สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 3
หนังซามูไรอโยธยามีความคลาดเคลื่อนกับหลักฐานทางประวัติศาสตร์มากครับ สิ่งที่พอจะเป็นข้อเท็จจริงได้มีแต่ข้อความตอนหนังจบเท่านั้นครับ
ยามาดะ นางามาสะ มีเอกสารบางชิ้นระบุว่าเกิดเมื่อนปีเท็นโชที่ ๑๘ ตรงกับ ค.ศ.๑๕๙๐ (พ.ศ.๒๑๓๓) เป็นปีที่สมเด็จพระนเรศวรครองราชย์ ฉะนั้นคนที่จะมาร่วมรบกับพระนเรศวรแบบในหนังตำนานฯ ย่อมไม่ใช่ยามาดะแน่ และก็มีหลักฐานระบุว่ายามาดะเข้ามากรุงศรีอยุทธยาในสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมครับ
ในพระราชพงศาวดารตอนสมเด็จพระนเรศวรทำยุทธหัตถีมีการกล่าวถึงนายทัพนายกองที่ตามเสด็จ หนึ่งในนั้นก็มี "พระเสนาภิมุขขี่ช้างพลายเฟื่องภพไตร ถือพลอาสาญี่ปุ่น ๕๐๐" ซึ่งถ้าหนังตำนานฯจะสร้างให้ตรงตามหลักฐาน ก็ควรมียศเป็นแค่ 'พระ' ไม่ใช่ 'ออกญา' แต่ก็มีความเป็นไปได้ว่าตำแหน่งนายกองทั้งหลายนี้น่าสงสัยว่าถูกแต่งเติมภายหลังเพราะไม่ค่อยสอดคล้องกับการทำศึกแก้ตัวอีกทั้งมีอภินิหารมากมาย แล้วก็ยังไม่เคยพบหลักฐานว่ามีการใช้ทินนาม 'เสนาภิมุข' ก่อนหน้ายามาดะ แต่สมัยหลังจะมีปรากฏใช้ โดยลูกชายยามาดะได้เป็น 'ออกขุนเสนาภิมุข' หลังจากบิดาได้เลื่อนเป็นออกญานคร ในตอนที่สมเด็จพระนารายณ์ล้มพระศรีสุธรรมราชาก็มี 'พระยาเสนาภิมุข' อยู่เหมือนกันครับ
ผู้นำชุมชนญี่ปุ่นหรือ 'นิฮงมาจิ' ในกรุงศรีอยุทธยาคนแรกที่ปรากฏชื่อคือ อะริมะ สุมิฮิโระ (有馬純廣 แปลไทยมาออกพระสุมิฮิโร ผมสงสัยว่าผู้แปลไปคิดว่า อะริมะ = ออกพระ รึเปล่า) เป็นตั้งแต่ พ.ศ.๒๑๔๓-๒๑๕๓ สันนิษฐานว่าเป็นตระกูลอาริมะเดียวกับที่เป็นเจ้าของเรือประทับตราแดงที่ทำการค้าอยู่ในแถบจามปา แต่ไม่มีหลักฐานว่าคนผู้นี้ใช้ทินนามว่า "เสนาภิมุข"'
ผู้นำชุมชนคนถัดมาคือ คิอิ คิวเอะมง (城井久右衛門 แต่แปลไทยเป็นคิวเอมอน ชิโรอิ) ซึ่งมีบรรดาศักดิ์แปลเป็นอังกฤษประมาณว่าออกขุน Sou Sattoru (สู้ศัตรู?) ภายหลังได้เลื่อนขึ้นเป็นออกหลวง แล้วเป็นออกพระ
จากนั้นจึงเป็นยามาดะซึ่งมีปรากฏว่าใน ค.ศ.๑๖๒๑ (พ.ศ.๒๑๖๔-สมัยพระเจ้าทรงธรรม) ได้เป็นผู้นำชุมชนญี่ปุ่นโดยมีบรรดาศักดิ์เป็น 'ขุนไชยสุร' (坤釆耶惇) (ตรงกับทินนามในกฏหมายตราสามดวงคือ 'หมื่นไชยสุร สมุบาญชีย นา ๕๐๐')
ตำแหน่งราชการของยามาดะก้าวหน้าขึ้นตามลำดับ ในศุภอักษรออกญาศรีธรรมราชถึง ซาไก ทาดาโยะ ระบุว่าเมื่อ ๓ ปีก่อนหน้าก่อนหน้ายามาดะส่งคณะทูตมาญี่ปุ่น (ประมาณ พ.ศ. ๒๑๖๖) นางามาสะซึ่งมีบรรดาศักดิ์เป็น “หลวงไชยสุร” (鸞釆野惇) จนถึง พ.ศ. ๒๑๖๙ จึงได้เลื่อนขึ้นเป็น “พระยาเสนาภิมุข” (陛浮哪司臘毘目) ตำแหน่งเจ้ากรมอาสาญี่ปุ่น ศักดินา ๑๐๐๐ ไร่
(ฉบับแปลไทยออกมาแปลผิดเป็น 'เมื่อ ๓ ปีมาแล้วหลวงไชยาสรรพเวลานี้เปน พระยาคุณรักษามนตรี ได้แต่งสำเภามาค้าขายในประเทศยี่ปุ่น แต่จนบัดนี้ยังมิได้กลับ')
ยามาดะ นางามาสะ มีเอกสารบางชิ้นระบุว่าเกิดเมื่อนปีเท็นโชที่ ๑๘ ตรงกับ ค.ศ.๑๕๙๐ (พ.ศ.๒๑๓๓) เป็นปีที่สมเด็จพระนเรศวรครองราชย์ ฉะนั้นคนที่จะมาร่วมรบกับพระนเรศวรแบบในหนังตำนานฯ ย่อมไม่ใช่ยามาดะแน่ และก็มีหลักฐานระบุว่ายามาดะเข้ามากรุงศรีอยุทธยาในสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมครับ
ในพระราชพงศาวดารตอนสมเด็จพระนเรศวรทำยุทธหัตถีมีการกล่าวถึงนายทัพนายกองที่ตามเสด็จ หนึ่งในนั้นก็มี "พระเสนาภิมุขขี่ช้างพลายเฟื่องภพไตร ถือพลอาสาญี่ปุ่น ๕๐๐" ซึ่งถ้าหนังตำนานฯจะสร้างให้ตรงตามหลักฐาน ก็ควรมียศเป็นแค่ 'พระ' ไม่ใช่ 'ออกญา' แต่ก็มีความเป็นไปได้ว่าตำแหน่งนายกองทั้งหลายนี้น่าสงสัยว่าถูกแต่งเติมภายหลังเพราะไม่ค่อยสอดคล้องกับการทำศึกแก้ตัวอีกทั้งมีอภินิหารมากมาย แล้วก็ยังไม่เคยพบหลักฐานว่ามีการใช้ทินนาม 'เสนาภิมุข' ก่อนหน้ายามาดะ แต่สมัยหลังจะมีปรากฏใช้ โดยลูกชายยามาดะได้เป็น 'ออกขุนเสนาภิมุข' หลังจากบิดาได้เลื่อนเป็นออกญานคร ในตอนที่สมเด็จพระนารายณ์ล้มพระศรีสุธรรมราชาก็มี 'พระยาเสนาภิมุข' อยู่เหมือนกันครับ
ผู้นำชุมชนญี่ปุ่นหรือ 'นิฮงมาจิ' ในกรุงศรีอยุทธยาคนแรกที่ปรากฏชื่อคือ อะริมะ สุมิฮิโระ (有馬純廣 แปลไทยมาออกพระสุมิฮิโร ผมสงสัยว่าผู้แปลไปคิดว่า อะริมะ = ออกพระ รึเปล่า) เป็นตั้งแต่ พ.ศ.๒๑๔๓-๒๑๕๓ สันนิษฐานว่าเป็นตระกูลอาริมะเดียวกับที่เป็นเจ้าของเรือประทับตราแดงที่ทำการค้าอยู่ในแถบจามปา แต่ไม่มีหลักฐานว่าคนผู้นี้ใช้ทินนามว่า "เสนาภิมุข"'
ผู้นำชุมชนคนถัดมาคือ คิอิ คิวเอะมง (城井久右衛門 แต่แปลไทยเป็นคิวเอมอน ชิโรอิ) ซึ่งมีบรรดาศักดิ์แปลเป็นอังกฤษประมาณว่าออกขุน Sou Sattoru (สู้ศัตรู?) ภายหลังได้เลื่อนขึ้นเป็นออกหลวง แล้วเป็นออกพระ
จากนั้นจึงเป็นยามาดะซึ่งมีปรากฏว่าใน ค.ศ.๑๖๒๑ (พ.ศ.๒๑๖๔-สมัยพระเจ้าทรงธรรม) ได้เป็นผู้นำชุมชนญี่ปุ่นโดยมีบรรดาศักดิ์เป็น 'ขุนไชยสุร' (坤釆耶惇) (ตรงกับทินนามในกฏหมายตราสามดวงคือ 'หมื่นไชยสุร สมุบาญชีย นา ๕๐๐')
ตำแหน่งราชการของยามาดะก้าวหน้าขึ้นตามลำดับ ในศุภอักษรออกญาศรีธรรมราชถึง ซาไก ทาดาโยะ ระบุว่าเมื่อ ๓ ปีก่อนหน้าก่อนหน้ายามาดะส่งคณะทูตมาญี่ปุ่น (ประมาณ พ.ศ. ๒๑๖๖) นางามาสะซึ่งมีบรรดาศักดิ์เป็น “หลวงไชยสุร” (鸞釆野惇) จนถึง พ.ศ. ๒๑๖๙ จึงได้เลื่อนขึ้นเป็น “พระยาเสนาภิมุข” (陛浮哪司臘毘目) ตำแหน่งเจ้ากรมอาสาญี่ปุ่น ศักดินา ๑๐๐๐ ไร่
(ฉบับแปลไทยออกมาแปลผิดเป็น 'เมื่อ ๓ ปีมาแล้วหลวงไชยาสรรพเวลานี้เปน พระยาคุณรักษามนตรี ได้แต่งสำเภามาค้าขายในประเทศยี่ปุ่น แต่จนบัดนี้ยังมิได้กลับ')
แสดงความคิดเห็น
ออกญาเสนาภิมุข (ยามาดะ)