หลวงพ่อเขียน ธมมฺรักขิโต วาจาท่านศักดิ์สิทธิ์ทั้งตลอดชีวิตที่ประพฤติปฏิบัติในทางกรรมฐาน โดยเคร่งครัดเฉพาะเวลาวิกาลแล้วมักจะนั่งสมาธิอยู่ค่อนคืนเป็นประจำ จำพรรษาอยู่ที่วัดสำนักขุนเณร ตำบลวังงิ้ว อำเภอ บางมูลนาก จังหวัดพิจิตร และมีอายุยืนถึง๑๐๘ ปี หลวงพ่อเขียน เมื่อครั้งครองเพศฆราวาสท่านมีชื่อว่า เสถียร
ชาติกำเนิด
เกิดเมื่อ วันเสาร์ เดือน ๔ ปีขาล พ.ศ. ๒๓๙๙ ที่บ้านตลิ่งชัน ตำบลชอนไพร อำเภอเมือง จังหวัด เพชรบูรณ์ บิดาชื่อ ทอง มารดาชื่อ ปลิด มีพี่น้องร่วมท้องเดียวกัน ๕ คน เป็นชาย ๓ หญิง ๒ ตัวท่านเป็นบุตรคนที่ ๓ เมื่อยังครั้งเยาว์วัย หลวงพ่อเป็นเด็กที่เฉลียวฉลาด เมื่ออายุได้ ๑๒ ปี เกิดศรัทธาอยากบวชเป็น สามเณร จึงขออนุญาตจากบิดามารดา ท่านจึงได้เข้าบรรพชา เป็นสามเณร เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๑ ที่วัด ทุ่งเรไร ในขณะที่เป็นสามเณร ได้ศึกษา อักขรสมัยกับท่านสมภาร พออ่านออกเขียนได้ และได้เรียน ภาษาขอม ควบคู่ไปกับภาษาไทย และเนื่องด้วยท่านมีความขยันหมั่นเพียร ในการเขียนอ่าน ท่าน สมภารจึง ได้เปลี่ยนชื่อจาก “เสถียร” มาเป็น “เขียน” นับแต่บัดนั้น สามเณรเขียนอยู่ในสมณเพศ จนอายุใกล้จะอุปสมบท ท่านได้สึกออกมาเป็นฆราวาส อยู่ระยะหนึ่ง จน อายุได้ ๒๐ ปีบริบูรณ์ (พ.ศ. ๒๔๒๐) ท่านได้เข้าอุปสมบท ณ วัดภูเขาดิน ใกล้กับแม่น้ำป่าสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ มีพระอาจารย์ประดิษฐ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ และ พระอาจารย์สอน กับพระอาจารย์ ทองมี เป็นพระกรรมวาจาจารย์
เมื่อ หลวงพ่อเขียน อุปสมบทได้ หนึ่งพรรษา บิดามารดา ได้รบเร้าให้ท่านสึก เพื่อจะได้แต่งงานกับ หญิงสาวผู้หนึ่ง ที่บิดามารดาอยากได้มาเป็นสะใภ้ แต่หลวงพ่อท่านปฏิเสธ และเพื่อให้พ้นความยุ่งยาก ท่านจึงได้ออกเดินทาง ไปเยี่ยมญาติที่บ้านวังตะกู อำเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร ในเวลาต่อเวลา ระยะนั้น ทางวัดวังตะกูขาด พระภิกษุที่จะจำพรรษา ในปีนั้น กำนันตำบลวังตะกูจึงนิมนต์ ให้ท่านจำ พรรษา ณ ที่นั้น ต่อมาท่านได้ไปศึกษา ปริยัติธรรม ที่วัดเสาธงทอง จังหวัดลพบุรี มี พระอาจารย์ทอง เป็นครูสอน ท่านอยู่วัดเสาธงทองถึง ๙ พรรษา หลวงพ่อก็อำลาพระอาจารย์ทอง เพื่อไปศึกษาต่อ ที่วัดรังษี กรุงเทพฯ มี เจ้าคุณธรรมกิตติ เป็นเจ้าอาวาส ท่านได้ศึกษาเล่าเรียน ทั้งคันถธุระ และวิปัสสนา ธุระ อย่างเคร่งครัด นานถึง ๑๖ พรรษา แต่เมื่อวัดรังษี จะโอนจากวัดมหานิกาย เข้าเป็นวัด ธรรมยุตนิกาย ท่านไม่เต็มใจ จะเปลี่ยนนิกาย จึงได้ออกจากวัดรังษี มาจำพรรษาที่ วัดเสาธงทอง จังหวัดลพบุรี อีกครั้งหนึ่ง ท่านกลับมาจำพรรษาที่วัดเสาธงทอง ได้ ๙ พรรษา กำนันตำบลวังตะกู และชาวบ้าน จึงได้เดินทาง ไปนิมนต์หลวงพ่อ ให้มาจำพรรษาที่วัด วังตะกู อีกวาระหนึ่ง หลวงพ่อ ก็รับนิมนต์ และได้ออกเดิน ทางมาจำพรรษาอยู่ที่วัดวังตะกู ตั้งแต่บัดนั้น
หลวงพ่อเขียน ธมมฺรักขิโต แห่งวัดถ้ำขุนเณร
ชาติกำเนิด
เกิดเมื่อ วันเสาร์ เดือน ๔ ปีขาล พ.ศ. ๒๓๙๙ ที่บ้านตลิ่งชัน ตำบลชอนไพร อำเภอเมือง จังหวัด เพชรบูรณ์ บิดาชื่อ ทอง มารดาชื่อ ปลิด มีพี่น้องร่วมท้องเดียวกัน ๕ คน เป็นชาย ๓ หญิง ๒ ตัวท่านเป็นบุตรคนที่ ๓ เมื่อยังครั้งเยาว์วัย หลวงพ่อเป็นเด็กที่เฉลียวฉลาด เมื่ออายุได้ ๑๒ ปี เกิดศรัทธาอยากบวชเป็น สามเณร จึงขออนุญาตจากบิดามารดา ท่านจึงได้เข้าบรรพชา เป็นสามเณร เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๑ ที่วัด ทุ่งเรไร ในขณะที่เป็นสามเณร ได้ศึกษา อักขรสมัยกับท่านสมภาร พออ่านออกเขียนได้ และได้เรียน ภาษาขอม ควบคู่ไปกับภาษาไทย และเนื่องด้วยท่านมีความขยันหมั่นเพียร ในการเขียนอ่าน ท่าน สมภารจึง ได้เปลี่ยนชื่อจาก “เสถียร” มาเป็น “เขียน” นับแต่บัดนั้น สามเณรเขียนอยู่ในสมณเพศ จนอายุใกล้จะอุปสมบท ท่านได้สึกออกมาเป็นฆราวาส อยู่ระยะหนึ่ง จน อายุได้ ๒๐ ปีบริบูรณ์ (พ.ศ. ๒๔๒๐) ท่านได้เข้าอุปสมบท ณ วัดภูเขาดิน ใกล้กับแม่น้ำป่าสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ มีพระอาจารย์ประดิษฐ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ และ พระอาจารย์สอน กับพระอาจารย์ ทองมี เป็นพระกรรมวาจาจารย์
เมื่อ หลวงพ่อเขียน อุปสมบทได้ หนึ่งพรรษา บิดามารดา ได้รบเร้าให้ท่านสึก เพื่อจะได้แต่งงานกับ หญิงสาวผู้หนึ่ง ที่บิดามารดาอยากได้มาเป็นสะใภ้ แต่หลวงพ่อท่านปฏิเสธ และเพื่อให้พ้นความยุ่งยาก ท่านจึงได้ออกเดินทาง ไปเยี่ยมญาติที่บ้านวังตะกู อำเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร ในเวลาต่อเวลา ระยะนั้น ทางวัดวังตะกูขาด พระภิกษุที่จะจำพรรษา ในปีนั้น กำนันตำบลวังตะกูจึงนิมนต์ ให้ท่านจำ พรรษา ณ ที่นั้น ต่อมาท่านได้ไปศึกษา ปริยัติธรรม ที่วัดเสาธงทอง จังหวัดลพบุรี มี พระอาจารย์ทอง เป็นครูสอน ท่านอยู่วัดเสาธงทองถึง ๙ พรรษา หลวงพ่อก็อำลาพระอาจารย์ทอง เพื่อไปศึกษาต่อ ที่วัดรังษี กรุงเทพฯ มี เจ้าคุณธรรมกิตติ เป็นเจ้าอาวาส ท่านได้ศึกษาเล่าเรียน ทั้งคันถธุระ และวิปัสสนา ธุระ อย่างเคร่งครัด นานถึง ๑๖ พรรษา แต่เมื่อวัดรังษี จะโอนจากวัดมหานิกาย เข้าเป็นวัด ธรรมยุตนิกาย ท่านไม่เต็มใจ จะเปลี่ยนนิกาย จึงได้ออกจากวัดรังษี มาจำพรรษาที่ วัดเสาธงทอง จังหวัดลพบุรี อีกครั้งหนึ่ง ท่านกลับมาจำพรรษาที่วัดเสาธงทอง ได้ ๙ พรรษา กำนันตำบลวังตะกู และชาวบ้าน จึงได้เดินทาง ไปนิมนต์หลวงพ่อ ให้มาจำพรรษาที่วัด วังตะกู อีกวาระหนึ่ง หลวงพ่อ ก็รับนิมนต์ และได้ออกเดิน ทางมาจำพรรษาอยู่ที่วัดวังตะกู ตั้งแต่บัดนั้น