เมื่อสงครามการเมืองลาก "พรรคเพื่อไทย"มาเผชิญหน้ากับ "ศาลรัฐธรรมนูญ"เป็นการเผชิญหน้าที่มีความ
หมายกับอนาคตลมหายใจของพรรคเพื่อไทยอีกครั้ง
เป็นการเผชิญหน้าที่ต่อเนื่องจากปี 2555 เมื่อศาลรัฐธรรมนูญใช้อำนาจตุลาการ "สั่งเบรก" การลงมติการ
แก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 ในวาระ 3 พร้อมแนะนำให้พรรคเพื่อไทยทำประชามติถามความเห็นของ
ประชาชน อันเป็นเจ้าของรัฐธรรมนูญเสียก่อน
ทำให้ศักราช 2556 พรรคเพื่อไทยจึงเปลี่ยนแผน-เปิดช่องทางใหม่ หันทิศทางเดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญ
แบบรายมาตราแทน เพราะรู้แน่ว่าหากทำประชามติถามความเห็นประชาชน อาจตกม้าตายเพราะคะแนนอาจ
ไม่ผ่านเกณฑ์ที่รัฐธรรมนูญกำหนด
แต่ใช่ว่าเส้นทางใหม่จะไร้อุปสรรคเสียทีเดียว...
เหตุเพราะไม่ว่าจะขยับเขยื้อน ผลักดันกฎหมายการเมืองหรือเศรษฐกิจ จุดจบมิได้อยู่ที่การประกาศลงใน
ราชกิจจานุเบกษาและมีผลบังคับใช้ แต่กฎหมายต่าง ๆ ของพรรคเพื่อไทยกลับไปกองที่ศาลรัฐธรรมนูญ
เพื่อรอการ "ลงดาบ"
ทำให้หัวใจของคนในพรรคเพื่อไทยและรัฐบาล ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ต้องลุ้นระทึก
นั่นเพราะคู่ขัดแย้งของพรรคเพื่อไทย ไม่ว่าพรรคประชาธิปัตย์ ไม่ว่ากลุ่ม ส.ว.สรรหา ต่างยื่นคำร้องต่อ
ศาลรัฐธรรมนูญหลายคำร้อง หลายวาระ
เช่น การแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตรา ทั้งฉบับแก้ไขมาตรา 68 ที่บัญญัติถึงขอบเขตอำนาจรับคำร้องของ
ศาลรัฐธรรมนูญตามมาตรา 68 และฉบับแก้ไขที่มา ส.ว.
ที่อีกฝ่ายชี้ว่า ล้วนเข้าข่ายมาตรา 68 ถือว่าเป็นการกระทำเพื่อล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีโทษร้ายแรงถึงขั้นยุบพรรคแทบทั้งสิ้น
รวมถึงร่าง พ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของ
ประเทศ พ.ศ.... หรือ พ.ร.บ. 2 ล้านล้าน ซึ่งฝ่ายค้านก็เตรียมยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าอาจขัด
รัฐธรรมนูญมาตรา 169 หรือไม่ เพราะการใช้เงินจะต้องผ่านกฎหมาย 4 ฉบับนี้เท่านั้น 1.งบประมาณรายจ่าย
ประจำปี 2.กฎหมายโอนงบประมาณ 3.งบประมาณวิธีการจ่ายงบประมาณ และ 4.กฎหมายเงินคงคลัง
เพียงแค่พรรคประชาธิปัตย์กับกลุ่ม ส.ว.สรรหา จับมือแยกกันเดิน-ร่วมกันตี ยื่นคำร้องเรื่องการแก้ไขมาตรา
68 อย่างเดียว นับรวมแล้วถึง 6 สำนวน
หน้าตาของผู้ร้องมีชื่อ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง อดีตแกนนำกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย-
พล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม ส.ว.สรรหา-สมชาย แสวงการ ส.ว.สรรหา-วรินทร์ เทียมจรัส อดีต ส.ว.สรรหา-
วิรัตน์ กัลยาศิริ ส.ส.สงขลา พรรคประชาธิปัตย์
เช่นเดียวกับกรณีการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่มา ส.ว.เข้าข่ายขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 68 ตัวละครที่ยื่นคำร้องก็เป็น
คนหน้าเดิม โดยเฉพาะพรรคประชาธิปัตย์ และกลุ่ม ส.ว.สรรหา
ไม่นับกรณีที่คนกลุ่มเดียวกันยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญให้นายกรัฐมนตรีชะลอการนำร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ
ที่มา ส.ว. ที่ผ่านการเห็นชอบจากที่ประชุมรัฐสภาขึ้นทูลเกล้าฯ ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 154 ที่ศาล
รัฐธรรมนูญมีมติให้ยกคำร้องไปแล้ว
"ดิเรก ถึงฝั่ง" ส.ว.นนทบุรี ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ
มาตรา 68 และ 237 ใช้สิทธิในฐานะประธานแก้ไขมาตรา 68 และในฐานะแกนนำ ส.ว.สายเลือกตั้งที่ได้
รับประโยชน์จากการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่มา ส.ว. โต้แย้งว่า พลิกตำราหลายเล่มก็ไม่เห็นว่าการแก้ไข
รัฐธรรมนูญมาตรา 68 หรือการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่มาของ ส.ว.นั้นขัดรัฐธรรมนูญ
"เพราะมาตรา 1 ในร่างแก้ไขมาตรา 68 เขียนไว้ว่า ถ้าผู้ใดพบเห็นการกระทำล้มล้างการปกครองในระบอบ
ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ให้ยื่นเรื่องผ่านอัยการสูงสุด หากไม่แล้วเสร็จภายใน
30 วันสามารถยื่นตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญได้ แล้วอย่างนี้มันล้มล้างการปกครองตรงไหน"
จึงมีการวิเคราะห์กันในกลุ่มแกนนำ ส.ว.สายเลือกตั้ง ถึงพฤติกรรมของ ส.ว.สายสรรหา ที่จับมือกับพรรค
ประชาธิปัตย์ใช้ "กับดัก" กฎหมายปิดเกมฝ่ายพรรคเพื่อไทยและรัฐบาล ด้วยการยื่นคำร้องต่อศาล
รัฐธรรมนูญหลายเรื่อง
เป็นเพราะ ส.ว.สายสรรหา "พลาดท่า" พรรคเพื่อไทยในช่วงการอภิปรายแก้ไขรัฐธรรมนูญเรื่องที่มา ส.ว.
ในวาระ 2 ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงเนื้อหาจากเดิมที่ให้ ส.ว.สรรหาหมดไปตามวาระที่เหลืออยู่ เป็นหมดไป
ทันทีที่รัฐธรรมนูญฉบับที่มา ส.ว.มีผลบังคับใช้
ทำให้ ส.ว.สรรหาไม่สามารถอยู่เฉยได้อีกต่อไป ต้อง "เปิดเกม" ยื่นคำร้องส่งศาลรัฐธรรมนูญ และหวังให้
ศาลรัฐธรรมนูญ "ปิดเกม" ด้วยการตัดสินลงโทษพรรคเพื่อไทยให้ได้ โดยมีเป้าหมายสูงสุดเพื่อล้มกระบวน
การแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งหมด
"เกมมันพลิกเพราะนายสมชาย แสวงการ นายวันชัย สอนศิริ 2 ส.ว.สรรหา ไปอภิปรายท้าทายในที่ประชุม
ว่าตัดวาระ ส.ว.สรรหาไปเลย ไม่อยากอยู่หรอก ทำให้พรรคเพื่อไทยที่ไม่ค่อยพอใจ ส.ว.สรรหา เพราะยื่น
เรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญหลายคำร้องอยู่แล้ว พอมีจังหวะเขาก็เอาคืน ส.ว.สรรหา เกมมันพลิกตั้งแต่ตอนนั้น"
แหล่งข่าวกล่าว
อย่างไรก็ตาม ด้านวอร์รูมกฎหมายพรรคเพื่อไทย กลับไม่สามารถประเมินชะตากรรมพรรคเพื่อไทยที่ถูกลาก
ไปเผชิญหน้ากับศาลรัฐธรรมนูญครั้งนี้ได้ เพราะไม่สามารถหยั่งใจศาลได้ว่าจะตัดสินมาอย่างไร
แม้ไม่สามารถหยั่งใจศาลได้ แต่พรรคเพื่อไทยก็เตรียมทางสู้ ทางรอด โดยแบ่งเป็นบันไดสู่ทางออกรวม
3 ขั้น
ขั้นแรก สู้ทางข้อกฎหมาย โดยสำนักงานกฎหมายพรรคที่มี "ชูศักดิ์ ศิรินิล" เป็นหัวหน้า ระดมขุนพล
กฎหมายทั้งหมดในพรรคเพื่อไทย อาทิ โภคิน พลกุล-พิชิต ชื่นบาน-นพดล ปัทมะ และทีมงานคนใน
คนนอกที่พรรคว่าจ้าง หาช่องต่อสู้ทางกฎหมาย ขุดคำพิพากษาของศาลในอดีตที่เกี่ยวข้องมาใช้ในการ
โต้แย้ง - เทียบเคียง แก้ต่างฝ่ายตรงข้าม
หากเรื่องใดที่พรรคประชาธิปัตย์เคยเป็นฝ่ายถูกร้อง แล้วรอดพ้นเงื้อมมือศาล เช่น พ.ร.ก.เงินกู้ไทยเข้มแข็ง
ที่พรรคเพื่อไทยเคยยื่นร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญว่าเป็นการกู้เงินที่ขัดรัฐธรรมนูญ มาตรา 169 พรรคเพื่อไทย
ก็จะใช้คำแก้ต่างชุดเดียวกับพรรคประชาธิปัตย์ย้อนศรกลับไป
หากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยเป็นลบกับพรรคเพื่อไทย วาทกรรม "2 มาตรฐาน" จะถูกงัดออกมาใช้ทันที
อันนำมาสู่การต่อสู้ในขั้นที่สอง โดยใช้มวลชนกดดัน ผ่านกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่ง
ชาติ (นปช.) และเครือข่าย เช่น กลุ่มสื่อวิทยุประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (กวป.) เป็นต้น
พร้อมทั้งให้ ส.ส.เสื้อแดง ในพรรคร่างคำฟ้องไว้ล่วงหน้า เพื่อรอจังหวะที่ตุลาการภิวัตน์แผลงฤทธิ์ และมี
แนวโน้มที่จะพิฆาตพรรคเพื่อไทย ส.ส.กลุ่มนี้ก็จะใช้สิทธิ์แจ้งความตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157
หรืออาจดำเนินการถอดถอนตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทันที
ทางสู้ขั้นที่สาม หากสถานการณ์ถึงขั้นเลวร้ายที่สุด ศาลวินิจฉัยให้ยุบพรรคเพื่อไทย-พรรคเพื่อไทยก็จะใช้
โมเดลเดิม เหมือนครั้งที่พรรคพลังประชาชนถูกยุบ และหาหัวใหม่เป็นพรรคเพื่อไทย
ซึ่งพรรคเพื่อไทยมีการตั้งพรรคสำรองไว้แล้วคือ "พรรคเพื่อธรรม" ที่มีนายวัลลภ สุปริยศิลป์ อดีต ส.ส.พลัง
ประชาชน คนกันเองในพรรคเพื่อไทย เป็นหัวหน้าพรรค
ขณะที่ "สมชาย วงศ์สวัสดิ์" อดีตนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์พรรคเพื่อไทย
ขยายความแผนการต่อสู้ครั้งนี้ พร้อมทั้งลำดับการต่อสู้ทางกฎหมาย แยกเป็นรายมาตรา
โดยประเมินกรณีเลวร้ายที่สุดในทุกขั้นตอนแล้วว่า ผลลัพธ์-คำตัดสินจะไม่ถูกพาดพิงถึง "ยิ่งลักษณ์" อย่าง
แน่นอน
1.ปัญหารัฐธรรมนูญมาตรา 154 ที่ฝ่ายพรรคประชาธิปัตย์ และกลุ่ม ส.ว.สรรหา เรียกร้องให้นายกฯชะลอ
การทูลเกล้าฯ ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญประเด็นที่มา ส.ว.ออกไป เพื่อรอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าขัดรัฐ
ธรรมนูญหรือไม่ แต่ปรากฏว่า "ยิ่งลักษณ์" ได้ยื่นทูลเกล้าฯไปแล้วนั้น
"สมชาย" อธิบายว่า มาตรา 154 เป็นเรื่องที่ให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า พ.ร.บ.ใดขัดรัฐธรรมนูญหรือเปล่า
หรือกฎหมายลูกที่ออกตามรัฐธรรมนูญออกมาขัดกับรัฐธรรมนูญที่เป็นกฎหมายแม่หรือไม่ แต่การแก้รัฐ
ธรรมนูญเป็นการแก้กฎหมายแม่ตามรัฐธรรมนูญ 291 นั่นหมายความว่าไม่ใช่กฎหมายที่อยู่ในข่ายมาตรา 154
ดังนั้น กรณีของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ยื่นทูลเกล้าฯก็ทำหน้าที่เป็นแค่ไปรษณีย์เท่านั้น
2.ร่าง พ.ร.บ. 2 ล้านล้าน เป็นเรื่องกฎหมายปกติ ไม่ใช่ พ.ร.บ.งบประมาณ หากถูกตีตกในชั้นศาลรัฐธรรมนูญ
ก็ถือว่าร่างกฎหมายดังกล่าวตกไป รัฐบาลไม่จำเป็นต้องแสดงความรับผิดชอบด้วยการยุบสภาหรือลาออก
3.พ.ร.บ.นิรโทษกรรม "สมชาย" เห็นว่า เป็นเรื่องของพรรคเพื่อไทยดำเนินการ หากมีข้อผิดพลาดพรรคเพื่อ
ไทยรับผิดชอบ มิใช่รัฐบาล
เขากล่าวว่า "ตอนนี้ทุกอย่างเดินไปตามกระบวนการ มีการไปยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญก็ว่าไป การแพ้คดีในศาล
รัฐธรรมนูญก็ไม่ได้ทำให้รัฐบาลต้องลาออก เมื่อดูว่ามีกฎหมายไหนบ้าง โดยเฉพาะกฎหมายแก้ไขรัฐ
ธรรมนูญมันเป็นกฎหมายที่ยื่นโดย ส.ส.ไม่ได้ยื่นโดยรัฐบาล รัฐบาลมีหน้าที่อย่างเดียวคือ เมื่อกฎหมายผ่าน
สภา นายกฯมีหน้าที่นำขึ้นทูลเกล้าฯ เป็นไปรษณีย์ ไม่ต้องมารับผิดชอบอะไร"
"ส่วนผู้เสนอกฎหมายที่เป็น ส.ส.ก็ไม่ได้เป็นกรรมการบริหารพรรค นายกฯก็ไม่ได้เป็นกรรมการบริหารพรรค
แต่สมมติว่าถ้ามันจะนำไปสู่การยุบพรรค คุณจะไปหวั่นไหวอย่างนั้นไม่ได้ ยุบพรรคก็ยุบหลายทีแล้วนี่ ยุบ
แล้วก็ตั้งขึ้นมาใหม่อีก"
ดังนั้น กรณีเลวร้ายที่สุดหากมีการยุบพรรค แม้ไม่มีพรรคเพื่อไทยแต่ยังมีพรรคสำรองให้ ส.ส.เพื่อไทยเดิม
เข้าไปอยู่ในบ้านสำรองชื่อ "เพื่อธรรม" ได้ทันที
นอกจากนี้ ยังมีทางสู้-ทางถอยอีกหนึ่งทางที่ "พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร" อดีตนายกรัฐมนตรี ผู้มีอำนาจตัวจริง
ในพรรคเพื่อไทย สั่งการตรงมาจากฮ่องกง ให้พรรคเตรียมพร้อมสำหรับการยุบสภาไว้ หากแรงกดดันทาง
การเมืองทั้งในและนอกพรรคมีมากเกินความสามารถในการควบคุม
โดย "พ.ต.ท.ทักษิณ" สั่งให้พรรคจัดทำบัญชีรายชื่อสำหรับการเลือกตั้งใหม่ วางตัว "ยิ่งลักษณ์" ให้อยู่ใน
ลำดับที่ 1 เช่นเดิม พร้อมทั้งให้ทีมงานทำโพลของพรรคลงพื้นที่เช็กความนิยม ส.ส.ของพรรคทั่วประเทศ
หาก ส.ส.ในพื้นที่ใดคะแนนนิยมตก หรือกระแสไม่ดี จะมีการเปลี่ยนตัวทันที
คู่ขนานกับการเดินสายฟ้องประชาชน ยืนยันความจริงใจของ "รัฐบาลยิ่งลักษณ์" ในการผลักดันร่างกฎหมาย
ทุกฉบับ แต่หากฉบับใดไม่สามารถประกาศใช้ได้ทัน ให้อธิบายว่าเป็นความผิดของกลุ่มผู้ขัดขวาง มิใช่ความ
ผิดรัฐบาล
นอกจากนั้น อาจมีการปรับคณะรัฐมนตรีบางตำแหน่งที่มีปัญหาการถือครองหุ้นต้องห้าม คือ นายสรวงศ์
เทียนทอง รมช.สาธารณสุข และ นายวิเชษฐ์ เกษมทองศรี รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมออกไป
ขณะที่ "จารุพงศ์ เรืองสุวรรณ" รมว.มหาดไทย และหัวหน้าพรรคเพื่อไทย อาจหลุดเก้าอี้ มท.1 ไปสู่เก้าอี้
รองนายกฯแทน
และมีความเป็นไปได้ที่ "โภคิน พลกุล"ที่ปรึกษานายกฯ จะมานั่งเก้าอี้ มท.1 แทน "จารุพงศ์" เพราะ "โภคิน"
มีข่าวมาตลอดว่าจะกลับมาเป็นรัฐมนตรีในรัฐบาลยิ่งลักษณ์ แต่ที่ยังไม่สามารถกลับมาได้เพราะติดปัญหาคดี
รถ-เรือดับเพลิงสมัยที่เป็น รมว.มหาดไทยในรัฐบาลทักษิณ ซึ่ง ณ เวลานี้ "โภคิน" ก็ได้พ้นมลทินจากข้อ
กล่าวหาทั้งปวงแล้ว
ทั้งหมดเป็นทางออกที่ถูกปูทางไว้อย่างเป็นระบบ ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ที่คนพรรคเพื่อไทย
เชื่อว่ายังไม่มีกรณีเลวร้าย ๆ ใดที่จะกระทบถึงตัว "ยิ่งลักษณ์" นายกรัฐมนตรีโดยตรง
ติดตามข่าวสาร ผ่านแฟนเพจเฟซบุ๊ค ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
www.facebook.com/prachachat
ทวิตเตอร์ @prachachat
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1380971061
เอาไง เอากัน เตรียมพร้อมเสมอ
แผนรุก-ทางรอด "เพื่อไทย" 3 ขั้นบันไดสู้ตุลาการภิวัฒน์ ส่ง"ยิ่งลักษณ์" ลอยพ้นปัญหา !! ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
หมายกับอนาคตลมหายใจของพรรคเพื่อไทยอีกครั้ง
เป็นการเผชิญหน้าที่ต่อเนื่องจากปี 2555 เมื่อศาลรัฐธรรมนูญใช้อำนาจตุลาการ "สั่งเบรก" การลงมติการ
แก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 ในวาระ 3 พร้อมแนะนำให้พรรคเพื่อไทยทำประชามติถามความเห็นของ
ประชาชน อันเป็นเจ้าของรัฐธรรมนูญเสียก่อน
ทำให้ศักราช 2556 พรรคเพื่อไทยจึงเปลี่ยนแผน-เปิดช่องทางใหม่ หันทิศทางเดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญ
แบบรายมาตราแทน เพราะรู้แน่ว่าหากทำประชามติถามความเห็นประชาชน อาจตกม้าตายเพราะคะแนนอาจ
ไม่ผ่านเกณฑ์ที่รัฐธรรมนูญกำหนด
แต่ใช่ว่าเส้นทางใหม่จะไร้อุปสรรคเสียทีเดียว...
เหตุเพราะไม่ว่าจะขยับเขยื้อน ผลักดันกฎหมายการเมืองหรือเศรษฐกิจ จุดจบมิได้อยู่ที่การประกาศลงใน
ราชกิจจานุเบกษาและมีผลบังคับใช้ แต่กฎหมายต่าง ๆ ของพรรคเพื่อไทยกลับไปกองที่ศาลรัฐธรรมนูญ
เพื่อรอการ "ลงดาบ"
ทำให้หัวใจของคนในพรรคเพื่อไทยและรัฐบาล ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ต้องลุ้นระทึก
นั่นเพราะคู่ขัดแย้งของพรรคเพื่อไทย ไม่ว่าพรรคประชาธิปัตย์ ไม่ว่ากลุ่ม ส.ว.สรรหา ต่างยื่นคำร้องต่อ
ศาลรัฐธรรมนูญหลายคำร้อง หลายวาระ
เช่น การแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตรา ทั้งฉบับแก้ไขมาตรา 68 ที่บัญญัติถึงขอบเขตอำนาจรับคำร้องของ
ศาลรัฐธรรมนูญตามมาตรา 68 และฉบับแก้ไขที่มา ส.ว.
ที่อีกฝ่ายชี้ว่า ล้วนเข้าข่ายมาตรา 68 ถือว่าเป็นการกระทำเพื่อล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีโทษร้ายแรงถึงขั้นยุบพรรคแทบทั้งสิ้น
รวมถึงร่าง พ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของ
ประเทศ พ.ศ.... หรือ พ.ร.บ. 2 ล้านล้าน ซึ่งฝ่ายค้านก็เตรียมยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าอาจขัด
รัฐธรรมนูญมาตรา 169 หรือไม่ เพราะการใช้เงินจะต้องผ่านกฎหมาย 4 ฉบับนี้เท่านั้น 1.งบประมาณรายจ่าย
ประจำปี 2.กฎหมายโอนงบประมาณ 3.งบประมาณวิธีการจ่ายงบประมาณ และ 4.กฎหมายเงินคงคลัง
เพียงแค่พรรคประชาธิปัตย์กับกลุ่ม ส.ว.สรรหา จับมือแยกกันเดิน-ร่วมกันตี ยื่นคำร้องเรื่องการแก้ไขมาตรา
68 อย่างเดียว นับรวมแล้วถึง 6 สำนวน
หน้าตาของผู้ร้องมีชื่อ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง อดีตแกนนำกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย-
พล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม ส.ว.สรรหา-สมชาย แสวงการ ส.ว.สรรหา-วรินทร์ เทียมจรัส อดีต ส.ว.สรรหา-
วิรัตน์ กัลยาศิริ ส.ส.สงขลา พรรคประชาธิปัตย์
เช่นเดียวกับกรณีการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่มา ส.ว.เข้าข่ายขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 68 ตัวละครที่ยื่นคำร้องก็เป็น
คนหน้าเดิม โดยเฉพาะพรรคประชาธิปัตย์ และกลุ่ม ส.ว.สรรหา
ไม่นับกรณีที่คนกลุ่มเดียวกันยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญให้นายกรัฐมนตรีชะลอการนำร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ
ที่มา ส.ว. ที่ผ่านการเห็นชอบจากที่ประชุมรัฐสภาขึ้นทูลเกล้าฯ ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 154 ที่ศาล
รัฐธรรมนูญมีมติให้ยกคำร้องไปแล้ว
"ดิเรก ถึงฝั่ง" ส.ว.นนทบุรี ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ
มาตรา 68 และ 237 ใช้สิทธิในฐานะประธานแก้ไขมาตรา 68 และในฐานะแกนนำ ส.ว.สายเลือกตั้งที่ได้
รับประโยชน์จากการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่มา ส.ว. โต้แย้งว่า พลิกตำราหลายเล่มก็ไม่เห็นว่าการแก้ไข
รัฐธรรมนูญมาตรา 68 หรือการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่มาของ ส.ว.นั้นขัดรัฐธรรมนูญ
"เพราะมาตรา 1 ในร่างแก้ไขมาตรา 68 เขียนไว้ว่า ถ้าผู้ใดพบเห็นการกระทำล้มล้างการปกครองในระบอบ
ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ให้ยื่นเรื่องผ่านอัยการสูงสุด หากไม่แล้วเสร็จภายใน
30 วันสามารถยื่นตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญได้ แล้วอย่างนี้มันล้มล้างการปกครองตรงไหน"
จึงมีการวิเคราะห์กันในกลุ่มแกนนำ ส.ว.สายเลือกตั้ง ถึงพฤติกรรมของ ส.ว.สายสรรหา ที่จับมือกับพรรค
ประชาธิปัตย์ใช้ "กับดัก" กฎหมายปิดเกมฝ่ายพรรคเพื่อไทยและรัฐบาล ด้วยการยื่นคำร้องต่อศาล
รัฐธรรมนูญหลายเรื่อง
เป็นเพราะ ส.ว.สายสรรหา "พลาดท่า" พรรคเพื่อไทยในช่วงการอภิปรายแก้ไขรัฐธรรมนูญเรื่องที่มา ส.ว.
ในวาระ 2 ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงเนื้อหาจากเดิมที่ให้ ส.ว.สรรหาหมดไปตามวาระที่เหลืออยู่ เป็นหมดไป
ทันทีที่รัฐธรรมนูญฉบับที่มา ส.ว.มีผลบังคับใช้
ทำให้ ส.ว.สรรหาไม่สามารถอยู่เฉยได้อีกต่อไป ต้อง "เปิดเกม" ยื่นคำร้องส่งศาลรัฐธรรมนูญ และหวังให้
ศาลรัฐธรรมนูญ "ปิดเกม" ด้วยการตัดสินลงโทษพรรคเพื่อไทยให้ได้ โดยมีเป้าหมายสูงสุดเพื่อล้มกระบวน
การแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งหมด
"เกมมันพลิกเพราะนายสมชาย แสวงการ นายวันชัย สอนศิริ 2 ส.ว.สรรหา ไปอภิปรายท้าทายในที่ประชุม
ว่าตัดวาระ ส.ว.สรรหาไปเลย ไม่อยากอยู่หรอก ทำให้พรรคเพื่อไทยที่ไม่ค่อยพอใจ ส.ว.สรรหา เพราะยื่น
เรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญหลายคำร้องอยู่แล้ว พอมีจังหวะเขาก็เอาคืน ส.ว.สรรหา เกมมันพลิกตั้งแต่ตอนนั้น"
แหล่งข่าวกล่าว
อย่างไรก็ตาม ด้านวอร์รูมกฎหมายพรรคเพื่อไทย กลับไม่สามารถประเมินชะตากรรมพรรคเพื่อไทยที่ถูกลาก
ไปเผชิญหน้ากับศาลรัฐธรรมนูญครั้งนี้ได้ เพราะไม่สามารถหยั่งใจศาลได้ว่าจะตัดสินมาอย่างไร
แม้ไม่สามารถหยั่งใจศาลได้ แต่พรรคเพื่อไทยก็เตรียมทางสู้ ทางรอด โดยแบ่งเป็นบันไดสู่ทางออกรวม
3 ขั้น
ขั้นแรก สู้ทางข้อกฎหมาย โดยสำนักงานกฎหมายพรรคที่มี "ชูศักดิ์ ศิรินิล" เป็นหัวหน้า ระดมขุนพล
กฎหมายทั้งหมดในพรรคเพื่อไทย อาทิ โภคิน พลกุล-พิชิต ชื่นบาน-นพดล ปัทมะ และทีมงานคนใน
คนนอกที่พรรคว่าจ้าง หาช่องต่อสู้ทางกฎหมาย ขุดคำพิพากษาของศาลในอดีตที่เกี่ยวข้องมาใช้ในการ
โต้แย้ง - เทียบเคียง แก้ต่างฝ่ายตรงข้าม
หากเรื่องใดที่พรรคประชาธิปัตย์เคยเป็นฝ่ายถูกร้อง แล้วรอดพ้นเงื้อมมือศาล เช่น พ.ร.ก.เงินกู้ไทยเข้มแข็ง
ที่พรรคเพื่อไทยเคยยื่นร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญว่าเป็นการกู้เงินที่ขัดรัฐธรรมนูญ มาตรา 169 พรรคเพื่อไทย
ก็จะใช้คำแก้ต่างชุดเดียวกับพรรคประชาธิปัตย์ย้อนศรกลับไป
หากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยเป็นลบกับพรรคเพื่อไทย วาทกรรม "2 มาตรฐาน" จะถูกงัดออกมาใช้ทันที
อันนำมาสู่การต่อสู้ในขั้นที่สอง โดยใช้มวลชนกดดัน ผ่านกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่ง
ชาติ (นปช.) และเครือข่าย เช่น กลุ่มสื่อวิทยุประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (กวป.) เป็นต้น
พร้อมทั้งให้ ส.ส.เสื้อแดง ในพรรคร่างคำฟ้องไว้ล่วงหน้า เพื่อรอจังหวะที่ตุลาการภิวัตน์แผลงฤทธิ์ และมี
แนวโน้มที่จะพิฆาตพรรคเพื่อไทย ส.ส.กลุ่มนี้ก็จะใช้สิทธิ์แจ้งความตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157
หรืออาจดำเนินการถอดถอนตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทันที
ทางสู้ขั้นที่สาม หากสถานการณ์ถึงขั้นเลวร้ายที่สุด ศาลวินิจฉัยให้ยุบพรรคเพื่อไทย-พรรคเพื่อไทยก็จะใช้
โมเดลเดิม เหมือนครั้งที่พรรคพลังประชาชนถูกยุบ และหาหัวใหม่เป็นพรรคเพื่อไทย
ซึ่งพรรคเพื่อไทยมีการตั้งพรรคสำรองไว้แล้วคือ "พรรคเพื่อธรรม" ที่มีนายวัลลภ สุปริยศิลป์ อดีต ส.ส.พลัง
ประชาชน คนกันเองในพรรคเพื่อไทย เป็นหัวหน้าพรรค
ขณะที่ "สมชาย วงศ์สวัสดิ์" อดีตนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์พรรคเพื่อไทย
ขยายความแผนการต่อสู้ครั้งนี้ พร้อมทั้งลำดับการต่อสู้ทางกฎหมาย แยกเป็นรายมาตรา
โดยประเมินกรณีเลวร้ายที่สุดในทุกขั้นตอนแล้วว่า ผลลัพธ์-คำตัดสินจะไม่ถูกพาดพิงถึง "ยิ่งลักษณ์" อย่าง
แน่นอน
1.ปัญหารัฐธรรมนูญมาตรา 154 ที่ฝ่ายพรรคประชาธิปัตย์ และกลุ่ม ส.ว.สรรหา เรียกร้องให้นายกฯชะลอ
การทูลเกล้าฯ ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญประเด็นที่มา ส.ว.ออกไป เพื่อรอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าขัดรัฐ
ธรรมนูญหรือไม่ แต่ปรากฏว่า "ยิ่งลักษณ์" ได้ยื่นทูลเกล้าฯไปแล้วนั้น
"สมชาย" อธิบายว่า มาตรา 154 เป็นเรื่องที่ให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า พ.ร.บ.ใดขัดรัฐธรรมนูญหรือเปล่า
หรือกฎหมายลูกที่ออกตามรัฐธรรมนูญออกมาขัดกับรัฐธรรมนูญที่เป็นกฎหมายแม่หรือไม่ แต่การแก้รัฐ
ธรรมนูญเป็นการแก้กฎหมายแม่ตามรัฐธรรมนูญ 291 นั่นหมายความว่าไม่ใช่กฎหมายที่อยู่ในข่ายมาตรา 154
ดังนั้น กรณีของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ยื่นทูลเกล้าฯก็ทำหน้าที่เป็นแค่ไปรษณีย์เท่านั้น
2.ร่าง พ.ร.บ. 2 ล้านล้าน เป็นเรื่องกฎหมายปกติ ไม่ใช่ พ.ร.บ.งบประมาณ หากถูกตีตกในชั้นศาลรัฐธรรมนูญ
ก็ถือว่าร่างกฎหมายดังกล่าวตกไป รัฐบาลไม่จำเป็นต้องแสดงความรับผิดชอบด้วยการยุบสภาหรือลาออก
3.พ.ร.บ.นิรโทษกรรม "สมชาย" เห็นว่า เป็นเรื่องของพรรคเพื่อไทยดำเนินการ หากมีข้อผิดพลาดพรรคเพื่อ
ไทยรับผิดชอบ มิใช่รัฐบาล
เขากล่าวว่า "ตอนนี้ทุกอย่างเดินไปตามกระบวนการ มีการไปยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญก็ว่าไป การแพ้คดีในศาล
รัฐธรรมนูญก็ไม่ได้ทำให้รัฐบาลต้องลาออก เมื่อดูว่ามีกฎหมายไหนบ้าง โดยเฉพาะกฎหมายแก้ไขรัฐ
ธรรมนูญมันเป็นกฎหมายที่ยื่นโดย ส.ส.ไม่ได้ยื่นโดยรัฐบาล รัฐบาลมีหน้าที่อย่างเดียวคือ เมื่อกฎหมายผ่าน
สภา นายกฯมีหน้าที่นำขึ้นทูลเกล้าฯ เป็นไปรษณีย์ ไม่ต้องมารับผิดชอบอะไร"
"ส่วนผู้เสนอกฎหมายที่เป็น ส.ส.ก็ไม่ได้เป็นกรรมการบริหารพรรค นายกฯก็ไม่ได้เป็นกรรมการบริหารพรรค
แต่สมมติว่าถ้ามันจะนำไปสู่การยุบพรรค คุณจะไปหวั่นไหวอย่างนั้นไม่ได้ ยุบพรรคก็ยุบหลายทีแล้วนี่ ยุบ
แล้วก็ตั้งขึ้นมาใหม่อีก"
ดังนั้น กรณีเลวร้ายที่สุดหากมีการยุบพรรค แม้ไม่มีพรรคเพื่อไทยแต่ยังมีพรรคสำรองให้ ส.ส.เพื่อไทยเดิม
เข้าไปอยู่ในบ้านสำรองชื่อ "เพื่อธรรม" ได้ทันที
นอกจากนี้ ยังมีทางสู้-ทางถอยอีกหนึ่งทางที่ "พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร" อดีตนายกรัฐมนตรี ผู้มีอำนาจตัวจริง
ในพรรคเพื่อไทย สั่งการตรงมาจากฮ่องกง ให้พรรคเตรียมพร้อมสำหรับการยุบสภาไว้ หากแรงกดดันทาง
การเมืองทั้งในและนอกพรรคมีมากเกินความสามารถในการควบคุม
โดย "พ.ต.ท.ทักษิณ" สั่งให้พรรคจัดทำบัญชีรายชื่อสำหรับการเลือกตั้งใหม่ วางตัว "ยิ่งลักษณ์" ให้อยู่ใน
ลำดับที่ 1 เช่นเดิม พร้อมทั้งให้ทีมงานทำโพลของพรรคลงพื้นที่เช็กความนิยม ส.ส.ของพรรคทั่วประเทศ
หาก ส.ส.ในพื้นที่ใดคะแนนนิยมตก หรือกระแสไม่ดี จะมีการเปลี่ยนตัวทันที
คู่ขนานกับการเดินสายฟ้องประชาชน ยืนยันความจริงใจของ "รัฐบาลยิ่งลักษณ์" ในการผลักดันร่างกฎหมาย
ทุกฉบับ แต่หากฉบับใดไม่สามารถประกาศใช้ได้ทัน ให้อธิบายว่าเป็นความผิดของกลุ่มผู้ขัดขวาง มิใช่ความ
ผิดรัฐบาล
นอกจากนั้น อาจมีการปรับคณะรัฐมนตรีบางตำแหน่งที่มีปัญหาการถือครองหุ้นต้องห้าม คือ นายสรวงศ์
เทียนทอง รมช.สาธารณสุข และ นายวิเชษฐ์ เกษมทองศรี รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมออกไป
ขณะที่ "จารุพงศ์ เรืองสุวรรณ" รมว.มหาดไทย และหัวหน้าพรรคเพื่อไทย อาจหลุดเก้าอี้ มท.1 ไปสู่เก้าอี้
รองนายกฯแทน
และมีความเป็นไปได้ที่ "โภคิน พลกุล"ที่ปรึกษานายกฯ จะมานั่งเก้าอี้ มท.1 แทน "จารุพงศ์" เพราะ "โภคิน"
มีข่าวมาตลอดว่าจะกลับมาเป็นรัฐมนตรีในรัฐบาลยิ่งลักษณ์ แต่ที่ยังไม่สามารถกลับมาได้เพราะติดปัญหาคดี
รถ-เรือดับเพลิงสมัยที่เป็น รมว.มหาดไทยในรัฐบาลทักษิณ ซึ่ง ณ เวลานี้ "โภคิน" ก็ได้พ้นมลทินจากข้อ
กล่าวหาทั้งปวงแล้ว
ทั้งหมดเป็นทางออกที่ถูกปูทางไว้อย่างเป็นระบบ ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ที่คนพรรคเพื่อไทย
เชื่อว่ายังไม่มีกรณีเลวร้าย ๆ ใดที่จะกระทบถึงตัว "ยิ่งลักษณ์" นายกรัฐมนตรีโดยตรง
ติดตามข่าวสาร ผ่านแฟนเพจเฟซบุ๊ค ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
www.facebook.com/prachachat
ทวิตเตอร์ @prachachat
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1380971061
เอาไง เอากัน เตรียมพร้อมเสมอ