พุทธรักขิตาภิกขุ กับการเผยแพร่พระพุทธศาสนาในแอฟริกา
เรียบเรียงโดย สุภาศิริ อมาตยกุล
หน้าปกหนังสือ Planting Dhamma Seeds แต่งโดยพระพุทธรักขิตาภิกขุ
คำนำ
บทความนี้ได้รับแรงบันดาลใจจากคำเรียกร้องมากมายของผู้ที่อาตมาพบในแอฟริกา อเมริกา และเอเชีย พวกเขาถามอาตมาด้วยคำถามที่น่าสนใจเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาและพระสงฆ์อยู่เสมอ บางครั้งอาตมาได้แต่ตอบพวกเขาไปอย่างสั้นๆ เนื่องจากส่วนใหญ่แล้วไม่มีเวลามากพอที่จะตอบได้อย่างครบถ้วน
มีคนถามอาตมาอยู่ตลอดว่า อาตมานับถือศาสนาอะไรก่อนจะบวชเป็นพระ เรียนทำสมาธิจากที่ไหนในยูกันดา บวชได้อย่างไรในยูกันดาทั้งๆ ที่ไม่มีวัดเลย ใครคือแรงบันดาลใจให้ออกบวช ทำไมจึงบวชเป็นพระ การจะบวชต้องทำอย่างไรบ้าง อาตมามีวัดเป็นของตัวเองในยูกันดาหรือไม่ ครอบครัว (โยมแม่) ของอาตมารู้สึกอย่างไรที่อาตมาบวช คนแอฟริกันคิดอย่างไรกับอาตมาในฐานะพระสงฆ์ เป็นต้น
เป็นเรื่องยากที่จะทำให้หนังสือเล่มนี้ไม่เป็นอัตชีวประวัติ แต่ถ้าดูเหมือนจะเป็นเช่นนั้นก็ขอให้ผู้อ่านอดทนสักหน่อยเถิด ด้วยจุดประสงค์หนึ่งเดียวของอาตมาคือการพยายามอธิบายให้เห็นถึงพัฒนาการของพระพุทธศาสนาในแอฟริกา โดยเฉพาะในยูกันดา เป็นปณิธานของอาตมาที่ว่าหนังสือเล่มนี้จะช่วยตอบคำถามของท่านทั้งหลาย และเป็นแรงผลักดันให้ท่านก้าวไปข้างหน้าสำหรับการเดินทางในโลกแห่งธรรมะ
“เป็นการยากกว่าจะได้เกิดเป็นมนุษย์ การดำรงชีวิตเป็นเรื่องยากลำบาก เป็นเรื่องยากที่จะได้เกิดมาพบพระธรรม การเกิดขึ้นของพระพุทธเจ้าเป็นสิ่งที่หาได้ยากยิ่ง”
ธรรมบท: 182
ชาติกำเนิด
ชื่อเดิมของอาตมาคือสตีเว่น คาบอคโกซา (Steven Kaboggoza) เกิดเมื่อปีค.ศ.1966 ในครอบครัวชาวคริสต์ ณ กรุง กัมปาลา ประเทศยูกันดา ทางตะวันออกของทวีปแอฟริกา ยูกันดามีพรมแดนทางเหนือติดกับประเทศซูดาน(Sudan) ตะวันตก ติดกับคองโก(Congo) และใต้ติดกับรวันด้า(Rwanda) ส่วนทิศตะวันออกเฉียงใต้ติดทะเลสาบวิคตอเรีย (Lake Victoria) แทนซาเนีย (Tanzania) และเคนยา (Kenya) ยูกันดาเป็นประเทศเล็กๆ ยากจน ประชากรมีความซับซ้อนเพราะประกอบขึ้นด้วยหลายชนเผ่า หนึ่งในนั้นคือ บูกันดา (Buganda) ประเทศถูกแบ่งแยกอันเป็นผลจากสงครามและเผด็จการทรราชที่กินเวลานานหลายปี สิทธิเสรีภาพถูกจำกัด แต่ในความน่าเศร้านั้นยังมีข้อดีอยู่บ้าง เซอร์วินสตัน เชอร์ชิล (Sir Winston Churchill) นายกรัฐมนตรีอังกฤษได้เคยกล่าวไว้ว่า “เพราะความสวยงามและสีสันอันหลากหลาย อีกทั้งสิ่งมีชีวิต พืช นก แมลง สัตว์เลื้อยคลาน และสัตว์ป่าที่มีจำนวนมากมายมหาศาล ทำให้ยูกันดาคือ ไข่มุกแห่งแอฟริกา อย่างแท้จริง”
“คนที่นั่ง พักผ่อน เดินอยู่คนเดียว ด้วยความพากเพียรในการฝึกตน ผู้ซึ่งสามารถควบคุมตัวเองได้เมื่ออยู่เพียงลำพัง ผู้นั้นย่อมพานพบความผาสุขแม้ในป่าใหญ่”
ธรรมบท : 305
วัยเด็ก
เมื่ออาตมาเป็นเด็ก ในยูกันดาไม่มีใครรู้จักพระพุทธศาสนา เพราะศาสนาหลักคือคริสต์และอิสลาม ในยูกันดาโดยเฉพาะอย่างยิ่งในครอบครัวอาตมา การไม่เคารพพระเจ้ามักจะถูกมองว่าเป็น “แกะดำ” หรือ “มิตรของปีศาจ”
บทเรียนการทำสมาธิบทแรกอย่างไร้แบบแผนในยูกันดา
ตอนอาตมาอายุห้าปี โยมแม่ซึ่งเป็นคนใจกว้าง สุภาพ อ่อนน้อมถ่อมตน และมีอิทธิพลอย่างมากกับชีวิตของอาตมา ได้ยอมรับความแตกต่างของเราสองคนอย่างง่ายดาย ท่านไม่พยายามเปลี่ยนแปลงลูกๆให้เป็นอย่างที่ท่านต้องการโดยเฉพาะในเรื่องความเชื่อทางศาสนา โยมแม่มีความปราดเปรื่องตามธรรมชาติในแบบของท่านเอง
โยมแม่บอกอาตมาอยู่เสมอ “ถ้าไม่มีอะไรจะพูด จงเงียบ ถ้าไม่มีอะไรจะทำ ก็ไปนอนเสีย” คำสั่งสอนสองข้อนี้เข้ากับลักษณะนิสัยของอาตมาอย่างยิ่ง อาตมาไม่ชอบนอนกลางวัน แต่เมื่อไม่มีอะไรจะทำ โยมแม่จึงบังคับให้นอน โชคไม่ดีที่อาตมามักจะหลับไม่ค่อยลง จึงนอนพลิกตัวไปมาอยู่บนเตียง ในที่สุดก็นอนตื่นอยู่อย่างนั้นปล่อยให้ความคิดโลดแล่นไป พร้อมกับเฝ้าดูโยมแม่ซึ่งสามารถหลับได้อย่างรวดเร็ว เมื่อคิดย้อนกลับไป เข้าใจว่าในเวลานั้นอาตมาไม่มีวัตถุสำหรับกำหนดจิตในการทำสมาธิ แต่นั่นไม่ใช่วิธีง่ายที่สุดในการทำสมาธิหรอกหรือ หมายถึงการอยู่อย่างสงบเงียบ เฝ้าดูความคิดต่างๆ ผ่านมาแล้วก็ผ่านไป
โดยส่วนตัวแล้ว อาตมาคิดว่าได้รับบทเรียนที่มีค่ายิ่งในการทำความคุ้นเคยที่จะอยู่กับความเงียบและความว่างเปล่า คงเป็นประโยชน์มากทีเดียวถ้าในเวลานั้นมีคนสอนวิธีทำสมาธิขั้นสูงให้อาตมา แล้วการทำสมาธิแบบที่ว่านั้นจะหาได้จากไหนกัน...
เมื่ออยู่ชั้นประถม อาตมาชอบไปโรงเรียนทุกวันอาทิตย์ซึ่งจะมีการร้องเพลงและเล่านิทาน แต่ภายหลัง การเข้าโบสถ์ได้กลายเป็นหน้าที่ที่ต้องกระทำ อาจารย์ใหญ่ของโรงเรียนเป็นคนเลื่อมใสและเคร่งครัดในศาสนาของท่านมาก ท่านติดตามจดบันทึกว่าใครมาหรือไม่มาเข้าโบสถ์บ้าง การไม่เข้าโบสถ์จะนำไปสู่การลงโทษบางอย่าง วิธีการเช่นนี้ทำให้เกิดการต่อต้านขึ้น ทีละเล็กละน้อยในใจของอาตมา
ช่วงวัยรุ่น โรงเรียนประจำนิกายแคธอลิคได้อบรมสั่งสอนอาตมาในแนวทางแบบศาสนาคริสต์ ในยูกันดาโดยเฉพาะอย่างยิ่งในครอบครัวอาตมา การไม่เคารพพระเจ้ามักจะถูกมองว่าเป็น“แกะดำ”หรือ“มิตรของปีศาจ” อาตมาเริ่มเกิดความสงสัยว่าจุดประสงค์ของการไปโบสถ์นั้น เป็นไปเพื่อให้ผู้อื่นพึงพอใจหรือเพื่อพัฒนาจิตใจกันแน่ มันคงจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งทีเดียวถ้าในตอนนั้นมีใครสักคนหนึ่งสอนวิธีปฏิบัติวิปัสสนาอย่างลึกซึ้งให้กับอาตมา ช่วงวัยนั้นเอง ในความทรงจำลางๆที่พอจะจำได้คืออาตมาเคยเรียนเกี่ยวกับชาวอินเดียคนหนึ่งที่ชื่อโคตมะ (ชื่อราชศากยวงศ์ของเจ้าชายสิทธัตถะ) พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพียงเท่านั้นที่อาตมารู้ โดยรู้เท่าๆ กับคนแอฟริกันทั่วไป
“นี่คือชีวิตทั้งหมดในทางจิตวิญญาณ อานนท์ หมายถึงการมีกัลยาณมิตร เมื่อพระรูปหนึ่งมีกัลยาณมิตรแล้ว ย่อมคาดหวังได้ว่าท่านผู้นั้นจะพัฒนา และเข้าถึงมรรค ๘ ในที่สุด”
- พระสัมมาสัมพุทธเจ้า (SN 45:2)
เติบโตเป็นผู้ใหญ่ และได้พบพระสงฆ์ในพุทธศาสนา
ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1990 อาตมาเดินทางไปศึกษาต่อด้านบริหารธุรกิจที่มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในประเทศอินเดีย ซึ่งภายหลังได้กลายเป็นการไปศึกษาพระพุทธศาสนาแทน มีนักศึกษาต่างชาติชาวแอฟริกันและเอเชียอยู่ไม่กี่คน ในจำนวนนั้นมีพระสงฆ์สองรูปจากประเทศไทย อาตมารู้สึกใกล้ชิดกับพระสองรูปนี้และมีเพียงท่านทั้งสองที่เป็นเพื่อนของอาตมา ทั้งสองท่านก็รู้สึกเช่นเดียวกัน ท่านไม่ได้สอนอาตมาเรื่องการทำสมาธิในทันที แต่ค่อยๆ แนะนำทีละเล็กละน้อยเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ท่านมีน้ำใจพาอาตมาไปที่ตลาดท้องถิ่นและยังแบ่งปันอาหารให้อีกด้วย ในตอนนั้นอาตมาไม่ทราบธรรมเนียมปฏิบัติของศาสนาพุทธ อาตมาต่างหากที่ควรเป็นฝ่ายถวายภัตตาหารแด่ท่านทั้งสอง
เดือนพฤศจิกายนปีเดียวกัน ท่านสันสิติ (Sandsiti) พระหนึ่งในสองรูปชวนอาตมาให้ไปกับท่านที่วัดเล็กๆ แห่งหนึ่งแถวชานเมืองจัณฑีครห์ (Chandigarh) เมืองหลวงของรัฐปัญจาบ (Punjab) ซึ่งเป็นที่พำนักของพระสงฆ์ชาวอินเดีย เป็นครั้งแรกที่อาตมาได้เข้าร่วมพิธีกรรมของศาสนาพุทธ
อาตมาเห็นพระพุทธรูปองค์ใหญ่แต่ก็ไม่ได้เข้าใจถึงความสำคัญ เมื่อเวลาผ่านไปอาตมาเริ่มมีความสนใจมากขึ้นในคำสอนของพระพุทธเจ้า อาตมาเคารพชื่นชมพระสงฆ์เหล่านี้ด้วยใจจริง สิ่งต่างๆ ที่ท่านปฏิบัติสัมผัสความรู้สึกเมตตา กรุณา ซาบซึ้งในส่วนลึกของจิตใจอาตมา ระหว่างช่วงวันหยุดที่ท่านทั้งสองเดินทางกลับประเทศไทย อาตมาคิดถึงพวกท่านอย่างมาก ถามตัวเองว่าอาตมาจะไปพบพระสงฆ์รูปอื่นๆได้ที่ไหน
“บุคคลควรเจริญรอยตามผู้เจริญผู้ซึ่งแน่วแน่ ปราดเปรื่อง ใฝ่รู้ รับผิดชอบต่อหน้าที่ และเสียสละทุ่มเท บุคคลควรเจริญรอยตามผู้ซึ่งถึงพร้อมด้วยความดีดุจพระจันทร์โคจรตามเส้นทางของดวงดาว”
ธรรมบท : 208
สายสัมพันธ์พิเศษกับองค์ดาไลลามะ
ช่วงวันหยุดภาคฤดูร้อน อาตมายังคงตามหาเพื่อนชาวพุทธ อาตมาขึ้นรถเมล์รอบกลางคืนเพื่อไปยังธรรมศาลา (Dhammasala) ซึ่งเป็นที่ประทับขององค์ดาไล ลามะ อาตมาคิดในใจ ‘ประเทศนี้ช่างดีจริงๆ กลางคืนก็ยังเดินทางได้’ ขณะที่ยูกันดานานมากแล้วที่เราไม่สามารถเดินทางไปไหนมาไหนได้ในเวลากลางคืนเนื่องจากสงครามและปัญหาทางการเมือง แต่ที่นี่อาตมารู้สึกได้รับอิสรภาพอีกขั้นหนึ่ง เป็นการนั่งรถที่ยาวนานมากในรถ “มะม่วงเชค” (รถโดยสารเก่าคร่ำครึราคาถูก)ไปยังธรรมศาลาที่ตั้งอยู่เชิงเขาหิมาลัย การเดินทางน่าตื่นตาตื่นใจจนอดสงสัยไม่ได้ว่าเป็นความจริงหรือแค่ฝันไป เป็นสิ่งที่อาตมา ไม่สามารถจินตนาการว่าจะทำเช่นนี้ได้หากอยู่ในยูกันดา เป็นความรู้สึกเหมือนครั้งแรกที่อาตมารู้จักกับธรรมะ คำสอนในพระพุทธศาสนาว่า “เราได้พบกับสิ่งที่นำอิสรภาพมาให้”
วันหนึ่ง อาตมาไปร่วมในการออกพบปะสาธรณชนขององค์ดาไล ลามะ โดยมีชาวตะวันตกอีกนับร้อยคนที่ไปรอถวายความเคารพแด่ท่านที่ธรรมศาลา คนผิวสีคนเดียวจากแอฟริกาท่ามกลางคนขาวจากทั่วทุกมุมโลก อาตมาจึงโดดเด่นเป็นที่สังเกต เห็นได้โดยง่าย อาตมามีความสุขมากที่ได้อยู่ใกล้ชิดกับองค์ดาไล ลามะ ยิ่งกว่านั้นยังโชคดีได้จับมือกับท่านอีกด้วย ท่านให้พรกับอาตมา ซึ่งอาตมาสัมผัสได้ถึงรังสีแห่งความอ่อนโยนเปี่ยมด้วยความรักความเมตตาที่นำความสงบสดชื่นมาสู่จิตใจ อาตมามีแรงบันดาลใจเต็มเปี่ยมเมื่อได้ฟังท่านสอนธรรมะ ท่านแสดงความอาทรและความรู้ในธรรมะแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อาตมาบอกกับตัวเองว่า “ที่นี่คือบ้าน บ้านทางจิตวิญญาณของอาตมาอยู่ที่ธรรมศาลานี่เอง” อาตมาตัดสินใจที่จะใช้วันหยุดทั้งหมดที่มีในปีต่อๆ มา ณ ที่แห่งนี้
การเดินทางเข้าสู่พระพุทธศาสนาเริ่มขึ้นเมื่อพบกับพระสงฆ์ในอินเดีย อาตมาได้รับการจูงใจอย่างแรงกล้าจากเพื่อนสนิทที่สนใจเรื่องเดียวกัน และได้พบแนวคำสอนเพื่อเข้าถึงความสุขที่สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง ตัวอย่างเช่น มรรคมีองค์ 8 คำสอนเรื่องกรรม (การกระทำที่ประกอบด้วยเจตนา) ที่ให้ความสำคัญต่อความรับผิดชอบในการกระทำของตน เหล่านี้คือสิ่งที่ ทำให้อาตมาหูตาสว่าง ภายหลังอาตมาได้เรียนรู้เกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่จะเข้าถึงพระนิพพาน
คำสอนเหล่านี้น่าสนใจเป็นอย่างมาก เป็นอิสรภาพที่ยิ่งใหญ่ การศึกษาทางวิชาการในประเทศอินเดียที่สุดได้กลายมาเป็นการศึกษาทางจิตวิญญาณ
“ผู้เข้าใจผิดในสิ่งไม่เป็นสาระว่าเป็นสาระ ในสิ่งที่เป็นสาระว่าไม่เป็นสาระ เป็นผู้มีความเห็นผิด จะไม่สามารถเข้าถึงสาระที่แท้จริง ผู้เข้าใจสิ่งที่เป็นสาระว่าเป็นสาระ และไม่เป็นสาระว่าไม่เป็นสาระ เป็นผู้มีความเห็นชอบ ย่อมเข้าถึงสิ่งที่เป็นสารัตถะแท้จริง”
ธรรมบท : 11-12
พุทธรักขิตาภิกขุ กับการเผยแพร่พระพุทธศาสนาในแอฟริกา
เรียบเรียงโดย สุภาศิริ อมาตยกุล
หน้าปกหนังสือ Planting Dhamma Seeds แต่งโดยพระพุทธรักขิตาภิกขุ
คำนำ
บทความนี้ได้รับแรงบันดาลใจจากคำเรียกร้องมากมายของผู้ที่อาตมาพบในแอฟริกา อเมริกา และเอเชีย พวกเขาถามอาตมาด้วยคำถามที่น่าสนใจเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาและพระสงฆ์อยู่เสมอ บางครั้งอาตมาได้แต่ตอบพวกเขาไปอย่างสั้นๆ เนื่องจากส่วนใหญ่แล้วไม่มีเวลามากพอที่จะตอบได้อย่างครบถ้วน
มีคนถามอาตมาอยู่ตลอดว่า อาตมานับถือศาสนาอะไรก่อนจะบวชเป็นพระ เรียนทำสมาธิจากที่ไหนในยูกันดา บวชได้อย่างไรในยูกันดาทั้งๆ ที่ไม่มีวัดเลย ใครคือแรงบันดาลใจให้ออกบวช ทำไมจึงบวชเป็นพระ การจะบวชต้องทำอย่างไรบ้าง อาตมามีวัดเป็นของตัวเองในยูกันดาหรือไม่ ครอบครัว (โยมแม่) ของอาตมารู้สึกอย่างไรที่อาตมาบวช คนแอฟริกันคิดอย่างไรกับอาตมาในฐานะพระสงฆ์ เป็นต้น
เป็นเรื่องยากที่จะทำให้หนังสือเล่มนี้ไม่เป็นอัตชีวประวัติ แต่ถ้าดูเหมือนจะเป็นเช่นนั้นก็ขอให้ผู้อ่านอดทนสักหน่อยเถิด ด้วยจุดประสงค์หนึ่งเดียวของอาตมาคือการพยายามอธิบายให้เห็นถึงพัฒนาการของพระพุทธศาสนาในแอฟริกา โดยเฉพาะในยูกันดา เป็นปณิธานของอาตมาที่ว่าหนังสือเล่มนี้จะช่วยตอบคำถามของท่านทั้งหลาย และเป็นแรงผลักดันให้ท่านก้าวไปข้างหน้าสำหรับการเดินทางในโลกแห่งธรรมะ
“เป็นการยากกว่าจะได้เกิดเป็นมนุษย์ การดำรงชีวิตเป็นเรื่องยากลำบาก เป็นเรื่องยากที่จะได้เกิดมาพบพระธรรม การเกิดขึ้นของพระพุทธเจ้าเป็นสิ่งที่หาได้ยากยิ่ง”
ธรรมบท: 182
ชาติกำเนิด
ชื่อเดิมของอาตมาคือสตีเว่น คาบอคโกซา (Steven Kaboggoza) เกิดเมื่อปีค.ศ.1966 ในครอบครัวชาวคริสต์ ณ กรุง กัมปาลา ประเทศยูกันดา ทางตะวันออกของทวีปแอฟริกา ยูกันดามีพรมแดนทางเหนือติดกับประเทศซูดาน(Sudan) ตะวันตก ติดกับคองโก(Congo) และใต้ติดกับรวันด้า(Rwanda) ส่วนทิศตะวันออกเฉียงใต้ติดทะเลสาบวิคตอเรีย (Lake Victoria) แทนซาเนีย (Tanzania) และเคนยา (Kenya) ยูกันดาเป็นประเทศเล็กๆ ยากจน ประชากรมีความซับซ้อนเพราะประกอบขึ้นด้วยหลายชนเผ่า หนึ่งในนั้นคือ บูกันดา (Buganda) ประเทศถูกแบ่งแยกอันเป็นผลจากสงครามและเผด็จการทรราชที่กินเวลานานหลายปี สิทธิเสรีภาพถูกจำกัด แต่ในความน่าเศร้านั้นยังมีข้อดีอยู่บ้าง เซอร์วินสตัน เชอร์ชิล (Sir Winston Churchill) นายกรัฐมนตรีอังกฤษได้เคยกล่าวไว้ว่า “เพราะความสวยงามและสีสันอันหลากหลาย อีกทั้งสิ่งมีชีวิต พืช นก แมลง สัตว์เลื้อยคลาน และสัตว์ป่าที่มีจำนวนมากมายมหาศาล ทำให้ยูกันดาคือ ไข่มุกแห่งแอฟริกา อย่างแท้จริง”
“คนที่นั่ง พักผ่อน เดินอยู่คนเดียว ด้วยความพากเพียรในการฝึกตน ผู้ซึ่งสามารถควบคุมตัวเองได้เมื่ออยู่เพียงลำพัง ผู้นั้นย่อมพานพบความผาสุขแม้ในป่าใหญ่”
ธรรมบท : 305
วัยเด็ก
เมื่ออาตมาเป็นเด็ก ในยูกันดาไม่มีใครรู้จักพระพุทธศาสนา เพราะศาสนาหลักคือคริสต์และอิสลาม ในยูกันดาโดยเฉพาะอย่างยิ่งในครอบครัวอาตมา การไม่เคารพพระเจ้ามักจะถูกมองว่าเป็น “แกะดำ” หรือ “มิตรของปีศาจ”
บทเรียนการทำสมาธิบทแรกอย่างไร้แบบแผนในยูกันดา
ตอนอาตมาอายุห้าปี โยมแม่ซึ่งเป็นคนใจกว้าง สุภาพ อ่อนน้อมถ่อมตน และมีอิทธิพลอย่างมากกับชีวิตของอาตมา ได้ยอมรับความแตกต่างของเราสองคนอย่างง่ายดาย ท่านไม่พยายามเปลี่ยนแปลงลูกๆให้เป็นอย่างที่ท่านต้องการโดยเฉพาะในเรื่องความเชื่อทางศาสนา โยมแม่มีความปราดเปรื่องตามธรรมชาติในแบบของท่านเอง
โยมแม่บอกอาตมาอยู่เสมอ “ถ้าไม่มีอะไรจะพูด จงเงียบ ถ้าไม่มีอะไรจะทำ ก็ไปนอนเสีย” คำสั่งสอนสองข้อนี้เข้ากับลักษณะนิสัยของอาตมาอย่างยิ่ง อาตมาไม่ชอบนอนกลางวัน แต่เมื่อไม่มีอะไรจะทำ โยมแม่จึงบังคับให้นอน โชคไม่ดีที่อาตมามักจะหลับไม่ค่อยลง จึงนอนพลิกตัวไปมาอยู่บนเตียง ในที่สุดก็นอนตื่นอยู่อย่างนั้นปล่อยให้ความคิดโลดแล่นไป พร้อมกับเฝ้าดูโยมแม่ซึ่งสามารถหลับได้อย่างรวดเร็ว เมื่อคิดย้อนกลับไป เข้าใจว่าในเวลานั้นอาตมาไม่มีวัตถุสำหรับกำหนดจิตในการทำสมาธิ แต่นั่นไม่ใช่วิธีง่ายที่สุดในการทำสมาธิหรอกหรือ หมายถึงการอยู่อย่างสงบเงียบ เฝ้าดูความคิดต่างๆ ผ่านมาแล้วก็ผ่านไป
โดยส่วนตัวแล้ว อาตมาคิดว่าได้รับบทเรียนที่มีค่ายิ่งในการทำความคุ้นเคยที่จะอยู่กับความเงียบและความว่างเปล่า คงเป็นประโยชน์มากทีเดียวถ้าในเวลานั้นมีคนสอนวิธีทำสมาธิขั้นสูงให้อาตมา แล้วการทำสมาธิแบบที่ว่านั้นจะหาได้จากไหนกัน...
เมื่ออยู่ชั้นประถม อาตมาชอบไปโรงเรียนทุกวันอาทิตย์ซึ่งจะมีการร้องเพลงและเล่านิทาน แต่ภายหลัง การเข้าโบสถ์ได้กลายเป็นหน้าที่ที่ต้องกระทำ อาจารย์ใหญ่ของโรงเรียนเป็นคนเลื่อมใสและเคร่งครัดในศาสนาของท่านมาก ท่านติดตามจดบันทึกว่าใครมาหรือไม่มาเข้าโบสถ์บ้าง การไม่เข้าโบสถ์จะนำไปสู่การลงโทษบางอย่าง วิธีการเช่นนี้ทำให้เกิดการต่อต้านขึ้น ทีละเล็กละน้อยในใจของอาตมา
ช่วงวัยรุ่น โรงเรียนประจำนิกายแคธอลิคได้อบรมสั่งสอนอาตมาในแนวทางแบบศาสนาคริสต์ ในยูกันดาโดยเฉพาะอย่างยิ่งในครอบครัวอาตมา การไม่เคารพพระเจ้ามักจะถูกมองว่าเป็น“แกะดำ”หรือ“มิตรของปีศาจ” อาตมาเริ่มเกิดความสงสัยว่าจุดประสงค์ของการไปโบสถ์นั้น เป็นไปเพื่อให้ผู้อื่นพึงพอใจหรือเพื่อพัฒนาจิตใจกันแน่ มันคงจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งทีเดียวถ้าในตอนนั้นมีใครสักคนหนึ่งสอนวิธีปฏิบัติวิปัสสนาอย่างลึกซึ้งให้กับอาตมา ช่วงวัยนั้นเอง ในความทรงจำลางๆที่พอจะจำได้คืออาตมาเคยเรียนเกี่ยวกับชาวอินเดียคนหนึ่งที่ชื่อโคตมะ (ชื่อราชศากยวงศ์ของเจ้าชายสิทธัตถะ) พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพียงเท่านั้นที่อาตมารู้ โดยรู้เท่าๆ กับคนแอฟริกันทั่วไป
“นี่คือชีวิตทั้งหมดในทางจิตวิญญาณ อานนท์ หมายถึงการมีกัลยาณมิตร เมื่อพระรูปหนึ่งมีกัลยาณมิตรแล้ว ย่อมคาดหวังได้ว่าท่านผู้นั้นจะพัฒนา และเข้าถึงมรรค ๘ ในที่สุด”
- พระสัมมาสัมพุทธเจ้า (SN 45:2)
เติบโตเป็นผู้ใหญ่ และได้พบพระสงฆ์ในพุทธศาสนา
ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1990 อาตมาเดินทางไปศึกษาต่อด้านบริหารธุรกิจที่มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในประเทศอินเดีย ซึ่งภายหลังได้กลายเป็นการไปศึกษาพระพุทธศาสนาแทน มีนักศึกษาต่างชาติชาวแอฟริกันและเอเชียอยู่ไม่กี่คน ในจำนวนนั้นมีพระสงฆ์สองรูปจากประเทศไทย อาตมารู้สึกใกล้ชิดกับพระสองรูปนี้และมีเพียงท่านทั้งสองที่เป็นเพื่อนของอาตมา ทั้งสองท่านก็รู้สึกเช่นเดียวกัน ท่านไม่ได้สอนอาตมาเรื่องการทำสมาธิในทันที แต่ค่อยๆ แนะนำทีละเล็กละน้อยเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ท่านมีน้ำใจพาอาตมาไปที่ตลาดท้องถิ่นและยังแบ่งปันอาหารให้อีกด้วย ในตอนนั้นอาตมาไม่ทราบธรรมเนียมปฏิบัติของศาสนาพุทธ อาตมาต่างหากที่ควรเป็นฝ่ายถวายภัตตาหารแด่ท่านทั้งสอง
เดือนพฤศจิกายนปีเดียวกัน ท่านสันสิติ (Sandsiti) พระหนึ่งในสองรูปชวนอาตมาให้ไปกับท่านที่วัดเล็กๆ แห่งหนึ่งแถวชานเมืองจัณฑีครห์ (Chandigarh) เมืองหลวงของรัฐปัญจาบ (Punjab) ซึ่งเป็นที่พำนักของพระสงฆ์ชาวอินเดีย เป็นครั้งแรกที่อาตมาได้เข้าร่วมพิธีกรรมของศาสนาพุทธ
อาตมาเห็นพระพุทธรูปองค์ใหญ่แต่ก็ไม่ได้เข้าใจถึงความสำคัญ เมื่อเวลาผ่านไปอาตมาเริ่มมีความสนใจมากขึ้นในคำสอนของพระพุทธเจ้า อาตมาเคารพชื่นชมพระสงฆ์เหล่านี้ด้วยใจจริง สิ่งต่างๆ ที่ท่านปฏิบัติสัมผัสความรู้สึกเมตตา กรุณา ซาบซึ้งในส่วนลึกของจิตใจอาตมา ระหว่างช่วงวันหยุดที่ท่านทั้งสองเดินทางกลับประเทศไทย อาตมาคิดถึงพวกท่านอย่างมาก ถามตัวเองว่าอาตมาจะไปพบพระสงฆ์รูปอื่นๆได้ที่ไหน
“บุคคลควรเจริญรอยตามผู้เจริญผู้ซึ่งแน่วแน่ ปราดเปรื่อง ใฝ่รู้ รับผิดชอบต่อหน้าที่ และเสียสละทุ่มเท บุคคลควรเจริญรอยตามผู้ซึ่งถึงพร้อมด้วยความดีดุจพระจันทร์โคจรตามเส้นทางของดวงดาว”
ธรรมบท : 208
สายสัมพันธ์พิเศษกับองค์ดาไลลามะ
ช่วงวันหยุดภาคฤดูร้อน อาตมายังคงตามหาเพื่อนชาวพุทธ อาตมาขึ้นรถเมล์รอบกลางคืนเพื่อไปยังธรรมศาลา (Dhammasala) ซึ่งเป็นที่ประทับขององค์ดาไล ลามะ อาตมาคิดในใจ ‘ประเทศนี้ช่างดีจริงๆ กลางคืนก็ยังเดินทางได้’ ขณะที่ยูกันดานานมากแล้วที่เราไม่สามารถเดินทางไปไหนมาไหนได้ในเวลากลางคืนเนื่องจากสงครามและปัญหาทางการเมือง แต่ที่นี่อาตมารู้สึกได้รับอิสรภาพอีกขั้นหนึ่ง เป็นการนั่งรถที่ยาวนานมากในรถ “มะม่วงเชค” (รถโดยสารเก่าคร่ำครึราคาถูก)ไปยังธรรมศาลาที่ตั้งอยู่เชิงเขาหิมาลัย การเดินทางน่าตื่นตาตื่นใจจนอดสงสัยไม่ได้ว่าเป็นความจริงหรือแค่ฝันไป เป็นสิ่งที่อาตมา ไม่สามารถจินตนาการว่าจะทำเช่นนี้ได้หากอยู่ในยูกันดา เป็นความรู้สึกเหมือนครั้งแรกที่อาตมารู้จักกับธรรมะ คำสอนในพระพุทธศาสนาว่า “เราได้พบกับสิ่งที่นำอิสรภาพมาให้”
วันหนึ่ง อาตมาไปร่วมในการออกพบปะสาธรณชนขององค์ดาไล ลามะ โดยมีชาวตะวันตกอีกนับร้อยคนที่ไปรอถวายความเคารพแด่ท่านที่ธรรมศาลา คนผิวสีคนเดียวจากแอฟริกาท่ามกลางคนขาวจากทั่วทุกมุมโลก อาตมาจึงโดดเด่นเป็นที่สังเกต เห็นได้โดยง่าย อาตมามีความสุขมากที่ได้อยู่ใกล้ชิดกับองค์ดาไล ลามะ ยิ่งกว่านั้นยังโชคดีได้จับมือกับท่านอีกด้วย ท่านให้พรกับอาตมา ซึ่งอาตมาสัมผัสได้ถึงรังสีแห่งความอ่อนโยนเปี่ยมด้วยความรักความเมตตาที่นำความสงบสดชื่นมาสู่จิตใจ อาตมามีแรงบันดาลใจเต็มเปี่ยมเมื่อได้ฟังท่านสอนธรรมะ ท่านแสดงความอาทรและความรู้ในธรรมะแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อาตมาบอกกับตัวเองว่า “ที่นี่คือบ้าน บ้านทางจิตวิญญาณของอาตมาอยู่ที่ธรรมศาลานี่เอง” อาตมาตัดสินใจที่จะใช้วันหยุดทั้งหมดที่มีในปีต่อๆ มา ณ ที่แห่งนี้
การเดินทางเข้าสู่พระพุทธศาสนาเริ่มขึ้นเมื่อพบกับพระสงฆ์ในอินเดีย อาตมาได้รับการจูงใจอย่างแรงกล้าจากเพื่อนสนิทที่สนใจเรื่องเดียวกัน และได้พบแนวคำสอนเพื่อเข้าถึงความสุขที่สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง ตัวอย่างเช่น มรรคมีองค์ 8 คำสอนเรื่องกรรม (การกระทำที่ประกอบด้วยเจตนา) ที่ให้ความสำคัญต่อความรับผิดชอบในการกระทำของตน เหล่านี้คือสิ่งที่ ทำให้อาตมาหูตาสว่าง ภายหลังอาตมาได้เรียนรู้เกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่จะเข้าถึงพระนิพพาน
คำสอนเหล่านี้น่าสนใจเป็นอย่างมาก เป็นอิสรภาพที่ยิ่งใหญ่ การศึกษาทางวิชาการในประเทศอินเดียที่สุดได้กลายมาเป็นการศึกษาทางจิตวิญญาณ
“ผู้เข้าใจผิดในสิ่งไม่เป็นสาระว่าเป็นสาระ ในสิ่งที่เป็นสาระว่าไม่เป็นสาระ เป็นผู้มีความเห็นผิด จะไม่สามารถเข้าถึงสาระที่แท้จริง ผู้เข้าใจสิ่งที่เป็นสาระว่าเป็นสาระ และไม่เป็นสาระว่าไม่เป็นสาระ เป็นผู้มีความเห็นชอบ ย่อมเข้าถึงสิ่งที่เป็นสารัตถะแท้จริง”
ธรรมบท : 11-12