พระธรรมปัญญาจารย์
ปัญญาจารย์(Ecclesiastes) เป็นหนังสือเกี่ยวกับ
“ปัญญาธรรม” เช่นเดียวกับพระธรรมโยบและสุภาษิต ไม่ทราบแน่ชัดว่าใครเป็นผู้เขียนปัญญาจารย์ แต่นักศาสนศาสตร์ส่วนใหญ่เชื่อผู้เขียนคือซาโลมอน เพราะมีคำกล่าวถึงตนเองว่า
“เป็นเชื้อสายของดาวิด กษัตริย์ในกรุงเยรูซาเล็ม” (๑.๑,๑๒) (๑ พกษ. ๓.๑๒, ๔.๒๙-๓๒, ๑๐.๑๔-๒๙) “ปัญญาจารย์ได้ตรึกตรองถึงคำถามของคนทุกยุคทุกสมัยคือ ทำไมชีวิตจึงไร้ความหมาย (meaningless) มีคำหนึ่งที่ใช้บ่อยที่สุดคือ
“ชีวิตเป็นอนิจจัง”
ในฉบับเดิมใช้ชื่อ “ท่านผู้ประกาศ” มีคำอ้างถึงผู้เทศนาประมาณ ๗ ครั้ง เข้าใจกันว่า ซาโลมอนเขียนพระธรรมเล่มนี้ในวัยไม้ใกล้ฝั่งแล้ว (เล่มแรกเขียนในวัยหนุ่มคือบทเพลงของซาโลมอน เล่มที่สองเขียนในวัยกลางคนคือพระธรรมสุภาษิต และเล่มสุดท้ายเขียนในยามชราแล้วคือปัญญาจารย์)
เขียนจากประสบการณ์ที่ขมขื่น
๑) ต้นดีปลายร้าย
เราได้พบว่าเมื่อซาโลมอนได้เริ่มครอง ราชย์ พระองค์ดำเนินชีวิตไปกับพระเจ้าและปกครองประเทศอิสราเอลด้วยสติปัญญา แต่ในเวลาต่อซาโลมอนได้ทำบาปและหลงเจิ่นไปจากทางของพระเจ้า ไปกราบไหว้รูปเคารพ(พระของบรรดานางสนม) เมื่อสำนึกรู้สึกตัวก็กลับใจเสียใหม่ และได้เขียนถึงประสบการณ์ของตนเอง ในเรื่องความผิดพลาดและความโง่เขลา บอกถึงชีวิตที่ปราศจากพระเจ้านั้นว่างเปล่าและหมดหวังจริงๆ
๒) ชีวิตล้วนอนิจจัง
ปัญญาจารย์กล่าวถึงไม่ว่าผู้คนจะไขว่คว้าหาสติปัญญา ความสำเร็จหรือความยุติธรรมสักเท่าไหร่ก็ตาม ผลที่ได้มาเป็นเพียงชั่วครู่ชั่วยามเท่านั้น ไม่มีอะไรที่แน่นอนและยั่งยืน มันเหมือนกับวิ่งไล่จับลม ชีวิตและโลกนี้เป็น
“อนิจจัง” (๑.๒, ๑๒.๘) คำว่าอนิจจังปรากฏในพระธรรมปัญญาจารย์ถึง ๓๗ ครั้ง พระคัมภีร์บางฉบับใช้คำว่า
“กินลมกินแล้ง”
๓) ชีวิตที่มีตนเองเป็นศูนย์กลาง :
จะพบว่าปัญญาจารย์มองในแง่ลบ ยึดเอาตัวเองเป็นจุดศูนย์กลางของทุกสิ่ง แม้ว่าท่านจะเชื่อในพระเจ้าแล้ว แต่ในขณะที่หลงเจิ่นไปก็คิดว่า มนุษย์ไม่สามารถเข้าใจถึงน้ำพระทัยของพระเจ้าได้ นับว่าเป็นเศร้าและน่าสังเวช
๔) ชีวิตที่ปราศจากพระเจ้า
กษัตริย์ซาโลมอนได้ตรัสถึงความจริงว่า ชีวิตใดที่ปราศจากพระเจ้า(พระผู้สร้าง) ชีวิตนั้นย่อมว่างเปล่า ไม่มีความหมาย และไม่มีสิ่งใดในโลกนี้จะมาซึ่งความอิ่มใจและสันติสุขได้
๕) ภายใต้ดวงอาทิตย์
ซาโลมอนใช้คำนี้บ่อยๆ (๒๗ ครั้ง) เป็นการพูดถึงเหตุและผลแบบชาวโลก ที่มองดูชีวิตในแง่มุมของธรรมชาติแต่เพียงอย่างเดียว เห็นว่าสิ่งมีชีวิตในโลกนี้ไม่แตกต่างกัน มีจุดจบเหมือนกันคือความตาย
“เพราะเคราะห์กรรมของบรรดามนุษยชาติกับเคราะห์ของสัตว์เดรัจฉานนั้นเหมือน กัน” (๓.๑๙)
ชีวิตที่มีพระเจ้า
๑) ชีวิตที่ปราศจากพระเจ้า ย่อมไม่มีสิ่งที่น่าพึงพอใจ
ตอนแรกซาโลมอนกล่าวถึงไม่มีอะไรใหม่ วนเวียนเป็นวัฏจักร (๑.๓-๑๑) ต่อมาท่านเห็นว่าสิ่งที่ใต้ฟ้านี้ล้วนว่าง
เปล่าและไร้ความหมาย (อนิจจัง) จากนั้นก็พูดถึงความรู้พ ความสะดวกสบาย ความสนุกสนาน ความร่ำรวยและการได้
ครอบครองสิ่งของต่างๆ แต่ไม่มีสิ่งใดน่าพึงพอใจ และเป็นอนิจจัง
๒) มองในแง่บวก โดยจับจ้องที่พระเจ้า
กษัตริย์ซาโลมอนได้บอกแก่ผู้อ่านว่า การมีความสัมพันธ์กับพระเจ้าอย่างแท้จริงนั้น ย่อมทำให้เกิดความชื่นชมยินดีและสันติสุข เปาโลขณะติดคุกอยู่ได้เขียนจดหมายไปถึงคริสเตียนฟีลิปปี
“จงชื่นชมยินดีในองค์พระผู้เป็นเจ้าทุกเวลา ข้าพเจ้าขอย้ำอีกครั้งว่า จงชื่นชมยินดีเถิด” (ฟป. ๔.๔)
ก)ปญจ.๒.๒๔-๒๖ ความชื่นบานในการงานมาจากพระเจ้า พระองค์ทรงเป็นผู้ประทานสติปัญญา ความรู้และความยินดีให้แก่คนที่พระองค์พอพระทัย
ข)ปญจ.๓.๑๐-๑๕ ถ้ามนุษย์ทราบว่า ธุรกิจ วันเวลาและธรรมชาติเป็นมาจากพระเจ้า ก็จะมีความสุขและยินดี
ค)ปญจ. ๕.๗ เมื่อมนุษย์มีความยำเกรงพระเจ้า เคยสัญญาไว้อย่างไร ก็จะทำตามนั้น และทำให้การพูดพล่อยๆ(สาบาน)น้อยลง
ง)ปญจ. ๕.๑๘ ตระหนักว่าเรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงระยะเวลาสั้นๆ ทำไมจะต้องมีความวิตกกังวลเพื่อเร่งชีวิตให้สั้นลง มีความชื่นชมยินดีในชีวิตที่พระเจ้าประทานให้มาไม่ดีกว่าหรือ?
จ)ปญจ. ๘.๑๒ แม้คนบาปจะมีอายุยืนในโลกนี้ แต่คนที่ยำเกรงพระเจ้าจะได้รับความสวัสดิมงคล คือ ความรอดพ้นบึงไฟนรกและมีชีวิตนิรันดร์
๓) คำเตือนสำหรับคนหนุ่มสาว (๑๑.๙-๑๒.๘)
สรุป
-จงยำเกรงพระเจ้าและรักษาพระบัญญัติของพระองค์ (๑๒.๑๓)
-ตระหนักว่า ในที่สุดทุกคนจะต้องเข้าสู่การพิพากษาต่อเบื้องพระพักตร์พระเจ้า
ขอพระเจ้าอวยพรครับ
ปัญญาจารย์
ปัญญาจารย์(Ecclesiastes) เป็นหนังสือเกี่ยวกับ “ปัญญาธรรม” เช่นเดียวกับพระธรรมโยบและสุภาษิต ไม่ทราบแน่ชัดว่าใครเป็นผู้เขียนปัญญาจารย์ แต่นักศาสนศาสตร์ส่วนใหญ่เชื่อผู้เขียนคือซาโลมอน เพราะมีคำกล่าวถึงตนเองว่า “เป็นเชื้อสายของดาวิด กษัตริย์ในกรุงเยรูซาเล็ม” (๑.๑,๑๒) (๑ พกษ. ๓.๑๒, ๔.๒๙-๓๒, ๑๐.๑๔-๒๙) “ปัญญาจารย์ได้ตรึกตรองถึงคำถามของคนทุกยุคทุกสมัยคือ ทำไมชีวิตจึงไร้ความหมาย (meaningless) มีคำหนึ่งที่ใช้บ่อยที่สุดคือ “ชีวิตเป็นอนิจจัง”
ในฉบับเดิมใช้ชื่อ “ท่านผู้ประกาศ” มีคำอ้างถึงผู้เทศนาประมาณ ๗ ครั้ง เข้าใจกันว่า ซาโลมอนเขียนพระธรรมเล่มนี้ในวัยไม้ใกล้ฝั่งแล้ว (เล่มแรกเขียนในวัยหนุ่มคือบทเพลงของซาโลมอน เล่มที่สองเขียนในวัยกลางคนคือพระธรรมสุภาษิต และเล่มสุดท้ายเขียนในยามชราแล้วคือปัญญาจารย์)
เขียนจากประสบการณ์ที่ขมขื่น
๑) ต้นดีปลายร้าย
เราได้พบว่าเมื่อซาโลมอนได้เริ่มครอง ราชย์ พระองค์ดำเนินชีวิตไปกับพระเจ้าและปกครองประเทศอิสราเอลด้วยสติปัญญา แต่ในเวลาต่อซาโลมอนได้ทำบาปและหลงเจิ่นไปจากทางของพระเจ้า ไปกราบไหว้รูปเคารพ(พระของบรรดานางสนม) เมื่อสำนึกรู้สึกตัวก็กลับใจเสียใหม่ และได้เขียนถึงประสบการณ์ของตนเอง ในเรื่องความผิดพลาดและความโง่เขลา บอกถึงชีวิตที่ปราศจากพระเจ้านั้นว่างเปล่าและหมดหวังจริงๆ
๒) ชีวิตล้วนอนิจจัง
ปัญญาจารย์กล่าวถึงไม่ว่าผู้คนจะไขว่คว้าหาสติปัญญา ความสำเร็จหรือความยุติธรรมสักเท่าไหร่ก็ตาม ผลที่ได้มาเป็นเพียงชั่วครู่ชั่วยามเท่านั้น ไม่มีอะไรที่แน่นอนและยั่งยืน มันเหมือนกับวิ่งไล่จับลม ชีวิตและโลกนี้เป็น “อนิจจัง” (๑.๒, ๑๒.๘) คำว่าอนิจจังปรากฏในพระธรรมปัญญาจารย์ถึง ๓๗ ครั้ง พระคัมภีร์บางฉบับใช้คำว่า “กินลมกินแล้ง”
๓) ชีวิตที่มีตนเองเป็นศูนย์กลาง :
จะพบว่าปัญญาจารย์มองในแง่ลบ ยึดเอาตัวเองเป็นจุดศูนย์กลางของทุกสิ่ง แม้ว่าท่านจะเชื่อในพระเจ้าแล้ว แต่ในขณะที่หลงเจิ่นไปก็คิดว่า มนุษย์ไม่สามารถเข้าใจถึงน้ำพระทัยของพระเจ้าได้ นับว่าเป็นเศร้าและน่าสังเวช
๔) ชีวิตที่ปราศจากพระเจ้า
กษัตริย์ซาโลมอนได้ตรัสถึงความจริงว่า ชีวิตใดที่ปราศจากพระเจ้า(พระผู้สร้าง) ชีวิตนั้นย่อมว่างเปล่า ไม่มีความหมาย และไม่มีสิ่งใดในโลกนี้จะมาซึ่งความอิ่มใจและสันติสุขได้
๕) ภายใต้ดวงอาทิตย์
ซาโลมอนใช้คำนี้บ่อยๆ (๒๗ ครั้ง) เป็นการพูดถึงเหตุและผลแบบชาวโลก ที่มองดูชีวิตในแง่มุมของธรรมชาติแต่เพียงอย่างเดียว เห็นว่าสิ่งมีชีวิตในโลกนี้ไม่แตกต่างกัน มีจุดจบเหมือนกันคือความตาย “เพราะเคราะห์กรรมของบรรดามนุษยชาติกับเคราะห์ของสัตว์เดรัจฉานนั้นเหมือน กัน” (๓.๑๙)
ชีวิตที่มีพระเจ้า
๑) ชีวิตที่ปราศจากพระเจ้า ย่อมไม่มีสิ่งที่น่าพึงพอใจ
ตอนแรกซาโลมอนกล่าวถึงไม่มีอะไรใหม่ วนเวียนเป็นวัฏจักร (๑.๓-๑๑) ต่อมาท่านเห็นว่าสิ่งที่ใต้ฟ้านี้ล้วนว่าง
เปล่าและไร้ความหมาย (อนิจจัง) จากนั้นก็พูดถึงความรู้พ ความสะดวกสบาย ความสนุกสนาน ความร่ำรวยและการได้
ครอบครองสิ่งของต่างๆ แต่ไม่มีสิ่งใดน่าพึงพอใจ และเป็นอนิจจัง
๒) มองในแง่บวก โดยจับจ้องที่พระเจ้า
กษัตริย์ซาโลมอนได้บอกแก่ผู้อ่านว่า การมีความสัมพันธ์กับพระเจ้าอย่างแท้จริงนั้น ย่อมทำให้เกิดความชื่นชมยินดีและสันติสุข เปาโลขณะติดคุกอยู่ได้เขียนจดหมายไปถึงคริสเตียนฟีลิปปี “จงชื่นชมยินดีในองค์พระผู้เป็นเจ้าทุกเวลา ข้าพเจ้าขอย้ำอีกครั้งว่า จงชื่นชมยินดีเถิด” (ฟป. ๔.๔)
ก)ปญจ.๒.๒๔-๒๖ ความชื่นบานในการงานมาจากพระเจ้า พระองค์ทรงเป็นผู้ประทานสติปัญญา ความรู้และความยินดีให้แก่คนที่พระองค์พอพระทัย
ข)ปญจ.๓.๑๐-๑๕ ถ้ามนุษย์ทราบว่า ธุรกิจ วันเวลาและธรรมชาติเป็นมาจากพระเจ้า ก็จะมีความสุขและยินดี
ค)ปญจ. ๕.๗ เมื่อมนุษย์มีความยำเกรงพระเจ้า เคยสัญญาไว้อย่างไร ก็จะทำตามนั้น และทำให้การพูดพล่อยๆ(สาบาน)น้อยลง
ง)ปญจ. ๕.๑๘ ตระหนักว่าเรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงระยะเวลาสั้นๆ ทำไมจะต้องมีความวิตกกังวลเพื่อเร่งชีวิตให้สั้นลง มีความชื่นชมยินดีในชีวิตที่พระเจ้าประทานให้มาไม่ดีกว่าหรือ?
จ)ปญจ. ๘.๑๒ แม้คนบาปจะมีอายุยืนในโลกนี้ แต่คนที่ยำเกรงพระเจ้าจะได้รับความสวัสดิมงคล คือ ความรอดพ้นบึงไฟนรกและมีชีวิตนิรันดร์
๓) คำเตือนสำหรับคนหนุ่มสาว (๑๑.๙-๑๒.๘)
สรุป
-จงยำเกรงพระเจ้าและรักษาพระบัญญัติของพระองค์ (๑๒.๑๓)
-ตระหนักว่า ในที่สุดทุกคนจะต้องเข้าสู่การพิพากษาต่อเบื้องพระพักตร์พระเจ้า
ขอพระเจ้าอวยพรครับ