เท้ง แนะรัฐบาลใช้ 'Geocoding' เยียวยาน้ำท่วม เชื่อเร็วกว่า ไม่ต้องรอหนังสือรับรองผู้ประสบภัย
https://www.matichon.co.th/politics/news_4846473
‘ณัฐพงษ์’ แนะ รัฐบาล พิจารณาใช้เทคโนโลยี ‘Geocoding’ ช่วยเยียวยาน้ำท่วมได้เร็วกว่า ไม่ต้องรอ ‘หนังสือรับรองผู้ประสบภัย’
เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม นาย
ณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ ส.ส.บัญชีรายชื่อและหัวหน้าพรรคประชาชน กล่าวถึงกรณีรัฐบาลประชาสัมพันธ์ขอให้ประชาชนที่ได้รับผลกระทบหนักจากเหตุน้ำท่วม ให้รีบไปขอ หนังสือรับรองผู้ประสบภัย จากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ในพื้นที่ประสบภัย ว่า แม้เป็นเรื่องที่ดีที่รัฐพยายามสื่อสารให้ประชาชนทราบถึงขั้นตอนการรับการเยียวยาเพื่อหลีกเลี่ยงการตกหล่น แต่ปัญหาสำคัญ คือกระบวนการเพื่อขอรับการเยียวยาผ่านหนังสือรับรองผู้ประสบภัยนั้น อาจเพิ่มภาระแก่ประชาชนเกินกว่าที่ควรจะเป็น เมื่อเทียบกับความยากลำบากที่ผู้ประสบภัยเผชิญอยู่แล้ว
นาย
ณัฐพงษ์ กล่าวต่อว่า เพราะนอกจากประชาชนจะต้องไปขอหนังสือรับรองฯ จาก อปท. กระบวนการหลังจากนั้นคือต้องมีการประชาคมในระดับหมู่บ้าน ต้องรอการอนุมัติจากคณะกรรมการภัยพิบัติระดับอำเภอและจังหวัด ระยะเวลาดำเนินการกำหนดไว้ยาวนานถึง 90 วัน
นาย
ณัฐพงษ์ กล่าวว่า ตนจึงขอย้ำข้อเสนอเดิมที่เคยอภิปรายในสภาฯ ว่าถึงเวลาแล้วที่รัฐบาลจะต้องนำระบบ Geocoding มาใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการพิจารณาเยียวยาประชาชน โดยรัฐบาลสามารถใช้ภาพถ่ายดาวเทียม จากสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (GISTDA) มาซ้อนทับกับข้อมูลบ้านเลขที่ ตามพิกัดที่อยู่บนแผนที่โลก (Geocoding) ซึ่งประเทศไทยมีการใช้ระบบนี้ในการทำงานของการไฟฟ้าฯ การประปา และไปรษณีย์ไทย ซึ่งมีข้อมูลบ้านเลขที่และตำแหน่งพิกัดของบ้านอยู่แล้ว แต่ยังไม่เคยถูกนำมาใช้กับกรณีที่ควรจะใช้ได้อย่างการเยียวยาน้ำท่วม
“
รัฐบาลสามารถนำฐานข้อมูลนี้มาใช้พิจารณาให้เงินชดเชยผู้ประสบภัยโดยอัตโนมัติผ่านแอพพลิเคชัน ทางรัฐ ได้ทันที หรือจะให้ประชาชนเข้าไปกดขอ ถ้าตรวจสอบแล้วข้อมูลตรงกับ Geocoding ว่าน้ำท่วมจริง ก็จ่ายโอนกันแบบนั้นเลย หรือจะจ่ายเป็นบางส่วนก่อนก็ได้เพื่อความรวดเร็วและช่วยเหลือให้ทันต่อความจำเป็นของผู้ประสบภัย” นายณัฐพงษ์ กล่าว
นาย
ณัฐพงษ์ กล่าว่าว่า ตนหวังเป็นอย่างยิ่งว่ารัฐบาลโดยนายกฯ จะนำข้อเสนอนี้ไปพิจารณา เช่นเดียวกับก่อนหน้านี้ที่ตนเคยเสนอมาตรการเที่ยวเมืองน้ำลดและการให้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Soft Loan) แก่เอกชนที่ได้รับผลกระทบ ซึ่งยินดีที่รัฐบาลได้ขยับนโยบายตรงตามกับข้อเสนอของเรา จนมีมาตรการอย่าง “แอ่วเหนือคนละครึ่ง” ออกมา แม้จะมีความแตกต่างกันบ้างแต่ก็ขอสนับสนุนเพื่อให้เกิดการฟื้นฟูทางเศรษฐกิจหลังภัยพิบัติได้โดยเร็วที่สุด
19.00 น.วันนี้ นัดทำกิจกรรม ตากใบต้องไม่เงียบ เตรียมอ่านชื่อ 85 ชีวิตสูญหาย ก่อนคดี หมดอายุความ
https://www.matichon.co.th/politics/news_4846487
19.00 น.วันนี้ นัดทำกิจกรรม ตากใบต้องไม่เงียบ เตรียมอ่านชื่อ 85 ชีวิตสูญหาย ก่อนคดีหมดอายุความ
เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม THAI for Palestine ได้ทวิตข้อความ เป็นทวิตเตอร์ (X) เพื่อเชิญชวนทำกิจกรรม “
ร่วมกันส่งเสียงให้ดัง! #ตากใบต้องไม่เงียบ”
โดยมีการเชิญชวนประชาชน ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรม ‘ตากใบต้องไม่เงียบ’ เราจะอ่านชื่อ 85 ชีวิตที่สูญเสียจากเหตุการณ์โศกนาฏกรรมตากใบ 2547 เพื่อเรียกร้องความยุติธรรมก่อนที่คดีจะหมดอายุความ
มาพบกันหน้า หอศิลปกรุงเทพฯ เวลา 19.00 น.
https://x.com/THforPalestine/status/1845986390414336355
เขื่อนพิมาย เกินจุ ป้องท่วมพื้นที่เศรษฐกิจ-โบราณสถาน เร่งเปิดประตูระบายไหลล้นจมนาข้าว
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_9459226
นครราชสีมา เขื่อนพิมาย เกินความจุ ป้องท่วมพื้นที่เศรษฐกิจ-โบราณสถาน เร่งเปิดประตูระบาย ลงแม่น้ำมูล หนุนระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้น ไหลล้นจมนาข้าวชาวบ้านกว่า 70 ไร่
15 ต.ค. 67 – ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ปริมาณน้ำเหนือเขื่อนพิมาย เกินความจุ ทำให้ทางเจ้าหน้าที่จัดสรรน้ำโครงการศูนย์ส่งน้ำและบำรุงรักษาทุ่งสัมฤทธิ์ เปิดประตูเขื่อนเพื่อเร่งระบายน้ำ ภายในเขื่อนพิมาย ลงสู่ลำน้ำมูล อย่างต่อเนื่อง
ด้วยปริมาณน้ำเหนือเขื่อนพิมาย มีความจุ 4,028,000 ลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 111.59% ของความจุ จำเป็นต้องเร่งระบายน้ำออก เพื่อเตรียมรับมวลน้ำก้อนใหม่ที่จะไหลเข้ามาในพื้นที่ เพื่อป้องกันไม่ให้ปริมาณน้ำไหลเข้าท่วมแหล่งเศรษฐกิจในพื้นที่อำเภอพิมาย รวมถึงโบราณสถาน
ทำให้ปริมาณน้ำมูลเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วจนล้นฝายเก็บน้ำบ้านจารย์ตำรา ตำบลท่าหลวง อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา มวลน้ำได้ไหลเข้าท่วมนาข้าวในพื้นที่บ้านจาร์ตำราและพื้นที่ใกล้เคียงได้รับผลกระทบไปแล้วกว่า 70 ไร่ ระดับน้ำท่วมสูง 50-60 เซนติเมตร
ซึ่งคาดว่าปริมาณน้ำจะเพิ่มสูงขึ้นอีกหลังปริมาณน้ำเหนือเขื่อนพิมายยังคงเพิ่มสูงขึ้น ทางเจ้าหน้าที่สำนักชลประทานพิมาย ยังคงเปิดประตูเขื่อน เพื่อเร่งระบายน้ำออก จึงส่งผลกระทบกับประชาชนและเกษตรกร มีพื้นที่การเกษตรติดกับลำน้ำมูลดังกล่าว
JJNY : เท้งแนะใช้ 'Geocoding' เยียวยาน้ำท่วม│ตากใบต้องไม่เงียบ│เขื่อนพิมาย เกินจุ ไหลล้นจมนาข้าว│ศก.สิงคโปร์เติบโต 4.1%
https://www.matichon.co.th/politics/news_4846473
‘ณัฐพงษ์’ แนะ รัฐบาล พิจารณาใช้เทคโนโลยี ‘Geocoding’ ช่วยเยียวยาน้ำท่วมได้เร็วกว่า ไม่ต้องรอ ‘หนังสือรับรองผู้ประสบภัย’
เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม นายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ ส.ส.บัญชีรายชื่อและหัวหน้าพรรคประชาชน กล่าวถึงกรณีรัฐบาลประชาสัมพันธ์ขอให้ประชาชนที่ได้รับผลกระทบหนักจากเหตุน้ำท่วม ให้รีบไปขอ หนังสือรับรองผู้ประสบภัย จากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ในพื้นที่ประสบภัย ว่า แม้เป็นเรื่องที่ดีที่รัฐพยายามสื่อสารให้ประชาชนทราบถึงขั้นตอนการรับการเยียวยาเพื่อหลีกเลี่ยงการตกหล่น แต่ปัญหาสำคัญ คือกระบวนการเพื่อขอรับการเยียวยาผ่านหนังสือรับรองผู้ประสบภัยนั้น อาจเพิ่มภาระแก่ประชาชนเกินกว่าที่ควรจะเป็น เมื่อเทียบกับความยากลำบากที่ผู้ประสบภัยเผชิญอยู่แล้ว
นายณัฐพงษ์ กล่าวต่อว่า เพราะนอกจากประชาชนจะต้องไปขอหนังสือรับรองฯ จาก อปท. กระบวนการหลังจากนั้นคือต้องมีการประชาคมในระดับหมู่บ้าน ต้องรอการอนุมัติจากคณะกรรมการภัยพิบัติระดับอำเภอและจังหวัด ระยะเวลาดำเนินการกำหนดไว้ยาวนานถึง 90 วัน
นายณัฐพงษ์ กล่าวว่า ตนจึงขอย้ำข้อเสนอเดิมที่เคยอภิปรายในสภาฯ ว่าถึงเวลาแล้วที่รัฐบาลจะต้องนำระบบ Geocoding มาใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการพิจารณาเยียวยาประชาชน โดยรัฐบาลสามารถใช้ภาพถ่ายดาวเทียม จากสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (GISTDA) มาซ้อนทับกับข้อมูลบ้านเลขที่ ตามพิกัดที่อยู่บนแผนที่โลก (Geocoding) ซึ่งประเทศไทยมีการใช้ระบบนี้ในการทำงานของการไฟฟ้าฯ การประปา และไปรษณีย์ไทย ซึ่งมีข้อมูลบ้านเลขที่และตำแหน่งพิกัดของบ้านอยู่แล้ว แต่ยังไม่เคยถูกนำมาใช้กับกรณีที่ควรจะใช้ได้อย่างการเยียวยาน้ำท่วม
“รัฐบาลสามารถนำฐานข้อมูลนี้มาใช้พิจารณาให้เงินชดเชยผู้ประสบภัยโดยอัตโนมัติผ่านแอพพลิเคชัน ทางรัฐ ได้ทันที หรือจะให้ประชาชนเข้าไปกดขอ ถ้าตรวจสอบแล้วข้อมูลตรงกับ Geocoding ว่าน้ำท่วมจริง ก็จ่ายโอนกันแบบนั้นเลย หรือจะจ่ายเป็นบางส่วนก่อนก็ได้เพื่อความรวดเร็วและช่วยเหลือให้ทันต่อความจำเป็นของผู้ประสบภัย” นายณัฐพงษ์ กล่าว
นายณัฐพงษ์ กล่าว่าว่า ตนหวังเป็นอย่างยิ่งว่ารัฐบาลโดยนายกฯ จะนำข้อเสนอนี้ไปพิจารณา เช่นเดียวกับก่อนหน้านี้ที่ตนเคยเสนอมาตรการเที่ยวเมืองน้ำลดและการให้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Soft Loan) แก่เอกชนที่ได้รับผลกระทบ ซึ่งยินดีที่รัฐบาลได้ขยับนโยบายตรงตามกับข้อเสนอของเรา จนมีมาตรการอย่าง “แอ่วเหนือคนละครึ่ง” ออกมา แม้จะมีความแตกต่างกันบ้างแต่ก็ขอสนับสนุนเพื่อให้เกิดการฟื้นฟูทางเศรษฐกิจหลังภัยพิบัติได้โดยเร็วที่สุด
19.00 น.วันนี้ นัดทำกิจกรรม ตากใบต้องไม่เงียบ เตรียมอ่านชื่อ 85 ชีวิตสูญหาย ก่อนคดี หมดอายุความ
https://www.matichon.co.th/politics/news_4846487
19.00 น.วันนี้ นัดทำกิจกรรม ตากใบต้องไม่เงียบ เตรียมอ่านชื่อ 85 ชีวิตสูญหาย ก่อนคดีหมดอายุความ
เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม THAI for Palestine ได้ทวิตข้อความ เป็นทวิตเตอร์ (X) เพื่อเชิญชวนทำกิจกรรม “ร่วมกันส่งเสียงให้ดัง! #ตากใบต้องไม่เงียบ”
โดยมีการเชิญชวนประชาชน ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรม ‘ตากใบต้องไม่เงียบ’ เราจะอ่านชื่อ 85 ชีวิตที่สูญเสียจากเหตุการณ์โศกนาฏกรรมตากใบ 2547 เพื่อเรียกร้องความยุติธรรมก่อนที่คดีจะหมดอายุความ
มาพบกันหน้า หอศิลปกรุงเทพฯ เวลา 19.00 น.
https://x.com/THforPalestine/status/1845986390414336355
เขื่อนพิมาย เกินจุ ป้องท่วมพื้นที่เศรษฐกิจ-โบราณสถาน เร่งเปิดประตูระบายไหลล้นจมนาข้าว
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_9459226
นครราชสีมา เขื่อนพิมาย เกินความจุ ป้องท่วมพื้นที่เศรษฐกิจ-โบราณสถาน เร่งเปิดประตูระบาย ลงแม่น้ำมูล หนุนระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้น ไหลล้นจมนาข้าวชาวบ้านกว่า 70 ไร่
15 ต.ค. 67 – ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ปริมาณน้ำเหนือเขื่อนพิมาย เกินความจุ ทำให้ทางเจ้าหน้าที่จัดสรรน้ำโครงการศูนย์ส่งน้ำและบำรุงรักษาทุ่งสัมฤทธิ์ เปิดประตูเขื่อนเพื่อเร่งระบายน้ำ ภายในเขื่อนพิมาย ลงสู่ลำน้ำมูล อย่างต่อเนื่อง
ด้วยปริมาณน้ำเหนือเขื่อนพิมาย มีความจุ 4,028,000 ลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 111.59% ของความจุ จำเป็นต้องเร่งระบายน้ำออก เพื่อเตรียมรับมวลน้ำก้อนใหม่ที่จะไหลเข้ามาในพื้นที่ เพื่อป้องกันไม่ให้ปริมาณน้ำไหลเข้าท่วมแหล่งเศรษฐกิจในพื้นที่อำเภอพิมาย รวมถึงโบราณสถาน
ทำให้ปริมาณน้ำมูลเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วจนล้นฝายเก็บน้ำบ้านจารย์ตำรา ตำบลท่าหลวง อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา มวลน้ำได้ไหลเข้าท่วมนาข้าวในพื้นที่บ้านจาร์ตำราและพื้นที่ใกล้เคียงได้รับผลกระทบไปแล้วกว่า 70 ไร่ ระดับน้ำท่วมสูง 50-60 เซนติเมตร
ซึ่งคาดว่าปริมาณน้ำจะเพิ่มสูงขึ้นอีกหลังปริมาณน้ำเหนือเขื่อนพิมายยังคงเพิ่มสูงขึ้น ทางเจ้าหน้าที่สำนักชลประทานพิมาย ยังคงเปิดประตูเขื่อน เพื่อเร่งระบายน้ำออก จึงส่งผลกระทบกับประชาชนและเกษตรกร มีพื้นที่การเกษตรติดกับลำน้ำมูลดังกล่าว