ไตหย่า หรือ ไทหย่า
ไทหย่า คือกลุ่มชนชาวไทกลุ่มหนึ่ง ซึ่งมีถิ่นอาศัยเดิมในตำบลโมซาเจียง อำเภอซินผิง จังหวัดยิ่วซี มณฑลยูนนาน ประเทศจีน ชาวจีนเรียกคนไทกลุ่มนี้ว่าฮวาเย่าไต แปลว่าไทเอวลาย ชาวไตหย่าบางส่วนได้อพยพมายังสิบสองปันนา บางส่วนเข้าสู่พม่าและไทย [1]มีประชากร 60,000 คน พูดภาษาไต (ไตตะวันตกเฉียงใต้) ซึ่งเป็นภาษาในกลุ่มภาษาคำ-ไต ตระกูลภาษาไท-กะได
ชาวไทยหย่าตั้งบนเรือนอยู่รวมกันเป็น หมู่ ๆ ในอาณาเขตของจีน ไม่มีพื้นที่นาเป็นของตนเอง ต้องอาศัยรับจ้างทำนาหรือเช่านาจากพวกชาวจีนฮ่อ (ยูนนาน) มักถูกรบกวนจากเจ้าพนักงานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองเก็บภาษีอากรสูง เกณฑ์ผู้คนไปทำถนนหนทาง เอาไปเป็นคนใช้ ทหาร ฯลฯ เมื่อถูกรบกวนหนักเข้าชาวไทยหย่าบางเหล่าจึงอพยพลงมาใต้มาอาศัยอู่บริเวณ ใกล้เคียงเมืองเชียงรุ่ง ซึ่งตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขง ที่ดินว่างเปล่าอยู่บ้าง และได้อพยพเข้ามาอยู่ในเขตอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ประเทศไทย ใน พ.ศ. 2490 พบว่ามีจำนวนชาวไทยใหญ่ในจังหวัดเชียงรายมีประมาณ 1,000 คน
ขนบธรรมเนียมการแต่งกาย ของผู้หญิงชาวไทยหย่าต่างกันกับชาวไตลื้อ ชาวไตเชียงรุ่ง และชาวไทหย่าซึ่งอยู่ใต้ลงไป ชาวไทยหย่าสวมเสื้อดำ แขนยามแบบรูปกระบอก ๒ ชั้น ผ้าซิ่น ๒ ชั้น มีลูกไม้ลวดลายต่าง ๆ ติดตรงปลายผ้าข้างล่าง เสื้อในสีดำแลบออกมาให้เห็นเกือบทั้งตัว คอสูงชิดรอบคอ เสื้อสั้นเหนือเอว ผ่าอกข้างขวาระดับเดียวกันกับยอดนม ตรงริมชายเสื้อและตรงข้างหน้าอก ใช้ผ้าสีน้ำเงินแดงขาวเย็บติดสลับกัน บางคนปักเป็นลวดลายด้วยกระดุมเปลือกหอย ตัวเสื้อนี้สั้นครึ่งหน้าอกครึ่งหลัง ใต้ลงไปปล่อยให้มองเห็นเสื้อชั้นใน ผ่าข้างลงมาจากบ่าข้างริมคอทั้ง ๒ ข้าง ติดแถบผ้าสีต่าง ๆ ปักลวดลายงดงาม
ชาวไทหย่าเป็นคนไท ไม่ใช่ชาวจีนฮ่อ สังเกตได้จากรูปร่างลักษณะท่าทางตลอดจนอุปนิสัยจิตใจและภาษาคล้ายกับคนไทใน ภาคเหนือ ไทเขิน ไทใหญ่ ไทลื้อ ไทเชียงรุ่ง ในเขตรัฐฉานของพม่าและตอนใต้มณฑล ยูนนานของจีน มีใบหน้ารูปไข่ ผิวค่อนข้างขาว เพราะอยู่ในโซนปานกลาง รูปร่างลักษณะได้ขนาดเดียวกัน หางคิ้วไม่ยกขึ้นอย่างชาวจีน ความเป็นอยู่ขนบธรรมเนียมและภาษาผิดกับชาวจีนฮ่อหลายอย่าง ภาษาบางคำตรงกับภาษาไทยที่ใช้กันในภาคกลางของประเทศไทย ที่แปร่งไปบ้าง เช่น คำว่า เสื้อเป็นเซ้อ หัวเป็นโห อยู่ดีหรือไม่อยู่ดี เป็นอู้ดีบ่อู้ดี มีบางคำที่ปนกับคำจีน เช่น คำว่า “ อู๋หลาย ” หรือมีหลายนั้น คำว่า “ อู๋ ” ในภาษาจีนแปลว่า “ มี ” ส่วนคำว่า “ หลาย ” เป็นคำไทย บางคำคล้ายภาษาไทใหญ่ที่ใช้กัน เช่น คำว่า “ ไป" ” ขาวไทหย่าว่า “ ก๋า ” ชาวไทใหญ่ว่า “ กว่า ” ไปเที่ยวว่า “ ก๋าห่อน ” กล้วยว่าเกี้ยว อ้อยว่าแอ้ว ฟันไม้ว่ากีดไม้ แต่ก็มีบางคำไม่ทราบว่ามาจากชาติไหน เช่น คำว่ากางเกงเป็นเดี๋ยว มากี่คนเป็นมาจิก้อ ฯลฯ ชาวไทหย่าเหล่านี้ฟังภาษาไทยกลาง (กรุงเทพฯ) ออก เครื่องดนตรีมีแคน ปี่แน กับซึง ชอบร้องเพลง
ไตหย่า กลุ่มชาวไทกลุ่มหนึ่งที่น้อยคนจะรู้จัก
ไตหย่า หรือ ไทหย่า
ไทหย่า คือกลุ่มชนชาวไทกลุ่มหนึ่ง ซึ่งมีถิ่นอาศัยเดิมในตำบลโมซาเจียง อำเภอซินผิง จังหวัดยิ่วซี มณฑลยูนนาน ประเทศจีน ชาวจีนเรียกคนไทกลุ่มนี้ว่าฮวาเย่าไต แปลว่าไทเอวลาย ชาวไตหย่าบางส่วนได้อพยพมายังสิบสองปันนา บางส่วนเข้าสู่พม่าและไทย [1]มีประชากร 60,000 คน พูดภาษาไต (ไตตะวันตกเฉียงใต้) ซึ่งเป็นภาษาในกลุ่มภาษาคำ-ไต ตระกูลภาษาไท-กะได
ชาวไทยหย่าตั้งบนเรือนอยู่รวมกันเป็น หมู่ ๆ ในอาณาเขตของจีน ไม่มีพื้นที่นาเป็นของตนเอง ต้องอาศัยรับจ้างทำนาหรือเช่านาจากพวกชาวจีนฮ่อ (ยูนนาน) มักถูกรบกวนจากเจ้าพนักงานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองเก็บภาษีอากรสูง เกณฑ์ผู้คนไปทำถนนหนทาง เอาไปเป็นคนใช้ ทหาร ฯลฯ เมื่อถูกรบกวนหนักเข้าชาวไทยหย่าบางเหล่าจึงอพยพลงมาใต้มาอาศัยอู่บริเวณ ใกล้เคียงเมืองเชียงรุ่ง ซึ่งตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขง ที่ดินว่างเปล่าอยู่บ้าง และได้อพยพเข้ามาอยู่ในเขตอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ประเทศไทย ใน พ.ศ. 2490 พบว่ามีจำนวนชาวไทยใหญ่ในจังหวัดเชียงรายมีประมาณ 1,000 คน
ขนบธรรมเนียมการแต่งกาย ของผู้หญิงชาวไทยหย่าต่างกันกับชาวไตลื้อ ชาวไตเชียงรุ่ง และชาวไทหย่าซึ่งอยู่ใต้ลงไป ชาวไทยหย่าสวมเสื้อดำ แขนยามแบบรูปกระบอก ๒ ชั้น ผ้าซิ่น ๒ ชั้น มีลูกไม้ลวดลายต่าง ๆ ติดตรงปลายผ้าข้างล่าง เสื้อในสีดำแลบออกมาให้เห็นเกือบทั้งตัว คอสูงชิดรอบคอ เสื้อสั้นเหนือเอว ผ่าอกข้างขวาระดับเดียวกันกับยอดนม ตรงริมชายเสื้อและตรงข้างหน้าอก ใช้ผ้าสีน้ำเงินแดงขาวเย็บติดสลับกัน บางคนปักเป็นลวดลายด้วยกระดุมเปลือกหอย ตัวเสื้อนี้สั้นครึ่งหน้าอกครึ่งหลัง ใต้ลงไปปล่อยให้มองเห็นเสื้อชั้นใน ผ่าข้างลงมาจากบ่าข้างริมคอทั้ง ๒ ข้าง ติดแถบผ้าสีต่าง ๆ ปักลวดลายงดงาม
ชาวไทหย่าเป็นคนไท ไม่ใช่ชาวจีนฮ่อ สังเกตได้จากรูปร่างลักษณะท่าทางตลอดจนอุปนิสัยจิตใจและภาษาคล้ายกับคนไทใน ภาคเหนือ ไทเขิน ไทใหญ่ ไทลื้อ ไทเชียงรุ่ง ในเขตรัฐฉานของพม่าและตอนใต้มณฑล ยูนนานของจีน มีใบหน้ารูปไข่ ผิวค่อนข้างขาว เพราะอยู่ในโซนปานกลาง รูปร่างลักษณะได้ขนาดเดียวกัน หางคิ้วไม่ยกขึ้นอย่างชาวจีน ความเป็นอยู่ขนบธรรมเนียมและภาษาผิดกับชาวจีนฮ่อหลายอย่าง ภาษาบางคำตรงกับภาษาไทยที่ใช้กันในภาคกลางของประเทศไทย ที่แปร่งไปบ้าง เช่น คำว่า เสื้อเป็นเซ้อ หัวเป็นโห อยู่ดีหรือไม่อยู่ดี เป็นอู้ดีบ่อู้ดี มีบางคำที่ปนกับคำจีน เช่น คำว่า “ อู๋หลาย ” หรือมีหลายนั้น คำว่า “ อู๋ ” ในภาษาจีนแปลว่า “ มี ” ส่วนคำว่า “ หลาย ” เป็นคำไทย บางคำคล้ายภาษาไทใหญ่ที่ใช้กัน เช่น คำว่า “ ไป" ” ขาวไทหย่าว่า “ ก๋า ” ชาวไทใหญ่ว่า “ กว่า ” ไปเที่ยวว่า “ ก๋าห่อน ” กล้วยว่าเกี้ยว อ้อยว่าแอ้ว ฟันไม้ว่ากีดไม้ แต่ก็มีบางคำไม่ทราบว่ามาจากชาติไหน เช่น คำว่ากางเกงเป็นเดี๋ยว มากี่คนเป็นมาจิก้อ ฯลฯ ชาวไทหย่าเหล่านี้ฟังภาษาไทยกลาง (กรุงเทพฯ) ออก เครื่องดนตรีมีแคน ปี่แน กับซึง ชอบร้องเพลง