ที่มา :
http://www.oknation.net/blog/print.php?id=798526
รวยหุ้นด้วยระบบคิดใหม่ โดย พิชัย จาวลา
หนังสือเล่มนี้ หากจะให้สรุปในประโยคเดียวก็คือ “จงทำตรงข้ามกับ Mass”
Mass คืออะไร Mass คือคนส่วนใหญ่ซึ่งมีอยู่ 95% ในตลาดหุ้น ซึ่งมักจะขาดทุนเสมอ ผู้ที่ได้กำไรคือผู้อยู่ใน 5% นั้นก็คือ ตราบใดที่เราอยู่ตรงข้ามกับ mass เราก็จะชนะ ทั้งนี้ไม่ว่าเหตุผล (จากการขึ้น ลง ของราคา) จะเป็นอะไรก็ตาม ถ้าเราอยู่ตรงข้ามได้ เราก็จะชนะเสมอ
ทำไมเหตุผลไม่สำคัญ? นั้นก็เพราะว่า “ราคาเป็นตัวกำหนดเหตุผล” แปลว่า แม้สถานการณ์ทุกอย่างจะดูเลวร้าย แต่ถ้าหุ้นขึ้น ตลาดก็จะหาเหตุผลมาให้เอง
อีกประการหนึ่งที่ทำให้เหตุผลไม่สำคัญคือ แม้เราจะตัดสินใจถูกด้วยเหตุผลที่ถูก แต่ถ้าคน 90% เห็นเหมือนเรา เราก็ขาดทุน ยกตัวอย่างเช่น การทำธุรกิจสปาในเมืองท่องเที่ยวของชาวต่างชาติ ซึ่งเป็นการตัดสินใจที่ถูก เพราะการนวดสปาถือว่ามีชื่อเสียงในประเทศไทย แต่ถ้ามีร้านแบบเดียวกันเปิดซัก 10 ร้าน เราก็จะเจ๊ง ตรงกันข้าม ถ้าเราเปิดร้านขายเสื้อผ้าเพียงร้านเดียวในย่านนั้น เราอาจจะกำไรดีกว่าสปาก็ได้
ดังนั้นขอแค่เรามอง Mass ให้ออก แล้วเราอยู่ตรงข้ามกันก็พอ
แล้วเราจะหา Mass ได้ยังไง? ต้องขอกล่าวก่อนว่า สถานการณ์ที่แบ่งแยก Mass กับส่วนน้อยชัดเจนไม่ได้มีทุกวันหรือทุกสัปดาห์ Mass จะอยู่ในช่วงที่สถานการณ์เลวร้ายสุดๆ หรือดีสุดๆ ซึ่งก็คือ คน 90% เห็นว่าตลาดจะลงหรือขึ้นเหมือนๆกันหมด
ยกตัวอย่างเช่นเวลามีข่าวต่างๆ ถ้าเป็นข่าวร้าย Mass จะขาย เราก็จะทำตามภาษิตเดิมคือ “ซื้อเมื่อข่าวร้าย ขายเมื่อข่าวดี” แต่ระบบคิดใหม่จากหนังสือเล่มนี้มองไปไกลกว่านั้น คือ ถ้าคนทุกคนหรือ Mass ทำตามแนวคิดนี้หมด เราก็จะไม่ได้กำไร
จะเห็นว่า แนวคิดนี้จะอธิบาย ถ้าเราทำตรงข้ามกับ Mass ได้เราก็จะได้กำไรตลอด จุดยากอยู่ตรงที่ว่า เราต้องหา Mass ให้เจอ
ที่นี้ ถ้าเรามองแนวคิดนี้แบบ Value Investor ก็จะมีส่วนที่ใช้ได้และใช้ไม่ได้
จุดที่ใช้ไม่ได้เนื่องจาก Value Investor ลงทุนในหุ้น 100% ตลอดเวลา จึงไม่มีประโยชน์อะไรให้การจับจังหวะตลาด เพราะเราสนใจในตัวธุรกิจ ไม่ได้ราคาที่วิ่งไปวิ่งมา แต่ถ้าเราเป็น Value Investor แล้วยังฝืนจับจังหวะตลาด แนวคิดนี้ก็สมควรนำไปใช้
จุดที่น่าสนใจในหนังสือเล่มนี้คือ แนวคิดทางธุรกิจที่ว่า “แม้เราทำธุรกิจดีเพียงใด ถ้าคน 90% เห็นเหมือนเราก็เจ๊ง” แม้เราจะเลือกหุ้นดี แต่ถ้าคน 90% เห็นเหมือนกัน ราคาก็ไม่ไปไหน (หรือซื้อหุ้นดีตอนราคาแพง)
เราต้องเลือกหุ้น หรือธุรกิจที่อยู่ใน 10% คือไม่ใช่ธุรกิจ Mass เพราะถ้าเราทำธุรกิจนอกกระแส แม้ไม่ต้องบริหารเก่งเราก็อยู่รอด แต่ถ้าเราทำธุรกิจในกระแส เราต้องบริหารเก่งมากถึงจะอยู่รอด
โดย โควเมย์
จงทำตรงข้ามกับ "Mass" พิชัย จาวลา โดย โควเมย์
รวยหุ้นด้วยระบบคิดใหม่ โดย พิชัย จาวลา
หนังสือเล่มนี้ หากจะให้สรุปในประโยคเดียวก็คือ “จงทำตรงข้ามกับ Mass”
Mass คืออะไร Mass คือคนส่วนใหญ่ซึ่งมีอยู่ 95% ในตลาดหุ้น ซึ่งมักจะขาดทุนเสมอ ผู้ที่ได้กำไรคือผู้อยู่ใน 5% นั้นก็คือ ตราบใดที่เราอยู่ตรงข้ามกับ mass เราก็จะชนะ ทั้งนี้ไม่ว่าเหตุผล (จากการขึ้น ลง ของราคา) จะเป็นอะไรก็ตาม ถ้าเราอยู่ตรงข้ามได้ เราก็จะชนะเสมอ
ทำไมเหตุผลไม่สำคัญ? นั้นก็เพราะว่า “ราคาเป็นตัวกำหนดเหตุผล” แปลว่า แม้สถานการณ์ทุกอย่างจะดูเลวร้าย แต่ถ้าหุ้นขึ้น ตลาดก็จะหาเหตุผลมาให้เอง
อีกประการหนึ่งที่ทำให้เหตุผลไม่สำคัญคือ แม้เราจะตัดสินใจถูกด้วยเหตุผลที่ถูก แต่ถ้าคน 90% เห็นเหมือนเรา เราก็ขาดทุน ยกตัวอย่างเช่น การทำธุรกิจสปาในเมืองท่องเที่ยวของชาวต่างชาติ ซึ่งเป็นการตัดสินใจที่ถูก เพราะการนวดสปาถือว่ามีชื่อเสียงในประเทศไทย แต่ถ้ามีร้านแบบเดียวกันเปิดซัก 10 ร้าน เราก็จะเจ๊ง ตรงกันข้าม ถ้าเราเปิดร้านขายเสื้อผ้าเพียงร้านเดียวในย่านนั้น เราอาจจะกำไรดีกว่าสปาก็ได้
ดังนั้นขอแค่เรามอง Mass ให้ออก แล้วเราอยู่ตรงข้ามกันก็พอ
แล้วเราจะหา Mass ได้ยังไง? ต้องขอกล่าวก่อนว่า สถานการณ์ที่แบ่งแยก Mass กับส่วนน้อยชัดเจนไม่ได้มีทุกวันหรือทุกสัปดาห์ Mass จะอยู่ในช่วงที่สถานการณ์เลวร้ายสุดๆ หรือดีสุดๆ ซึ่งก็คือ คน 90% เห็นว่าตลาดจะลงหรือขึ้นเหมือนๆกันหมด
ยกตัวอย่างเช่นเวลามีข่าวต่างๆ ถ้าเป็นข่าวร้าย Mass จะขาย เราก็จะทำตามภาษิตเดิมคือ “ซื้อเมื่อข่าวร้าย ขายเมื่อข่าวดี” แต่ระบบคิดใหม่จากหนังสือเล่มนี้มองไปไกลกว่านั้น คือ ถ้าคนทุกคนหรือ Mass ทำตามแนวคิดนี้หมด เราก็จะไม่ได้กำไร
จะเห็นว่า แนวคิดนี้จะอธิบาย ถ้าเราทำตรงข้ามกับ Mass ได้เราก็จะได้กำไรตลอด จุดยากอยู่ตรงที่ว่า เราต้องหา Mass ให้เจอ
ที่นี้ ถ้าเรามองแนวคิดนี้แบบ Value Investor ก็จะมีส่วนที่ใช้ได้และใช้ไม่ได้
จุดที่ใช้ไม่ได้เนื่องจาก Value Investor ลงทุนในหุ้น 100% ตลอดเวลา จึงไม่มีประโยชน์อะไรให้การจับจังหวะตลาด เพราะเราสนใจในตัวธุรกิจ ไม่ได้ราคาที่วิ่งไปวิ่งมา แต่ถ้าเราเป็น Value Investor แล้วยังฝืนจับจังหวะตลาด แนวคิดนี้ก็สมควรนำไปใช้
จุดที่น่าสนใจในหนังสือเล่มนี้คือ แนวคิดทางธุรกิจที่ว่า “แม้เราทำธุรกิจดีเพียงใด ถ้าคน 90% เห็นเหมือนเราก็เจ๊ง” แม้เราจะเลือกหุ้นดี แต่ถ้าคน 90% เห็นเหมือนกัน ราคาก็ไม่ไปไหน (หรือซื้อหุ้นดีตอนราคาแพง)
เราต้องเลือกหุ้น หรือธุรกิจที่อยู่ใน 10% คือไม่ใช่ธุรกิจ Mass เพราะถ้าเราทำธุรกิจนอกกระแส แม้ไม่ต้องบริหารเก่งเราก็อยู่รอด แต่ถ้าเราทำธุรกิจในกระแส เราต้องบริหารเก่งมากถึงจะอยู่รอด
โดย โควเมย์