อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 4 กันยายน 2556 12:00
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
"เซ็นทรัลพัฒนา"เร่งขยายตลาดอาเซียนรับอำนาจซื้อ ทุ่ม 1.2 แสนล้านปักธง "มาเลเซีย-อินโดฯ-เวียดนาม" ผุด 30 สาขาภายใน 10-15 ปี เบียดคู่แข่ง
การรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ทำให้ภูมิภาคนี้มีศักยภาพสูงทั้งด้านจำนวนประชากร การหมุนเวียนของเศรษฐกิจ และกำลังซื้อมหาศาล เอื้อต่อการขยายธุรกิจค้าปลีก ซึ่งแต่ละประเทศอยู่ในช่วงของการเปลี่ยนผ่านจากค้าปลีกดั้งเดิมสู่ค้าปลีกสมัยใหม่ เป็นความได้เปรียบของ "ทุนค้าปลีกไทย" ที่วันนี้พรักพร้อมทั้งทุน โมเดลธุรกิจ และมีความได้เปรียบทางพื้นที่ยุทธศาสตร์โดยเฉพาะประเทศตะเข็บชายแดน ในการเร่งปักธงชิงโอกาสทางการตลาดก่อนคู่แข่งทั่วโลกที่ต่างมุ่งหน้าสู่อาเซียนเช่นกัน
นางสาววัลยา จิราธิวัฒน์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่สายงานพัฒนาธุรกิจและบริหารโครงการก่อสร้าง บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) (CPN) ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อการค้าปลีก เปิดเผยถึงนโยบายและทิศทางธุรกิจในระยะยาวว่า จะมุ่งขยายเครือข่ายธุรกิจศูนย์การค้าในภูมิภาคอาเซียน เจาะตลาดหลัก 3 ประเทศในเบื้องต้น ได้แก่ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และ เวียดนาม ซึ่งมีโอกาสและศักยภาพในการเติบโตสูง คาดว่าในแต่ละประเทศจะเปิดบริการศูนย์การค้าได้ไม่น้อยกว่า 10 แห่ง ภายใน 10-15 ปีข้างหน้า หรือจะมีเครือข่ายศูนย์การค้า "เซ็นทรัล" ให้บริการถึง 30 แห่ง ภายใต้งบลงทุนเฉลี่ย 4,000-5,000 ล้านบาทต่อแห่ง คิดเป็นเม็ดเงินลงทุนกว่า 1.2 แสนล้านบาท
ทั้งนี้ตลาดอาเซียนมีการลงทุนอย่างคึกคักในภาคค้าปลีก โดยเฉพาะ "มาเลเซีย" เป็นประเทศที่มีการเติบโตอย่างแข็งแกร่งทุกด้าน มีเศรษฐกิจที่ดีจากการเติบโตของภาคอุตสาหกรรม ซึ่งประชากรมาเลเซียมีรายได้เฉลี่ยสูงกว่าไทย 2 เท่า ขณะที่ยอดการค้าปลีกต่อประชากรของมาเลเซียสูงกว่าไทย 4 เท่า สะท้อนถึงอำนาจซื้อที่ดี แต่กลับมีสัดส่วนของโมเดิร์นเทรด หรือค้าปลีกสมัยใหม่ต่อประชากรน้อยกว่าไทยและสิงคโปร์อยู่มาก ประการสำคัญพฤติกรรมผู้บริโภคชาวมาเลเซียมีการเปลี่ยนแปลงเข้ามาอาศัยและทำงานในเมืองมากขึ้น มีชีวิตเร่งรีบ นิยมรับประทานอาหารนอกบ้าน ซื้อสินค้าในศูนย์การค้า สินค้าในกลุ่มที่ตอบสนองไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต แฟชั่น แบรนด์เนม เฟอร์นิเจอร์ มีแนวโน้มเติบโตสูง
"ตลาดค้าปลีกในอาเซียนยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นของการพัฒนาสู่ค้าปลีกสมัยใหม่ เช่นเดียวกับไทยในช่วง 10-20 ปีที่ผ่านมา ทั้งมาเลเซีย อินโดฯ และมาเลเซีย เป็นตลาดค้าปลีกดั้งเดิมเป็นส่วนใหญ่ เต็มไปด้วยผู้เล่นท้องถิ่น มีชอปปิงมอลล์เปิดบริการไม่น้อยแต่แข็งแรงไม่มาก และไม่ครบถ้วนในสินค้าและบริการนับเป็นก้าวสำคัญและความท้าทายของซีพีเอ็น ซึ่งการไปแต่ละประเทศของซีพีเอ็นมองระยะยาว ต้องสร้างสเกล หรือเครือข่ายธุรกิจ ไปโครงการเดียวไม่คุ้มลงทุน"
ซีพีเอ็นวางเป้าหมายระยะยาวก้าวสู่ผู้นำตลาดในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งหากเทียบเชิงปริมาณของเครือข่ายชอปปิงมอลล์ในปัจจุบันซีพีเอ็นอยู่ในลำดับ 3 ของตลาดรองจากกลุ่มแคปปิตอลมอลล์ ของสิงคโปร์ และเอสเอ็มไพร์มของฟิลิปปินส์ ที่รุกขยายตลาดในอาเซียนและประเทศจีน ปัจจุบันซีพีเอ็นมีเครือข่ายศูนย์การค้ารวม 21 แห่ง เพิ่มเป็น 23 แห่งในสิ้นปีนี้ และ 26 แห่งในสิ้นปีหน้า มั่นใจว่าจะก้าวเป็นผู้นำตลาดได้ภายในปี 2563
ผนึกจุดแข็งพันธมิตรท้องถิ่นบุกตลาด
การขยายตลาดในต่างประเทศของซีพีเอ็น จะใช้ทั้งลักษณะ "การร่วมทุน" และ "ซื้อกิจการ" โดยเฉพาะการสรรหาพันธมิตรร่วมทุนเป็นกลยุทธ์สำคัญในการเข้าใจตลาด พฤติกรรมผู้บริโภค และกฎหมายท้องถิ่น เป็นการผนวกจุดแข็งของประสบการณ์ธุรกิจ 32 ปี มีโมเดลธุรกิจหลากหลายพร้อมลงทุนสอดคล้องทำเลหรือตลาดประเทศนั้นๆ ขณะที่พันธมิตรท้องถิ่นจะดูแลในเรื่องของกฎหมาย การติดต่อหน่วยงานราชการ การขอใบอนุญาตต่างๆ เป็นต้น
"เรามองพันธมิตรหลายรูปแบบที่เหมาะกับประเทศนั้นๆ แต่ละประเทศคุยหลายราย เปิดกว้างการลงทุน ใช้จุดแข็งของพันธมิตรผนวกกับความแข็งแกร่งของซีพีเอ็นขยายตลาดด้วยกลยุทธ์ที่แตกต่าง เราไม่ต้องการเป็นผู้เล่นในตลาดระดับล่าง มุ่งเจาะตลาดระดับกลางและระดับบน ซึ่งมีช่องว่างและโอกาสสูง"
นางสาววัลยา กล่าวต่อว่า ยกตัวอย่างในมาเลเซีย มีศูนย์การค้าขนาดใหญ่ของอิออนมอลล์ แต่จับลูกค้าระดับกลางและระดับล่าง ขณะที่ซีพีเอ็นเป็นศูนย์การค้าไลฟ์สไตล์มอลล์ที่ผสมผสานการตลาดสำหรับคนรุ่นใหม่เป็นเทรนด์แห่งอนาคต
ปัจจุบัน ซีพีเอ็น อยู่ระหว่างเจรจาพันธมิตรธุรกิจทั้งใน อินโดฯ และ เวียดนาม เพื่อเข้าลงทุนเป็นลำดับต่อไป ขณะที่ "พม่า" ยังมีข้อจำกัดในเรื่องกฎหมาย ไม่เอื้อต่อการลงทุนมากนัก เช่นเดียวกับ "ลาว" ที่มีตลาดเล็กมาก
เล็งตั้งสำนักงานมาเลเซีย
พร้อมกันนี้ บริษัทเตรียมตั้งสำนักงานใหญ่ในประเทศมาเลเซียในสิ้นปีนี้หรือต้นปีหน้า ซึ่งจะเริ่มก่อสร้างโครงการเซ็นทรัล พลาซา ไอ-ซิตี้ (Central Plaza i-City) บนพื้นที่ 28 ไร่ พื้นที่โครงการ 2.7 แสน ตร.ม. พื้นที่ขาย 8.9 หมื่น ตร.ม. นับเป็นศูนย์การค้าแห่งแรกของซีพีเอ็นที่มาเลเซีย ในรูปแบบ “รีจินัล มอลล์” มูลค่า 580 ล้านริงกิต หรือ 5,800 ล้านบาท ในโครงการไอ-ซิตี้ เมืองเทคโนโลยีแห่งใหม่ของมาเลเซียในเมืองชาห์อลัม รัฐสลังงอร์ เป็นการร่วมทุนระหว่างซีพีเอ็น ถือหุ้นสัดส่วน 60% และ 40% เป็นของไอซีพี (ICP) บริษัทอสังหาริมทรัพย์ในเครือ ไอ-เบอร์ฮัด (I-Berhad) ยักษ์ใหญ่ด้านอสังหาริมทรัพย์ของมาเลเซีย ผู้พัฒนาโครงการไอ-ซิตี้ ซึ่งเป็นศูนย์กลางการใช้ชีวิตที่ครบวงจร เป็นทั้งย่านธุรกิจหลักของเมือง แหล่งที่อยู่อาศัย แหล่งพักผ่อนหย่อนใจที่มีความบันเทิงครบสมบูรณ์แบบ ด้วยศูนย์การค้า อาคารสำนักงานไซเบอร์ เซ็นเตอร์ สำนักงานของบริษัทชั้นนำ โรงแรม อาคารที่พักอาศัย พื้นที่ค้าปลีก สโนว์โดม และ เฟอร์ริส วีล และมีแผนที่จะพัฒนาเพอร์ฟอร์มมิ่ง อาร์ต เซ็นเตอร์ รองรับนักท่องเที่ยวในอนาคตด้วย
กลุ่มเป้าหมายของเซ็นทรัลพลาซา ไอ-ซิตี้ เป็นกลุ่มระดับกลางและระดับบน มีอำนาจการซื้อสูงในเมืองชาห์อลัม เมืองหลวงของรัฐสลังงอร์ มีประชากรมากกว่า 6 แสนคน มีการเติบโตของกลุ่มคนชั้นกลางที่มีกำลังซื้อสูงอย่างรวดเร็ว รวมถึงประชากรในรัฐสลังงอร์ที่มีมากกว่า 5 ล้านคน รวมถึงกลุ่มเป้าหมายในเมืองใกล้เคียง กำหนดเปิดบริการในปี 2559
สยายปีกในประเทศ 3 สาขาต่อปี
สำหรับการลงทุนในประเทศมีแผนขยายสาขา 3 แห่งต่อปี ภายใต้งบลงทุน 1.2-1.5 หมื่นล้านบาทต่อปี ภายในสิ้นปีนี้จะเปิดบริการอีก 2 สาขา ได้แก่ เซ็นทรัล เฟสติวัล เชียงใหม่ และ หาดใหญ่ ในปี 2557 มีแผนจะเปิดบริการสาขาสมุย สาขาศาลายา และสาขาระยอง โดยภาวะเศรษฐกิจและกำลังซื้อชะลอตัวขณะนี้ไม่กระทบต่อแผนการลงทุนของซีพีเอ็น ที่มองโอกาสธุรกิจระยะยาว
"เศรษฐกิจและการชะลอตัวทางการบริโภคไม่เป็นปัญหากับภาคธุรกิจ ที่เชื่อว่าปรับตัวเก่ง การที่ ซีพีเอ็น มีการลงทุนต่อเนื่อง เป็นส่วนผลักดันทำให้ธุรกิจและผลประกอบการของซีพีเอ็น มีการเติบโตต่อเนื่อง 10-15% ต่อปี มาโดยตลอด"
ซีพีเอ็นปักธงอาเซียนทุ่ม1.2แสนล.ผุด30มอลล์
วันที่ 4 กันยายน 2556 12:00
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
"เซ็นทรัลพัฒนา"เร่งขยายตลาดอาเซียนรับอำนาจซื้อ ทุ่ม 1.2 แสนล้านปักธง "มาเลเซีย-อินโดฯ-เวียดนาม" ผุด 30 สาขาภายใน 10-15 ปี เบียดคู่แข่ง
การรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ทำให้ภูมิภาคนี้มีศักยภาพสูงทั้งด้านจำนวนประชากร การหมุนเวียนของเศรษฐกิจ และกำลังซื้อมหาศาล เอื้อต่อการขยายธุรกิจค้าปลีก ซึ่งแต่ละประเทศอยู่ในช่วงของการเปลี่ยนผ่านจากค้าปลีกดั้งเดิมสู่ค้าปลีกสมัยใหม่ เป็นความได้เปรียบของ "ทุนค้าปลีกไทย" ที่วันนี้พรักพร้อมทั้งทุน โมเดลธุรกิจ และมีความได้เปรียบทางพื้นที่ยุทธศาสตร์โดยเฉพาะประเทศตะเข็บชายแดน ในการเร่งปักธงชิงโอกาสทางการตลาดก่อนคู่แข่งทั่วโลกที่ต่างมุ่งหน้าสู่อาเซียนเช่นกัน
นางสาววัลยา จิราธิวัฒน์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่สายงานพัฒนาธุรกิจและบริหารโครงการก่อสร้าง บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) (CPN) ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อการค้าปลีก เปิดเผยถึงนโยบายและทิศทางธุรกิจในระยะยาวว่า จะมุ่งขยายเครือข่ายธุรกิจศูนย์การค้าในภูมิภาคอาเซียน เจาะตลาดหลัก 3 ประเทศในเบื้องต้น ได้แก่ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และ เวียดนาม ซึ่งมีโอกาสและศักยภาพในการเติบโตสูง คาดว่าในแต่ละประเทศจะเปิดบริการศูนย์การค้าได้ไม่น้อยกว่า 10 แห่ง ภายใน 10-15 ปีข้างหน้า หรือจะมีเครือข่ายศูนย์การค้า "เซ็นทรัล" ให้บริการถึง 30 แห่ง ภายใต้งบลงทุนเฉลี่ย 4,000-5,000 ล้านบาทต่อแห่ง คิดเป็นเม็ดเงินลงทุนกว่า 1.2 แสนล้านบาท
ทั้งนี้ตลาดอาเซียนมีการลงทุนอย่างคึกคักในภาคค้าปลีก โดยเฉพาะ "มาเลเซีย" เป็นประเทศที่มีการเติบโตอย่างแข็งแกร่งทุกด้าน มีเศรษฐกิจที่ดีจากการเติบโตของภาคอุตสาหกรรม ซึ่งประชากรมาเลเซียมีรายได้เฉลี่ยสูงกว่าไทย 2 เท่า ขณะที่ยอดการค้าปลีกต่อประชากรของมาเลเซียสูงกว่าไทย 4 เท่า สะท้อนถึงอำนาจซื้อที่ดี แต่กลับมีสัดส่วนของโมเดิร์นเทรด หรือค้าปลีกสมัยใหม่ต่อประชากรน้อยกว่าไทยและสิงคโปร์อยู่มาก ประการสำคัญพฤติกรรมผู้บริโภคชาวมาเลเซียมีการเปลี่ยนแปลงเข้ามาอาศัยและทำงานในเมืองมากขึ้น มีชีวิตเร่งรีบ นิยมรับประทานอาหารนอกบ้าน ซื้อสินค้าในศูนย์การค้า สินค้าในกลุ่มที่ตอบสนองไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต แฟชั่น แบรนด์เนม เฟอร์นิเจอร์ มีแนวโน้มเติบโตสูง
"ตลาดค้าปลีกในอาเซียนยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นของการพัฒนาสู่ค้าปลีกสมัยใหม่ เช่นเดียวกับไทยในช่วง 10-20 ปีที่ผ่านมา ทั้งมาเลเซีย อินโดฯ และมาเลเซีย เป็นตลาดค้าปลีกดั้งเดิมเป็นส่วนใหญ่ เต็มไปด้วยผู้เล่นท้องถิ่น มีชอปปิงมอลล์เปิดบริการไม่น้อยแต่แข็งแรงไม่มาก และไม่ครบถ้วนในสินค้าและบริการนับเป็นก้าวสำคัญและความท้าทายของซีพีเอ็น ซึ่งการไปแต่ละประเทศของซีพีเอ็นมองระยะยาว ต้องสร้างสเกล หรือเครือข่ายธุรกิจ ไปโครงการเดียวไม่คุ้มลงทุน"
ซีพีเอ็นวางเป้าหมายระยะยาวก้าวสู่ผู้นำตลาดในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งหากเทียบเชิงปริมาณของเครือข่ายชอปปิงมอลล์ในปัจจุบันซีพีเอ็นอยู่ในลำดับ 3 ของตลาดรองจากกลุ่มแคปปิตอลมอลล์ ของสิงคโปร์ และเอสเอ็มไพร์มของฟิลิปปินส์ ที่รุกขยายตลาดในอาเซียนและประเทศจีน ปัจจุบันซีพีเอ็นมีเครือข่ายศูนย์การค้ารวม 21 แห่ง เพิ่มเป็น 23 แห่งในสิ้นปีนี้ และ 26 แห่งในสิ้นปีหน้า มั่นใจว่าจะก้าวเป็นผู้นำตลาดได้ภายในปี 2563
ผนึกจุดแข็งพันธมิตรท้องถิ่นบุกตลาด
การขยายตลาดในต่างประเทศของซีพีเอ็น จะใช้ทั้งลักษณะ "การร่วมทุน" และ "ซื้อกิจการ" โดยเฉพาะการสรรหาพันธมิตรร่วมทุนเป็นกลยุทธ์สำคัญในการเข้าใจตลาด พฤติกรรมผู้บริโภค และกฎหมายท้องถิ่น เป็นการผนวกจุดแข็งของประสบการณ์ธุรกิจ 32 ปี มีโมเดลธุรกิจหลากหลายพร้อมลงทุนสอดคล้องทำเลหรือตลาดประเทศนั้นๆ ขณะที่พันธมิตรท้องถิ่นจะดูแลในเรื่องของกฎหมาย การติดต่อหน่วยงานราชการ การขอใบอนุญาตต่างๆ เป็นต้น
"เรามองพันธมิตรหลายรูปแบบที่เหมาะกับประเทศนั้นๆ แต่ละประเทศคุยหลายราย เปิดกว้างการลงทุน ใช้จุดแข็งของพันธมิตรผนวกกับความแข็งแกร่งของซีพีเอ็นขยายตลาดด้วยกลยุทธ์ที่แตกต่าง เราไม่ต้องการเป็นผู้เล่นในตลาดระดับล่าง มุ่งเจาะตลาดระดับกลางและระดับบน ซึ่งมีช่องว่างและโอกาสสูง"
นางสาววัลยา กล่าวต่อว่า ยกตัวอย่างในมาเลเซีย มีศูนย์การค้าขนาดใหญ่ของอิออนมอลล์ แต่จับลูกค้าระดับกลางและระดับล่าง ขณะที่ซีพีเอ็นเป็นศูนย์การค้าไลฟ์สไตล์มอลล์ที่ผสมผสานการตลาดสำหรับคนรุ่นใหม่เป็นเทรนด์แห่งอนาคต
ปัจจุบัน ซีพีเอ็น อยู่ระหว่างเจรจาพันธมิตรธุรกิจทั้งใน อินโดฯ และ เวียดนาม เพื่อเข้าลงทุนเป็นลำดับต่อไป ขณะที่ "พม่า" ยังมีข้อจำกัดในเรื่องกฎหมาย ไม่เอื้อต่อการลงทุนมากนัก เช่นเดียวกับ "ลาว" ที่มีตลาดเล็กมาก
เล็งตั้งสำนักงานมาเลเซีย
พร้อมกันนี้ บริษัทเตรียมตั้งสำนักงานใหญ่ในประเทศมาเลเซียในสิ้นปีนี้หรือต้นปีหน้า ซึ่งจะเริ่มก่อสร้างโครงการเซ็นทรัล พลาซา ไอ-ซิตี้ (Central Plaza i-City) บนพื้นที่ 28 ไร่ พื้นที่โครงการ 2.7 แสน ตร.ม. พื้นที่ขาย 8.9 หมื่น ตร.ม. นับเป็นศูนย์การค้าแห่งแรกของซีพีเอ็นที่มาเลเซีย ในรูปแบบ “รีจินัล มอลล์” มูลค่า 580 ล้านริงกิต หรือ 5,800 ล้านบาท ในโครงการไอ-ซิตี้ เมืองเทคโนโลยีแห่งใหม่ของมาเลเซียในเมืองชาห์อลัม รัฐสลังงอร์ เป็นการร่วมทุนระหว่างซีพีเอ็น ถือหุ้นสัดส่วน 60% และ 40% เป็นของไอซีพี (ICP) บริษัทอสังหาริมทรัพย์ในเครือ ไอ-เบอร์ฮัด (I-Berhad) ยักษ์ใหญ่ด้านอสังหาริมทรัพย์ของมาเลเซีย ผู้พัฒนาโครงการไอ-ซิตี้ ซึ่งเป็นศูนย์กลางการใช้ชีวิตที่ครบวงจร เป็นทั้งย่านธุรกิจหลักของเมือง แหล่งที่อยู่อาศัย แหล่งพักผ่อนหย่อนใจที่มีความบันเทิงครบสมบูรณ์แบบ ด้วยศูนย์การค้า อาคารสำนักงานไซเบอร์ เซ็นเตอร์ สำนักงานของบริษัทชั้นนำ โรงแรม อาคารที่พักอาศัย พื้นที่ค้าปลีก สโนว์โดม และ เฟอร์ริส วีล และมีแผนที่จะพัฒนาเพอร์ฟอร์มมิ่ง อาร์ต เซ็นเตอร์ รองรับนักท่องเที่ยวในอนาคตด้วย
กลุ่มเป้าหมายของเซ็นทรัลพลาซา ไอ-ซิตี้ เป็นกลุ่มระดับกลางและระดับบน มีอำนาจการซื้อสูงในเมืองชาห์อลัม เมืองหลวงของรัฐสลังงอร์ มีประชากรมากกว่า 6 แสนคน มีการเติบโตของกลุ่มคนชั้นกลางที่มีกำลังซื้อสูงอย่างรวดเร็ว รวมถึงประชากรในรัฐสลังงอร์ที่มีมากกว่า 5 ล้านคน รวมถึงกลุ่มเป้าหมายในเมืองใกล้เคียง กำหนดเปิดบริการในปี 2559
สยายปีกในประเทศ 3 สาขาต่อปี
สำหรับการลงทุนในประเทศมีแผนขยายสาขา 3 แห่งต่อปี ภายใต้งบลงทุน 1.2-1.5 หมื่นล้านบาทต่อปี ภายในสิ้นปีนี้จะเปิดบริการอีก 2 สาขา ได้แก่ เซ็นทรัล เฟสติวัล เชียงใหม่ และ หาดใหญ่ ในปี 2557 มีแผนจะเปิดบริการสาขาสมุย สาขาศาลายา และสาขาระยอง โดยภาวะเศรษฐกิจและกำลังซื้อชะลอตัวขณะนี้ไม่กระทบต่อแผนการลงทุนของซีพีเอ็น ที่มองโอกาสธุรกิจระยะยาว
"เศรษฐกิจและการชะลอตัวทางการบริโภคไม่เป็นปัญหากับภาคธุรกิจ ที่เชื่อว่าปรับตัวเก่ง การที่ ซีพีเอ็น มีการลงทุนต่อเนื่อง เป็นส่วนผลักดันทำให้ธุรกิจและผลประกอบการของซีพีเอ็น มีการเติบโตต่อเนื่อง 10-15% ต่อปี มาโดยตลอด"