บุญบาปสำเร็จทันที ที่คิดที่พูดที่ทำ ปัจจุบันทันที กฎแห่งกรรมก็อธิบายคล้ายๆกัน

กระทู้สนทนา
ขอแลกเปลี่ยน แนะนำติชมได้ครับ

บุญบาปสำเร็จทันที ที่คิดที่พูดที่ทำ ปัจจุบันทันที
คุณ ได้ทันทีครับ...ปัจจุบันทันที...
เพียงแต่วิบากของบาปบุญ จะตามมาด้วยเหตุและผลอีกที
เป็นเรื่องอนาคต แล้วแต่จะคาดเดากันไป (พุทธศาสนา ทำให้เดาได้ใกล้เคียงที่สุด)

ยกตัวอย่าง บุญกิริยา10 การทำบุญมี 10 วิธี
ข้อแรก จาคะการให้ทาน ได้ทันที ได้เป็นผู้ให้ทันที มีผู้รับทันที
ยกตัวอย่าง ถ้าฆ่าคน คุณกลายเป็นฆาตกร ทันที มีคนตายทันที แต่จะติดคุก หรือ ลงนรก ยังตอบไม่ได้

กฎแห่งกรรมก็อธิบายคล้ายๆกัน

ผมมีความคิดว่ากรรมอดีตนำพาให้เกิดปัจจุปัน แต่การตัดสินเกิดจากกรรมปัจจุบันขณะนี้ ความคิดขณะนี้
บางกรณี มี deadline มีหมดเขต มีไม่ทันการณ์
ยก ตัวอย่างเช่น สุเมธดาบส ปรารถนาพุทธภุมิ แต่ถ้าชาตินั้นเปลี่ยนใจขอทำที่สุดแห่งทุกข์  ก็จะได้เป็นอรหันต์สาวก แต่ก็มีเจตนาเดิมก็เลยได้พุทธพยากรณ์ แต่ก็ต้องรออีกนาน4อสงไขยแสนกัป
หลังจากได้พุทธพยากรณ์ จะย้อนกลับอีกไม่ได้แล้ว
ยก ตัวอย่างอีก สามเณรน้อยได้รับคำทำนายจากอัครสาวกว่า จะต้องตายภายใน7วันเนื่องจากกรรมอดีต และได้รับคำสั่งให้กลับไปหาพ่อแม่ทำนองว่าไปตายที่บ้านเถิด ระหว่างทางกลับบ้าน ได้ช่วยชีวิตปลาที่กำลังน้ำแห้งจะตาย
แล้วสามเณรน้อยรอดตายโดยไม่รู้ตัวเนื่องจากกรรมปัจจุบัน  จนเป็นความเชื่อจนถึงปัจจุบันปล่อยปลาปล่อยนกจะต่ออายุได้  
ยกตัวอย่างอีก องคุลีมาร ถ้าฆ่าคนที่1000แล้ว จะไม่ทันการแล้ว แต่ด้วยพระเมตราจึงทันการ

----------------------------------------------เพิ่มเติม นะครับ----

245 กรรม เหตุของกรรม และวิธีดับกรรม

ปัญหา กรรมคืออะไร อะไรเป็นเหตุของกรรม จะดับกรรมได้ดีโดยวิธีใด ?

พุทธดำรัสตอบ “.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวเจตนาว่าเป็นกรรมบุคคลคิดแล้วจึงกระทำกรรมด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ ก็เหตุเกิดแห่งกรรมเป็นไฉนคือผัสสะ (การกระทบกันระหว่างตากับรูป หูกับเสียง เป็นต้น) เป็นเหตุเกิดแห่งกรรม ก็ความต่างแห่งกรรมเป็นไฉน คือกรรมที่ให้วิบากในนรกก็มี ทำให้วิบากในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานก็มี ที่ให้วิบากในเปรตวิสัยก็มี ที่ให้วิบากในมนุษยโลกก็มี ที่ให้วิบากในเทวโลกก็มี นี้เรียกว่าความต่างแห่งกรรม
“ก็วิบากแห่งกรรมเป็นไฉน คือ เราย่อมกล่าววิบากแห่งกรรม ว่ามี ๓ ประการ คือ กรรมที่ให้ผลในปัจจุบัน ๑ กรรมที่ให้ผลในภพที่เกิด ๑ กรรมที่ให้ผลในภพต่อๆ ไป ๑ นี้เรียกว่า วิบากแห่งกรรม
“ความดับแห่งกรรมเป็นไฉน คือ ความดับแห่งกรรมย่อมเกิดขึ้นเพราะความดับแห่งผัสสะ อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการนี้แล คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ... สัมมาสติ สัมมาสมาธิ เป็นปฏิปทาให้ถึงความดับแห่งกรรม
“ก็เมื่อใด อริยสาวกย่อมทราบชัด กรรม เหตุเกิดแห่งกรรม ความต่างแห่งกรรม วิบากแห่งกรรม ความดับแห่งกรรม ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งกรรมอย่างนี้ ๆ เมื่อนั้น อริยสาวกนั้นย่อมทราบชัดพรหมจรรย์ อันเป็นไปในส่วนแห่งความชำแรกกิเลสเป็นที่ดับกรรมนี้”

นิพเพธิกสูตร ฉ. อํ. (๓๓๔)
ตบ. ๒๒ : ๔๖๔-๔๖๕ ตท. ๒๒ : ๔๒๒-๔๒๓
ตอ. G.S. III : ๒๙๔

      เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒  บรรทัดที่ ๙๖๑๑ - ๙๗๕๓.  หน้าที่  ๔๑๘ - ๔๒๔.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=22&A=9611&Z=9753&pagebreak=0
             ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=334
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่