เธอทั้งหลายจงอย่าคิดถึงอกุศลจิตอันลามกว่า? ตามที่เข้าใจในพุทธศาสนาและปฏิบัติตนที่ผ่านมา
จากพระไตรปิฏกเล่มที่ 19
---
จินตสูตร
ว่าด้วยการคิดในอริยสัจ ๔
[๑๖๖๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงอย่าคิดถึงอกุศลจิตอันลามกว่า โลกเที่ยง
โลกไม่เที่ยง โลกมีที่สุด โลกไม่มีที่สุด ชีพอันนั้น สรีระก็อันนั้น ชีพอย่างหนึ่ง สรีระก็อย่าง
หนึ่ง สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็นอีก สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมไม่เป็นอีก สัตว์เบื้อง
หน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็นอีกก็มี ย่อมไม่เป็นอีกก็มี สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็นอีกก็หามิได้
ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะความคิดนี้ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่ใช่
พรหมจรรย์เบื้องต้น ย่อมไม่เป็นไปเพื่อความหน่าย ... นิพพาน ก็เมื่อเธอทั้งหลายจะคิด พึงคิดว่า
นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะความคิดนี้ประกอบด้วยประ
โยชน์ เป็นพรหมจรรย์เบื้องต้น ย่อมเป็นไปเพื่อความหน่าย ... นิพพาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะ
ฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกข
นิโรธคามินีปฏิปทา.
จบ สูตรที่ ๘
---
อธิบาย ตามความรู้ที่เห็นพิจารณาไปได้ >>>
พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า จงอย่าคิดถึงอกุศลจิตอันลามก ซึ่งก็คือพระพุทธเจ้าไม่ได้ตรัสห้ามคิดเสียที่เดียวและพระพุทธเจ้าทรงไม่ได้ปฏิเสธ ที่พระพุทธองค์ทรงตรัสนั้นคือ
เธอทั้งหลายจงอย่าคิดถึงอกุศลจิตอันลามก ในเรื่องโลกเที่ยง โลกไม่เที่ยง โลกมีที่สุด โลกไม่มีที่สุด ชีพอันนั้น สรีระก็อันนั้น ชีพอย่างหนึ่ง สรีระก็อย่างหนึ่ง สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็นอีก สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมไม่เป็นอีก สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็นอีกก็มี ย่อมไม่เป็นอีกก็มี สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็นอีกก็หามิได้ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้
นั้นคือ จงอย่าคิดถึงอกุศลจิตอันลามก หมายความว่า จงอย่าคิดจนเกิดกิเลสยึดมั่นถือมั่นจนฟุ้งซ้าน หลงผิดไปนั้นเอง จึงไม่ใช่ห้ามไม่ให้คิดเพื่อการศึกษา หรือเทียบเคียงที่เป็นข้อมูลความรู้ในทางวิชาการทางศาสนา ที่ไม่นำไปสู่การฟุ้งซ้านจนหลงผิด หรือเกิดกิเลสอย่างมากคือ เป็นอกุศลจิตอันลามก นั้นเอง
แต่เมื่อประสงค์ พรหมจรรย์ คือปฏิบัติเพื่อพรหมจรรย์ คือต้องปฏิบัติธรรมไปตามลำดับ พระพุทธเจ้าทรงเตือนว่า ไม่พึงไปคิดเรื่องเหล่านั้น เพราะความคิดนี้ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่ใช่พรหมจรรย์เบื้องต้น ย่อมไม่เป็นไปเพื่อความหน่าย ... นิพพาน
พระพุทธเจ้าทรงให้คิดถึง อริยสัจ 4 ว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา จนเกิดกำลังใจกระทำความเพียร(ปฏิบัติธรรมด้วยความเพียร ไม่ใช่นั่งคิดนึกวิเคราะห์)เพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.
ดังนั้นจึงไม่ควรกลัวจนเกินไป จนกลายเป็นปฏิเสธ เรื่องการเวียนว่ายตายเกิด ที่เป็นในเชิงข้อมูลความรู้ และในทางวิชาการทางพุทธศาสนา จนมีทิฏฐิปักไปทาง ตายแล้วสูญไปเสีย
เธอทั้งหลายจงอย่าคิดถึงอกุศลจิตอันลามกว่า? ตามที่เข้าใจในพุทธศาสนาและปฏิบัติตนที่ผ่านมา
จากพระไตรปิฏกเล่มที่ 19
---
จินตสูตร
ว่าด้วยการคิดในอริยสัจ ๔
[๑๖๖๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงอย่าคิดถึงอกุศลจิตอันลามกว่า โลกเที่ยง
โลกไม่เที่ยง โลกมีที่สุด โลกไม่มีที่สุด ชีพอันนั้น สรีระก็อันนั้น ชีพอย่างหนึ่ง สรีระก็อย่าง
หนึ่ง สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็นอีก สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมไม่เป็นอีก สัตว์เบื้อง
หน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็นอีกก็มี ย่อมไม่เป็นอีกก็มี สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็นอีกก็หามิได้
ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะความคิดนี้ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่ใช่
พรหมจรรย์เบื้องต้น ย่อมไม่เป็นไปเพื่อความหน่าย ... นิพพาน ก็เมื่อเธอทั้งหลายจะคิด พึงคิดว่า
นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะความคิดนี้ประกอบด้วยประ
โยชน์ เป็นพรหมจรรย์เบื้องต้น ย่อมเป็นไปเพื่อความหน่าย ... นิพพาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะ
ฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกข
นิโรธคามินีปฏิปทา.
จบ สูตรที่ ๘
---
อธิบาย ตามความรู้ที่เห็นพิจารณาไปได้ >>>
พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า จงอย่าคิดถึงอกุศลจิตอันลามก ซึ่งก็คือพระพุทธเจ้าไม่ได้ตรัสห้ามคิดเสียที่เดียวและพระพุทธเจ้าทรงไม่ได้ปฏิเสธ ที่พระพุทธองค์ทรงตรัสนั้นคือ
เธอทั้งหลายจงอย่าคิดถึงอกุศลจิตอันลามก ในเรื่องโลกเที่ยง โลกไม่เที่ยง โลกมีที่สุด โลกไม่มีที่สุด ชีพอันนั้น สรีระก็อันนั้น ชีพอย่างหนึ่ง สรีระก็อย่างหนึ่ง สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็นอีก สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมไม่เป็นอีก สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็นอีกก็มี ย่อมไม่เป็นอีกก็มี สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็นอีกก็หามิได้ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้
นั้นคือ จงอย่าคิดถึงอกุศลจิตอันลามก หมายความว่า จงอย่าคิดจนเกิดกิเลสยึดมั่นถือมั่นจนฟุ้งซ้าน หลงผิดไปนั้นเอง จึงไม่ใช่ห้ามไม่ให้คิดเพื่อการศึกษา หรือเทียบเคียงที่เป็นข้อมูลความรู้ในทางวิชาการทางศาสนา ที่ไม่นำไปสู่การฟุ้งซ้านจนหลงผิด หรือเกิดกิเลสอย่างมากคือ เป็นอกุศลจิตอันลามก นั้นเอง
แต่เมื่อประสงค์ พรหมจรรย์ คือปฏิบัติเพื่อพรหมจรรย์ คือต้องปฏิบัติธรรมไปตามลำดับ พระพุทธเจ้าทรงเตือนว่า ไม่พึงไปคิดเรื่องเหล่านั้น เพราะความคิดนี้ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่ใช่พรหมจรรย์เบื้องต้น ย่อมไม่เป็นไปเพื่อความหน่าย ... นิพพาน
พระพุทธเจ้าทรงให้คิดถึง อริยสัจ 4 ว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา จนเกิดกำลังใจกระทำความเพียร(ปฏิบัติธรรมด้วยความเพียร ไม่ใช่นั่งคิดนึกวิเคราะห์)เพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.
ดังนั้นจึงไม่ควรกลัวจนเกินไป จนกลายเป็นปฏิเสธ เรื่องการเวียนว่ายตายเกิด ที่เป็นในเชิงข้อมูลความรู้ และในทางวิชาการทางพุทธศาสนา จนมีทิฏฐิปักไปทาง ตายแล้วสูญไปเสีย