หนังญี่ปุ่น กับ เขื่อนแม่วงก์

ว่าจะเขียนเรื่องนี้หลายวันแล้วแต่ อินเตอร์เน็ตไม่ค่อยจะเป็นใจ

จากตรงนี้เป็นเพียงมุมมองของคนที่ชอบดูหนัง และเห็นอะไรบางอย่างที่สอดคล้องกับประเด็นเขื่อนแม่วงก์เพียงเล็กน้อย แต่สำคัญ

“  INTO THE FARAWAY SKY  ”

ภาพยนตร์ญี่ปุ่น แนวตลก ดราม่าเล็กน้อย

สนามบินสร้างเสร็จสมบรูณ์ หนังจึงเล่าเรื่องย้อนอดีตไปก่อนจะเกิดสนามบิน

ช่วงเวลาหนึ่งในชนบท ที่กำลังจะมีการสร้างสนามบิน พวกชาวบ้านต่างแสดงความรู้สึกไม่เห็นด้วยและต่อต้านกันอย่างพร้อมเพียง พร้อมกับมีการส่งคนจากภาครัฐให้เข้ามาดำเนินการสร้างสนามบิน เรื่อยๆ  หนังแสดงให้เห็นถึงความเป็นอยู่ของคนในชนบทที่ มีความซื่อๆเชื่ออะไรง่าย ไร้ความเจริญ รถซักคันยังไม่มี มีแต่จักรยาน ผู้คนเลี้ยงสัตว์ ทำนา และใกล้ชิดกับธรรมชาติมากๆ หนังเล่าเรื่องการจัดการในแบบผู้ใหญ่บ้านนอกไร้การศึกษาที่สูง กับคนของภาครัฐที่มีอดีตฝังใจกับเมืองเล็กๆแห่งนี้ พร้อมกับเล่าเรื่องเด็กกลุ่มหนึ่ง ที่ประกอบไปด้วยเด็กบ้านนอกเจ้าถิ่น  เด็กผู้ชายหน้าใสที่ย้ายเข้ามาใหม่ตามพ่อที่เป็นหัวหน้าวิศวกรก่อสร้างสนามบิน และเด็กผู้หญิงที่หมกมุ่นในเรื่องของUFO และมนุษย์ต่างดาว พื้นดินที่ทุกคนในเรื่องหวงแหนนั้น เป็นเพียงพื้นนาธรรมดาๆ มีสัตว์ที่หายากอยู่เพียงแค่ชนิดเดียว ซึ่งก็คือ หนูนาญี่ปุ่น หรือ นุสุเกะ การต่อต้านการสร้างสนามบินนั้น มีทั้งการพูดคุยดีๆ แจกเงินเพื่อให้ชาวบ้านเอนเอียง ใช้แผนสกปรกบ้างจากทั้งสองฝ่าย เลวร้ายจนทำให้เกิดการบาดเจ็บ เสียเลือด จนในที่สุด กลุ่มเด็กผู้ชายรวมตัวกันทั้งหมู่บ้าน เพื่อทำภารกิจอะไรบ้างอย่างที่ จำเป็นที่จะต้องปิดเป็นความลับ ไม่ให้มีผู้ใหญ่คนไหนล่วงรู้เป็นอันขาด

สิ่งที่เรารู้สึกว่ามันเหมือนกันกับกรณีแม่วงก์ คือ พื้นที่ธรรมชาติธรรมดาๆเล็กๆ ไม่ได้เป็นถึงขนาดอุทธยานแห่งชาติ มัพันธ์สัตว์ พันธ์พืชหายากมากมายเช่นเดียวกับแม่วงก์ คนญี่ปุ่นยังหวงแหน เห็นความสำคัญ จะเป็นจะตาย คนอื่นอาจจะมองว่าแม่วงก์เกิดจากปัญหาน้ำท่วมซ้ำซาก แต่สนามบินในหนังอาจจะเกิดจากการที่รัฐต้องการขยายความเจริญสู่ชนบท คนในพื้นที่ก็ยังไม่เห็นมีใครต้องการ เพราะทุกคนอยู่กันอย่างมีความสุขอยู่แล้ว และทุกคนต่างมีความกระตือรื่อร้นที่จะปกป้องหมู่บ้านทุกวิธีเพื่อไม่ให้มีการสร้างสนามบิน

น่าเศร้าเล็กน้อยตรงที่ ในหนังสุดท้ายแล้ว ถึงกลุ่มเด็กๆจะทำภารกิจสำเร็จ ก็เป็นเพียงการชะลอการส้รางสนามบิน เพราะสนามบินก็เกิดขึ้นอยู่ดี



หนังไม่ได้มีเนื้อหาเหมือนกรณีเขื่อนแม่วงก์ซะทั้งหมดทีเดียว สิ่งที่เหมือนมีเพียงแค่ การสร้างเกิดจากมีฝ่ายหนึ่ง ต้องการและคิดว่าเป็นสิ่งที่ทำให้อะไรบางอย่างดีขึ้น และมีอีกฝ่ายหนึ่งที่ไม่ต้องการด้วยเหตุผลทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จึงเกิดความขัดแย้งระหว่างกันขึ้น


ในหนังอาจจะไม่ได้พูดปัญหาการทำลายสิ่งแวดล้อมโดยตรงนัก แต่หนังทำให้เรารู้สึกรักความเป็นธรรมชาติแบบนี้ไปเอง เหมือนกับที่เด็กผู้ชายบ้านนอก ถามกลับเด็กผู้ชายที่มาจากในเมืองที่เข้ามาอยู่ใหม่ว่าอยู่ที่นี่สนุกเหมือนอยู่โตเกียวรึเปล่า และเด็กผู้ชายที่มาจากโตเกียวก็ตอบกลับว่าอยู่ที่นี่สนุกกว่าร้อยเท่า นั้นแหละมั้ง


เราไม่ใช่กระทู้ข้อมูลนะค่ะ มีแต่ข้อมูลหนัง และความรู้สึกดีๆที่มีต่อธรรมชาติและหนังเท่านั้นเองค่ะ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่