิการ

ถ้าเป็นกรณี คนปัญญาทราม จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมี กัลยาณมิตร เช่น พระพุทธเจ้า พระอรหันต์ ฯลฯ เป็น ปรโตโฆสะ หากหวังพ้นทุกข์
สำหรับ กรณี ผู้มีปัญญามาก ย่อมสามารถบรรลุธรรมได้ ไม่ว่า ปรโตโฆสะ จะเป็นใครก็ตาม นี่คือความแตกต่างระหว่าง บุคคล ๒ กลุ่มนี้
แต่ถ้าเป็น อัจฉริยบุคคล เช่น พระพุทธเจ้า หรือ ปัจเจกพุทธเจ้า อาศัย โยนิโสมนสิการ แต่เพียงอย่างเดียว ก็สามารถบรรลุธรรมได้

กล่าวโดยสรุป ก็คือ ถ้าหาก ขอทาน คนป่า จะไม่ใช่ พระพุทธเจ้า สำหรับคนปัญญาทราม มันก็ไม่แปลกอะไร นะครับ
เพราะสำหรับ คนโง่ เหล่านั้น ถ้าไม่ได้ กัลยาณมิตร เป็น ปรโตโฆสะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กัลยาณมิตร ชั้นดี อันดับ ๑
คือ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ฯลฯ มันจะไม่มีทางเอาตัวรอดได้เลย (ดังที่ แก และพวก แสดงเป็นตัวอย่างให้เห็นกันอยู่ นั่นปะไร)

แต่สำหรับ ผู้มีปัญญามาก สามารถกล่าวได้ว่า ปรโตโฆสะ จะเป็นใครก็ได้ โดยไม่จำเป็นว่า จะต้องหมายถึง กัลยาณมิตร เท่านั้น
หรือกล่าวอีกแบบหนึ่ง ก็คือ ปรโตโฆสะ ทั้งหมด ไม่ว่า ดี หรือ เลว ล้วนมีค่าเท่ากับ กัลยาณมิตร(ของคนปัญญาทราม) นั่นเอง

ดังนั้น เมื่อพิจารณาด้วยหลักเหตุผลแล้ว กรณีของผู้มีปัญญามาก ซึ่งสามารถใช้ โยนิโสมนสิการ ได้อย่างเต็มกำลัง
ปรโตโฆสะ ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น ขอทาน หรือ คนป่า ฯลฯ ก็มีค่าไม่ต่างไปจาก พระพุทธเจ้า ที่ "จำเป็น" สำหรับพวกปัญญาทราม แต่อย่างใด
ที่เป็นดังนี้ ก็เพราะความจำเป็นในการอาศัย ปัจจัยภายนอก(ปรโตโฆสะ) ระหว่างคนโง่ กับ คนฉลาด ย่อมมีความแตกต่างกัน เป็นธรรมดา

การที่ ล็อกอิน ning JFK เข้าใจ(ผิด)ไปเองว่า ท่านพุทธทาส มิได้กล่าวถึง โยนิโสมนสิการ และ ปรโตโฆสะ เลยนั้น
ต้องถือว่า เป็นความ "โง่เง่า" ของตัวคุณเอง เพราะสำหรับชาวพุทธโดยทั่วไป ย่อมเข้าใจเรื่องนี้ ได้เป็นอย่างดี

ชัดเจนแล้ว นะครับ

ส่วนประเด็นที่ ๒ ที่ ล็อกอิน ning JFK ระบุว่า ท่านพุทธทาส ไม่ได้ดูหมิ่นพระพุทธเจ้า แต่เกิดจากความเข้าใจผิดนั้น
ขออนุญาต กล่าวตามตรงว่า ท่านพุทธทาส ทั้ง (๑) มิได้ดูหมิ่นพระพุทธเจ้า และ (๒) มิได้เข้าใจอะไรผิด
คนที่โง่และเข้าใจผิด น่าจะเป็นตัวของแกเองเสียมากกว่า นะครับ

ที่สำคัญกว่านั้น ก็คือ ผมมิได้ ผูกโยงอะไรๆ ให้กับกับทิฐิ ของตน เพื่อปกป้อง อาจารย์ ตามที่ แก กล่าวหา นะครับ
ประการแรก ก็คือ ผมกล่าวโดยอิงอรรถอิงธรรม สามารถตรวจสอบได้ และ (๒) ท่านพุทธทาส มิใช่อาจารย์ของผม สักหน่อย
(พิจารณาข้อมูลเพิ่มเติม ได้จาก กระทู้ ก็ผมไม่ใช่ ศิษย์สวนโมกข์ นี่ครับ http://ppantip.com/topic/30953551 )

ทีหลัง ล็อกอิน ning JFK ก็อย่าได้ "กล่าวหา" ใครพล่อยๆ ด้วย "อัตตโนมัติ" โดยไม่ตรวจสอบ "ข้อมูล" ให้ดีเสียก่อน
ส่วนเรื่องปลีกย่อยอื่นๆ ที่ไร้สาระ ผมจะไม่ตอบ และ ไม่อธิบายเพิ่ม นะครับ

**********************************************************************************************

รายที่ ๒ ล็อกอิน โนเนม (หมายเลข 778626)

ขออนุญาต กล่าวตามตรงว่า ผมไม่อยากตอบอธิบาย ล็อกอิน ลักษณะนี้มากนัก เพราะขี้เกียจ "สังเกต" และ "แยกแยะ" ตัวเลข
ในกรณีของล็อกอินนี้ จะพยายาม "ฝืน" ตอบอธิบายให้มันหมดเรื่องไป จะได้ไม่มีใคร เอา "ความคิดอ่าน" ห่วยๆ แบบนี้ไปขยายต่อ



ประเด็นแรก เป็นเรื่องของความคิดแบบ "หัวมังกุ ท้ายมังกร" กล่าวคือ
หลังจากที่ "ดัดจริต" ผูกตรรกะ เพ้อเจ้อ มาเสียยืดยาว แต่เมื่อมาถึงบทสรุป มันกลับสรุปความอย่างโง่ๆ ความว่า

"เพราะหากมองอีกแง่หนึ่ง พระศาสดาตัวจริง ก็คือ พระธรรม ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นตถาคต
ดังนั้น พระพุทธเจ้าก็ยังคือพระธรรมอยู่ดี หาใช่ขอทานคนนั้นไม่"

ก่อน วิจารณ์ ข้อความ ปัญญาอ่อน ของไอ้หมอนี่ ขออนุญาต ทำความเข้าใจ ให้ตรงกันเสียก่อนว่า
แท้ที่จริงแล้ว โยนิโสมนสิการ มีความหมายอย่างเดียวกับคำว่า วิปัสสนา !



นั่นจึงหมายความว่า หากอาศัย หลักกาลามสูตร ในการพิจารณา คือ การโยนิโสมนสิการ
โดย "อรรถ" แล้วก็คือ ภาวนามยปัญญา หรือ วิปัสสนาญาณ นั่นเอง และเมื่อเป็น ปัญญา ขั้น วิปัสสนา
มันย่อมหมายถึง การพิจารณา ธรรม ทั้งหลาย ในระดับปรมัตถ์ ซึ่งปราศจาก สัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา

และเมื่อนำ "หลักการ" ดังกล่าวนี้ มาพิจารณาข้อความ "ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นตถาคต" จะได้ความหมายว่า
ตถาคต ซึ่งเป็น สมมุติบัญญัตินี้ โดยเนื้อแท้ ก็คือ ธรรม (เปรียบเทียบกับที่ตรัสว่า ธรรมกาย คือ กองธรรม นี้เป็นชื่อของพระองค์)
หากอาศัย วิปัสสนาญาณ อย่างเดียวกันนี้ พิจารณา ขอทาน หรือ คนป่า (ซึ่งก็เป็นสมมุติบัญญัติเช่นกัน) ย่อมพิจารณา ได้ความจริงว่า
เนื้อแท้แล้ว ก็คือ ปรมัตถธรรม ที่เกิดดับ ไปตาม เหตุปัจจัย โดยปราศจาก สัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา เฉกเช่นเดียวกัน !

ดังนั้น บทสรุปของเรื่องนี้ ก็คือ
พอเอาเข้าจริงแล้ว กลายเป็น ล็อกอิน โนเนม ผู้นี้นั่นและ ที่กำลังกล่าว เพ้อเจ้อ เลยเถิด อย่างปราศจากเหตุผล

ก็ถ้า พระพุทธเจ้า ก็คือ (ปรมัตถ)ธรรมหนึ่งๆ (ในอารมณ์วิปัสสนา) ที่เกิดดับ ไปตาม เหตุปัจจัย
ขอทาน หรือ คนป่า ก็คือ (ปรมัตถ)ธรรมหนึ่งๆ  (ในอารมณ์วิปัสสนา) ที่เกิดดับ ไปตาม เหตุปัจจัย

แล้วจะยังมากล่าวอย่างโง่ๆ ถึงความแตกต่างระหว่าง พระพุทธเจ้า กับ ขอทาน
ในการพิจารณา ธรรม เหล่านั้น ด้วย โยนิโสมนสิการ ในระดับปรมัตถ์ อยู่ได้อย่างไรกัน ?

ที่กล่าวว่า "หัวมังกุ ท้ายมังกร" ก็ด้วยเหตุว่า เมื่อพิจารณาโดยแยบคาย คือ โยนิโสมนสิการ อันหมายถึง
การยก ธรรม เหล่านั้น ขึ้นสู่ วิปัสสนา แล้วไซร้ ย่อมหมายถึง การแยกแยะ แจกแจง สมมุติทั้งหลาย ให้เป็น ปรมัตถ์

ดังนั้น เมื่อกล่าวว่า "เห็นธรรม"  ไปพร้อมๆ กับความเห็นว่า ขอทาน กับ พระพุทธเจ้า ยังแตกต่างกันอยู่ ทั้งๆ ที่นั่นเป็นเพียง สมมุติ
จึงเป็นการสรุปความที่ขัดแย้งกันเอง(ในทางธรรม) เพราะ วิปัสสนา เป็นเรื่องระดับปรมัตถ์ ที่พ้นไปจาก สมมุติ ว่า สัตว์ บุคคล ฯลฯ

เข้าใจ ไหมครับ ?

ประเด็นที่ ๒ นี้เหมือนการ ถามแบบ "หาเรื่อง" คือถ้าต้องการ "หลักฐาน" แบบนั้น ผมก็จัดให้ได้ นะครับ(ทั้งๆ ที่ไม่จำเป็น)

แต่สิ่งที่จะต้องเข้าใจให้ดีๆ และ ตรงกันเสียก่อน ก็คือ จำเพาะ ข้อความ ของท่านพุทธทาสนั้น มิได้ จำเพาะเจาะจงถึง
พระพุทธเจ้า ที่หมายถึง บุคคลทางประวัติศาสตร์ ซึ่งแต่เดิม ก็คือ เจ้าชายสิทธัตถะ แห่งวงศ์ศากยะ ณ ชมพูทวีป เมื่อราว สองพันกว่าปีก่อน
โดยคำว่า พระพุทธเจ้า ที่ท่านพุทธทาสกล่าวถึงนี้ เป็นคำกลางๆ ในทางธรรม ที่หมายถึง ปรโตโฆสะ หรือ กัลยาณมิตร !

ทีนี้ ในเมื่อ ล็อกอิน โนเนม เจาะจงว่า ต้องการหลักฐานจากพระสูตร ที่ระบุว่า พระพุทธเจ้า เป็นขอทาน นั่นย่อมมิใช่ปัญหาสำหรับผมเลย
แต่ ก็อีกนั่นแหละ ก่อนอื่น ผมขออนุญาต ทำความเข้าใจ หรือ ถากถาง ความโง่ ให้แก่ ล็อกอิน โนเนม (หมายเลข 778626) ผู้นี้สักหน่อยว่า

"ขอทาน" มิได้เป็นชื่อของ "ตระกูล" หรือ "ชนชั้น" แต่เป็นชื่อของ "อาชีพ" ซึ่งแต่เดิมทีเดียว อาชีพนี้ เป็นของคนวรรณะพราหมณ์
ซึ่งเป็นพวกตระกูลสูง มิใช่คนตระกูลต่ำ อย่างที่ ล็อกอิน โนเนม (หมายเลข 778626) กำลังเข้าใจผิดๆ อยู่ นะครับ



เรื่องพระพุทธเจ้าเป็น "ขอทาน" นี้ที่จริงแล้ว ในฐานะที่เป็น ชาวพุทธเถรวาท ก็น่าจะทราบกันดีอยู่แล้ว นะครับว่า
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ล้วนแล้วแต่ยังชีพด้วย "บิณฑบาต" คือ การขอทาน(ภิกขาจาร) ไม่เว้นแม้กระทั่ง พระพุทธเจ้า



ตัวอย่างเช่น เมื่อคราวเสด็จไปโปรดปัญจวัคคีย์  ปรากฏว่า ปัญจวัคคีย์ รวมทั้งพระพุทธเจ้า เป็น ๖
ก็ยังชีพด้วย บิณฑบาต คือการ ภิกขาจาร หรือ ขอทาน นั่นเอง



ถ้าหากยังเห็นว่า "หลักฐาน" ยังไม่ชัดเจนเท่าใดว่า พระพุทธองค์ ได้เสด็จไป ภิกขาจาร หรือ บิณฑบาต เองหรือไม่ ขอให้พิจารณา
ข้อความจาก สังยุตตนิกาย ซึ่งกล่าวถึง พราหมณ์ผู้หนึ่ง กำลังคิดว่า จะนำของเหลือ จากการบูชาไฟ ให้ทานแก่ผู้ใด



หลักฐานจากพระสูตรและพระวินัย ที่ผมนำมาแสดง ชัดเจนมากพอ ไหมครับ ?
แต่ถ้าถามผม ผมเห็นว่า การเรียกร้อง "หลักฐาน" ในลักษณะนี้ เป็นเรื่องที่ไร้สาระเต็มที !

จบแล้วนะ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่