ก่อนที่ทุกอย่างจะสายเกินไป แม้มีชาวพุทธที่จัดตั้งกลุ่มบ้างแล้วเพื่อต่อสู้ในหลายๆเหตุการณ์ แต่เพื่อไม่ให้ประมาทกัน
ฝากบทความให้อ่านกันครับ แบ่งเป็นตอนๆนะครับ..ขออนุโมทนาชาวพุทธทุกๆท่านในห้องศาสนานี้..
...ตอนที่1..
__________
เมื่อครั้งสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรสทรงบัญชาการคณะสงฆ์ทั่วราชอาณาจักรนั้นมักเสด็จตรวจสภาพการพระศาสนาตามหัวเมืองอยู่เนือง ๆ น่าสังเกตว่าทุกครั้งที่ทรงกล่าวให้โอวาทแก่พระสงฆ์ที่มาประชุมรับเสด็จ จะตรัสย้ำให้พระทุกรูปถือเป็นธุระในการพระศาสนา หมั่นดูแลกิจการของส่วนรวม ด้วยการเสียสละประโยชน์ส่วนตน
การที่ตรัสย้ำทุกครั้งในโอกาสดังกล่าว ชวนให้เข้าใจได้ว่าพระสังฆาธิการส่วนใหญ่ในเวลานั้นยังย่อหย่อนในเรื่องการดูแลงานพระศาสนาในเขตความรับผิดชอบของตน อาจเป็นเพราะว่าเวลานั้นระบบการบริหารการคณะสงฆ์ในลักษณะที่ลดหลั่นจากมณฑลลงมาถึงเมืองและแขวงนั้นยังเป็นของใหม่ เพิ่งจัดรูปขึ้นอย่างเป็นระบบในสมัยของพระองค์นั่นเอง พระส่วนใหญ่จึงยังเคยชินแต่การดูแลเฉพาะในเขตวัดหรือชุมชนของท่านเท่านั้น
แต่ก็เป็นไปได้ว่าคนไทยแต่ก่อนมีความโน้มเอียงเช่นนั้นเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว คือสนใจเฉพาะเรื่องของตน ถ้าจะใส่ใจรับผิดชอบส่วนรวมก็ไม่เกินจากขอบเขตชุมชนของตน "ส่วนรวม"ในความหมายที่แปลว่าสังคมหรือชาตินั้นเป็นของใหม่ที่เพิ่งมีเมื่อศตวรรษที่แล้วนี่เอง
น่าแปลกตรงที่แม้เวลาจะผ่านมาร่วมร้อยปีแล้ว แต่ความห่วงใยรับผิดชอบของคนไทยโดยเฉพาะชาวพุทธโดยทั่วไปก็ดูจะยังไม่เปลี่ยนแปลงเท่าไร ซ้ำร้ายอาจจะเรียวลงด้วยซ้ำ คือแม้แต่เรื่องชุมชนของตนก็ไม่ค่อยใส่ใจกลับเน้นเรื่องของตัวมากขึ้น ทั้ง ๆ ที่คำว่า"ส่วนรวม"ในปัจจุบันได้มีความหมายกว้างกว่าหมู่บ้านหรือหมู่คณะไปมากแล้ว
อ้างอิง(อ่านทั้งหมดได้ในลิงค์)
http://www.visalo.org/article/matichon254203.htm
____________
ถามหาชาวพุทธไทยในกรณีธรรมกาย พระไพศาล วิสาโล ตอนที่ 1
ฝากบทความให้อ่านกันครับ แบ่งเป็นตอนๆนะครับ..ขออนุโมทนาชาวพุทธทุกๆท่านในห้องศาสนานี้.....ตอนที่1..
__________
เมื่อครั้งสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรสทรงบัญชาการคณะสงฆ์ทั่วราชอาณาจักรนั้นมักเสด็จตรวจสภาพการพระศาสนาตามหัวเมืองอยู่เนือง ๆ น่าสังเกตว่าทุกครั้งที่ทรงกล่าวให้โอวาทแก่พระสงฆ์ที่มาประชุมรับเสด็จ จะตรัสย้ำให้พระทุกรูปถือเป็นธุระในการพระศาสนา หมั่นดูแลกิจการของส่วนรวม ด้วยการเสียสละประโยชน์ส่วนตน
การที่ตรัสย้ำทุกครั้งในโอกาสดังกล่าว ชวนให้เข้าใจได้ว่าพระสังฆาธิการส่วนใหญ่ในเวลานั้นยังย่อหย่อนในเรื่องการดูแลงานพระศาสนาในเขตความรับผิดชอบของตน อาจเป็นเพราะว่าเวลานั้นระบบการบริหารการคณะสงฆ์ในลักษณะที่ลดหลั่นจากมณฑลลงมาถึงเมืองและแขวงนั้นยังเป็นของใหม่ เพิ่งจัดรูปขึ้นอย่างเป็นระบบในสมัยของพระองค์นั่นเอง พระส่วนใหญ่จึงยังเคยชินแต่การดูแลเฉพาะในเขตวัดหรือชุมชนของท่านเท่านั้น
แต่ก็เป็นไปได้ว่าคนไทยแต่ก่อนมีความโน้มเอียงเช่นนั้นเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว คือสนใจเฉพาะเรื่องของตน ถ้าจะใส่ใจรับผิดชอบส่วนรวมก็ไม่เกินจากขอบเขตชุมชนของตน "ส่วนรวม"ในความหมายที่แปลว่าสังคมหรือชาตินั้นเป็นของใหม่ที่เพิ่งมีเมื่อศตวรรษที่แล้วนี่เอง
น่าแปลกตรงที่แม้เวลาจะผ่านมาร่วมร้อยปีแล้ว แต่ความห่วงใยรับผิดชอบของคนไทยโดยเฉพาะชาวพุทธโดยทั่วไปก็ดูจะยังไม่เปลี่ยนแปลงเท่าไร ซ้ำร้ายอาจจะเรียวลงด้วยซ้ำ คือแม้แต่เรื่องชุมชนของตนก็ไม่ค่อยใส่ใจกลับเน้นเรื่องของตัวมากขึ้น ทั้ง ๆ ที่คำว่า"ส่วนรวม"ในปัจจุบันได้มีความหมายกว้างกว่าหมู่บ้านหรือหมู่คณะไปมากแล้ว
อ้างอิง(อ่านทั้งหมดได้ในลิงค์)
http://www.visalo.org/article/matichon254203.htm
____________