ฉันเคยได้ยินใครหลายๆคนที่เคยทำแท้ง ต่างพูดกันว่ามีความจำเป็น บ้างก็บอกว่าไม่มีเงินจะเลี้ยงลูก บ้างก็บอกว่าพ่อแม่บังคับให้ทำ บ้างก็บอกว่าเพราะยังเป็นนักเรียน กลัวไม่มีอนาคต และอีกหลายๆความจำเป็นอีกมากมาย โดยบทส่งท้ายส่วนมาก คนเหล่านั้นจะบอกว่า ถ้าย้อนเวลากลับไปได้ จะไม่ทำแท้งลูกของตัวเอง และรู้สึกเสียใจในสิ่งที่ตัดสินใจทำลงไป
ฉันถามตัวเองในใจว่า มันสมควรแล้วจริงๆเหรอ ถ้าท้องเมื่อไม่พร้อม ทางออกที่ควรจะเป็นคือการทำแท้ง ทางเลือกอื่นๆมันไม่มีแล้วจริงๆ หรือคุณๆเหล่านั้นยังไม่รู้ว่ามีทางเลือกอื่นอีก
ฉันอยากให้ผู้หญิงหลายๆคน ที่กำลังมีพฤติกรรมเสี่ยง หรือ กำลังตั้งครรภ์ในขณะที่ไม่พร้อม แม้แต่ผู้หญิงที่ถูกข่มขืน ลองเปลี่ยนมุมมอง และลองนำสิ่งที่ฉันกำลังจะบอกต่อไปนี้ ไปเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกของพวกคุณ
***ฉันจะไม่กล่าวถึง กรณีที่ผู้เป็นแม่จำเป็นต้องยุติการตั้งครรภ์อันเนื่องมาจากลูกในท้องมีความพิกรพิการแต่กำเนิด เพราะสิ่งนี้เป็นสิ่งเดียวที่เราไม่สามารถป้องกันให้มันเกิดได้
คุณๆ รู้จักบ้านพักฉุกเฉินกันมั้ยคะ รู้จักสมาคมส่งเสริมสถานะภาพสตรีกันหรือเปล่า เคยได้ยินชื่อกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ผ่านหูบ้างมั้ย และกระทรวงสาธารณะสุขหล่ะ คิดว่าคงจะพอเคยได้ยินกันมาบ้าง
ชื่อหน่วยงานที่ฉันกล่าวไปข้างต้นนี้ ต่างมีโครงการที่มีชื่อแตกต่างกันไป แต่มีจุดมุ่งหมายเดียวกัน คือให้ความช่วยเหลือและให้คำปรึกษากับสตรีที่ตั้งครรภ์โดยไม่พร้อม
โครงการที่ฉันอยากจะให้คุณๆได้รู้จักคือ โครงการรับฝากเลี้ยงเด็กที่แม่ไม่พร้อม และโครงการเพิ่มต้นทุนชีวิตให้แม่วัยรุ่นและลูก
โครงการแรก
โครงการรับฝากเลี้ยงเด็กที่แม่ไม่พร้อม โครงการนี้เป็นความร่วมมือระหว่าง กระทรวงพัฒนาสังคมฯ และ กระทรวงสาธารณะสุข จัดตั้งขึ้นเพื่อให้แม่ที่คลอดลูกแต่ไม่พร้อมที่จะเลี้ยงดูกรอกแบบฟอร์มเพื่อทำสัญญาว่า
“ยินดีจะมอบลูกให้รัฐดูแลจนกว่าจะมีความพร้อมหรือเรียนจบมีงานทำ และสามารถมารับลูกคืนกลับไปเลี้ยงดูได้ กับอีกกรณีหนึ่งคือการยกลูกให้เป็นสิทธิ์ขาดของรัฐ เพื่อให้ดำเนินการจัดหาครอบครัวทดแทนเป็นบุตรบุญธรรมต่อไป ทั้งนี้ เพื่อให้เด็กมีชีวิตครอบครัวที่สมบูรณ์ “
“
โรงพยาบาลรัฐจะดำเนินการโดยมีพยาบาลแจ้งให้หญิงที่มาคลอดทราบว่ามีแบบฟอร์มสัญญาฝากเลี้ยงลูก หากมีความประสงค์ที่จะให้รัฐเป็นผู้ดูแลก็กรอกแบบฟอร์ม ซึ่งการทำสัญญานี้จะไม่ถือว่าเป็นความผิดตามกฎหมาย และข้อมูลของแม่ก็จะถูกเก็บเป็นความลับ ส่วนแม่ที่ไม่ได้คลอดในโรงพยาบาลรัฐ ก็สามารถที่จะทำสัญญานี้ได้เช่นกัน โดยติดต่อแจ้งความประสงค์มาที่ศูนย์ประชาบดี โทร.1300 นอกจากนี้ยังได้ประสานความร่วมมือกับกรมราชทัณฑ์ เนื่องจากมีกรณีผู้ต้องขังหญิงอยู่ในระหว่างตั้งครรภ์เมื่อคลอดแล้วก็ไม่สามารถจะเลี้ยงดูได้ รัฐจึงจำเป็นต้องรับเลี้ยงดูแทน “
โครงการที่สอง
โครงการเพิ่มต้นทุนชีวิตให้แม่วัยรุ่นและลูก
จุดยืนและสาระของโครงการเพิ่มต้นทุนให้แม่วัยรุ่น คือ เพื่อสร้างชีวิตและสายสัมพันธ์ที่มีความหมายของแม่และลูก มุ่งที่จะให้แม่ที่แม้จะอายุน้อยที่ประสบปัญหาตั้งครรภ์ไม่พร้อม ได้มีโอกาสที่จะเรียนหนังสือต่อ และเอื้อให้สามารถที่จะเลี้ยงลูกเองไปพร้อมกัน โดยให้การสนับสนุนรอบด้านอย่างเต็มที่ เป็นโครงการที่ท้าทายในกระบวนการ และต้องอาศัยความผูกพันมุ่งมั่นในการที่จะให้การสนับสนุนที่ใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 3 ปี แต่ผลลัพธ์ต่อสังคมนั้น เชื่อได้ว่า มากมาย เพราะเป็นการช่วยสร้าง 2 ชีวิตให้เติบโตอย่างเต็มตามศักยภาพ
ความช่วยเหลือที่บ้านพักฉุกเฉินให้แก่แม่วัยรุ่นนั้น จะครอบคลุมเช่นเดียวกับกรณีปัญหาอื่นๆ คือ ดูแลในด้านสุขภาพ ฟื้นฟูสภาพจิตใจ สร้างความเข้มแข็ง ให้ความรู้ ทักษะชีวิต และฝึกอาชีพ รวมทั้งติดตามกรณีเป็นคดีความ (ดูในกรอบ ) และเยี่ยมบ้าน
แต่จะมีลักษณะพิเศษ คือ กระบวนการของโครงการเพิ่มต้นทุนชีวิตแม่วัยรุ่น เริ่มด้วยการให้ข้อมูลความช่วย เหลือเพื่อให้แม่วัยรุ่นตัดสินใจได้ ความช่วยเหลือที่ให้นั้นมีเงื่อนไขในเรื่องการศึกษา คือ ต้องเรียนต่อจนจบขั้นมัธยมต้นหรือปลายแล้วแต่กรณี และดูแลลูกด้วยตัวเองระหว่างที่เรียน
ซึ่งค่าใช้จ่ายทั้งหมดนั้น บ้านพักฉุกเฉินของสมาคมฯ รับผิดชอบ
การดำเนินการ จึงเริ่มต้นตั้งแต่ยังท้อง เริ่มจากการสร้างสายสัมพันธ์กับลูกในระหว่างท้อง การให้ความรู้ ดูแลตนเองก่อนคลอด และหลังคลอด รวมทั้ง การให้ความรู้ต่างๆในแง่ทักษะชีวิต ความรู้ด้านสุขภาพทางเพศและอนามัยเจริญพันธุ์ ซึ่งได้สอดแทรกให้ตลอดเวลา รวมทั้งเพิ่มทักษะอาชีพที่แต่ละคนสนใจด้วย
ในกรณีที่แม่วัยรุ่นตัดสินใจเข้าร่วมโครงการ นั่นหมายถึงว่า จะต้องดำเนินการในเรื่องโรงเรียน ซึ่งอาจเป็นการเรียนในระบบ หรือ การเรียนนอกระบบ – การศึกษาผู้ใหญ่
ซึ่งแต่ละคนก็เลือกตามที่ต้องการ ในขณะที่เรียนหนังสือนั้น สำหรับกรณีที่พักที่บ้านพักฉุกเฉินสมาคมฯ ก็ได้ฝากเงินในธนาคารให้เดือนละ 1,500 บาท ซึ่งแม่วัยรุ่นไม่มีสิทธิถอนเงิน จนกระทั่งเรียนสำเร็จ และพร้อมที่จะก้าวออกจากบ้านพักพร้อมลูก
ภารกิจตรงนี้ มีใช่มีเพียงกับแม่วัยรุ่น แต่จะต้องทำงานกับพ่อแม่ และครอบครัวที่แม่วัยรุ่นจะคืนสู่ด้วย การให้คำปรึกษาและเตรียมครอบครัวของแม่วัยรุ่น การพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างแม่วัยรุ่นและพ่อแม่จึงเป็นอีกองค์ประกอบที่สำคัญของโครงการ
ทั้ง 2 โครงการนี้ที่ฉันได้นำเสนอไป มีจุดประสงค์เดียวกันคือ การแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม เน้นที่ความรู้ผิดถูกและความรับผิดชอบต่อลูกในท้องของผู้เป็นแม่ โดยเปิดโอกาศให้แม่ได้เก็บลูกในท้องไว้ ช่วยเหลือในกรณีที่ไม่พร้อมจะเลี้ยงลูก ให้โอกาสแม่ได้กลับสู่สังคม ดำเนินชีวิตตามปกติ เมื่อชีวิตเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น สามารถมารับลูกกลับไปดูแลเองได้ ในกรณีของวัยรุ่นก็สามารถกลับไปเรียนต่อพร้อมเลี้ยงลูกไปด้วยได้ ไม่เสี่ยงต่ออันตรายที่เกิดขึ้นจากการทำแท้ง และความรู้สึกผิดในใจเมื่อทำแท้ง
****อาจมีบางความเห็นว่าเด็กที่คลอดออกมาก็กลายเป็นปัญหาสังคมต่อไป
ความจริงไม่ต้องเป็นเด็กกำพร้าหรอกคะที่เป็นปัญหาสังคม แม้แต่ลูกคนรวยล้นฟ้า จนลูกยาจกติดดิน ทุกคนล้วนเป็นปัญหาสังคมได้ด้วยกันทั้งนั้น
เด็กๆที่โตมาในสภาพแวดล้อมเหล่านี้หลายๆคน และส่วนมากเมื่อโตขึ้นก็มาก็แยกย้ายกันไปมีอนาคต และมีจำนวนไม่น้อยใช้เวลาว่างมาเป็นอาสาสมัครตามที่ต่างๆ เราว่าเด็กๆเหล่านี้ก็สามารถมีส่วนสร้างารรค์สังคมได้ดีพอๆกับลูกคนปกติธรรมดา
สิ่งที่สำคัญที่จะเปลี่ยนเด็กเหล่านี้ให้ไปในทิศทางที่ดี คือการอบรมสั่งสอนของคนที่ดูแล หรือของผู้เป็นพ่อแม่มากกว่า ถ้าพ่อแม่มีความคิดดี มีความรับผิดชอบ วันนึงเรียนจบหรือมีงานทำกลับมารับลูกไปอบรมเลี้ยงดูลูกก็ออกมาเป็นคนดี มีคุณภาพได้
อย่าตัดช่องน้อยแต่พอตัวโดยการทำแท้ง รู้จักทำต้องรู้จักรับผิดชอบ
สังคมให้โอกาสขนาดนี้ ช่วยเหลือแทบจะทุกด้าน ตัวเราเองก็ต้องรู้จักช่วยเหลือตัวเองด้วย
คุณท้องเพราะการกระทำของตนเอง คุณก็ต้องรับผิดชอบ ไม่ใช่ให้เด็กมารับผิดชอบ
ในเมื่อมีทางเลือกที่คุณสามารถเก็บเค้าไว้ได้ มีรัฐช่วยเหลือดูแลลูกให้ เมื่อวันข้างหน้าคุณพร้อมคุณก็กลับมารับลูกคุณไป คุณกับลูกก็สามารถมีอนาคตร่วมกันได้
ครอบครัวของคนเหล่านี้ ก็ควรให้กำลังใจกันและกัน เมื่อว่ากล่าวตักเตือนกันไปแล้วก็ควรถึงคราวให้กำลังใจบ้าง
ใครก็ตามที่เผชิญเรื่องนี้อยู่ คุณลองปรับเปลี่ยนความคิดใหม่ อะไรที่พลาดไปแล้วก็แก้ไขให้ถูกวิธี
การทำแท้งไม่ใช่เรื่องที่ถูกต้อง เชื่อเถอะคะ ถ้าการทำแท้งมันแก้ปัญหาได้จริง คงไม่มีหลายๆฝ่ายออกมาคัดค้านกันทุกวันนี้
ลูกในท้องไม่ใช่คนทำลายชีวิตคุณ แต่ถ้าคุณยังย่ำอยู่กับที่ คิดแต่ทำเรื่องแย่ๆ ไม่ใฝ่หาสิ่งดีๆเข้าตัว คุณนั่นแหล่ะทำลายชีวิตตัวเอง
ฉันเชื่อนะคะ สายตาที่ผู้คนมองคุณในตอนแรกอาจจะเป็นสายตาดูหมิ่นหรือสมน้ำหน้า แต่ท้ายที่สุดแล้วจะเปลี่ยนเป็นสายตาชื่นชม และเห็นอกเห็นใจ การเลือกเป็นคนดีมันไม่ง่าย แต่ถ้าทำได้ผลตอบรับที่ได้กลับมามันคุ้มค่าแน่นอน
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น สิ่งที่ฉันนำเสนอมามันคือการแก้ปัญหา การป้องกันจริงๆ คือการทำความเข้าใจของผลที่จะเกิดขึ้นหากคุณไม่รู้จักป้องกัน ผลเสียของการไม่ป้องกันมันมีมากกว่าการตั้งครรภ์ เรื่องโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ก็เป็นปัญหาไม่ต่างกัน ลองไปคิดดูระหว่างท้องไม่พร้อม กับเป็นโรคเอดส์อะไรที่น่าอายมากกว่ากัน
*** ขอเพิ่มเติมนิดนึงนะคะ เกี่ยวกับผู้หญิงที่บางคนที่โดนข่มขืน
ที่บอกแบบนี้ เพราะก็มีผู้หญิงบางคนที่โดนข่มขืน แต่ไม่กล้าแจ้งความ หรืออายที่จะต้องผ่านกระบวนการตรวจสอบว่าโดนข่มขืนจริง
***กรณีการทำแท้งอย่างถูกกฏหมายของผู้ที่โดนข่มขืน ก็ต้องผ่านกระบวนการตรวจสอบเสียก่อนว่าโดนข่มขืนจริง ซึ่งอาจทำให้กระทบจิตใจของผู้ที่โดนข่มขืน เพราะการตรวจสอบไม่ใช่มีเฉพาะการสอบปากคำ ยังหมายรวมถึงการตรวจภายในและทำถามที่จี้จุดอีกมากมาย ทำให้บ้างครั้งผู้ที่โดนข่มขืนไม่กล้าแจ้งความ เพราะกลัวความอับอาย
หรือบางคนเค้าไม่ได้อยากทำแท้ง ไม่อยากทำบาปฆ่าชีวิตที่บริสุทธิ์ บางคนอยากให้เด็กมีชีวิต แต่ตนเองไม่สามารถทำใจเลี้ยงเด็กได้ หรือบางคนยุติการตั้งครรภ์ไม่ทัน เนื่องจากอายุครรภ์มากแล้ว อาจตัดสินใจคลอดลูกเองแล้วนำเด็กไปทิ้ง ซึ่งจะเป็นผลเสียหายต่อทั้งชีวิตเด็ก และแม่อาจต้องโทษเพราะทำผิดกฏหมาย
ซึ่งคิดว่าคงมีหลายๆคนไม่ทราบว่าทางรัฐมีโครงการช่วยเหลือด้านนี้อยู่ โดยสามารถคลอดเด็กออกมาแล้วส่งต่อให้รัฐอย่างถูกต้อง ตัวเด็กไม่โดนทิ้งขว้าง ตัวแม่เด็กสามารถกลับไปใช้ชีวิตได้ตามเดิม โดยจะไม่ขอมีส่วนเกี่ยวข้องกับเด็กก็ได้
ขอโทษที่ไม่ได้พิมพ์ให้เข้าใจทั้งหมดนะคะ
“แก้ปัญหาท้องไม่พร้อม โดยไม่ทำแท้ง”
ฉันถามตัวเองในใจว่า มันสมควรแล้วจริงๆเหรอ ถ้าท้องเมื่อไม่พร้อม ทางออกที่ควรจะเป็นคือการทำแท้ง ทางเลือกอื่นๆมันไม่มีแล้วจริงๆ หรือคุณๆเหล่านั้นยังไม่รู้ว่ามีทางเลือกอื่นอีก
ฉันอยากให้ผู้หญิงหลายๆคน ที่กำลังมีพฤติกรรมเสี่ยง หรือ กำลังตั้งครรภ์ในขณะที่ไม่พร้อม แม้แต่ผู้หญิงที่ถูกข่มขืน ลองเปลี่ยนมุมมอง และลองนำสิ่งที่ฉันกำลังจะบอกต่อไปนี้ ไปเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกของพวกคุณ
***ฉันจะไม่กล่าวถึง กรณีที่ผู้เป็นแม่จำเป็นต้องยุติการตั้งครรภ์อันเนื่องมาจากลูกในท้องมีความพิกรพิการแต่กำเนิด เพราะสิ่งนี้เป็นสิ่งเดียวที่เราไม่สามารถป้องกันให้มันเกิดได้
คุณๆ รู้จักบ้านพักฉุกเฉินกันมั้ยคะ รู้จักสมาคมส่งเสริมสถานะภาพสตรีกันหรือเปล่า เคยได้ยินชื่อกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ผ่านหูบ้างมั้ย และกระทรวงสาธารณะสุขหล่ะ คิดว่าคงจะพอเคยได้ยินกันมาบ้าง
ชื่อหน่วยงานที่ฉันกล่าวไปข้างต้นนี้ ต่างมีโครงการที่มีชื่อแตกต่างกันไป แต่มีจุดมุ่งหมายเดียวกัน คือให้ความช่วยเหลือและให้คำปรึกษากับสตรีที่ตั้งครรภ์โดยไม่พร้อม
โครงการที่ฉันอยากจะให้คุณๆได้รู้จักคือ โครงการรับฝากเลี้ยงเด็กที่แม่ไม่พร้อม และโครงการเพิ่มต้นทุนชีวิตให้แม่วัยรุ่นและลูก
โครงการแรก โครงการรับฝากเลี้ยงเด็กที่แม่ไม่พร้อม โครงการนี้เป็นความร่วมมือระหว่าง กระทรวงพัฒนาสังคมฯ และ กระทรวงสาธารณะสุข จัดตั้งขึ้นเพื่อให้แม่ที่คลอดลูกแต่ไม่พร้อมที่จะเลี้ยงดูกรอกแบบฟอร์มเพื่อทำสัญญาว่า
“ยินดีจะมอบลูกให้รัฐดูแลจนกว่าจะมีความพร้อมหรือเรียนจบมีงานทำ และสามารถมารับลูกคืนกลับไปเลี้ยงดูได้ กับอีกกรณีหนึ่งคือการยกลูกให้เป็นสิทธิ์ขาดของรัฐ เพื่อให้ดำเนินการจัดหาครอบครัวทดแทนเป็นบุตรบุญธรรมต่อไป ทั้งนี้ เพื่อให้เด็กมีชีวิตครอบครัวที่สมบูรณ์ “
“
โรงพยาบาลรัฐจะดำเนินการโดยมีพยาบาลแจ้งให้หญิงที่มาคลอดทราบว่ามีแบบฟอร์มสัญญาฝากเลี้ยงลูก หากมีความประสงค์ที่จะให้รัฐเป็นผู้ดูแลก็กรอกแบบฟอร์ม ซึ่งการทำสัญญานี้จะไม่ถือว่าเป็นความผิดตามกฎหมาย และข้อมูลของแม่ก็จะถูกเก็บเป็นความลับ ส่วนแม่ที่ไม่ได้คลอดในโรงพยาบาลรัฐ ก็สามารถที่จะทำสัญญานี้ได้เช่นกัน โดยติดต่อแจ้งความประสงค์มาที่ศูนย์ประชาบดี โทร.1300 นอกจากนี้ยังได้ประสานความร่วมมือกับกรมราชทัณฑ์ เนื่องจากมีกรณีผู้ต้องขังหญิงอยู่ในระหว่างตั้งครรภ์เมื่อคลอดแล้วก็ไม่สามารถจะเลี้ยงดูได้ รัฐจึงจำเป็นต้องรับเลี้ยงดูแทน “
โครงการที่สอง โครงการเพิ่มต้นทุนชีวิตให้แม่วัยรุ่นและลูก
จุดยืนและสาระของโครงการเพิ่มต้นทุนให้แม่วัยรุ่น คือ เพื่อสร้างชีวิตและสายสัมพันธ์ที่มีความหมายของแม่และลูก มุ่งที่จะให้แม่ที่แม้จะอายุน้อยที่ประสบปัญหาตั้งครรภ์ไม่พร้อม ได้มีโอกาสที่จะเรียนหนังสือต่อ และเอื้อให้สามารถที่จะเลี้ยงลูกเองไปพร้อมกัน โดยให้การสนับสนุนรอบด้านอย่างเต็มที่ เป็นโครงการที่ท้าทายในกระบวนการ และต้องอาศัยความผูกพันมุ่งมั่นในการที่จะให้การสนับสนุนที่ใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 3 ปี แต่ผลลัพธ์ต่อสังคมนั้น เชื่อได้ว่า มากมาย เพราะเป็นการช่วยสร้าง 2 ชีวิตให้เติบโตอย่างเต็มตามศักยภาพ
ความช่วยเหลือที่บ้านพักฉุกเฉินให้แก่แม่วัยรุ่นนั้น จะครอบคลุมเช่นเดียวกับกรณีปัญหาอื่นๆ คือ ดูแลในด้านสุขภาพ ฟื้นฟูสภาพจิตใจ สร้างความเข้มแข็ง ให้ความรู้ ทักษะชีวิต และฝึกอาชีพ รวมทั้งติดตามกรณีเป็นคดีความ (ดูในกรอบ ) และเยี่ยมบ้าน
แต่จะมีลักษณะพิเศษ คือ กระบวนการของโครงการเพิ่มต้นทุนชีวิตแม่วัยรุ่น เริ่มด้วยการให้ข้อมูลความช่วย เหลือเพื่อให้แม่วัยรุ่นตัดสินใจได้ ความช่วยเหลือที่ให้นั้นมีเงื่อนไขในเรื่องการศึกษา คือ ต้องเรียนต่อจนจบขั้นมัธยมต้นหรือปลายแล้วแต่กรณี และดูแลลูกด้วยตัวเองระหว่างที่เรียน
ซึ่งค่าใช้จ่ายทั้งหมดนั้น บ้านพักฉุกเฉินของสมาคมฯ รับผิดชอบ
การดำเนินการ จึงเริ่มต้นตั้งแต่ยังท้อง เริ่มจากการสร้างสายสัมพันธ์กับลูกในระหว่างท้อง การให้ความรู้ ดูแลตนเองก่อนคลอด และหลังคลอด รวมทั้ง การให้ความรู้ต่างๆในแง่ทักษะชีวิต ความรู้ด้านสุขภาพทางเพศและอนามัยเจริญพันธุ์ ซึ่งได้สอดแทรกให้ตลอดเวลา รวมทั้งเพิ่มทักษะอาชีพที่แต่ละคนสนใจด้วย
ในกรณีที่แม่วัยรุ่นตัดสินใจเข้าร่วมโครงการ นั่นหมายถึงว่า จะต้องดำเนินการในเรื่องโรงเรียน ซึ่งอาจเป็นการเรียนในระบบ หรือ การเรียนนอกระบบ – การศึกษาผู้ใหญ่
ซึ่งแต่ละคนก็เลือกตามที่ต้องการ ในขณะที่เรียนหนังสือนั้น สำหรับกรณีที่พักที่บ้านพักฉุกเฉินสมาคมฯ ก็ได้ฝากเงินในธนาคารให้เดือนละ 1,500 บาท ซึ่งแม่วัยรุ่นไม่มีสิทธิถอนเงิน จนกระทั่งเรียนสำเร็จ และพร้อมที่จะก้าวออกจากบ้านพักพร้อมลูก
ภารกิจตรงนี้ มีใช่มีเพียงกับแม่วัยรุ่น แต่จะต้องทำงานกับพ่อแม่ และครอบครัวที่แม่วัยรุ่นจะคืนสู่ด้วย การให้คำปรึกษาและเตรียมครอบครัวของแม่วัยรุ่น การพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างแม่วัยรุ่นและพ่อแม่จึงเป็นอีกองค์ประกอบที่สำคัญของโครงการ
ทั้ง 2 โครงการนี้ที่ฉันได้นำเสนอไป มีจุดประสงค์เดียวกันคือ การแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม เน้นที่ความรู้ผิดถูกและความรับผิดชอบต่อลูกในท้องของผู้เป็นแม่ โดยเปิดโอกาศให้แม่ได้เก็บลูกในท้องไว้ ช่วยเหลือในกรณีที่ไม่พร้อมจะเลี้ยงลูก ให้โอกาสแม่ได้กลับสู่สังคม ดำเนินชีวิตตามปกติ เมื่อชีวิตเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น สามารถมารับลูกกลับไปดูแลเองได้ ในกรณีของวัยรุ่นก็สามารถกลับไปเรียนต่อพร้อมเลี้ยงลูกไปด้วยได้ ไม่เสี่ยงต่ออันตรายที่เกิดขึ้นจากการทำแท้ง และความรู้สึกผิดในใจเมื่อทำแท้ง
****อาจมีบางความเห็นว่าเด็กที่คลอดออกมาก็กลายเป็นปัญหาสังคมต่อไป
ความจริงไม่ต้องเป็นเด็กกำพร้าหรอกคะที่เป็นปัญหาสังคม แม้แต่ลูกคนรวยล้นฟ้า จนลูกยาจกติดดิน ทุกคนล้วนเป็นปัญหาสังคมได้ด้วยกันทั้งนั้น
เด็กๆที่โตมาในสภาพแวดล้อมเหล่านี้หลายๆคน และส่วนมากเมื่อโตขึ้นก็มาก็แยกย้ายกันไปมีอนาคต และมีจำนวนไม่น้อยใช้เวลาว่างมาเป็นอาสาสมัครตามที่ต่างๆ เราว่าเด็กๆเหล่านี้ก็สามารถมีส่วนสร้างารรค์สังคมได้ดีพอๆกับลูกคนปกติธรรมดา
สิ่งที่สำคัญที่จะเปลี่ยนเด็กเหล่านี้ให้ไปในทิศทางที่ดี คือการอบรมสั่งสอนของคนที่ดูแล หรือของผู้เป็นพ่อแม่มากกว่า ถ้าพ่อแม่มีความคิดดี มีความรับผิดชอบ วันนึงเรียนจบหรือมีงานทำกลับมารับลูกไปอบรมเลี้ยงดูลูกก็ออกมาเป็นคนดี มีคุณภาพได้
อย่าตัดช่องน้อยแต่พอตัวโดยการทำแท้ง รู้จักทำต้องรู้จักรับผิดชอบ
สังคมให้โอกาสขนาดนี้ ช่วยเหลือแทบจะทุกด้าน ตัวเราเองก็ต้องรู้จักช่วยเหลือตัวเองด้วย
คุณท้องเพราะการกระทำของตนเอง คุณก็ต้องรับผิดชอบ ไม่ใช่ให้เด็กมารับผิดชอบ
ในเมื่อมีทางเลือกที่คุณสามารถเก็บเค้าไว้ได้ มีรัฐช่วยเหลือดูแลลูกให้ เมื่อวันข้างหน้าคุณพร้อมคุณก็กลับมารับลูกคุณไป คุณกับลูกก็สามารถมีอนาคตร่วมกันได้
ครอบครัวของคนเหล่านี้ ก็ควรให้กำลังใจกันและกัน เมื่อว่ากล่าวตักเตือนกันไปแล้วก็ควรถึงคราวให้กำลังใจบ้าง
ใครก็ตามที่เผชิญเรื่องนี้อยู่ คุณลองปรับเปลี่ยนความคิดใหม่ อะไรที่พลาดไปแล้วก็แก้ไขให้ถูกวิธี
การทำแท้งไม่ใช่เรื่องที่ถูกต้อง เชื่อเถอะคะ ถ้าการทำแท้งมันแก้ปัญหาได้จริง คงไม่มีหลายๆฝ่ายออกมาคัดค้านกันทุกวันนี้
ลูกในท้องไม่ใช่คนทำลายชีวิตคุณ แต่ถ้าคุณยังย่ำอยู่กับที่ คิดแต่ทำเรื่องแย่ๆ ไม่ใฝ่หาสิ่งดีๆเข้าตัว คุณนั่นแหล่ะทำลายชีวิตตัวเอง
ฉันเชื่อนะคะ สายตาที่ผู้คนมองคุณในตอนแรกอาจจะเป็นสายตาดูหมิ่นหรือสมน้ำหน้า แต่ท้ายที่สุดแล้วจะเปลี่ยนเป็นสายตาชื่นชม และเห็นอกเห็นใจ การเลือกเป็นคนดีมันไม่ง่าย แต่ถ้าทำได้ผลตอบรับที่ได้กลับมามันคุ้มค่าแน่นอน
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น สิ่งที่ฉันนำเสนอมามันคือการแก้ปัญหา การป้องกันจริงๆ คือการทำความเข้าใจของผลที่จะเกิดขึ้นหากคุณไม่รู้จักป้องกัน ผลเสียของการไม่ป้องกันมันมีมากกว่าการตั้งครรภ์ เรื่องโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ก็เป็นปัญหาไม่ต่างกัน ลองไปคิดดูระหว่างท้องไม่พร้อม กับเป็นโรคเอดส์อะไรที่น่าอายมากกว่ากัน
*** ขอเพิ่มเติมนิดนึงนะคะ เกี่ยวกับผู้หญิงที่บางคนที่โดนข่มขืน
ที่บอกแบบนี้ เพราะก็มีผู้หญิงบางคนที่โดนข่มขืน แต่ไม่กล้าแจ้งความ หรืออายที่จะต้องผ่านกระบวนการตรวจสอบว่าโดนข่มขืนจริง
***กรณีการทำแท้งอย่างถูกกฏหมายของผู้ที่โดนข่มขืน ก็ต้องผ่านกระบวนการตรวจสอบเสียก่อนว่าโดนข่มขืนจริง ซึ่งอาจทำให้กระทบจิตใจของผู้ที่โดนข่มขืน เพราะการตรวจสอบไม่ใช่มีเฉพาะการสอบปากคำ ยังหมายรวมถึงการตรวจภายในและทำถามที่จี้จุดอีกมากมาย ทำให้บ้างครั้งผู้ที่โดนข่มขืนไม่กล้าแจ้งความ เพราะกลัวความอับอาย
หรือบางคนเค้าไม่ได้อยากทำแท้ง ไม่อยากทำบาปฆ่าชีวิตที่บริสุทธิ์ บางคนอยากให้เด็กมีชีวิต แต่ตนเองไม่สามารถทำใจเลี้ยงเด็กได้ หรือบางคนยุติการตั้งครรภ์ไม่ทัน เนื่องจากอายุครรภ์มากแล้ว อาจตัดสินใจคลอดลูกเองแล้วนำเด็กไปทิ้ง ซึ่งจะเป็นผลเสียหายต่อทั้งชีวิตเด็ก และแม่อาจต้องโทษเพราะทำผิดกฏหมาย
ซึ่งคิดว่าคงมีหลายๆคนไม่ทราบว่าทางรัฐมีโครงการช่วยเหลือด้านนี้อยู่ โดยสามารถคลอดเด็กออกมาแล้วส่งต่อให้รัฐอย่างถูกต้อง ตัวเด็กไม่โดนทิ้งขว้าง ตัวแม่เด็กสามารถกลับไปใช้ชีวิตได้ตามเดิม โดยจะไม่ขอมีส่วนเกี่ยวข้องกับเด็กก็ได้
ขอโทษที่ไม่ได้พิมพ์ให้เข้าใจทั้งหมดนะคะ