หากจะกล่าวถึงโครงการที่ได้ชื่อว่าผิดพลาดและประสบปัญหามากที่สุดของพรรคเพื่อไทยแล้วนั้น แน่นอนว่าต้องมีโครงการรับจำนำข้าวเป็นหนึ่งในนั้นอย่างไม่ต้องสงสัย เพราะนอกจากโครงการจะมีเสียงท้วงติงจากหลายฝ่ายแล้ว ยังมีข่าวการทุจริตหรือส่อไปในทางทุจริตภายในโครงการอยู่อย่างต่อเนื่อง
แรกเริ่มเดิมทีผมเชื่อว่านโยบายนี้จะเป็นอาวุธชิ้นเด็ดจากพรรคเพื่อไทย ที่จะกุมฐานเสียงจากเกษตรกรชาวนาได้อย่างอยู่หมัด ซึ่งดูจากเนื้อนอกนั้นโครงการนี้ดี สร้างรายได้ให้ชาวนา และยังกระตุ้นกำลังซื้อของผู้บริโภคได้อย่างดี แต่ในความเป็นจริงแล้วนั้น กลับมีปัญหาหลายประการที่ทำให้นโยบายนี้ไม่เป็นดังหวัง
หากใครไม่เข้าใจลักษณะของโครงการ ผมขอนำข้อมูลของหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ซึ่งได้เปรียบเทียบโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลพรรคเพื่อไทย กับพรรคประชาธิปัตย์ มาฝากกันครับ
http://www.thairath.co.th/page/price_guarantee
ผมคิดว่าก่อนออกนโยบายนี้ รัฐบาลคงคาดการณ์ว่าราคาข้าวในตลาดโลกน่าจะสูงขึ้น แบบที่เคยมีเหตุการณ์ลักษณะนี้เกิดขึ้นมาแล้วเมื่อปี 2551 และอาจทำให้โครงการนี้ไม่ขาดทุนมากนัก แต่ปัจจุบันราคาข้าวในตลาดโลกกลับไม่สูงขึ้นตาม ซ้ำร้ายยังลดต่ำลง ขณะที่คู่แข่งด้านการส่งออกข้าวเช่นเวียดนาม และอินเดีย มีราคาที่ถูกกว่า ทำให้เกิดปัญหาที่เรียกว่า ซื้อแพง (จากชาวนา) แต่ขายได้ถูก (จากตลาดโลก) ส่วนต่างราคาตรงนี้เองที่ทำให้โครงการนี้มีปัญหาขาดทุนจำนวนมาก ซึ่งหน่วยงานที่ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดจากโครงการนี้ ก็คือ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) นั่นเอง
รัฐบาลทราบดีว่าโครงการนี้เกิดปัญหาขึ้นแล้ว จึงต้องแก้เกมส์ด้วยการลดราคาจำนำข้าวลง แน่นอนว่าไม่ใช่เรื่องง่าย เนื่องจากรัฐบาลทำให้ชาวนาเสพติดโครงการนี้ไปเสียแล้ว โดยครั้งแรกในเดือนมิถุนายน 2556 มีแนวคิดลดราคารับจำนำลง จึงเกิดการชุมนุมเรียกร้องของชาวนาจำนวนมาก สุดท้ายรัฐบาลจึงต้องยอมทำตามข้อเรียกร้อง แล้วเลื่อนมาเป็นครั้งนี้ (รับจำนำข้าวรอบใหม่ เริ่มในวันที่ 1 ตุลาคม 2556 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2557)
ปัญหาคือ รัฐทราบดีว่าโครงการนี้ขาดทุนอยู่แล้ว และจะขาดทุนสะสมต่อเนื่องไปเรื่อยๆแน่นอน แต่รัฐบาลก็ไม่กล้ายกเลิกโครงการนี้ โดยอ้างว่าได้หาเสียงไว้กับประชาชน ทางเลือกคือลดราคาจำนำลงมา ซึ่งก็ทำไปแล้ว อีกทางเลือกคือการหาตลาดเพื่อระบายสต๊อกข้าวที่มีอยู่แทบจะล้นโกดัง ดังจะเห็นข่าวการเดินทางไปต่างประเทศบ่อยครั้งของผู้นำประเทศ ก็เพื่อทำการขายข้าว แต่หากราคาข้าวในตลาดโลกยังอยู่ในระดับต่ำ แถมข้าวไทยยังราคาสูงกว่าคู่แข่ง ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจโลกที่ไม่แน่นอน ก็เป็นเรื่องยากที่จะทำได้อย่างที่ตั้งใจ
ซึ่งเชื่อว่าสุดท้ายปัญหาก็จะวนกลับมารูปแบบเดิม รัฐบาลก็ต้องใช้วิธีการเดิมเพราะควบคุมราคาข้าวในตลาดโลกไม่ได้ คำถามคือ "แล้วโครงการจะไปสิ้นสุดตรงไหน?" โดยส่วนตัวเชื่อว่าสุดท้ายโครงการนี้ต้องยกเลิกไป เพราะอุ้มต่อไปไม่ไหว หรือหากทำต่อราคาก็ต้องลดลงมาให้อยู่ในระดับที่พอรับการขาดทุนได้ สิ่งที่ได้คือพรรคเพื่อไทยสามารถคุยได้ว่าสามารถทำให้ชาวนามีรายได้เพิ่มขึ้นซึ่งก็จริง สาวกคนเสื้อแดงก็สามารถพูดได้เต็มปากว่าพรรคเพื่อไทยมีผลงาน แล้ว....ที่ ธ.ก.ส.ขาดทุนนับแสนล้าน จะทำยังไงครับ
แล้วคนเสื้อแดง ยังอยากให้รัฐบาลทำโครงการนี้ต่อไปอยู่อีกหรือ????
โครงการรับจำนำข้าว "ที่สุดของความผิดพลาดจากนโยบายพรรคเพื่อไทย"
แรกเริ่มเดิมทีผมเชื่อว่านโยบายนี้จะเป็นอาวุธชิ้นเด็ดจากพรรคเพื่อไทย ที่จะกุมฐานเสียงจากเกษตรกรชาวนาได้อย่างอยู่หมัด ซึ่งดูจากเนื้อนอกนั้นโครงการนี้ดี สร้างรายได้ให้ชาวนา และยังกระตุ้นกำลังซื้อของผู้บริโภคได้อย่างดี แต่ในความเป็นจริงแล้วนั้น กลับมีปัญหาหลายประการที่ทำให้นโยบายนี้ไม่เป็นดังหวัง
หากใครไม่เข้าใจลักษณะของโครงการ ผมขอนำข้อมูลของหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ซึ่งได้เปรียบเทียบโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลพรรคเพื่อไทย กับพรรคประชาธิปัตย์ มาฝากกันครับ
http://www.thairath.co.th/page/price_guarantee
ผมคิดว่าก่อนออกนโยบายนี้ รัฐบาลคงคาดการณ์ว่าราคาข้าวในตลาดโลกน่าจะสูงขึ้น แบบที่เคยมีเหตุการณ์ลักษณะนี้เกิดขึ้นมาแล้วเมื่อปี 2551 และอาจทำให้โครงการนี้ไม่ขาดทุนมากนัก แต่ปัจจุบันราคาข้าวในตลาดโลกกลับไม่สูงขึ้นตาม ซ้ำร้ายยังลดต่ำลง ขณะที่คู่แข่งด้านการส่งออกข้าวเช่นเวียดนาม และอินเดีย มีราคาที่ถูกกว่า ทำให้เกิดปัญหาที่เรียกว่า ซื้อแพง (จากชาวนา) แต่ขายได้ถูก (จากตลาดโลก) ส่วนต่างราคาตรงนี้เองที่ทำให้โครงการนี้มีปัญหาขาดทุนจำนวนมาก ซึ่งหน่วยงานที่ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดจากโครงการนี้ ก็คือ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) นั่นเอง
รัฐบาลทราบดีว่าโครงการนี้เกิดปัญหาขึ้นแล้ว จึงต้องแก้เกมส์ด้วยการลดราคาจำนำข้าวลง แน่นอนว่าไม่ใช่เรื่องง่าย เนื่องจากรัฐบาลทำให้ชาวนาเสพติดโครงการนี้ไปเสียแล้ว โดยครั้งแรกในเดือนมิถุนายน 2556 มีแนวคิดลดราคารับจำนำลง จึงเกิดการชุมนุมเรียกร้องของชาวนาจำนวนมาก สุดท้ายรัฐบาลจึงต้องยอมทำตามข้อเรียกร้อง แล้วเลื่อนมาเป็นครั้งนี้ (รับจำนำข้าวรอบใหม่ เริ่มในวันที่ 1 ตุลาคม 2556 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2557)
ปัญหาคือ รัฐทราบดีว่าโครงการนี้ขาดทุนอยู่แล้ว และจะขาดทุนสะสมต่อเนื่องไปเรื่อยๆแน่นอน แต่รัฐบาลก็ไม่กล้ายกเลิกโครงการนี้ โดยอ้างว่าได้หาเสียงไว้กับประชาชน ทางเลือกคือลดราคาจำนำลงมา ซึ่งก็ทำไปแล้ว อีกทางเลือกคือการหาตลาดเพื่อระบายสต๊อกข้าวที่มีอยู่แทบจะล้นโกดัง ดังจะเห็นข่าวการเดินทางไปต่างประเทศบ่อยครั้งของผู้นำประเทศ ก็เพื่อทำการขายข้าว แต่หากราคาข้าวในตลาดโลกยังอยู่ในระดับต่ำ แถมข้าวไทยยังราคาสูงกว่าคู่แข่ง ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจโลกที่ไม่แน่นอน ก็เป็นเรื่องยากที่จะทำได้อย่างที่ตั้งใจ
ซึ่งเชื่อว่าสุดท้ายปัญหาก็จะวนกลับมารูปแบบเดิม รัฐบาลก็ต้องใช้วิธีการเดิมเพราะควบคุมราคาข้าวในตลาดโลกไม่ได้ คำถามคือ "แล้วโครงการจะไปสิ้นสุดตรงไหน?" โดยส่วนตัวเชื่อว่าสุดท้ายโครงการนี้ต้องยกเลิกไป เพราะอุ้มต่อไปไม่ไหว หรือหากทำต่อราคาก็ต้องลดลงมาให้อยู่ในระดับที่พอรับการขาดทุนได้ สิ่งที่ได้คือพรรคเพื่อไทยสามารถคุยได้ว่าสามารถทำให้ชาวนามีรายได้เพิ่มขึ้นซึ่งก็จริง สาวกคนเสื้อแดงก็สามารถพูดได้เต็มปากว่าพรรคเพื่อไทยมีผลงาน แล้ว....ที่ ธ.ก.ส.ขาดทุนนับแสนล้าน จะทำยังไงครับ
แล้วคนเสื้อแดง ยังอยากให้รัฐบาลทำโครงการนี้ต่อไปอยู่อีกหรือ????