ขออภัย copy มายาวหน่อยนะครับ
จากข่าวนี้ เราจะมีวิธีป้องกันโจรพวกนี้ได้ยังไงครับ หรือว่าต้องป้องกันที่ระบบธนาคารเท่านั้น
http://www.komchadluek.net/detail/20130908/167687/%E0%B9%84%E0%B8%82%E0%B8%84%E0%B8%94%E0%B8%B5!%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%8A%E0%B8%87%E0%B8%89%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%87%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%9C%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B9%87%E0%B8%95(1).html#.UiwJdtJ7LKM
ไขคดี!แก๊งฉกเงินผ่านอินเทอร์เน็ต(1)
คลี่ปมปริศนา CSI THAILAND : ไขคดี...แก๊งฉกเงินผ่านอินเทอร์เน็ต ล้วงข้อมูลแบงก์จากสลิปเอทีเอ็ม (1) : โดย...ทีมข่าวรายงานพิเศษ
ภาพถ่ายจากกล้องวงจรปิดภายในธนาคารแห่งหนึ่งใน อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร ซึ่งปรากฏภาพคนร้ายขณะเข้าไปเปิดบัญชีเงินฝากกับธนาคารกลายเป็นเบาะแสสำคัญที่ทำให้ตำรวจฝ่ายสืบสวนกองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 7 ภายใต้การอำนวยการของ พล.ต.ท.หาญพล นิตย์วิบูลย์ ผบช.ภ.7 สามารถติดตามจับกุมกลุ่มคนร้ายซึ่งมีพฤติการณ์ใช้ความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์เข้าไปโจรกรรมเงินฝากของลูกค้าธนาคารผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
กลุ่มคนร้ายก่อเหตุมานาน มีผู้เสียหายรวมถึงมูลค่าความเสียหายจำนวนมาก ล่าสุดมี นายณัฐธวัฒน์ ฉัตรวิริยะกุล ตกเป็นเหยื่อ ต้องสูญเสียเงินไปจากบัญชีเงินฝากธนาคารจำนวน 8 แสนบาท
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นภัยคุกคามที่ส่งผลกระทบร้ายแรงต่อประชาชน และยังส่งผลต่อความเชื่อมั่นในธุรกิจธนาคาร พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผบ.ตร. จึงมอบหมายให้ พล.ต.ท.จรัมพร สุระมณี ผู้ช่วยผบ.ตร. เข้าไปอำนวยการการทำงานของตำรวจในการทลายแก๊งโจรไฮแทค ที่มีพฤติการณ์โจรกรรมเงินฝากในบัญชีธนาคาร รวมทั้งประสานความร่วมมือกับทางธนาคาร เพื่อหาแนวทางป้องกันไม่ให้เกิดอาชญากรรมลักษณะนี้ซ้ำ
หลังจากมีผู้เสียหายจำนวนมากถูกโจรกรรมเงินจากบัญชีเงินฝากในพื้นที่กองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 7 พล.ต.ท.หาญพล สั่งการให้ตำรวจชุดสืบสวนกองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 7 กระจายกำลังออกหาข่าวในพื้นที่ รวมทั้งประสานความร่วมมือกับทางธนาคาร เพื่อขอตรวจสอบภาพถ่ายจากกล้องวงจรปิดเพื่อหาเบาะแสของผู้ต้องสงสัย
ในการลงพื้นที่ของชุดสืบสวนตำรวจพบเบาะแสผู้ต้องสงสัยรายหนึ่ง ทราบชื่อภายหลังคือ นายธนดล ขจรศักดิ์ชัย หรือ ตี๋ อายุ 41 ปี มีภูมิลำเนาอยู่ใน จ.นครปฐม โดยผู้ต้องสงสัยรายนี้นิยมเล่นการพนัน และทุกครั้งที่เสียพนันมักจะคุยโอ้อวดกับนักพนันด้วยกันว่า หาเงินได้ง่าย เพราะสามารถเบิกเงินได้ทางอินเทอร์เน็ต และยังเคยสร้างความน่าเชื่อถือให้แก่ตัวเอง โดยการสาธิตวิธีการเบิกเงินผ่านอินเทอร์เน็ตให้นักพนันด้วยกันดู แลกกับการได้เครดิตในการหยิบยืมเงินในวงพนัน
หลังจากทราบเบาะแสดังกล่าว ตำรวจชุดสืบสวนได้ขยายผล โดยการขอตรวจสอบภาพจากกล้องวงจรปิดจากธนาคาร ซึ่งเคยเกิดกรณีคนร้ายโจรกรรมเงินฝากผ่านระบบอินเทอร์เน็ต หรือ ที่รู้จักกันทั่วไปในชื่อ การทำธุรกรรมทางการเงินในในลักษณะนี้ ว่า "อี-แบงกิ้ง"
การตรวจสอบภาพถ่ายจากกล้องวงจรปิดของธนาคารดังกล่าว ทำให้ชุดสืบสวนพบภาพบุคคลต้องสงสัย ซึ่งเมื่อนำมาตรวจสอบอย่างละเอียดแล้วพบว่า คือบุคคลคนเดียวกับนายธนดล โดยภาพที่ปรากฏในกล้องวงจรปิดนั้น พบเห็นพฤติการณ์ขณะนายนพดลป้วนเปี้ยนอยู่หน้าตู้เอทีเอ็ม และหยิบสลิปที่ลูกค้าธนาคารทิ้งไว้บริเวณนั้น หลังจากทำธุรกรรมทางการเงินผ่านตู้เอทีเอ็มแล้วเสร็จ
นอกจากนี้ยังมีภาพถ่ายจากกล้องวงจรปิดที่เห็นพฤติการณ์ของนายธนดล ขณะเข้าไปเปิดบัญชีเงินฝากกับธนาคารแห่งหนึ่งใน อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร โดยบัญชีเงินฝากดังกล่าวเปิดโดยชื่อของบุคคลอื่น และถูกนำไปใช้ในการโยกย้ายเงินจากบัญชีเงินฝากของผู้เสียหายเข้ามาพักในบัญชีเงินฝากดังกล่าว ก่อนที่นายธนดลจะถอนเงินออกไป
หลักจากมีหลักฐานชัดเจน ตำรวจจึงออกติดตามจับกุมนายธนดลเอาไว้ได้ ก่อนจะนำตัวมาสอบสวนขยายผลกระทั้งทราบว่า มีคู่หูที่ร่วมกันกระทำผิดอีกคน คือ นายนที ศิระวรวิทย์ อายุ 32 ปี ชาว จ.นครปฐม เช่นกัน จึงติดตามจับกุมมาดำเนินคดีได้อีกคน
"นายตี๋ เป็นอดีตนักเรียนนอก เป็นนักเล่นพนันตัวยงด้วย เวลาไปเล่นที่ไหนเมื่อเสียก็จะชอบไปคุยโม้ว่าหาเงินได้ง่าย เบิกทางอินเทอร์เน็ตก็ได้ เคยเบิกให้พวกเพื่อนๆ นักพนันดู จนทำให้ได้รับความเชื่อถือ และเพื่อนๆ ก็ให้ยืมเยอะมากมาย เมื่อสืบทราบจนกระทั่งมั่นใจว่านายธนดลเป็นผู้ก่อเหตุ เนื่องจากเห็นนายธนดลจากกล้องวงจรปิดหน้าตู้เอทีเอ็ม คอยป้วนเปี้ยนอยู่หน้าตู้ หยิบสลิปที่คนอื่นกดแล้วทิ้งไว้อยู่เป็นประจำ จึงออกหมายเรียกและออกหมายจับในที่สุด" พล.ต.ท.หาญพล ให้รายละเอียดในการติดตามคนร้าย
สำหรับวิธีการขโมยเงินผ่านอินเทอร์เน็ต นายธนดลรับสารภาพว่า จะตระเวนเก็บสลิปจากหน้าตู้เอทีเอ็มต่างๆ โดยจะดูว่าสลิปใบใดมีเงินเหลืออยู่ในบัญชีจำนวนมาก เมื่อได้มาแล้วจะนำเลขบัญชีที่อยู่ตรงสลิปไปค้นหาเจ้าของบัญชี ผ่านระบบการทำธุรกรรมทางการเงินผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หรือที่เรียกว่า "อี-แบงกิ้ง" เมื่อได้ข้อมูลมาแล้วจะไปขอข้อมูลทะเบียนราษฎรจากเจ้าหน้าที่ปกครอง ซึ่งจะทำให้ทราบข้อมูลที่นำมาใช้ในการทำธุรกรรมทางการเงินกับธนาคารสำคัญๆ เช่น วัน เดือน ปี เกิด และหมายเลขบัตรประชาชน ของเจ้าของบัญชีเงินฝากที่ตกเป็นเหยื่อ
วิธีการไปติดต่อกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง คนร้ายได้ปลอมบัตรประจำตัวข้าราชการปลอม โดยนายธนดล อ้างตัวเป็นเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ ระดับ 7 ส่วนนายนทีอ้างตัวเป็นตำรวจ ระบุชื่อ ด.ต.รังสรรค์ จันทร์รังสี ผบ.หมู่งานสืบสวน สภ.เมืองนครราชสีมา ขณะไปติดต่อเจ้าหน้าที่ทะเบียนราษฎร ได้แต่งเครื่องแบบข้าราชการ และอ้างกับเจ้าหน้าที่ว่า เจ้าของบัญชีเงินฝากเหล่านั้นเป็นผู้ต้องสงสัยกระทำผิดกฎหมาย ซึ่งวิธีการดังกล่าวเป็นการสร้างความน่าเชื่อถือและได้รับความสะดวกในการได้มาซึ่งข้อมูลทางทะเบียนราษฎรของผู้ที่ตกเป็นเหยื่อ
หลังจากข้อมูลทะเบียนราษฎรมาแล้ว คนร้ายจะทำบัตรข้าราชการปลอมขึ้นมาอีกใบ ระบุชื่อเจ้าของบัตรเป็นชื่อของเจ้าของบัญชี และนำภาพถ่ายของตัวเองมาใส่ไว้ในบัตรข้าราชการดังกล่าวแทน หลังจากนั้นได้นำหลักฐานที่ปลอมแปลงขึ้นไปขอเปิดบัญชีเงินฝากใหม่กับธนาคารเดียวกันกับบัญชีเงินฝากของผู้เสียหาย แต่ต่างสาขา
เมื่อสำเร็จแล้วก็ใช้ความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์ สมัครใช้บริการโอนเงินออนไลน์ผ่านอินเทอร์เน็ต หรือ อี-แบงกิ้ง โดยระบุขอใช้บริการในบัญชีอื่นๆ ด้วย เมื่อทำเสร็จทั้งหมดก็จัดการโอนเงินจากบัญชีต่างๆ ของเหยื่อผ่านอินเทอร์เน็ต เข้าสู่บัญชีใหม่ที่เพิ่งเปิด แล้วใช้บัตรเอทีเอ็มกดเงินออกมาทั้งหมด
นอกจากคนร้ายทั้ง 2 คนนี้แล้ว ตำรวจภูธรภาค 7 ยังได้ขยายผลติดตามจับกุม นายฉัตรชัย สมบูรณ์บัตร หรือ ปอนด์ อายุ 32 ปี ชาว จ.นครปฐม และอยู่ระหว่างการติดตามตัว นายสุดเขต ศิริรังสี อายุ 40 ปี ซึ่งมีพฤติการณ์เช่นเดียวกับนายธนดล และนายนที คือการใช้ความรู้ด้านคอมพิวเตอร์โจรกรรมเงินฝากจากบัญชีธนาคารผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
โดยวิธีการกระทำความผิดของคนร้าย รายหลังจะแตกต่างจากรายแรกเล็กน้อย โดยเปลี่ยนจากวิธีค้นหาข้อมูลบัญชีเงินฝากธนาคารของเหยื่อจากสลิปเอทีเอ็ม เป็นใช้ข้อมูลจากเลข 16 หลัก หน้าบัตรเครดิต ของผู้ที่ตกเป็นเหยื่อแทน ซึ่งคนร้ายสองรายหลังนี้มีนายสุดเขต เป็นหัวหน้า รู้วิธีการโจรกรรมเงินจากบัญชีเงินฝากลักษณะนี้ เพราะมีความเชี่ยวชาญ หลังจากเข้าไปเล่นการพนันออนไลน์ ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
พล.ต.ท.จรัมพร ให้ข้อมูลว่า กลุ่มคนร้ายที่มีพฤติการณ์โจรกรรมเงินจากบัญชีเงินฝากธนาคารนั้น มีพฤติการณ์ทำงานกันเป็นทีม ซึ่งอาศัยช่องโหว่ของระบบการทำธุรกรรมทางการเงินของธนาคาร เข้าไปโจรกรรมเงินจากบัญชีเงินฝากธนาคารของเหยื่อ โดยปลอมแปลงบัตรข้าราชการเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือขณะเข้าไปติดต่อขอข้อมูลของเหยื่อจากเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง รวมถึงการไปติดต่อขอเปิดบัญชีใหม่กับพนักงานธนาคาร แล้วใช้ความเชี่ยวชาญในการทำธุรกรรมทางการเงินผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมาโยกย้ายเงินจากบัญชีเงินฝากของเหยื่อไป
"วิธีการโจรกรรมเงินจากบัญชีเงินฝากผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เจ้าของบัญชีเงินฝากที่ตกเป็นเหยื่อจะไม่รู้ตัว ซึ่งได้ขอความร่วมมือทางธนาคารต่างๆ แล้วให้ช่วยตรวจสอบบุคคลที่เข้ามาติดต่อขอเปิดบัญชีกับธนาคารทั้งที่มีบัญชีเงินฝากอยู่กับธนาคารในบัญชีอื่นอยู่แล้ว ว่า หน้าตาผู้ที่มาเปิดบัญชีใหม่ตรงกันกับฐานข้อมูลเดิมที่มีอยู่หรือไม่ ซึ่งจะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาลักษณะนี้ได้ในระดับหนึ่ง" พล.ต.ท.จรัมพร เปิดเผย
หลังการจับกุมผู้ต้องหากลุ่มนี้ ตำรวจได้แจ้งข้อหาดำเนินคดีฐานปลอมเอกสารราชการและใช้เอกสารราชการปลอม และฉ้อโกงทรัพย์โดยการแสดงตนเป็นคนอื่น ขณะที่นายสุดเขตตำรวจยังคงติดตามตัวอย่างต่อเนื่อง พร้อมกันนั้นยังอยู่ระหว่างการขยายผลติดตามจับกุมคนร้ายที่ยังมีพฤติการณ์ลักษณะเช่นนี้อีกหลายกลุ่ม
สำหรับวิธีการโจรกรรมเงินจากบัญชีเงินฝากธนาคารนั้น จากสถิติการเกิดอาชญากรรมพบว่า มีคดีลักษณะนี้มาเป็นระยะ เพียงแต่พฤติการณ์และรูปแบบการก่อเหตุแตกต่างกันไป ซึ่งวิธีการของคนร้ายมีรูปแบบอย่างไรบ้าง รวมทั้งมาตรการในการป้องกันไม่ให้ตกเป็นเหยื่อ สามารถทำได้อย่างไร ติดตามต่อตอนหน้า
-----------------------
(คลี่ปมปริศนา CSI THAILAND : ไขคดี...แก๊งฉกเงินผ่านอินเทอร์เน็ต ล้วงข้อมูลแบงก์จากสลิปเอทีเอ็ม (1) : โดย...ทีมข่าวรายงานพิเศษ)
ป้องกันโจรอินเตอร์เน็ตได้ยังไง
จากข่าวนี้ เราจะมีวิธีป้องกันโจรพวกนี้ได้ยังไงครับ หรือว่าต้องป้องกันที่ระบบธนาคารเท่านั้น
http://www.komchadluek.net/detail/20130908/167687/%E0%B9%84%E0%B8%82%E0%B8%84%E0%B8%94%E0%B8%B5!%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%8A%E0%B8%87%E0%B8%89%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%87%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%9C%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B9%87%E0%B8%95(1).html#.UiwJdtJ7LKM
ไขคดี!แก๊งฉกเงินผ่านอินเทอร์เน็ต(1)
คลี่ปมปริศนา CSI THAILAND : ไขคดี...แก๊งฉกเงินผ่านอินเทอร์เน็ต ล้วงข้อมูลแบงก์จากสลิปเอทีเอ็ม (1) : โดย...ทีมข่าวรายงานพิเศษ
ภาพถ่ายจากกล้องวงจรปิดภายในธนาคารแห่งหนึ่งใน อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร ซึ่งปรากฏภาพคนร้ายขณะเข้าไปเปิดบัญชีเงินฝากกับธนาคารกลายเป็นเบาะแสสำคัญที่ทำให้ตำรวจฝ่ายสืบสวนกองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 7 ภายใต้การอำนวยการของ พล.ต.ท.หาญพล นิตย์วิบูลย์ ผบช.ภ.7 สามารถติดตามจับกุมกลุ่มคนร้ายซึ่งมีพฤติการณ์ใช้ความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์เข้าไปโจรกรรมเงินฝากของลูกค้าธนาคารผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
กลุ่มคนร้ายก่อเหตุมานาน มีผู้เสียหายรวมถึงมูลค่าความเสียหายจำนวนมาก ล่าสุดมี นายณัฐธวัฒน์ ฉัตรวิริยะกุล ตกเป็นเหยื่อ ต้องสูญเสียเงินไปจากบัญชีเงินฝากธนาคารจำนวน 8 แสนบาท
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นภัยคุกคามที่ส่งผลกระทบร้ายแรงต่อประชาชน และยังส่งผลต่อความเชื่อมั่นในธุรกิจธนาคาร พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผบ.ตร. จึงมอบหมายให้ พล.ต.ท.จรัมพร สุระมณี ผู้ช่วยผบ.ตร. เข้าไปอำนวยการการทำงานของตำรวจในการทลายแก๊งโจรไฮแทค ที่มีพฤติการณ์โจรกรรมเงินฝากในบัญชีธนาคาร รวมทั้งประสานความร่วมมือกับทางธนาคาร เพื่อหาแนวทางป้องกันไม่ให้เกิดอาชญากรรมลักษณะนี้ซ้ำ
หลังจากมีผู้เสียหายจำนวนมากถูกโจรกรรมเงินจากบัญชีเงินฝากในพื้นที่กองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 7 พล.ต.ท.หาญพล สั่งการให้ตำรวจชุดสืบสวนกองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 7 กระจายกำลังออกหาข่าวในพื้นที่ รวมทั้งประสานความร่วมมือกับทางธนาคาร เพื่อขอตรวจสอบภาพถ่ายจากกล้องวงจรปิดเพื่อหาเบาะแสของผู้ต้องสงสัย
ในการลงพื้นที่ของชุดสืบสวนตำรวจพบเบาะแสผู้ต้องสงสัยรายหนึ่ง ทราบชื่อภายหลังคือ นายธนดล ขจรศักดิ์ชัย หรือ ตี๋ อายุ 41 ปี มีภูมิลำเนาอยู่ใน จ.นครปฐม โดยผู้ต้องสงสัยรายนี้นิยมเล่นการพนัน และทุกครั้งที่เสียพนันมักจะคุยโอ้อวดกับนักพนันด้วยกันว่า หาเงินได้ง่าย เพราะสามารถเบิกเงินได้ทางอินเทอร์เน็ต และยังเคยสร้างความน่าเชื่อถือให้แก่ตัวเอง โดยการสาธิตวิธีการเบิกเงินผ่านอินเทอร์เน็ตให้นักพนันด้วยกันดู แลกกับการได้เครดิตในการหยิบยืมเงินในวงพนัน
หลังจากทราบเบาะแสดังกล่าว ตำรวจชุดสืบสวนได้ขยายผล โดยการขอตรวจสอบภาพจากกล้องวงจรปิดจากธนาคาร ซึ่งเคยเกิดกรณีคนร้ายโจรกรรมเงินฝากผ่านระบบอินเทอร์เน็ต หรือ ที่รู้จักกันทั่วไปในชื่อ การทำธุรกรรมทางการเงินในในลักษณะนี้ ว่า "อี-แบงกิ้ง"
การตรวจสอบภาพถ่ายจากกล้องวงจรปิดของธนาคารดังกล่าว ทำให้ชุดสืบสวนพบภาพบุคคลต้องสงสัย ซึ่งเมื่อนำมาตรวจสอบอย่างละเอียดแล้วพบว่า คือบุคคลคนเดียวกับนายธนดล โดยภาพที่ปรากฏในกล้องวงจรปิดนั้น พบเห็นพฤติการณ์ขณะนายนพดลป้วนเปี้ยนอยู่หน้าตู้เอทีเอ็ม และหยิบสลิปที่ลูกค้าธนาคารทิ้งไว้บริเวณนั้น หลังจากทำธุรกรรมทางการเงินผ่านตู้เอทีเอ็มแล้วเสร็จ
นอกจากนี้ยังมีภาพถ่ายจากกล้องวงจรปิดที่เห็นพฤติการณ์ของนายธนดล ขณะเข้าไปเปิดบัญชีเงินฝากกับธนาคารแห่งหนึ่งใน อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร โดยบัญชีเงินฝากดังกล่าวเปิดโดยชื่อของบุคคลอื่น และถูกนำไปใช้ในการโยกย้ายเงินจากบัญชีเงินฝากของผู้เสียหายเข้ามาพักในบัญชีเงินฝากดังกล่าว ก่อนที่นายธนดลจะถอนเงินออกไป
หลักจากมีหลักฐานชัดเจน ตำรวจจึงออกติดตามจับกุมนายธนดลเอาไว้ได้ ก่อนจะนำตัวมาสอบสวนขยายผลกระทั้งทราบว่า มีคู่หูที่ร่วมกันกระทำผิดอีกคน คือ นายนที ศิระวรวิทย์ อายุ 32 ปี ชาว จ.นครปฐม เช่นกัน จึงติดตามจับกุมมาดำเนินคดีได้อีกคน
"นายตี๋ เป็นอดีตนักเรียนนอก เป็นนักเล่นพนันตัวยงด้วย เวลาไปเล่นที่ไหนเมื่อเสียก็จะชอบไปคุยโม้ว่าหาเงินได้ง่าย เบิกทางอินเทอร์เน็ตก็ได้ เคยเบิกให้พวกเพื่อนๆ นักพนันดู จนทำให้ได้รับความเชื่อถือ และเพื่อนๆ ก็ให้ยืมเยอะมากมาย เมื่อสืบทราบจนกระทั่งมั่นใจว่านายธนดลเป็นผู้ก่อเหตุ เนื่องจากเห็นนายธนดลจากกล้องวงจรปิดหน้าตู้เอทีเอ็ม คอยป้วนเปี้ยนอยู่หน้าตู้ หยิบสลิปที่คนอื่นกดแล้วทิ้งไว้อยู่เป็นประจำ จึงออกหมายเรียกและออกหมายจับในที่สุด" พล.ต.ท.หาญพล ให้รายละเอียดในการติดตามคนร้าย
สำหรับวิธีการขโมยเงินผ่านอินเทอร์เน็ต นายธนดลรับสารภาพว่า จะตระเวนเก็บสลิปจากหน้าตู้เอทีเอ็มต่างๆ โดยจะดูว่าสลิปใบใดมีเงินเหลืออยู่ในบัญชีจำนวนมาก เมื่อได้มาแล้วจะนำเลขบัญชีที่อยู่ตรงสลิปไปค้นหาเจ้าของบัญชี ผ่านระบบการทำธุรกรรมทางการเงินผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หรือที่เรียกว่า "อี-แบงกิ้ง" เมื่อได้ข้อมูลมาแล้วจะไปขอข้อมูลทะเบียนราษฎรจากเจ้าหน้าที่ปกครอง ซึ่งจะทำให้ทราบข้อมูลที่นำมาใช้ในการทำธุรกรรมทางการเงินกับธนาคารสำคัญๆ เช่น วัน เดือน ปี เกิด และหมายเลขบัตรประชาชน ของเจ้าของบัญชีเงินฝากที่ตกเป็นเหยื่อ
วิธีการไปติดต่อกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง คนร้ายได้ปลอมบัตรประจำตัวข้าราชการปลอม โดยนายธนดล อ้างตัวเป็นเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ ระดับ 7 ส่วนนายนทีอ้างตัวเป็นตำรวจ ระบุชื่อ ด.ต.รังสรรค์ จันทร์รังสี ผบ.หมู่งานสืบสวน สภ.เมืองนครราชสีมา ขณะไปติดต่อเจ้าหน้าที่ทะเบียนราษฎร ได้แต่งเครื่องแบบข้าราชการ และอ้างกับเจ้าหน้าที่ว่า เจ้าของบัญชีเงินฝากเหล่านั้นเป็นผู้ต้องสงสัยกระทำผิดกฎหมาย ซึ่งวิธีการดังกล่าวเป็นการสร้างความน่าเชื่อถือและได้รับความสะดวกในการได้มาซึ่งข้อมูลทางทะเบียนราษฎรของผู้ที่ตกเป็นเหยื่อ
หลังจากข้อมูลทะเบียนราษฎรมาแล้ว คนร้ายจะทำบัตรข้าราชการปลอมขึ้นมาอีกใบ ระบุชื่อเจ้าของบัตรเป็นชื่อของเจ้าของบัญชี และนำภาพถ่ายของตัวเองมาใส่ไว้ในบัตรข้าราชการดังกล่าวแทน หลังจากนั้นได้นำหลักฐานที่ปลอมแปลงขึ้นไปขอเปิดบัญชีเงินฝากใหม่กับธนาคารเดียวกันกับบัญชีเงินฝากของผู้เสียหาย แต่ต่างสาขา
เมื่อสำเร็จแล้วก็ใช้ความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์ สมัครใช้บริการโอนเงินออนไลน์ผ่านอินเทอร์เน็ต หรือ อี-แบงกิ้ง โดยระบุขอใช้บริการในบัญชีอื่นๆ ด้วย เมื่อทำเสร็จทั้งหมดก็จัดการโอนเงินจากบัญชีต่างๆ ของเหยื่อผ่านอินเทอร์เน็ต เข้าสู่บัญชีใหม่ที่เพิ่งเปิด แล้วใช้บัตรเอทีเอ็มกดเงินออกมาทั้งหมด
นอกจากคนร้ายทั้ง 2 คนนี้แล้ว ตำรวจภูธรภาค 7 ยังได้ขยายผลติดตามจับกุม นายฉัตรชัย สมบูรณ์บัตร หรือ ปอนด์ อายุ 32 ปี ชาว จ.นครปฐม และอยู่ระหว่างการติดตามตัว นายสุดเขต ศิริรังสี อายุ 40 ปี ซึ่งมีพฤติการณ์เช่นเดียวกับนายธนดล และนายนที คือการใช้ความรู้ด้านคอมพิวเตอร์โจรกรรมเงินฝากจากบัญชีธนาคารผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
โดยวิธีการกระทำความผิดของคนร้าย รายหลังจะแตกต่างจากรายแรกเล็กน้อย โดยเปลี่ยนจากวิธีค้นหาข้อมูลบัญชีเงินฝากธนาคารของเหยื่อจากสลิปเอทีเอ็ม เป็นใช้ข้อมูลจากเลข 16 หลัก หน้าบัตรเครดิต ของผู้ที่ตกเป็นเหยื่อแทน ซึ่งคนร้ายสองรายหลังนี้มีนายสุดเขต เป็นหัวหน้า รู้วิธีการโจรกรรมเงินจากบัญชีเงินฝากลักษณะนี้ เพราะมีความเชี่ยวชาญ หลังจากเข้าไปเล่นการพนันออนไลน์ ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
พล.ต.ท.จรัมพร ให้ข้อมูลว่า กลุ่มคนร้ายที่มีพฤติการณ์โจรกรรมเงินจากบัญชีเงินฝากธนาคารนั้น มีพฤติการณ์ทำงานกันเป็นทีม ซึ่งอาศัยช่องโหว่ของระบบการทำธุรกรรมทางการเงินของธนาคาร เข้าไปโจรกรรมเงินจากบัญชีเงินฝากธนาคารของเหยื่อ โดยปลอมแปลงบัตรข้าราชการเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือขณะเข้าไปติดต่อขอข้อมูลของเหยื่อจากเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง รวมถึงการไปติดต่อขอเปิดบัญชีใหม่กับพนักงานธนาคาร แล้วใช้ความเชี่ยวชาญในการทำธุรกรรมทางการเงินผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมาโยกย้ายเงินจากบัญชีเงินฝากของเหยื่อไป
"วิธีการโจรกรรมเงินจากบัญชีเงินฝากผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เจ้าของบัญชีเงินฝากที่ตกเป็นเหยื่อจะไม่รู้ตัว ซึ่งได้ขอความร่วมมือทางธนาคารต่างๆ แล้วให้ช่วยตรวจสอบบุคคลที่เข้ามาติดต่อขอเปิดบัญชีกับธนาคารทั้งที่มีบัญชีเงินฝากอยู่กับธนาคารในบัญชีอื่นอยู่แล้ว ว่า หน้าตาผู้ที่มาเปิดบัญชีใหม่ตรงกันกับฐานข้อมูลเดิมที่มีอยู่หรือไม่ ซึ่งจะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาลักษณะนี้ได้ในระดับหนึ่ง" พล.ต.ท.จรัมพร เปิดเผย
หลังการจับกุมผู้ต้องหากลุ่มนี้ ตำรวจได้แจ้งข้อหาดำเนินคดีฐานปลอมเอกสารราชการและใช้เอกสารราชการปลอม และฉ้อโกงทรัพย์โดยการแสดงตนเป็นคนอื่น ขณะที่นายสุดเขตตำรวจยังคงติดตามตัวอย่างต่อเนื่อง พร้อมกันนั้นยังอยู่ระหว่างการขยายผลติดตามจับกุมคนร้ายที่ยังมีพฤติการณ์ลักษณะเช่นนี้อีกหลายกลุ่ม
สำหรับวิธีการโจรกรรมเงินจากบัญชีเงินฝากธนาคารนั้น จากสถิติการเกิดอาชญากรรมพบว่า มีคดีลักษณะนี้มาเป็นระยะ เพียงแต่พฤติการณ์และรูปแบบการก่อเหตุแตกต่างกันไป ซึ่งวิธีการของคนร้ายมีรูปแบบอย่างไรบ้าง รวมทั้งมาตรการในการป้องกันไม่ให้ตกเป็นเหยื่อ สามารถทำได้อย่างไร ติดตามต่อตอนหน้า
-----------------------
(คลี่ปมปริศนา CSI THAILAND : ไขคดี...แก๊งฉกเงินผ่านอินเทอร์เน็ต ล้วงข้อมูลแบงก์จากสลิปเอทีเอ็ม (1) : โดย...ทีมข่าวรายงานพิเศษ)