คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 6
เราต้องทราบก่อนครับว่าทฤษฎีหมาป่ากับแกะต้องการสื่อหรือสอนเรื่องอะไรครับ... (หมาป่าหาเหตุผลอันชอบธรรมที่จะกินแกะ แต่ไม่ว่าแกะจะยกเหตุผลอันชอบธรรมใด ๆ มาค้านเพื่อเอาตัวรอด แต่สุดท้ายหมาป่าก็ยังจะกินแกะอยู่ดี สั้น ๆ คือ "การลุแก่อำนาจ" ครับ)
คาดว่าน่าจะเป็นวิชาที่เกี่ยวกับ สังคม กฏหมาย การเมือง หรือจิตวิทยานะครับ
ส่วนตัวผมมองว่าก่อนที่เราจะหาทางออกของปัญหาเราต้องเข้าใจต้นเหตุและปัจจัยให้ได้ก่อนครับว่ามีอะไรบ้าง...
จากกรณีนี้ สิ่งที่ผมได้คือ 1 คำถาม 2 เงื่อนไข
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
มี 3 ตัวแปรหลัก
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
และหลายปัจจัยเสริมต่าง ๆ ที่ควรคำนึงถึง
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ในความเห็นของผม... (มองเฉพาะบริบทฝูงแกะกับหมาป่า)
ตามความต้องการของวิธีแก้ปัญหาเราไม่สามารถกำจัดตัวแปรใด ๆ ออกได้ และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมซึ่งเป็นธรรมชาติของแกะและหมาป่านั้นอาจสามารถทำได้แต่เป็นไปได้ยาก ดังนั้นเราจำเป็นที่จะต้องเพิ่มตัวแปรเข้าไปเพื่อทำหน้าที่ควบคุมและป้องปรามพฤติกรรมอันไม่พึงประสงค์ของตัวแปรหลักทั้งหมดให้ดำเนินไปในทิศทางที่ต้องการครับ ตัวแปรที่เป็นไปได้และแลดูเหมาะสมที่สุดในบริบทนี้คือ คนเลี้ยงแกะและสุนัขต้อนแกะครับ
วิธีการคร่าว ๆ ที่อาจทำคือ ทำการคัดรวมแกะและกำหนดขอบเขตความปลอดภัยตามความสามารถที่คนเลี้ยงและสุนัขต้อนแกะจะสามารถดูแลได้ และหาวิธีการลงโทษหมาป่าที่เข้ามาทำร้ายแกะในฝูง เพื่อเป็นการใส่การรับรู้ให้กับหมาป่าว่าหากเข้ามาทำร้ายแกะในฝูง ตัวหมาป่าจะได้รับการลงโทษหรืออาจเป็นอันตรายได้ครับ แต่โดยธรรมชาติแล้วหมาป่าจะรับรู้และค่อย ๆ ปรับเปลี่ยนวิธีการล่าเพื่อให้การล่าสำเร็จ ดังนั้นเพื่อที่จะสามารถดูแลความปลอดภัยให้กับฝูงแกะได้อย่างมีประสิทธิภาพ คนเลี้ยงแกะจะต้องสังเกต, เรียนรู้และติดตามพฤติกรรมของหมาป่าไปด้วยครับ ทั้งนี้คนเลี้ยงและสุนัขต้อนแกะจะต้องมีจำนวนที่เหมาะสมกับขอบเขตในการดูแลฝูงแกะและรับมือกับหมาป่าด้วยครับ ซึ่งถ้าแกะรู้สึกพึงพอใจกับการเป็นแกะมากกว่าเป็นหมาป่า แกะคงไม่อยากเปลี่ยนตัวเองไปเป็นหมาป่าที่ต้องถูกลงโทษครับ...
ส่วนขั้นตอน, วิธีการ หรือเครื่องมือที่ต้องใช้อย่างละเอียด ผมว่าน่าจะอยู่ในบทเรียนของ จขกท แล้วนะครับ ลองกลับไปศึกษาเพิ่มเติมแบบละเอียด ๆ ดูอีกทีนะครับ...
คาดว่าน่าจะเป็นวิชาที่เกี่ยวกับ สังคม กฏหมาย การเมือง หรือจิตวิทยานะครับ
ส่วนตัวผมมองว่าก่อนที่เราจะหาทางออกของปัญหาเราต้องเข้าใจต้นเหตุและปัจจัยให้ได้ก่อนครับว่ามีอะไรบ้าง...
จากกรณีนี้ สิ่งที่ผมได้คือ 1 คำถาม 2 เงื่อนไข
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
มี 3 ตัวแปรหลัก
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
และหลายปัจจัยเสริมต่าง ๆ ที่ควรคำนึงถึง
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ในความเห็นของผม... (มองเฉพาะบริบทฝูงแกะกับหมาป่า)
ตามความต้องการของวิธีแก้ปัญหาเราไม่สามารถกำจัดตัวแปรใด ๆ ออกได้ และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมซึ่งเป็นธรรมชาติของแกะและหมาป่านั้นอาจสามารถทำได้แต่เป็นไปได้ยาก ดังนั้นเราจำเป็นที่จะต้องเพิ่มตัวแปรเข้าไปเพื่อทำหน้าที่ควบคุมและป้องปรามพฤติกรรมอันไม่พึงประสงค์ของตัวแปรหลักทั้งหมดให้ดำเนินไปในทิศทางที่ต้องการครับ ตัวแปรที่เป็นไปได้และแลดูเหมาะสมที่สุดในบริบทนี้คือ คนเลี้ยงแกะและสุนัขต้อนแกะครับ
วิธีการคร่าว ๆ ที่อาจทำคือ ทำการคัดรวมแกะและกำหนดขอบเขตความปลอดภัยตามความสามารถที่คนเลี้ยงและสุนัขต้อนแกะจะสามารถดูแลได้ และหาวิธีการลงโทษหมาป่าที่เข้ามาทำร้ายแกะในฝูง เพื่อเป็นการใส่การรับรู้ให้กับหมาป่าว่าหากเข้ามาทำร้ายแกะในฝูง ตัวหมาป่าจะได้รับการลงโทษหรืออาจเป็นอันตรายได้ครับ แต่โดยธรรมชาติแล้วหมาป่าจะรับรู้และค่อย ๆ ปรับเปลี่ยนวิธีการล่าเพื่อให้การล่าสำเร็จ ดังนั้นเพื่อที่จะสามารถดูแลความปลอดภัยให้กับฝูงแกะได้อย่างมีประสิทธิภาพ คนเลี้ยงแกะจะต้องสังเกต, เรียนรู้และติดตามพฤติกรรมของหมาป่าไปด้วยครับ ทั้งนี้คนเลี้ยงและสุนัขต้อนแกะจะต้องมีจำนวนที่เหมาะสมกับขอบเขตในการดูแลฝูงแกะและรับมือกับหมาป่าด้วยครับ ซึ่งถ้าแกะรู้สึกพึงพอใจกับการเป็นแกะมากกว่าเป็นหมาป่า แกะคงไม่อยากเปลี่ยนตัวเองไปเป็นหมาป่าที่ต้องถูกลงโทษครับ...
ส่วนขั้นตอน, วิธีการ หรือเครื่องมือที่ต้องใช้อย่างละเอียด ผมว่าน่าจะอยู่ในบทเรียนของ จขกท แล้วนะครับ ลองกลับไปศึกษาเพิ่มเติมแบบละเอียด ๆ ดูอีกทีนะครับ...
แสดงความคิดเห็น
ทฤษฎีหมาป่า-ลูกแกะ
-จะจัดสังคมอย่างไรให้ฝูงแกะ(คนดีส่วนใหญ่)สามารถควบคุมหมาป่า(คนดี)อยู่เย็นเป็นสุขโดยที่ฝูงแกะจะไม่กลายพันธ์เป็นหมาป่าในที่สุด
ช่วยหน่อยนะค่ะจะต้องเอาไปสอบนั่งคิดมาทั้งคืนแล้ว. อยากให้ช่วยแขร์ความเห็นหน่อยค่ะ