ผมเริ่มสนใจการ "ตอน" มะละกอ
ด้วยเหตุผลต่อไปนี้ครับ
1. มะละกอ....ที่ปลูกด้วยเมล็ดกลายพันธุ์ง่าย
2. มะละกอ....ที่เพาะจากเมล็ดอาจจะได้ต้นตัวผู้
ที่ไม่มีลูกให้เห็น
3. มะละกอ....ที่ปลูกด้วยเมล็ด มักจะมีลำต้นสูง
ทำให้ยากต่อการเก็บผลผลิต คงเพราะได้แดดน้อยด้วย
4. มะละกอ.....ที่ปลูกด้วยเมล็ดอาจจะได้ต้นที่
มีลักษณะด้อยต่างๆ เช่น ลูกเล็ก ใส้กลวง เนื้อบาง ฯลฯ
5. มะละกอ.....ที่ปลูกด้วยเมล็ดใช้เวลานานกว่าจะออกลูก
ฯลฯ
ดังนั้นเมื่อค้นดูใน "เวป" จึงค้นพบว่า...มีวิธีแก้ปัญหา
ต่างๆดังกล่าวได้... 1 ในนั้นก็คือ "การตอน"....
ผมจึงเริ่มลงมือตอนกิ่ง..จากมะละกอของเพื่อนบ้าน
ที่เค้าตัดลำต้น...แล้วมันก็มีกิ่งงอกออกมา หรือบางต้น
ก็มีการแตกเป็นกิ่งแยกแขนงออกมาอย่างในภาพ
วิธีทำ...
1. ใช้ใบมีดคมๆ....บากกิ่งแขนง..ให้เข้าไปประมาณ
1 ใน 3 ของความอ้วนของกิ่ง...
2. ใช้เศษไม้ไผ่ตัดให้เป็นก้านเล็กๆ..ขนาดเท่าๆกับ
ความอ้วนของกิ่งมะละกอ...
3. เอาไม้ไผ่สอดเข้าไประหว่างรอยบาก...เพื่อไม่ให้
เนื้อกิ่งมะละกอมาติดกันเอง
4. ใช้ขุยมะพร้าว...ที่ชุบน้ำหมาดๆ...ใส่ถุงพลาสติก
มัดปากถุงให้แน่น....แล้ว "ใช้มีดกรีด" ถุงขุยมะพร้าว
ให้แยกออกมา...แล้วเอาไปหุ้ม...กิ่งมะละกอ
5. การหุ้มต้องหุ้มให้ครอบคลุม..รอยบากให้หมด
แล้วใช้เชือกมัดหัวท้ายให้แน่น..กรณีนี้ผมใช้
เข็มขัดรัดสายที่เป็น "พลาสติก" แบบที่ช่างไฟใช้
เอามามัดจะช่วยให้ง่าย และสะดวกกว่า
6. ไม่ต้องรดน้ำที่กิ่งตอน..รอ 1 เดือนเศษๆ..(45 วัน)
แต่ในภาพ ผมเห็นรากออกมามากแล้วเมื่อเวลาผ่านไป
ราว 39 วัน ก็ได้เห็นรากออกมามากแล้ว...จึงตัด
เอามาใส่ถุงดำ..ที่อาจจะใช้ "ขี้เถ้าแกลบ" หรือดิน
ก็ได้..เอาไม้ปักค้ำยันกันล้มหน่อย..รอให้ "รากเดิน"
ดีๆก่อนลงปลูกจริงครับ...
ในภาพ..ต่อๆมา..แสดงให้เห็นว่ามีรากออกมามาก
ทั้งสองกิ่ง....ซึ่งควรจะแช่น้ำไว้สักพัก...จึงค่อยแกะ
"ถุงพลาสติก"...ออกมาอย่างระมัดระวัง..ไม่ให้
รากขาด หรือกระทบกระเทือนได้...แล้ววางไว้
ในเขต "แดดรำไรๆ" รดน้ำทุกวัน...จนลำต้นแข็งแรง
และรากเดินมากพอแล้ว..จึงเอาลงปลูกลงดิน
แต่ก่อนแกะถุงดำออก...ควรงดน้ำ..เพื่อให้ดินที่
อยู่ในถุงดำ..แข็งเพื่อช่วย "อุ้ม" ไม่ให้รากขาด
อันจะช่วยให้ต้นมะละกอ.."ฟื้นตัวเร็วกว่า" ครับ
ข้อมูลเหล่านี้ผมได้มาจาก clip ต่างๆ..ที่ค้นหา
ได้จาก Google ครับ...ขอขอบคุณผู้ผลิต clip
ต่างๆเหล่านั้นด้วย มา ณ ที่นี้นะครับ
มานำเสนอภาพแสดงผลการตอนมะละกอ
ผมเริ่มสนใจการ "ตอน" มะละกอ
ด้วยเหตุผลต่อไปนี้ครับ
1. มะละกอ....ที่ปลูกด้วยเมล็ดกลายพันธุ์ง่าย
2. มะละกอ....ที่เพาะจากเมล็ดอาจจะได้ต้นตัวผู้
ที่ไม่มีลูกให้เห็น
3. มะละกอ....ที่ปลูกด้วยเมล็ด มักจะมีลำต้นสูง
ทำให้ยากต่อการเก็บผลผลิต คงเพราะได้แดดน้อยด้วย
4. มะละกอ.....ที่ปลูกด้วยเมล็ดอาจจะได้ต้นที่
มีลักษณะด้อยต่างๆ เช่น ลูกเล็ก ใส้กลวง เนื้อบาง ฯลฯ
5. มะละกอ.....ที่ปลูกด้วยเมล็ดใช้เวลานานกว่าจะออกลูก
ฯลฯ
ดังนั้นเมื่อค้นดูใน "เวป" จึงค้นพบว่า...มีวิธีแก้ปัญหา
ต่างๆดังกล่าวได้... 1 ในนั้นก็คือ "การตอน"....
ผมจึงเริ่มลงมือตอนกิ่ง..จากมะละกอของเพื่อนบ้าน
ที่เค้าตัดลำต้น...แล้วมันก็มีกิ่งงอกออกมา หรือบางต้น
ก็มีการแตกเป็นกิ่งแยกแขนงออกมาอย่างในภาพ
วิธีทำ...
1. ใช้ใบมีดคมๆ....บากกิ่งแขนง..ให้เข้าไปประมาณ
1 ใน 3 ของความอ้วนของกิ่ง...
2. ใช้เศษไม้ไผ่ตัดให้เป็นก้านเล็กๆ..ขนาดเท่าๆกับ
ความอ้วนของกิ่งมะละกอ...
3. เอาไม้ไผ่สอดเข้าไประหว่างรอยบาก...เพื่อไม่ให้
เนื้อกิ่งมะละกอมาติดกันเอง
4. ใช้ขุยมะพร้าว...ที่ชุบน้ำหมาดๆ...ใส่ถุงพลาสติก
มัดปากถุงให้แน่น....แล้ว "ใช้มีดกรีด" ถุงขุยมะพร้าว
ให้แยกออกมา...แล้วเอาไปหุ้ม...กิ่งมะละกอ
5. การหุ้มต้องหุ้มให้ครอบคลุม..รอยบากให้หมด
แล้วใช้เชือกมัดหัวท้ายให้แน่น..กรณีนี้ผมใช้
เข็มขัดรัดสายที่เป็น "พลาสติก" แบบที่ช่างไฟใช้
เอามามัดจะช่วยให้ง่าย และสะดวกกว่า
6. ไม่ต้องรดน้ำที่กิ่งตอน..รอ 1 เดือนเศษๆ..(45 วัน)
แต่ในภาพ ผมเห็นรากออกมามากแล้วเมื่อเวลาผ่านไป
ราว 39 วัน ก็ได้เห็นรากออกมามากแล้ว...จึงตัด
เอามาใส่ถุงดำ..ที่อาจจะใช้ "ขี้เถ้าแกลบ" หรือดิน
ก็ได้..เอาไม้ปักค้ำยันกันล้มหน่อย..รอให้ "รากเดิน"
ดีๆก่อนลงปลูกจริงครับ...
ในภาพ..ต่อๆมา..แสดงให้เห็นว่ามีรากออกมามาก
ทั้งสองกิ่ง....ซึ่งควรจะแช่น้ำไว้สักพัก...จึงค่อยแกะ
"ถุงพลาสติก"...ออกมาอย่างระมัดระวัง..ไม่ให้
รากขาด หรือกระทบกระเทือนได้...แล้ววางไว้
ในเขต "แดดรำไรๆ" รดน้ำทุกวัน...จนลำต้นแข็งแรง
และรากเดินมากพอแล้ว..จึงเอาลงปลูกลงดิน
แต่ก่อนแกะถุงดำออก...ควรงดน้ำ..เพื่อให้ดินที่
อยู่ในถุงดำ..แข็งเพื่อช่วย "อุ้ม" ไม่ให้รากขาด
อันจะช่วยให้ต้นมะละกอ.."ฟื้นตัวเร็วกว่า" ครับ
ข้อมูลเหล่านี้ผมได้มาจาก clip ต่างๆ..ที่ค้นหา
ได้จาก Google ครับ...ขอขอบคุณผู้ผลิต clip
ต่างๆเหล่านั้นด้วย มา ณ ที่นี้นะครับ