ผมว่าคนเรา นับถือศาสนา กลับหัวกลับหางยังไงไม่รู้ ( มีให้เห็นทุกศาสนา )

คือ  เอาแก่นไปเป็นเปลือกแล้วไม่สนใจ  แล้ว  เอาเปลือกไปเป็นแก่นบูชาไว้ท่วมหัว

ขอเริ่มจาก  พุทธก่อนละกัน   เอาเรื่องการยึดติดชาติหน้า  มาเป็นแก่น   แล้วเอาเรื่อง  การปล่อยวาง  ทีนี้เดวนี้  ไปเป็นเปลือก  

   อธิบายง่ายๆ   คือ  เอาเรื่อง  ชาติหน้ามาเป็นใจความสำคัญ  ประกาศไปทั่วว่าไม่อยากเกิดชาติหน้าอีกแล้ว  แต่ใครไปบอกไม่มี  โกรธไม่พอใจ

ทำให้การปฎิบัติทุกอย่างมันผิดเพี้ยน  จาก
- ศีล (สงบ) มีไว้ให้สงบเดวนี้  กลายเป็น  ศีล ( ข้อห้าม ) มีไว้สะสมแต้มบุญบารมี
- สมาธิ ( การพิจารณาตามจริง )   กลายเป็น  สมาธิ ( การเพ่งการภาวนา ) มีไว้ยกระดับพลังจิต สะสมบุญบารมี
- ปัญญา ( ความเข้าใจ ในทุกข์  เข้าใจการดับทุกข์ทีนี้เดวนี้ ) กลายเป็น  ปัญญา ( เอาไว้เป็นจุดหมายไกลๆ ) จะมีได้ต่อเมื่อ สะสมบุญบารมีถึง

จากแนวทางสำคัญของพุทธ  คือ  การปล่อยวาง  ให้เกิด  ความสงบ ( ศีล ) เกิดการพิจารณาตามจริง ( สมาธิ )  เกิดความเข้าใจในทุกข์ และเห็นหนทางดับทุกข์  ( ปัญญา )   แล้ว หนทางที่ว่าก็คือ  การปล่อยวาง  ทำให้ตนเป็นที่พึ่งแห่งตนได้  ทำให้เข้าใจไม่ปลงใจเชื่อ

แต่ด้วยความที่เอาเปลือกมาเป็นแก่น  จากสิ่งสำคัญ  การปล่อยวาง  กลายมาเป็น  การยึดติดในชาตินี้  ยึดติดในชาติหน้า  ยึดติดในบุญบารมี ทำให้  ศีล ( กลายเป็นข้อห้ามต้องยึดติดไว้เพื่อสะสมบุญ )  สมาธิ ( เป็นการยกระดับพลังจิต เพื่อสะสมพลังบุญบารมี )  ปัญญา ( เอาไว้ชาติหน้าอีกสิบชาติร้อยชาติ )   ชาตินี้เอาปลงใจเชื่อไปก่อน  เรียกให้ดูหรู  ว่า ศรัทธา  จากตนเป็นที่พึ่งแห่งตน  กลายเป็น ตนต้องพึ่ง บุญ


        ผมว่าเรื่องพุทธแล้ว  ผมอยากรู้ว่าใน ศาสนาอื่นมีแบบนี้ไหม  มีการโต้แย้งอะไรในทำนองนี้ไหม ( ถามด้วยความสงสัย ไม่ได้ลบลู่ )เช่น

-ในศาสนาอิสลาม  มีการโต้เถียงกันไหม  ว่า  สันติ  คือแก่นของศาสนา เป็นสิ่งที่พระเจ้าต้องการ ไม่ใช่การทำอะไรก็ได้เพื่อ ประจบพระเจ้า

-ในศาสนาคริสต์ มีการโต้เถียงกันไหม  ว่า  ความรัก คือแก่นของศาสนา เป็นสิ่งที่พระเจ้าต้องการ ไม่ใช่อ้างว่ารักของพระเจ้าแล้วทำอะไรก็ได้



    อันนี้ผมถามด้วยความบริสุทธ์ใจ  เพราะส่วนตัวเห็นว่า  ทุกศาสนา  ถ้าเอาแก่นจริงๆ  มาคุยกัน  ทั้งความรัก  สันติ  และ การปล่อยวาง  มาเป็นเรื่องสำคัญ  ปัญหาความขัดแย้งทางศาสนา  ไม่น่าจะเกิด แบบที่เห็นทุกวันนี้
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 7
"สัพเพ ธัมมา นาลัง อภินิเวสายะ ธรรมทั้งปวงไม่ควรยึดมั่น"

ธรรมของพระพุทธเจ้า
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่