tag รัชดาด้วย เพราะเห็นคนใช้รถทั้งหลาย บ่นกันมากเรื่องข้อหาแปลกๆ ของตำรวจ
-------------------------------
‘ความยุติธรรม’กับสังคมไทย หลายประเด็นที่ยังคงเป็นปัญหา
เมื่อพูดถึง
“กระบวนการยุติธรรม” เชื่อว่าหลายคนอาจจะส่ายหน้าด้วยความไม่เชื่อถือ ดังที่มีคำกล่าวมานานแล้วว่า
“คุกไทยมีไว้ขังคนจน” เพราะที่ผ่านมา กระบวนการยุติธรรมของไทยเต็มไปด้วยปัญหา ทั้ง
“ล่าช้า” ขนาดที่บางคดีกว่าจะตัดสินจบ ผู้เสียหายบางรายเสียชีวิตไปแล้วก็มี,
“ราคาแพง” ทำให้คนรากหญ้าเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมที่มีคุณภาพได้ยาก ยังไม่นับการ
“ทุจริต” ของเจ้าหน้าที่รัฐบางราย ยิ่งทำให้ความเชื่อมั่นของประชาชนลดน้อยถอยลงไปอีก
ขึ้นศาล = โชคร้าย?
มีคนเคยกล่าวว่า..สังคมไทยไม่เหมือนสังคมตะวันตก อันหมายถึงในโลกตะวันตก ผู้คนที่นั่นจะคุ้นเคยกับการมีคดีความในศาลเป็นปกติ ไม่ว่าจะไปในฐานะใดก็ตาม ขณะที่สังคมไทย หากเป็นชาวบ้านธรรมดาๆ คนหนึ่ง เมื่อพูดถึงการขึ้นโรงขึ้นศาล หรือแม้แต่การเข้าไปในสถานีตำรวจ ถือว่าเป็นโชคร้ายอย่างมาก ขนาดที่มีสำนวนว่า
“กินอุจจาระดีกว่าค้าความ” ทั้งนี้มีผู้ให้เหตุผลว่า เป็นเพราะความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมที่มีคุณภาพ ยังมีอยู่มากในบ้านเรา
ศ.(พิเศษ) ม.ล.ไกรฤกษ์ เกษมสันต์ ผู้พิพากษาอาวุโสศาลอุทธรณ์ ยกตัวอย่างที่น่าสนใจ คือแม้กฎหมายจะเปิดช่องทางให้ผู้เสียหาย สามารถเป็นผู้ฟ้องคดีได้เอง แต่ก็เป็นที่ทราบดีว่า ค่าใช้จ่ายในการติดตามคดี ทั้งค่าตัวทนายความ ค่าเดินทางไปยังสถานที่
ต่างๆ เพื่อรวบรวมพยานหลักฐานนั้นไม่ใช่น้อยๆ หรือแม้กระทั่งการขอหลักฐานบางอย่างเช่นภาพจากกล้องวงจรปิด (CCTV) ก็มีขั้นตอนที่ยุ่งยาก สำหรับประชาชนธรรมดาๆ ทั่วไป
“ผู้เสียหายสามารถฟ้องคดีได้เอง แต่กระบวนการยุติธรรมต้องยอมรับว่า ถ้าท่านเป็นผู้เสียหาย สมมุติท่านออกไปแล้วถูกกระชากกระเป๋า ท่านเป็นผู้เสียหาย แต่ท่านไปแจ้งเขตไหนโรงพักไหนก็ไม่รู้ ถ้ามีกล้องวีดีโอจับอยู่ ผมถามท่านว่า ท่านจะนำพยานหลักฐานเหล่านี้มาได้ไหม?
ไม่ได้..เพราะท่านไม่มีอำนาจรัฐอยู่ในมือ ฉะนั้นที่กฎหมายเขียนว่าผู้เสียหายฟ้องคดีได้เอง แสวงหาความเป็นธรรมได้เอง แต่กลไก เครื่องมือ ความรอบรู้ แล้วท่านยังต้องไปทำงาน ตอกบัตรทุกวัน แล้วท่านจะไปนั่งสืบเสาะ สืบหาพยานหลักฐานได้ยังไง? ในที่สุดท่านก็ต้องไปหาตำรวจนั่นเอง” ผู้พิพากษาอาวุโสแห่งศาลอุทธรณ์ ชี้ให้เห็นถึงข้อจำกัดของประชาชนทั่วไป ในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม
ขณะที่อีกประเด็นหนึ่ง ความเหลื่อมล้ำอาจจะไม่ได้อยู่แค่เรื่องของค่าใช้จ่ายเท่านั้น เพราะสำหรับประชาชนทั่วๆ ไป ที่ไม่ได้เข้าๆ ออกๆ ศาลหรือโรงพักเป็นประจำ มักจะมีความรู้สึกตื่นเต้น หรือหวาดกลัวการข่มขู่ ไม่ว่าจะเป็นจากเจ้าหน้าที่รัฐ (ตำรวจหรือเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง) หรือจากทนายฝ่ายตรงข้าม หรือแม้แต่จากผู้พิพากษาเองก็เช่นกัน เพราะบรรยากาศในการสอบสวน หรือการให้การใช้ศาล มักจะเป็นไปด้วยบรรยากาศกดดัน เคร่งเครียดอยู่เสมอ ทำให้หลายครั้ง ข้อเท็จจริงที่อาจไขคดีนั้นๆ ได้มักจะหลุดลอยไป จนทำให้การตัดสินผิดพลาด
นางเมธินี ชโลธร ผู้พิพากษาศาลฎีกา กล่าวว่า ที่ผ่านมาเราถูกสอนกันมาเสมอว่า ห้องพิจารณาคดีในศาลนั้นต้องทำให้ให้บรรยากาศดูเคร่งขรึม น่าเกรงขาม เพื่อให้คนที่มาอยู่ในความยำเกรง เช่น การกล่าวคำสาบาน ซึ่งทำให้เกิดคำถามที่ว่า..สิ่งเหล่านั้นจะทำให้ได้ความจริงเป็นที่ประจักษ์ได้แน่หรือ?
“จริงๆ แล้วเราต้องการอะไร? ถ้าเราบอกว่าเป็นการต่อสู้เพื่อสร้างความจริงให้ศาลเชื่อ ดิฉันไม่อยากเห็นว่าความจริงมันถูกสร้าง ถ้าอะไรที่มันถูกสร้างนั่นไม่ใช่ความจริงแล้ว เราอยากจะทำสภาพห้องพิจารณาให้คนพร้อมที่จะเอาความจริงเข้ามา ตำรวจ อัยการ ไม่ห่วงนะคะ ถ้าเขาโกหกเดี๋ยวก็จับได้เอง ถามๆ ไป วนๆ ไป ส่วนชาวบ้าน ประชาชน ทำยังไงถึงจะได้รู้ความจริง
ดิฉันคิดว่าต้องไปนั่งคุย สอบถามโน่นนี่นั่น ให้ความเป็นกันเอง ให้เขาไว้วางใจ ทำอย่างไรศาลจะได้ความจริงจากคนเหล่านี้ คือขึ้นศาลมันก็เข่าอ่อนแล้ว เข้าไปเห็นสภาพผู้พิพากษาใส่เสื้อครุยมา อะไรต่อมิอะไรมันใหญ่โตไปหมด กับชีวิตชาวบ้านคนนึง ที่จะต้องเข้ามาอ้าปากพูด ท่านลองไปขึ้นศาลดูนะคะ ท่านจะตื่นเต้นตกใจ แล้วท่านก็อยู่ในสถานะที่กำลังจะถูกชี้เป็นชี้ตาย กล้าพูดความจริงออกมาไหม?” ผู้พิพากษาจากศาลฎีกา กล่าวถึงอีกปัญหาหนึ่ง ที่อาจทำให้ข้อเท็จจริงของคดีความถูกบิดเบือนไป
‘ทนายความ’ อีกหนึ่งความเหลื่อมล้ำ
อีกปัจจัยหนึ่งที่เป็นความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม คือการจัดหาทนายความที่มีคุณภาพ เพราะมีแต่ผู้ที่มีฐานะร่ำรวยเท่านั้น จึงมีเงินพอจะจ้างทนายฝีมือดีมีประสบการณ์สูงได้ ขณะที่ชาวบ้านทั่วไป มักจะหาได้เพียงแต่ทนายที่ศาลจัดให้เท่านั้น ซึ่งส่วนมากเป็นเพียงทนายฝึกหัดที่ยังไม่ค่อยมีฝีมือนัก และซ้ำร้ายบางรายก็ไม่ได้ใส่ใจอย่างจริงจังที่จะทำคดีนั้นๆ ด้วย
นายสมัคร เชาวภานันท์ สมาชิกวุฒิสภา และรองประธานคณะกรรมาธิการยุติธรรมและตำรวจ กล่าวถึงประเด็นนี้ ในฐานะที่ตนเคยเป็นทนายความว่า นอกจากทนายความที่จ้างทำงานกันปกติแล้ว ยังมีทนายอีก 2 ประเภทที่คนส่วนใหญ่เรียกสับสนกัน คือ
“ทนายขอแรง” กับ
“ทนายอาสา”
โดยกรณีของทนายอาสานั้น มักจะอยู่ในสังกัดสภาทนายความ ซึ่งถือว่าคุณภาพดีพอสมควร แต่มีจิตใจที่อยากทำเพื่อสังคม จึงมาช่วยว่าความให้ชาวบ้านที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมแล้วมาร้องเรียนกับสภาทนายความ ส่วนกลุ่มที่มีปัญหาบ่อยนั้น คือบรรดาทนายขอแรงทั้งหลายที่ลงทะเบียนไว้กับศาล ซึ่งก็มักจะมีแต่ทนายความที่กำลังตกงาน และบรรดาเด็กจบใหม่เพิ่งได้ใบประกอบวิชาชีพ มาขอเก็บจำนวนคดีในศาลที่ตนเข้าไปว่าความ เพื่อหวังไปสอบเป็นผู้พิพากษาหรืออัยการในอนาคต
“ลงทะเบียนไว้เพื่อเก็บคดี สอบผู้พิพากษา อัยการ พวกนี้จะเก็บคดีอย่างเดียว ผลของคดีเป็นยังไงไม่สำคัญ อันนี้ก็ทำให้เกิดการทำงานที่ไม่มีประสิทธิภาพ จากที่มีประสบการณ์มา โดยเฉพาะเด็กที่จะไปสอบอัยการ ผู้พิพากษา โดยเฉพาะที่สำนักงานของผมจะไม่ยอมให้ไปขึ้นทะเบียน เพราะผมสงสารจำเลย ประสบการณ์ไม่มี ต้องการเก็บคดี
เพราะการทำคดีพวกนี้มันต้องทำเต็มที่ เต็มความสามารถ มันต้องสอบข้อเท็จจริงให้ได้ชัดเจนมั่นคง การสอบข้อเท็จจริง
บางครั้งมันไม่ได้สอบจากปากของตัวความ (ตัวโจทก์หรือจำเลย) อย่างเดียว มันเกี่ยวไปถึงที่อื่นที่ไหนก็ต้องไปด้วย ปรากฏว่าพวกที่ไม่มีเงิน พวกที่มาเก็บคดี ไม่ไปหรอกครับ ข้อเท็จจริงไม่มีทางได้เลยครับ เมื่อเป็นแบบนี้ข้อเท็จจริงก็ไม่มาอยู่ในสำนวน”
รองประธาน กมธ.ยุติธรรมและตำรวจ วุฒิสภา กล่าวถึงปัญหา พร้อมทั้งฝากเตือนบรรดาทนายความหน้าใหม่ที่ชอบรับคดีมาเยอะๆ เพื่อหวังทำยอดแต่ไม่ใส่ใจคุณภาพ โดยเฉพาะถ้าไม่ไปพบลูกความเลย ศาลจะมีหนังสือแจ้งไปที่สภาทนายความ จากนั้นทางสภาทนายความจะตั้งกรรมการสอบมารยาททนายความ ซึ่งจะมีผลต่อการไปสอบเป็นผู้พิพากษาหรืออัยการด้วย
เช่นเดียวกัน แม้แต่ตัวทนายเองก็ยังมีความเหลื่อมล้ำ ทนายที่รับว่าความให้ลูกความที่มีฐานะร่ำรวย ย่อมมีค่าใช้จ่ายมากพอที่จะเดินทางไปเก็บรายละเอียดของคดีความได้ครบถ้วน ตรงข้ามกับบรรดาทนายขอแรง ที่มีค่าตอบแทนตามกฎหมายในอัตราที่น้อยมาก ทำให้เป็นอุปสรรคในการทำคดีอยู่เสมอ
‘ตำรวจ’ ต้นทางที่สำคัญที่สุด
หากจะมีคำถามว่า..หน่วยงานรัฐหน่วยใดที่ประชาชนเชื่อมั่นน้อยที่สุด คงหนีไม่พ้น
“สำนักงานตำรวจแห่งชาติ” (สตช.) ที่แทบจะมีข่าวในทางลบเกือบทุกวัน ทั้งเรียกรับผลประโยชน์ (ส่วย) จากผู้ทำผิดกฎจราจรและธุรกิจสีเทา-สีดำ การข่มขู่ผู้ต้องสงสัยคดียาเสพติดที่เป็นเพศหญิงเพื่อจะข่มขืนโดยแลกกับการไม่ถูกดำเนินคดี หรือแม้แต่ปัญหาการซื้อขายตำแหน่ง รวมทั้งการทุจริตสอบเข้าเป็นตำรวจ สิ่งเหล่านี้ถึงกับทำให้มีบางคนกล่าวว่า
“ตำรวจดีก็เหมือนผี รู้ว่ามีแต่ไม่เคยเจอ”
นายนวรัตน์ กลิ่นรัตน์ ผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา ยกตัวอย่างงานวิจัยที่สะท้อนให้เห็นการทำงานที่มีปัญหาของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการจับกุมคดียาเสพติด โดยเป็นกรณีของคุณป้ารายหนึ่ง ที่ถูกจับพร้อมกับยาเสพติดเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้ป้าคนดังกล่าวยืนยันว่าไม่รู้เรื่อง เพราะกระเป๋าที่มีห่อยาเสพติดนั้นหลานนำมาฝากไว้ ซึ่งในวิถีชีวิตปกติของคนทั่วไป การที่คนที่สนิทกันนำของมาฝากไว้ ก็มักจะรับฝากไว้ด้วยความไม่สงสัยอะไรอยู่แล้ว แต่ในงานวิจัยดังกล่าว ชี้ให้เห็นว่าเจ้าหน้าที่ชุดจับกุมพยายามที่จะโยงคุณป้ารายนี้เข้ากับกลุ่มของหลานที่เป็นผู้ค้ายาด้วย
หรือวิธีการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ที่ชอบล่อซื้อยาเสพติดจากผู้จำหน่ายรายย่อย แล้วใช้วิธียัดยาเสพติดเพิ่มเพื่อให้ต้องรับโทษสูงขึ้น เช่น ถูกจับพร้อมของกลางจริงๆ ยาบ้า 2 เม็ด แต่พอเขียนในสำนวนคดีกลับเพิ่มมาเป็น 4 เม็ด หรือเป็นเพียงผู้เสพแต่ถูกเพิ่มข้อหาเป็นผู้ค้า หรือที่ร้ายกว่านั้น บางรายจากงานวิจัยชุดนี้ กล่าวว่าตนเป็นผู้บริสุทธิ์ แต่ถูกยัดข้อหายาเสพติดกันดื้อๆ เลยก็มี ทั้งนี้คุณนวรัตน์ย้ำว่า
ไม่ได้ฟันธงว่าผู้ให้ข้อมูลกับผู้วิจัยจะเป็นผู้บริสุทธิ์จริงหรือไม่? หากแต่สนใจว่า ข้อหาที่ตำรวจตั้งนั้น มีความสมเหตุสมผลและน่าเชื่อถือเพียงใดมากกว่า
“ท่านจำคดีจับผู้กองได้ไหมครับ โอ้โหพวกกลุ่มนี้เขาเบิกความกันเก่งมากๆ ไม่มีผิดไม่มีเพี้ยนเลยนะครับ การต่อสู้ระหว่างตำรวจพวกนี้กับทนายจำเลย มันต่างกันลิบลับมาก นานๆจำเลยจะได้ทนายเก่งสักที ส่วนคดีที่เขาบิด (เพื่อเพิ่มจำนวนผู้ต้องหาที่ถูกจับ) บางทีอาจจะเป็นเพราะกระแสสังคม คือยาเสพติดมันเป็นสิ่งชั่วร้ายเราต้องปราบปราม ก็อาจจะต้องการมีผลงาน” ผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา กล่าวทิ้งท้าย
ปัญหาความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมที่มีคุณภาพ ยังเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ประชาชนไทยไม่เชื่อมั่นในระบบราชการ อันนำไปสู่ค่านิยม
“จ่ายใต้โต๊ะ” ซึ่งเป็นการคอร์รัปชั่น เพราะเชื่อว่าถ้ายอมจ่ายแล้ว จะอำนวยความสะดวกให้กับตน เนื่องจากหมดศรัทธากับความซื่อสัตย์ที่ไม่เคยได้ผลดีตอบแทน
ถามว่าคนไทยเราจะต้องเจอกับสภาพสังคมแบบนี้..ไปอีกนานเท่าไร?
SCOOP@NAEWNA.COM
ข่าวจาก :
http://www.naewna.com/scoop/68847
--------------------------
มีใครเจอประสบการณ์ร้ายๆ ในกระบวนการยุติธรรม ตามนี้บ้างไหมครับ
มีใครเจอประสบการณ์ร้ายๆ เมื่อต้องเข้าไปเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรม (ขึ้นโรงขึ้นศาล) กันแบบนี้บ้างไหม
-------------------------------
‘ความยุติธรรม’กับสังคมไทย หลายประเด็นที่ยังคงเป็นปัญหา
เมื่อพูดถึง “กระบวนการยุติธรรม” เชื่อว่าหลายคนอาจจะส่ายหน้าด้วยความไม่เชื่อถือ ดังที่มีคำกล่าวมานานแล้วว่า “คุกไทยมีไว้ขังคนจน” เพราะที่ผ่านมา กระบวนการยุติธรรมของไทยเต็มไปด้วยปัญหา ทั้ง “ล่าช้า” ขนาดที่บางคดีกว่าจะตัดสินจบ ผู้เสียหายบางรายเสียชีวิตไปแล้วก็มี, “ราคาแพง” ทำให้คนรากหญ้าเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมที่มีคุณภาพได้ยาก ยังไม่นับการ “ทุจริต” ของเจ้าหน้าที่รัฐบางราย ยิ่งทำให้ความเชื่อมั่นของประชาชนลดน้อยถอยลงไปอีก
ขึ้นศาล = โชคร้าย?
มีคนเคยกล่าวว่า..สังคมไทยไม่เหมือนสังคมตะวันตก อันหมายถึงในโลกตะวันตก ผู้คนที่นั่นจะคุ้นเคยกับการมีคดีความในศาลเป็นปกติ ไม่ว่าจะไปในฐานะใดก็ตาม ขณะที่สังคมไทย หากเป็นชาวบ้านธรรมดาๆ คนหนึ่ง เมื่อพูดถึงการขึ้นโรงขึ้นศาล หรือแม้แต่การเข้าไปในสถานีตำรวจ ถือว่าเป็นโชคร้ายอย่างมาก ขนาดที่มีสำนวนว่า “กินอุจจาระดีกว่าค้าความ” ทั้งนี้มีผู้ให้เหตุผลว่า เป็นเพราะความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมที่มีคุณภาพ ยังมีอยู่มากในบ้านเรา
ศ.(พิเศษ) ม.ล.ไกรฤกษ์ เกษมสันต์ ผู้พิพากษาอาวุโสศาลอุทธรณ์ ยกตัวอย่างที่น่าสนใจ คือแม้กฎหมายจะเปิดช่องทางให้ผู้เสียหาย สามารถเป็นผู้ฟ้องคดีได้เอง แต่ก็เป็นที่ทราบดีว่า ค่าใช้จ่ายในการติดตามคดี ทั้งค่าตัวทนายความ ค่าเดินทางไปยังสถานที่
ต่างๆ เพื่อรวบรวมพยานหลักฐานนั้นไม่ใช่น้อยๆ หรือแม้กระทั่งการขอหลักฐานบางอย่างเช่นภาพจากกล้องวงจรปิด (CCTV) ก็มีขั้นตอนที่ยุ่งยาก สำหรับประชาชนธรรมดาๆ ทั่วไป
“ผู้เสียหายสามารถฟ้องคดีได้เอง แต่กระบวนการยุติธรรมต้องยอมรับว่า ถ้าท่านเป็นผู้เสียหาย สมมุติท่านออกไปแล้วถูกกระชากกระเป๋า ท่านเป็นผู้เสียหาย แต่ท่านไปแจ้งเขตไหนโรงพักไหนก็ไม่รู้ ถ้ามีกล้องวีดีโอจับอยู่ ผมถามท่านว่า ท่านจะนำพยานหลักฐานเหล่านี้มาได้ไหม?
ไม่ได้..เพราะท่านไม่มีอำนาจรัฐอยู่ในมือ ฉะนั้นที่กฎหมายเขียนว่าผู้เสียหายฟ้องคดีได้เอง แสวงหาความเป็นธรรมได้เอง แต่กลไก เครื่องมือ ความรอบรู้ แล้วท่านยังต้องไปทำงาน ตอกบัตรทุกวัน แล้วท่านจะไปนั่งสืบเสาะ สืบหาพยานหลักฐานได้ยังไง? ในที่สุดท่านก็ต้องไปหาตำรวจนั่นเอง” ผู้พิพากษาอาวุโสแห่งศาลอุทธรณ์ ชี้ให้เห็นถึงข้อจำกัดของประชาชนทั่วไป ในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม
ขณะที่อีกประเด็นหนึ่ง ความเหลื่อมล้ำอาจจะไม่ได้อยู่แค่เรื่องของค่าใช้จ่ายเท่านั้น เพราะสำหรับประชาชนทั่วๆ ไป ที่ไม่ได้เข้าๆ ออกๆ ศาลหรือโรงพักเป็นประจำ มักจะมีความรู้สึกตื่นเต้น หรือหวาดกลัวการข่มขู่ ไม่ว่าจะเป็นจากเจ้าหน้าที่รัฐ (ตำรวจหรือเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง) หรือจากทนายฝ่ายตรงข้าม หรือแม้แต่จากผู้พิพากษาเองก็เช่นกัน เพราะบรรยากาศในการสอบสวน หรือการให้การใช้ศาล มักจะเป็นไปด้วยบรรยากาศกดดัน เคร่งเครียดอยู่เสมอ ทำให้หลายครั้ง ข้อเท็จจริงที่อาจไขคดีนั้นๆ ได้มักจะหลุดลอยไป จนทำให้การตัดสินผิดพลาด
นางเมธินี ชโลธร ผู้พิพากษาศาลฎีกา กล่าวว่า ที่ผ่านมาเราถูกสอนกันมาเสมอว่า ห้องพิจารณาคดีในศาลนั้นต้องทำให้ให้บรรยากาศดูเคร่งขรึม น่าเกรงขาม เพื่อให้คนที่มาอยู่ในความยำเกรง เช่น การกล่าวคำสาบาน ซึ่งทำให้เกิดคำถามที่ว่า..สิ่งเหล่านั้นจะทำให้ได้ความจริงเป็นที่ประจักษ์ได้แน่หรือ?
“จริงๆ แล้วเราต้องการอะไร? ถ้าเราบอกว่าเป็นการต่อสู้เพื่อสร้างความจริงให้ศาลเชื่อ ดิฉันไม่อยากเห็นว่าความจริงมันถูกสร้าง ถ้าอะไรที่มันถูกสร้างนั่นไม่ใช่ความจริงแล้ว เราอยากจะทำสภาพห้องพิจารณาให้คนพร้อมที่จะเอาความจริงเข้ามา ตำรวจ อัยการ ไม่ห่วงนะคะ ถ้าเขาโกหกเดี๋ยวก็จับได้เอง ถามๆ ไป วนๆ ไป ส่วนชาวบ้าน ประชาชน ทำยังไงถึงจะได้รู้ความจริง
ดิฉันคิดว่าต้องไปนั่งคุย สอบถามโน่นนี่นั่น ให้ความเป็นกันเอง ให้เขาไว้วางใจ ทำอย่างไรศาลจะได้ความจริงจากคนเหล่านี้ คือขึ้นศาลมันก็เข่าอ่อนแล้ว เข้าไปเห็นสภาพผู้พิพากษาใส่เสื้อครุยมา อะไรต่อมิอะไรมันใหญ่โตไปหมด กับชีวิตชาวบ้านคนนึง ที่จะต้องเข้ามาอ้าปากพูด ท่านลองไปขึ้นศาลดูนะคะ ท่านจะตื่นเต้นตกใจ แล้วท่านก็อยู่ในสถานะที่กำลังจะถูกชี้เป็นชี้ตาย กล้าพูดความจริงออกมาไหม?” ผู้พิพากษาจากศาลฎีกา กล่าวถึงอีกปัญหาหนึ่ง ที่อาจทำให้ข้อเท็จจริงของคดีความถูกบิดเบือนไป
‘ทนายความ’ อีกหนึ่งความเหลื่อมล้ำ
อีกปัจจัยหนึ่งที่เป็นความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม คือการจัดหาทนายความที่มีคุณภาพ เพราะมีแต่ผู้ที่มีฐานะร่ำรวยเท่านั้น จึงมีเงินพอจะจ้างทนายฝีมือดีมีประสบการณ์สูงได้ ขณะที่ชาวบ้านทั่วไป มักจะหาได้เพียงแต่ทนายที่ศาลจัดให้เท่านั้น ซึ่งส่วนมากเป็นเพียงทนายฝึกหัดที่ยังไม่ค่อยมีฝีมือนัก และซ้ำร้ายบางรายก็ไม่ได้ใส่ใจอย่างจริงจังที่จะทำคดีนั้นๆ ด้วย
นายสมัคร เชาวภานันท์ สมาชิกวุฒิสภา และรองประธานคณะกรรมาธิการยุติธรรมและตำรวจ กล่าวถึงประเด็นนี้ ในฐานะที่ตนเคยเป็นทนายความว่า นอกจากทนายความที่จ้างทำงานกันปกติแล้ว ยังมีทนายอีก 2 ประเภทที่คนส่วนใหญ่เรียกสับสนกัน คือ “ทนายขอแรง” กับ “ทนายอาสา”
โดยกรณีของทนายอาสานั้น มักจะอยู่ในสังกัดสภาทนายความ ซึ่งถือว่าคุณภาพดีพอสมควร แต่มีจิตใจที่อยากทำเพื่อสังคม จึงมาช่วยว่าความให้ชาวบ้านที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมแล้วมาร้องเรียนกับสภาทนายความ ส่วนกลุ่มที่มีปัญหาบ่อยนั้น คือบรรดาทนายขอแรงทั้งหลายที่ลงทะเบียนไว้กับศาล ซึ่งก็มักจะมีแต่ทนายความที่กำลังตกงาน และบรรดาเด็กจบใหม่เพิ่งได้ใบประกอบวิชาชีพ มาขอเก็บจำนวนคดีในศาลที่ตนเข้าไปว่าความ เพื่อหวังไปสอบเป็นผู้พิพากษาหรืออัยการในอนาคต
“ลงทะเบียนไว้เพื่อเก็บคดี สอบผู้พิพากษา อัยการ พวกนี้จะเก็บคดีอย่างเดียว ผลของคดีเป็นยังไงไม่สำคัญ อันนี้ก็ทำให้เกิดการทำงานที่ไม่มีประสิทธิภาพ จากที่มีประสบการณ์มา โดยเฉพาะเด็กที่จะไปสอบอัยการ ผู้พิพากษา โดยเฉพาะที่สำนักงานของผมจะไม่ยอมให้ไปขึ้นทะเบียน เพราะผมสงสารจำเลย ประสบการณ์ไม่มี ต้องการเก็บคดี
เพราะการทำคดีพวกนี้มันต้องทำเต็มที่ เต็มความสามารถ มันต้องสอบข้อเท็จจริงให้ได้ชัดเจนมั่นคง การสอบข้อเท็จจริง
บางครั้งมันไม่ได้สอบจากปากของตัวความ (ตัวโจทก์หรือจำเลย) อย่างเดียว มันเกี่ยวไปถึงที่อื่นที่ไหนก็ต้องไปด้วย ปรากฏว่าพวกที่ไม่มีเงิน พวกที่มาเก็บคดี ไม่ไปหรอกครับ ข้อเท็จจริงไม่มีทางได้เลยครับ เมื่อเป็นแบบนี้ข้อเท็จจริงก็ไม่มาอยู่ในสำนวน”
รองประธาน กมธ.ยุติธรรมและตำรวจ วุฒิสภา กล่าวถึงปัญหา พร้อมทั้งฝากเตือนบรรดาทนายความหน้าใหม่ที่ชอบรับคดีมาเยอะๆ เพื่อหวังทำยอดแต่ไม่ใส่ใจคุณภาพ โดยเฉพาะถ้าไม่ไปพบลูกความเลย ศาลจะมีหนังสือแจ้งไปที่สภาทนายความ จากนั้นทางสภาทนายความจะตั้งกรรมการสอบมารยาททนายความ ซึ่งจะมีผลต่อการไปสอบเป็นผู้พิพากษาหรืออัยการด้วย
เช่นเดียวกัน แม้แต่ตัวทนายเองก็ยังมีความเหลื่อมล้ำ ทนายที่รับว่าความให้ลูกความที่มีฐานะร่ำรวย ย่อมมีค่าใช้จ่ายมากพอที่จะเดินทางไปเก็บรายละเอียดของคดีความได้ครบถ้วน ตรงข้ามกับบรรดาทนายขอแรง ที่มีค่าตอบแทนตามกฎหมายในอัตราที่น้อยมาก ทำให้เป็นอุปสรรคในการทำคดีอยู่เสมอ
‘ตำรวจ’ ต้นทางที่สำคัญที่สุด
หากจะมีคำถามว่า..หน่วยงานรัฐหน่วยใดที่ประชาชนเชื่อมั่นน้อยที่สุด คงหนีไม่พ้น “สำนักงานตำรวจแห่งชาติ” (สตช.) ที่แทบจะมีข่าวในทางลบเกือบทุกวัน ทั้งเรียกรับผลประโยชน์ (ส่วย) จากผู้ทำผิดกฎจราจรและธุรกิจสีเทา-สีดำ การข่มขู่ผู้ต้องสงสัยคดียาเสพติดที่เป็นเพศหญิงเพื่อจะข่มขืนโดยแลกกับการไม่ถูกดำเนินคดี หรือแม้แต่ปัญหาการซื้อขายตำแหน่ง รวมทั้งการทุจริตสอบเข้าเป็นตำรวจ สิ่งเหล่านี้ถึงกับทำให้มีบางคนกล่าวว่า “ตำรวจดีก็เหมือนผี รู้ว่ามีแต่ไม่เคยเจอ”
นายนวรัตน์ กลิ่นรัตน์ ผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา ยกตัวอย่างงานวิจัยที่สะท้อนให้เห็นการทำงานที่มีปัญหาของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการจับกุมคดียาเสพติด โดยเป็นกรณีของคุณป้ารายหนึ่ง ที่ถูกจับพร้อมกับยาเสพติดเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้ป้าคนดังกล่าวยืนยันว่าไม่รู้เรื่อง เพราะกระเป๋าที่มีห่อยาเสพติดนั้นหลานนำมาฝากไว้ ซึ่งในวิถีชีวิตปกติของคนทั่วไป การที่คนที่สนิทกันนำของมาฝากไว้ ก็มักจะรับฝากไว้ด้วยความไม่สงสัยอะไรอยู่แล้ว แต่ในงานวิจัยดังกล่าว ชี้ให้เห็นว่าเจ้าหน้าที่ชุดจับกุมพยายามที่จะโยงคุณป้ารายนี้เข้ากับกลุ่มของหลานที่เป็นผู้ค้ายาด้วย
หรือวิธีการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ที่ชอบล่อซื้อยาเสพติดจากผู้จำหน่ายรายย่อย แล้วใช้วิธียัดยาเสพติดเพิ่มเพื่อให้ต้องรับโทษสูงขึ้น เช่น ถูกจับพร้อมของกลางจริงๆ ยาบ้า 2 เม็ด แต่พอเขียนในสำนวนคดีกลับเพิ่มมาเป็น 4 เม็ด หรือเป็นเพียงผู้เสพแต่ถูกเพิ่มข้อหาเป็นผู้ค้า หรือที่ร้ายกว่านั้น บางรายจากงานวิจัยชุดนี้ กล่าวว่าตนเป็นผู้บริสุทธิ์ แต่ถูกยัดข้อหายาเสพติดกันดื้อๆ เลยก็มี ทั้งนี้คุณนวรัตน์ย้ำว่า ไม่ได้ฟันธงว่าผู้ให้ข้อมูลกับผู้วิจัยจะเป็นผู้บริสุทธิ์จริงหรือไม่? หากแต่สนใจว่า ข้อหาที่ตำรวจตั้งนั้น มีความสมเหตุสมผลและน่าเชื่อถือเพียงใดมากกว่า
“ท่านจำคดีจับผู้กองได้ไหมครับ โอ้โหพวกกลุ่มนี้เขาเบิกความกันเก่งมากๆ ไม่มีผิดไม่มีเพี้ยนเลยนะครับ การต่อสู้ระหว่างตำรวจพวกนี้กับทนายจำเลย มันต่างกันลิบลับมาก นานๆจำเลยจะได้ทนายเก่งสักที ส่วนคดีที่เขาบิด (เพื่อเพิ่มจำนวนผู้ต้องหาที่ถูกจับ) บางทีอาจจะเป็นเพราะกระแสสังคม คือยาเสพติดมันเป็นสิ่งชั่วร้ายเราต้องปราบปราม ก็อาจจะต้องการมีผลงาน” ผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา กล่าวทิ้งท้าย
ปัญหาความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมที่มีคุณภาพ ยังเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ประชาชนไทยไม่เชื่อมั่นในระบบราชการ อันนำไปสู่ค่านิยม “จ่ายใต้โต๊ะ” ซึ่งเป็นการคอร์รัปชั่น เพราะเชื่อว่าถ้ายอมจ่ายแล้ว จะอำนวยความสะดวกให้กับตน เนื่องจากหมดศรัทธากับความซื่อสัตย์ที่ไม่เคยได้ผลดีตอบแทน
ถามว่าคนไทยเราจะต้องเจอกับสภาพสังคมแบบนี้..ไปอีกนานเท่าไร?
SCOOP@NAEWNA.COM
ข่าวจาก : http://www.naewna.com/scoop/68847
--------------------------
มีใครเจอประสบการณ์ร้ายๆ ในกระบวนการยุติธรรม ตามนี้บ้างไหมครับ