สวัสดีครับ นานครั้งผมถึงจะโพสท์สักที ปกติจะไม่นิยมหยิบประเด็นทางการเมืองมาโพสท์นะครับ เพราะทราบดีว่าเป็นเรื่องละเอียดอ่อน แต่ละคนมีความเห็นที่แตกต่างกัน แต่กับเรื่องที่จะพูดนี้ คือเรื่องการรณรงค์ต่อต้านการสร้างเขื่อนแม่วงก์ ซึ่งผมมองว่าเป็นปัญหาวิกฤตสิ่งแวดล้อมมากกว่า จึงได้หยิบมาโพสท์ เหมือนเมื่อตอนปัญหาน้ำมันดิบรั่วบริเวณอ่าวไทย
เท่าที่มองดูก็พบว่ามีหลายกระแสทั้งสนับสนุนและต่อต้าน ส่วนตัวผมเองก็คงต้องออกตัวก่อนว่า หลังจากดูข้อมูลและพิจารณาแล้ว ก็คิดเห็นว่าไม่ควรสร้าง เพราะจะทำให้เกิดผลกระทบหลายๆ อย่างตามมา เป็นปัญหาระยะยาว แต่ก็มีความเห็นจากผู้ประสบเหตุน้ำท่วม ที่ทำให้เราต้องมานั่งคิดทบทวนดูอีกที
ผมเอาใจเขามาใส่ใจเรา ก็ทำให้เข้าใจว่า คนที่ประสบเหตุน้ำท่วมย่อมรู้สึกกลัว รู้สึกไม่มั่นใจ คิดว่าสิ่งใดพอจะช่วยบรรเทาน้ำท่วมได้ ก็ควรจะทำ เพราะจะมากจะน้อย มันก็อาจทำให้สถานการณ์น้ำท่วมหลายแห่งคลี่คลาย จากนั้น ผมก็มานั่งคิดถึงตอนตัวเองประสบเหตุวิกฤตภัยแล้ง บ้านผมอยู่ทางอีสาน ในฤดูร้อนช่วงหนึ่ง น้ำไม่ไหล เพราะน้ำในแหล่งเก็บแห้ง ทำให้ชาวบ้านเริ่มอยู่ไม่สงบ ยิ่งได้ยินนโยบายอดทนไว้เพื่อรอฝนตกในฤดูฝน เพราะบรรพบุรุษของเราทางอีสานก็ยังทนได้ ทำให้ผมโกรธแทบปรอทแตก
ณ เวลานั้นเราได้แต่ภาวนาให้มีนโยบายทำอะไรสักอย่างเพื่อให้เราได้มีน้ำใช้อย่างเดิม นอกจากนั้นก็ยังมองหาแหล่งน้ำสำรอง ทุกวิถีทาง ดังนั้นคนที่ประสบเหตุน้ำท่วมก็คงรู้สึกแบบเดียวกันว่า วิธีอะไรก็ได้ ให้ลดปัญหาน้ำท่วมให้ได้เถอะ แม้จะน้อยนิดก็ขอให้มันช่วยได้
แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อผมลองมามองเทียบกับเรื่องการสร้างเขื่อนแม่วงก์ ผมคิดว่า...ควรจะหยุดคิดให้ถี่ถ้วนสักนิด อย่าใจเร็วด่วนได้ แล้วก็บังเอิญ ได้เห็นโพสท์หนึ่งที่ทำให้เรารู้สึกว่ามันคือความจริง และเป็นคำอธิบายทุกอย่างได้เป็นอย่างดี
การสร้างเขื่อนแม่วงก์ คือการ 'ฆ่าช้างเอางา' เป็นการกระทำที่ได้ไม่คุ้มเสีย
ผมคงไม่อธิบายเรื่องผลเสียนะครับ เพราะมีหลากหลายข้อมูลให้เลือกอ่านเลือกพิจารณา แต่ต้องการพูดแค่ว่า หากเราติดตามข่าวสารและเจาะลึกในข้อมูล ปัญหาน้ำท่วมเกิดจากระบบการจัดการน้ำที่ผิดพลาด เราควรจะจัดการที่ตรงนั้น แก้ปัญหาที่ต้นเหตุ อย่าโทษธรรมชาติ เพราะจะว่าไป ป่าเองก็เป็นแหล่งกักเก็บน้ำชั้นดี เป็นทรัพยากร เป็นปอด และลมหายใจของประเทศ ถ้าเราทำลายป่าที่เหลืออยู่น้อยนิดในประเทศไปอีก ก็เท่ากับทำลายลมหายใจตัวเอง
ลองคิดกันนะครับ
ถ้าประเทศเราเหลือช้างตัวเดียว แต่เรามีเหตุที่ต้องใช้งาของมัน เราอาจคิดว่า เอาเถอะ...ขอให้ฉันได้งาไปใช้ประโยชน์ก็พอ แต่ถ้าทำอย่างนั้น วันหนึ่งที่เราไม่หลงเหลือช้าง เราก็คงต้องมานั่งเสียใจว่า ไม่น่าฆ่าช้างเลย ตอนนี้อาจไม่คิด แต่ถ้าวันนั้นมาถึง คำว่าไม่น่าเลยจะผุดขึ้นมาเต็มไปหมด แล้วตอนนั้น เราจะโทษใครดี
ก็ถ้าอย่างนั้นจะเป็นไปได้ไหม ไม่ต้องฆ่าช้างเพื่อเอางาหรอก เรามีสมอง สองมือ หากเราจะสร้างงาเทียมหรืองาสังเคราะห์มาใช้แทนงาจริงที่ต้องฆ่าช้างเพื่อให้ได้มา ดูจะเป็นการสร้างสรรค์ที่ดีกว่า
สุดท้ายนี้ วาทะที่ผมรับไม่ได้ที่สุด ก็คือ...ป่าสร้างใหม่ได้ สัตว์ป่าสร้างใหม่ได้ มันแสดงให้เห็นถึงอะไรบางอย่างนะครับ สิ่งเหล่านี้สร้างใหม่ได้จริงหรือ อาจจะจริง...แต่ไม่ทั้งหมด มันไม่สามารถสร้างได้ใน 1 วัน 1 เดือน หรือ 1 ปี แล้วถ้าสร้างใหม่ได้จริงๆ จะเหมือนเดิมหรือ ก่อนที่จะกล่าววาทะนี้ออกมา ควรทำให้ 'ป่าปาก' มันเกิดขึ้นเป้นรูปธรรมเสียก่อน
ฟังแล้วสลดใจจริงๆ
...ตอนนี้ผมชักคิดถึง ดร.พาเมล่า ไอสลีย์ แล้วสิ!
จากคนรักป่า ถึงเขื่อนแม่วงก์
เท่าที่มองดูก็พบว่ามีหลายกระแสทั้งสนับสนุนและต่อต้าน ส่วนตัวผมเองก็คงต้องออกตัวก่อนว่า หลังจากดูข้อมูลและพิจารณาแล้ว ก็คิดเห็นว่าไม่ควรสร้าง เพราะจะทำให้เกิดผลกระทบหลายๆ อย่างตามมา เป็นปัญหาระยะยาว แต่ก็มีความเห็นจากผู้ประสบเหตุน้ำท่วม ที่ทำให้เราต้องมานั่งคิดทบทวนดูอีกที
ผมเอาใจเขามาใส่ใจเรา ก็ทำให้เข้าใจว่า คนที่ประสบเหตุน้ำท่วมย่อมรู้สึกกลัว รู้สึกไม่มั่นใจ คิดว่าสิ่งใดพอจะช่วยบรรเทาน้ำท่วมได้ ก็ควรจะทำ เพราะจะมากจะน้อย มันก็อาจทำให้สถานการณ์น้ำท่วมหลายแห่งคลี่คลาย จากนั้น ผมก็มานั่งคิดถึงตอนตัวเองประสบเหตุวิกฤตภัยแล้ง บ้านผมอยู่ทางอีสาน ในฤดูร้อนช่วงหนึ่ง น้ำไม่ไหล เพราะน้ำในแหล่งเก็บแห้ง ทำให้ชาวบ้านเริ่มอยู่ไม่สงบ ยิ่งได้ยินนโยบายอดทนไว้เพื่อรอฝนตกในฤดูฝน เพราะบรรพบุรุษของเราทางอีสานก็ยังทนได้ ทำให้ผมโกรธแทบปรอทแตก
ณ เวลานั้นเราได้แต่ภาวนาให้มีนโยบายทำอะไรสักอย่างเพื่อให้เราได้มีน้ำใช้อย่างเดิม นอกจากนั้นก็ยังมองหาแหล่งน้ำสำรอง ทุกวิถีทาง ดังนั้นคนที่ประสบเหตุน้ำท่วมก็คงรู้สึกแบบเดียวกันว่า วิธีอะไรก็ได้ ให้ลดปัญหาน้ำท่วมให้ได้เถอะ แม้จะน้อยนิดก็ขอให้มันช่วยได้
แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อผมลองมามองเทียบกับเรื่องการสร้างเขื่อนแม่วงก์ ผมคิดว่า...ควรจะหยุดคิดให้ถี่ถ้วนสักนิด อย่าใจเร็วด่วนได้ แล้วก็บังเอิญ ได้เห็นโพสท์หนึ่งที่ทำให้เรารู้สึกว่ามันคือความจริง และเป็นคำอธิบายทุกอย่างได้เป็นอย่างดี
การสร้างเขื่อนแม่วงก์ คือการ 'ฆ่าช้างเอางา' เป็นการกระทำที่ได้ไม่คุ้มเสีย
ผมคงไม่อธิบายเรื่องผลเสียนะครับ เพราะมีหลากหลายข้อมูลให้เลือกอ่านเลือกพิจารณา แต่ต้องการพูดแค่ว่า หากเราติดตามข่าวสารและเจาะลึกในข้อมูล ปัญหาน้ำท่วมเกิดจากระบบการจัดการน้ำที่ผิดพลาด เราควรจะจัดการที่ตรงนั้น แก้ปัญหาที่ต้นเหตุ อย่าโทษธรรมชาติ เพราะจะว่าไป ป่าเองก็เป็นแหล่งกักเก็บน้ำชั้นดี เป็นทรัพยากร เป็นปอด และลมหายใจของประเทศ ถ้าเราทำลายป่าที่เหลืออยู่น้อยนิดในประเทศไปอีก ก็เท่ากับทำลายลมหายใจตัวเอง
ลองคิดกันนะครับ
ถ้าประเทศเราเหลือช้างตัวเดียว แต่เรามีเหตุที่ต้องใช้งาของมัน เราอาจคิดว่า เอาเถอะ...ขอให้ฉันได้งาไปใช้ประโยชน์ก็พอ แต่ถ้าทำอย่างนั้น วันหนึ่งที่เราไม่หลงเหลือช้าง เราก็คงต้องมานั่งเสียใจว่า ไม่น่าฆ่าช้างเลย ตอนนี้อาจไม่คิด แต่ถ้าวันนั้นมาถึง คำว่าไม่น่าเลยจะผุดขึ้นมาเต็มไปหมด แล้วตอนนั้น เราจะโทษใครดี
ก็ถ้าอย่างนั้นจะเป็นไปได้ไหม ไม่ต้องฆ่าช้างเพื่อเอางาหรอก เรามีสมอง สองมือ หากเราจะสร้างงาเทียมหรืองาสังเคราะห์มาใช้แทนงาจริงที่ต้องฆ่าช้างเพื่อให้ได้มา ดูจะเป็นการสร้างสรรค์ที่ดีกว่า
สุดท้ายนี้ วาทะที่ผมรับไม่ได้ที่สุด ก็คือ...ป่าสร้างใหม่ได้ สัตว์ป่าสร้างใหม่ได้ มันแสดงให้เห็นถึงอะไรบางอย่างนะครับ สิ่งเหล่านี้สร้างใหม่ได้จริงหรือ อาจจะจริง...แต่ไม่ทั้งหมด มันไม่สามารถสร้างได้ใน 1 วัน 1 เดือน หรือ 1 ปี แล้วถ้าสร้างใหม่ได้จริงๆ จะเหมือนเดิมหรือ ก่อนที่จะกล่าววาทะนี้ออกมา ควรทำให้ 'ป่าปาก' มันเกิดขึ้นเป้นรูปธรรมเสียก่อน
ฟังแล้วสลดใจจริงๆ
...ตอนนี้ผมชักคิดถึง ดร.พาเมล่า ไอสลีย์ แล้วสิ!