พัฒนาการของพุทธศาสนาในสังคมไทย สมัยสุโขทัย
การปกครองคณะสงฆ์สมัยสุโขทัย
พุทธศาสนาที่ชาวไทยนับถึอมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยเป็นพุทธศาสนาฝ่ายหินยานลัทธิลังกาวงศ์ ที่กรุงสุโขทัยได้รับมาจากประเทศลังกาผ่านนครศรีธรรมราช เหตุการณ์ตอนที่พุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์แพร่เข้าสู่สุโขทัยมีรายละเอียดพอสรุปได้ดังต่อไปนี้
หนึ่งศตวรรษก่อนการสถาปนาอาณาจักรสุโขทัยพระเจ้าปรักกรพาหุเสด็จขึ้นครองราชย์ในประเทศลังกาใน พ.ศ. 1696 ทรงฟึ้นฟูทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาไห้บริสุทธิ์ด้วยการทำสังคยนาพระธรรมวินัยครั้งที่ 7
พุทธศาสนาจึงเจริญรุ่งเรืองในประเทศลังกาทั้งในด้านการศึกษาและปฏิบัติธรรม กิตติศัพท์ได้เลื่องลือไปถึงประเทศพม่าพระสงฆ์จากพุกามและมอญได้เดินทางไปศึกษาพระธรรมวินัยและบวชแปลงใหม่ได้พาพระสงฆ์ลังกากลับเมืองพุกามและเมืองมอญ ตั้งคณะสงฆ์ลังกาขึ้นจนได้รับความเลื่อมใสศรัทธาของประชาชนในเมืองทั้งสอง
ต่อมาพระสงฆ์ชาวลังกาชื่อ ราหุล ได้จาริกจากเมืองพุกามมาตั้งคณะลังกาวงศ์ขึ้นที่เมืองนครศรีธรรมราชและประสบความสำเร็จในการสร้างศรัทธาให้กับประชาชน จนพุทธศาสนาแบบลังกาวงศ์เจริญรุ่งเรืองที่เมืองนครศรีธรรมราช
เมื่อพ่อขุนรามคำแหงมหาราชเสด็จขึ้นครองราชย์ใน พ.ศ. 1822 พระองค์ทรงสดับกิตติศัพท์ของคณะสงฆ์แบบลังกาวงศ์ก็ทรงเลื่อมใสศรัทธา จึงโปรดอาราธนาพระมหาเถรสังฆราชจากเมืองนครศรีธรรมราชมาตั้งสำนักเผยแพร่ศาสนา ณ วัอรัญญิก ในสมัยสุโขทัย
ดังข้อความตอนหนึ่งในศิลาจารึกหลักที่ 1 ว่า
“เบื้องตะวันตกเมืองสุโขทัยนี้มีอรัญญิก พ่อขุนรามคำแหงกระทำโอยทานแก่มหาเถรสังฆราชปราชญ์เรียนจบปิฎกไตรหลวก (รู้หลัก) กว่าปู่ครูในเมืองนี้ทุกคน ลุก (จาริก) แต่เมืองนครศรีธรรมราช”
ข้อความในศิลาจารึกตอนนี้แสดงว่า ก่อนที่พ่อขุนรามคำแหงมหาราชจะอาราธนาพระมหาเถรสังฆราชมาเผยแพร่พุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์นั้น กรุงสุโขทัยมีพระสงฆ์ฝ่านหินยานอยู่ก่อนแล้ว ซึ่งศิลาจารึกเรียกว่า “ปู่ครู” อันหมายถึง “พระครู” นั่นเอง
พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงเลื่อมใสมหาเถรสังฆราชเพราะท่านศึกษาจบพระไตรปิฎกและเป็นผู้รอบรู้ยิ่งกว่าพระครูทุกรูปในกรุงสุโขทัย
ในระยะแรก คงมีพระสงฆ์ 2 คณะในกรุงสุโขทัย คือ พระสงฆ์ฝ่ายหินยานซึ่งมีอยู่เดิมตั้งแต่รัชสมัยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์คณะหนึ่ง
กับพระสงฆ์ฝ่ายหินยานแบบลังกาวงศ์ที่จาริกมาจากเมืองนครศรีธรรราชอีกคณะหนึ่ง
พระสงฆ์คณะเดิมได้ยุบรวมเป็นคณะเดียวกันกับพระสงฆ์ลังกาวงศ์ในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ในรัชกาลนี้ไม่ปรากฎว่ามีการจัดองค์กรการปกครองคณะสงฆ์
การจัดระเบียบการปกครองคณะสงฆ์ปรากฎเป็นแบบแผนชัดเจนในรัชสมัยพระมหาธรรมราชาลิไทย ผู้ทรงอาราธนาพระสงฆ์ชาวลังกานามว่า พระมหาสามีสังฆราชจากเมืองนครพันมาตั้งสำนักเผยแพร่ศาสนา ณ วัดป่ามะม่วงในกรุงสุโขทัย ใน พ.ศ. 1904
การที่พระมหาธรรมราชาลิไทยทรงอาราธนาพระมหาสามีสังฆราชมากรุงสุโขทัยนี้ทำให้สถานภาพของพระสงฆ์คณะลังกาวงศ์มันคงยิ่งขึ้น พระสงฆ์ในคณะลังกาวงศ์เป็นพระนักปฏิบัติกรรมฐานผู้นิยมพำนักอยู่ในวัดที่ห่างไกลจากตัวเมือง คณะนี้มีชื่อเรียกในสมัยนั้นว่า คณะอรัญวาสี
หมายถึง กลุ่มพระสงฆ์ผู้พำนักอยู่ในวัดป่าอันแตกต่างจากพระสงฆ์ฝ่ายที่มีอยู่ในกรุงสุโขทัยแต่เดิม พระสงฆ์กลุ่มหลังนี้มีชื่อเรียกว่า คณะคามวาสี หมายถึง กลุ่มพระสงฆ์ผู้พำนักอยู่ในวัดใกล้หมู่บ้านหรือตัวเมือง พระสงฆ์คณะนี้เป็นสายพระนักวิชาการผู้ใช้เวลาส่วนใหญ่หมดไปกับการศึกษาพระปริยัติธรรม
คณะสงฆ์ในสมัยสุโขทัยจึงมี 2 คณะ คือ คณะคามวาสี และคณะอรัญวาสี หนังสือพงศาวดารเหนือบันทึกการแบ่งคณะสงฆ์โดยเรียกคามวาสีว่าคณะฝ่ายขวา และเรียกคณะอรัญวาสีว่า คณะฝ่ายซ้าย คณะสงฆ์ทั้งสองฝ่ายแยกการปกครองเป็นอิสระจากกันแต่ละคณะมีเจ้าคณะผู้ปกครองบังคับบัญชาสูงสุดเป็นของตนเอง เรียาว่า พระสังฆราช
เหตุนั้นในกรุงสุโขทัยจึงมีพระสังฆนายกหรือประมุขสงฆ์ 2 รูป คือ พระสังฆราชคณะคามวาสี และพระสังฆราชคณะอรัญวาสี
http://nopvong.wordpress.com/2012/06/09/พัฒนาการของพุทธศาสนาใน/
เพิ่มเติม
๑. การปกครองคณะสงฆ์ มิได้แบ่งการปกครอง เป็นการปกครองร่วมกันบังคับบัญชาตามลำดับชั้น
๒. พระสังฆราช เป็นตำแหน่งสูงสุดของการปกครองคณะสงฆ์
๓. "ปู่" คงจะเป็นตำแหน่งรองจากสังฆราช(ปัจจุบันเรียกว่า พระครู)
๔. "มหาเถระ" คงได้แก่ พระผู้มีพรรษา ผู้คงแก่เรียน รู้ธรรมวินัยทั่วไป แต่มิใช่ตำแหน่งที่กษัตริย์แต่งตั้ง อาจจะมีตำแหน่งทางการ ปกครองเป็นเจ้าคณะหมู่ หมวด หรือสมภารวัดก็ได้
๕. สมัยสุโขทัยตอนปลายได้มีประเพณีพระราชทานสมณศักดิ์แก่พระสงฆ์คงรับมาจากลังกา
๖. ในสมัยสุโทัยบางครั้งเรียก "คณะคามวาสี"ว่า ฝ่ายขวา "คณะอรัญญวาสี" ว่า ฝ่าย ซ้าย แต่ชื่อคณะคามวาสีและคณะอรัญญวาสีคงมีใช้ต่อมาจนถึงสมัยอยุธยา
เข้าใจว่า "ตำแหน่งสังฆราช" กับ "ปู่ครู" เป็นสมณศักดิ์ในสมัยนั้น
สุโขทัยมีสังฆราชหลายพระองค์ แต่การปกครองไม่มีเอกภาพเหมือนกรุงรัตนโกสินทร์
เพราะหัวเมืองใหญ่ที่เป็นประเทศราชเจ้าเมืองก็ตั้งสังฆราชเป็นประมุขในแต่ละเมืองเป็นประมุข
ในสมัยหลังปรากฏเรียกตำแหน่งพระเถระเจ้าคณะเมืองว่า "สังฆราชา" อยู่หลายแห่ง
สังฆราชจึงมิใช่มีองค์เดียว ส่วนปู่ครูนั้น เมืองใหญ่ๆ อาจมีหลายองค์ ถ้าเมืองเล็กมีองค์เดียว ขึ้นตรงต่อสังฆราช
พัฒนาการของพุทธศาสนาในสังคมไทย ตั้งแต่สุโขทัย - ปัจจุบัน
การปกครองคณะสงฆ์สมัยสุโขทัย
พุทธศาสนาที่ชาวไทยนับถึอมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยเป็นพุทธศาสนาฝ่ายหินยานลัทธิลังกาวงศ์ ที่กรุงสุโขทัยได้รับมาจากประเทศลังกาผ่านนครศรีธรรมราช เหตุการณ์ตอนที่พุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์แพร่เข้าสู่สุโขทัยมีรายละเอียดพอสรุปได้ดังต่อไปนี้
หนึ่งศตวรรษก่อนการสถาปนาอาณาจักรสุโขทัยพระเจ้าปรักกรพาหุเสด็จขึ้นครองราชย์ในประเทศลังกาใน พ.ศ. 1696 ทรงฟึ้นฟูทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาไห้บริสุทธิ์ด้วยการทำสังคยนาพระธรรมวินัยครั้งที่ 7
พุทธศาสนาจึงเจริญรุ่งเรืองในประเทศลังกาทั้งในด้านการศึกษาและปฏิบัติธรรม กิตติศัพท์ได้เลื่องลือไปถึงประเทศพม่าพระสงฆ์จากพุกามและมอญได้เดินทางไปศึกษาพระธรรมวินัยและบวชแปลงใหม่ได้พาพระสงฆ์ลังกากลับเมืองพุกามและเมืองมอญ ตั้งคณะสงฆ์ลังกาขึ้นจนได้รับความเลื่อมใสศรัทธาของประชาชนในเมืองทั้งสอง
ต่อมาพระสงฆ์ชาวลังกาชื่อ ราหุล ได้จาริกจากเมืองพุกามมาตั้งคณะลังกาวงศ์ขึ้นที่เมืองนครศรีธรรมราชและประสบความสำเร็จในการสร้างศรัทธาให้กับประชาชน จนพุทธศาสนาแบบลังกาวงศ์เจริญรุ่งเรืองที่เมืองนครศรีธรรมราช
เมื่อพ่อขุนรามคำแหงมหาราชเสด็จขึ้นครองราชย์ใน พ.ศ. 1822 พระองค์ทรงสดับกิตติศัพท์ของคณะสงฆ์แบบลังกาวงศ์ก็ทรงเลื่อมใสศรัทธา จึงโปรดอาราธนาพระมหาเถรสังฆราชจากเมืองนครศรีธรรมราชมาตั้งสำนักเผยแพร่ศาสนา ณ วัอรัญญิก ในสมัยสุโขทัย
ดังข้อความตอนหนึ่งในศิลาจารึกหลักที่ 1 ว่า
“เบื้องตะวันตกเมืองสุโขทัยนี้มีอรัญญิก พ่อขุนรามคำแหงกระทำโอยทานแก่มหาเถรสังฆราชปราชญ์เรียนจบปิฎกไตรหลวก (รู้หลัก) กว่าปู่ครูในเมืองนี้ทุกคน ลุก (จาริก) แต่เมืองนครศรีธรรมราช”
ข้อความในศิลาจารึกตอนนี้แสดงว่า ก่อนที่พ่อขุนรามคำแหงมหาราชจะอาราธนาพระมหาเถรสังฆราชมาเผยแพร่พุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์นั้น กรุงสุโขทัยมีพระสงฆ์ฝ่านหินยานอยู่ก่อนแล้ว ซึ่งศิลาจารึกเรียกว่า “ปู่ครู” อันหมายถึง “พระครู” นั่นเอง
พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงเลื่อมใสมหาเถรสังฆราชเพราะท่านศึกษาจบพระไตรปิฎกและเป็นผู้รอบรู้ยิ่งกว่าพระครูทุกรูปในกรุงสุโขทัย
ในระยะแรก คงมีพระสงฆ์ 2 คณะในกรุงสุโขทัย คือ พระสงฆ์ฝ่ายหินยานซึ่งมีอยู่เดิมตั้งแต่รัชสมัยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์คณะหนึ่ง
กับพระสงฆ์ฝ่ายหินยานแบบลังกาวงศ์ที่จาริกมาจากเมืองนครศรีธรรราชอีกคณะหนึ่ง
พระสงฆ์คณะเดิมได้ยุบรวมเป็นคณะเดียวกันกับพระสงฆ์ลังกาวงศ์ในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ในรัชกาลนี้ไม่ปรากฎว่ามีการจัดองค์กรการปกครองคณะสงฆ์
การจัดระเบียบการปกครองคณะสงฆ์ปรากฎเป็นแบบแผนชัดเจนในรัชสมัยพระมหาธรรมราชาลิไทย ผู้ทรงอาราธนาพระสงฆ์ชาวลังกานามว่า พระมหาสามีสังฆราชจากเมืองนครพันมาตั้งสำนักเผยแพร่ศาสนา ณ วัดป่ามะม่วงในกรุงสุโขทัย ใน พ.ศ. 1904
การที่พระมหาธรรมราชาลิไทยทรงอาราธนาพระมหาสามีสังฆราชมากรุงสุโขทัยนี้ทำให้สถานภาพของพระสงฆ์คณะลังกาวงศ์มันคงยิ่งขึ้น พระสงฆ์ในคณะลังกาวงศ์เป็นพระนักปฏิบัติกรรมฐานผู้นิยมพำนักอยู่ในวัดที่ห่างไกลจากตัวเมือง คณะนี้มีชื่อเรียกในสมัยนั้นว่า คณะอรัญวาสี
หมายถึง กลุ่มพระสงฆ์ผู้พำนักอยู่ในวัดป่าอันแตกต่างจากพระสงฆ์ฝ่ายที่มีอยู่ในกรุงสุโขทัยแต่เดิม พระสงฆ์กลุ่มหลังนี้มีชื่อเรียกว่า คณะคามวาสี หมายถึง กลุ่มพระสงฆ์ผู้พำนักอยู่ในวัดใกล้หมู่บ้านหรือตัวเมือง พระสงฆ์คณะนี้เป็นสายพระนักวิชาการผู้ใช้เวลาส่วนใหญ่หมดไปกับการศึกษาพระปริยัติธรรม
คณะสงฆ์ในสมัยสุโขทัยจึงมี 2 คณะ คือ คณะคามวาสี และคณะอรัญวาสี หนังสือพงศาวดารเหนือบันทึกการแบ่งคณะสงฆ์โดยเรียกคามวาสีว่าคณะฝ่ายขวา และเรียกคณะอรัญวาสีว่า คณะฝ่ายซ้าย คณะสงฆ์ทั้งสองฝ่ายแยกการปกครองเป็นอิสระจากกันแต่ละคณะมีเจ้าคณะผู้ปกครองบังคับบัญชาสูงสุดเป็นของตนเอง เรียาว่า พระสังฆราช
เหตุนั้นในกรุงสุโขทัยจึงมีพระสังฆนายกหรือประมุขสงฆ์ 2 รูป คือ พระสังฆราชคณะคามวาสี และพระสังฆราชคณะอรัญวาสี
http://nopvong.wordpress.com/2012/06/09/พัฒนาการของพุทธศาสนาใน/
เพิ่มเติม
๑. การปกครองคณะสงฆ์ มิได้แบ่งการปกครอง เป็นการปกครองร่วมกันบังคับบัญชาตามลำดับชั้น
๒. พระสังฆราช เป็นตำแหน่งสูงสุดของการปกครองคณะสงฆ์
๓. "ปู่" คงจะเป็นตำแหน่งรองจากสังฆราช(ปัจจุบันเรียกว่า พระครู)
๔. "มหาเถระ" คงได้แก่ พระผู้มีพรรษา ผู้คงแก่เรียน รู้ธรรมวินัยทั่วไป แต่มิใช่ตำแหน่งที่กษัตริย์แต่งตั้ง อาจจะมีตำแหน่งทางการ ปกครองเป็นเจ้าคณะหมู่ หมวด หรือสมภารวัดก็ได้
๕. สมัยสุโขทัยตอนปลายได้มีประเพณีพระราชทานสมณศักดิ์แก่พระสงฆ์คงรับมาจากลังกา
๖. ในสมัยสุโทัยบางครั้งเรียก "คณะคามวาสี"ว่า ฝ่ายขวา "คณะอรัญญวาสี" ว่า ฝ่าย ซ้าย แต่ชื่อคณะคามวาสีและคณะอรัญญวาสีคงมีใช้ต่อมาจนถึงสมัยอยุธยา เข้าใจว่า "ตำแหน่งสังฆราช" กับ "ปู่ครู" เป็นสมณศักดิ์ในสมัยนั้น
สุโขทัยมีสังฆราชหลายพระองค์ แต่การปกครองไม่มีเอกภาพเหมือนกรุงรัตนโกสินทร์
เพราะหัวเมืองใหญ่ที่เป็นประเทศราชเจ้าเมืองก็ตั้งสังฆราชเป็นประมุขในแต่ละเมืองเป็นประมุข
ในสมัยหลังปรากฏเรียกตำแหน่งพระเถระเจ้าคณะเมืองว่า "สังฆราชา" อยู่หลายแห่ง
สังฆราชจึงมิใช่มีองค์เดียว ส่วนปู่ครูนั้น เมืองใหญ่ๆ อาจมีหลายองค์ ถ้าเมืองเล็กมีองค์เดียว ขึ้นตรงต่อสังฆราช