เนื้อหา ข่าว ดัง กล่าว คัดลอกบทความมา
มาจาก เวป
http://www.blognone.com/node/48182
ที่คัดลอก มาไม่มีเจตนา อย่างอื่น คือ อยากเผยแพร่ข่าว บอกต่อกันไป ครับ
ขออณุญาติ
http://www.blognone.com/ เพื่อนำข่าวมาเผยแผ่
ข่าวเด่นประจำสัปดาห์ ไมโครซอฟท์ประกาศเข้าซื้อโนเกีย 7.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ บทความนี้เป็นการเก็บรายละเอียดการซื้อกิจการ
อย่างแรกสุดเลยต้องย้ำก่อนว่า ไมโครซอฟท์ไม่ได้ซื้อโนเกียหมดทั้งบริษัท ซื้อเฉพาะส่วนมือถือเท่านั้น โนเกียยังอยู่ไม่หายไปไหนในฐานะบริษัทอิสระ เพียงแต่จะไปทำอย่างอื่นที่ไม่ใช่มือถือแทนเท่านั้นเอง
ไมโครซอฟท์อธิบายเรื่องการซื้อกิจการรอบนี้ไว้ค่อนข้างละเอียด มีสไลด์ประกอบอย่างดี ผมแปะสไลด์เวอร์ชันเต็มไว้ด้วยจะได้อ้างอิงกันง่ายๆ ส่วนรูปที่ใช้ประกอบบทความจะคัดมาเฉพาะสไลด์สำคัญๆ เท่านั้น
https://skydrive.live.com/view.aspx?cid=c40a1d599f9821a6&id=documents&resid=C40A1D599F9821A6%215375&app=WordPdf&authkey=!AOoPe9IRZOi2_Fk&
ลิ่งสไล้ ครับ
ใครซื้ออะไร
เริ่มต้นเราต้องมาดูรายละเอียดของ "ข้อตกลง" (หรือดีล) ที่ว่านี้ก่อนว่า ทั้งสองบริษัทตกลงอะไรกันบ้าง
จากสไลด์จะเห็นว่า ประเด็นหลักคือไมโครซอฟท์ซื้อหน่วยธุรกิจโทรศัพท์ (phone business) ของโนเกียเท่านั้น
สิ่งที่โนเกียเหลืออยู่ก็ตามที่ผมไฮไลท์สีเหลืองไว้ ได้แก่
ธุรกิจอุปกรณ์เครือข่าย NSN (Nokia Siemens Network เดิม โนเกียเพิ่งซื้อหุ้นส่วนของ Siemens คืนเมื่อเร็วๆ นี้ และเปลี่ยนชื่อเป็น Nokia Solutions and Networks)
ธุรกิจแผนที่ตระกูล HERE ซึ่งเป็นกิจการ NAVTEQ เดิมที่โนเกียซื้อมาอีกที
CTO Office อันนี้สำนักงานทั่วไป
สิทธิบัตรต่างๆ ของโนเกีย โนเกียยังเป็นเจ้าของอยู่
ในสไลด์ไม่ได้บอกไว้ชัด แต่โนเกียยังคงความเป็นเจ้าของ "แบรนด์" ของตัวเองไว้อยู่เช่นเดิม ไมโครซอฟท์ไม่ได้สิทธิทำสมาร์ทโฟนใต้แบรนด์โนเกีย (เรื่องแบรนด์จะกล่าวถึงต่อไป)
งานนี้นอกจากไมโครซอฟท์จะได้ธุรกิจมือถือที่เป็นหัวใจสำคัญแล้ว ก็ยังได้
"ความเป็นเจ้าของ" สิทธิบัตรบางส่วนของโนเกียที่ซื้อมาจาก Qualcomm อีกที
"สิทธิการใช้งาน" สิทธิบัตรของโนเกีย
"สิทธิการใช้งาน" แผนที่ HERE
ข้อตกลงครั้งนี้มีมูลค่ารวมตามตัวเลขในสไลด์ (แปลงเป็นดอลลาร์คือ 7.2 พันล้านดอลลาร์) โดยแยกส่วนการตีมูลค่าเป็นเรื่องของแผนกมือถือ และทรัพย์สินทางปัญญา
ในแง่โครงสร้างการบริหาร โนเกียจะยกธุรกิจมือถือทั้งหมดเข้ามาเป็นฝ่ายใหม่ของไมโครซอฟท์เลย พนักงานทั้งหมดในฝ่ายนี้จำนวน 32,000 คนจะโอนมาเป็นพนักงานของไมโครซอฟท์ (อย่าลืมว่าบริษัทโนเกียยังมีอยู่นะครับ) และผู้บริหารของโนเกียที่เห็นตามภาพก็จะกลายมาเป็นผู้บริหารของไมโครซอฟท์
ไมโครซอฟท์จะเรียกฝ่ายของโนเกียเดิมว่าเป็นฝ่าย "Devices" โดย Stephen Elop จะมาเป็นหัวหน้าของฝ่ายนี้ด้วย (รายงานตรงต่อ Steve Ballmer) ส่วนฝั่งของโนเกียจะเปลี่ยนตัวซีอีโอเป็น Risto Siilasmaa ประธานบอร์ดของโนเกียนั่งแทนไปพลางๆ ก่อน (แล้วหาซีอีโอตัวจริงต่อไป)
จากภาพ Risto Siilasmaa คือคนซ้ายมือ ตามมาด้วยผู้มีส่วนเกี่ยวข้องสำคัญคือ Steve Ballmer และ Stephen Elop
ลูกน้องเก่าของ Elop จะเข้ามาเป็นผู้บริหารของไมโครซอฟท์ และยังเป็นลูกน้องของ Elop ต่อไปดังเดิม
แต่ไมโครซอฟท์เองก็มีฝ่ายฮาร์ดแวร์อยู่แล้ว (Devices and Studios ที่คุมโดย Julie Larson-Green อดีตหัวหน้าทีมวินโดวส์) ในเบื้องต้นจะแยกกันบริหารไปก่อน แต่ Julie Larson-Green จะต้องรายงานตรงต่อ Elop แทน
เมื่อการควบกิจการใกล้เสร็จสิ้น (ผ่านกระบวนการอนุมัติของหน่วยงานภาครัฐแล้ว) ไมโครซอฟท์จะยุบสองฝ่ายนี้รวมกันเป็นฝ่ายใหม่ในอนาคต (ไว้ว่ากันอีกครั้ง)
ข้อมูลส่วนนี้นำมาจาก Steve Ballmer email to Microsoft employees on Nokia Devices & Services acquisition
แบรนด์
เรื่องแบรนด์ "โนเกีย" ยังน่าสับสนพอสมควรครับ เรื่องนี้อธิบายเป็นตัวเล็กๆ ไว้ในสไลด์
โนเกียยังเป็นเจ้าของแบรนด์ "Nokia" ดังเดิม
ไมโครซอฟท์ได้แบรนด์ Lumia และ Asha
ไมโครซอฟท์ได้สิทธิใช้ชื่อแบรนด์ Nokia สำหรับฟีเจอร์โฟนนาน 10 ปี
แบบสรุปๆ ก็คือ
เราจะได้เห็นแบรนด์ Microsoft Lumia และ Microsoft Asha แทน Nokia Lumia/Asha
เราจะเห็นฟีเจอร์โฟนแปะตรา Nokia ต่อไป แต่ผลิตโดยไมโครซอฟท์
อันนี้จะเหมือนกับ Lenovo ได้สิทธิแปะตรา IBM ต่อไปพักหนึ่ง และได้แบรนด์ ThinkPad เป็นสิทธิขาด
ทำไมต้องชื้อโนเกีย?
ไมโครซอฟท์อธิบายไว้ตามสไลด์ โดยเหตุผลหลักคือ 2 ข้อแรกครับ Accelerate Phone Share และ Strengthen Overall Opportunity
เริ่มจากส่วนแรกคือ Phone ก่อน
อันนี้คงไม่ต้องอธิบายอะไรกันมากเพราะโนเกียก็อยู่ในสภาพกึ่งเมืองขึ้นของไมโครซอฟท์มาได้ 2 ปีกว่าๆ แล้ว (นับตั้งแต่ช่วงต้นปี 2011) ยุทธศาสตร์ของไมโครซอฟท์นั้นชัดเจนว่าจะยังผลักดัน Windows Phone ต่อไป ยอดขายก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ (แม้ส่วนแบ่งตลาดยังไม่เยอะ) แต่ก็ชนะ BlackBerry ขึ้นมาเป็นขั้วที่สามได้อย่างชัดเจน
ในแง่ของแบรนด์ก็ชัดเจนในหมู่คนทั่วไปว่า Windows Phone = Nokia ตรงไปตรงมามาก
แต่ไมโครซอฟท์ก็ไม่ได้มองแค่มือถืออย่างเดียว ยังมองไปถึงเทคโนโลยีอื่นๆ ของโนเกีย เช่น กล้อง การสื่อสาร ฯลฯ รวมถึง form factor ใหม่ๆ ของอุปกรณ์พกพาในอนาคตด้วย ซึ่งกิจการฮาร์ดแวร์ของโนเกียตอบโจทย์อันนี้ได้
ส่วนที่สองคือ Strengthen Overall Opportunity เป็นเรื่องของโอกาสใหม่ๆ หลังการควบกิจการ
สังเกตจุดที่ผมวงไว้ในสไลด์นะครับ ไมโครซอฟท์เน้นย้ำคำว่า "devices" และ "services" มาก
ถ้าย้อนไปเปิดดูข่าวเก่า ไมโครซอฟท์ปรับโครงสร้างองค์กรครั้งใหญ่ ยุบหน่วยธุรกิจทั้งหมดเข้าด้วยกัน เน้นการประสานงานที่ดีขึ้น วิสัยทัศน์ใหม่ของไมโครซอฟท์คือ
Going forward, our strategy will focus on creating a family of devices and services for individuals and businesses that empower people around the globe at home, at work and on the go, for the activities they value most.
อันนี้ชัดเจนมากว่าการซื้อโนเกีย ตอบสนองเรื่อง devices จังๆ และมีเรื่อง services มาเกี่ยวข้องด้วยในส่วนของ HERE (geospatial) ตามที่ไฮไลท์สีไว้
สไลด์นี้ไมโครซอฟท์ขยายความในประเด็น "services"
Service ที่ไมโครซอฟท์มีอยู่แล้วคือ Office, Skype, Xbox Live, SkyDrive, Bing
ได้ส่วนของ geospatial/mapping ที่สำคัญต่อยุคแห่งอุปกรณ์พกพามาเสริมทัพ
ตรงที่ไฮไลท์สีส้ม ชัดเจนมากว่าไมโครซอฟท์ต้องการเป็น "ทางเลือก" นอกจากกูเกิล ในเรื่อง digital map of the world
ย้ำอีกรอบว่าไมโครซอฟท์ไม่ได้ซื้อ HERE แต่ขอสิทธิการใช้งานแทน ช่วยให้ไมโครซอฟท์มีทางเลือกในการนำข้อมูลจาก HERE ไปผสมผสานกับแหล่งข้อมูลอื่นๆ (เช่น อาจเป็น Tom Tom/Tele Atlas หรือพวก MapQuest ก็ได้) ส่วนโนเกียก็ยังคงสิทธิการนำ HERE ไปขายให้คนอื่นๆ ได้ดังเดิม ซึ่งน่าจะส่งผลไปถึงธุรกิจใหม่ๆ ของโนเกียในอนาคต (เช่น Nokia Connected Driving ที่เพิ่งเปิดตัว)
สไลด์นี้พูดถึง "devices" กับ "services" ว่าจะช่วยเสริมกันได้อย่างไร ไมโครซอฟท์อธิบายว่าในยุค consumerization of IT ผู้ใช้นั้นใช้อุปกรณ์เดียวกันทั้งที่บ้านและที่ทำงาน (ย้อนกลับไปอ่านวิสัยทัศน์ของไมโครซอฟท์อีกรอบ)
ไมโครซอฟท์ให้ความสำคัญกับ "โทรศัพท์" เพราะเป็นจุดที่สร้างมูลค่าจากการใช้งานได้เยอะ
ไมโครซอฟท์จะยังทำบริการของตัวเองให้ใช้ได้บน iOS/Android ต่อไป
แต่ไมโครซอฟท์ไม่สามารถเสี่ยงให้นวัตกรรมด้านมือถือเกิดจากแอปเปิล/กูเกิลเพียงสองบริษัทได้ (เป็นเหตุผลว่าทำไมต้องมาทำมือถือเอง)
ไมโครซอฟท์จึงจำเป็นต้องมี "Microsoft phone" คุณภาพดี (first-rate) มาแข่งขัน
สไลด์นี้ต่อจากสไลด์ข้างต้น อธิบายว่าการซื้อโนเกียนั้นช่วยการันตีอนาคตของ Windows Phone ระบบปฏิบัติการมือถือที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 (เชียวนะ)
จุดสำคัญในสไลด์คือคำว่า first party hardware โดยอธิบายว่าโมเดลการทำโทรศัพท์แบบ OEM อย่างเดียวนั้นแพงเกินไปสำหรับอุตสาหกรรมนี้
ไมโครซอฟท์ได้อะไรจากธุรกิจฮาร์ดแวร์ของโนเกียบ้าง? ในสไลด์อธิบายไว้ครบถ้วนดี แต่ผมอยากเน้นประเด็นที่คนไม่ค่อยให้ความสนใจนัก (แต่สำคัญไม่แพ้กัน)
ช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าของโนเกีย กว้างขวางมากจากประสบการณ์ในธุรกิจนี้อันยาวนาน
ซัพพลายเชนระดับโลก ผลิตมือถือขายทันแน่นอน
ช่องทางการขาย-สนับสนุนหลังการขายผ่านโอเปอเรเตอร์ ซึ่งในหลายๆ ประเทศ (อย่างสหรัฐ-ญี่ปุ่น-จีน-ยุโรป) สำคัญมากๆ
ความคุ้มค่าของดีล (ในสายตาของไมโครซอฟท์)
ตัวเลขที่ไมโครซอฟท์ประกาศคือ รายได้ของไมโครซอฟท์จะเพิ่มขึ้นทันที 14.9 พันล้านยูโร โดยคิดจาก 50% ของรายได้โนเกียทั้งบริษัทในปี 2012 (เพราะไม่ได้ซื้อทั้งบริษัท)
เรื่องไมโครซอฟท์-โนเกีย ต้องย้อนไปดูข้อตกลงเมื่อปี 2011 เพราะทั้งสองบริษัทนี้มีข้อตกลงเรื่องการใช้งาน Windows Phone ร่วมกันอยู่แล้ว (อายุสัญญา 5 ปีในช่วงแรก และเจรจาต่อในอีก 5 ปีหลัง)
จากสไลด์ ไมโครซอฟท์อธิบายว่าภายใต้สัญญาฉบับเดิม ไมโครซอฟท์จะได้เงินจากโนเกียเป็นค่า license การใช้ Windows Phone น้อยกว่า 10 ดอลลาร์ต่อเครื่อง โดยที่ไมโครซอฟท์ต้องจ่ายค่าวิจัย-พัฒนา-การตลาดให้
เมื่อเทียบกับสัญญาฉบับใหม่แล้ว ไมโครซอฟท์จะมีรายได้จากการขายมือถือของโนเกียประมาณ 40 ดอลลาร์ต่อเครื่อง (มากกว่าเห็นๆ) โดยที่ได้ประโยชน์เรื่องการพัฒนาที่เชื่อมกับฮาร์ดแวร์ของโนเกียเพิ่มเข้ามา และการตลาดก็จะได้เจาะจงมากขึ้น
ในวงสีแดง ไมโครซอฟท์ประเมินว่าจะคุ้มทุนในแง่การดำเนินงาน (operating income breakeven) ถ้าขายมือถือ smart device ได้มากกว่า 50 ล้านเครื่อง (เข้าใจว่าเป็นตัวเลขต่อปี)
ประเมินโอกาสตลาด เวอร์ชันไมโครซอฟท์ประเมินเอง
ปี 2018 โลกเราน่าจะมีสมาร์ทโฟนขายออกไป 1.7 พันล้านเครื่อง ไมโครซอฟท์หวังส่วนแบ่งตลาด 15% (ตัวเลขล่าสุดของ Gartner บอกว่า Windows Phone มี 3.3%, ComScore บอก 3.1%)
ไมโครซอฟท์ประเมินว่าจะมีรายรับ (revenue) จากการนี้ 45 พันล้านดอลลาร์ ถ้าคิดอัตราส่วนกำไรแบบหยาบๆ 10% ก็จะมีกำไร 4.5 พันล้านดอลลาร์ เกินครึ่งของเงินที่จ่ายออกไปแล้ว
สไลด์นี้น่าสนใจเพราะเป็นการประเมินความคุ้มค่าเรื่องสิทธิบัตร โดยรวมๆ แล้วสรุปได้ว่า การที่ไมโครซอฟท์ได้สิทธิใช้งานสิทธิบัตรของโนเกีย + สิทธิบัตรเดิมของไมโครซอฟท์เอง + สิทธิบัตรที่ไมโครซอฟท์เคยไปตกลงกับชาวบ้านไว้ (ชื่อตามสีเหลือง) ทำให้ไมโครซอฟท์มีสิทธิบัตรด้านอุปกรณ์พกพาในมือเป็นจำนวนมาก และถ้าตีเฉลี่ยออกมาเป็นต้นทุนแล้ว ไมโครซอฟท์จะมีต้นทุนด้านสิทธิบัตรถูกกว่าคู่แข่งอย่างมาก
ขั้นต่อไป ไมโครซอฟท์จะต้องยื่นเอกสารขออนุมัติการซื้อกิจการในหลายๆประเทศ
ไมโครซอฟท์ซื้อกิจการมือถือของโนเกีย
มาจาก เวป http://www.blognone.com/node/48182
ที่คัดลอก มาไม่มีเจตนา อย่างอื่น คือ อยากเผยแพร่ข่าว บอกต่อกันไป ครับ
ขออณุญาติ http://www.blognone.com/ เพื่อนำข่าวมาเผยแผ่
ข่าวเด่นประจำสัปดาห์ ไมโครซอฟท์ประกาศเข้าซื้อโนเกีย 7.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ บทความนี้เป็นการเก็บรายละเอียดการซื้อกิจการ
อย่างแรกสุดเลยต้องย้ำก่อนว่า ไมโครซอฟท์ไม่ได้ซื้อโนเกียหมดทั้งบริษัท ซื้อเฉพาะส่วนมือถือเท่านั้น โนเกียยังอยู่ไม่หายไปไหนในฐานะบริษัทอิสระ เพียงแต่จะไปทำอย่างอื่นที่ไม่ใช่มือถือแทนเท่านั้นเอง
ไมโครซอฟท์อธิบายเรื่องการซื้อกิจการรอบนี้ไว้ค่อนข้างละเอียด มีสไลด์ประกอบอย่างดี ผมแปะสไลด์เวอร์ชันเต็มไว้ด้วยจะได้อ้างอิงกันง่ายๆ ส่วนรูปที่ใช้ประกอบบทความจะคัดมาเฉพาะสไลด์สำคัญๆ เท่านั้น
https://skydrive.live.com/view.aspx?cid=c40a1d599f9821a6&id=documents&resid=C40A1D599F9821A6%215375&app=WordPdf&authkey=!AOoPe9IRZOi2_Fk&
ลิ่งสไล้ ครับ
ใครซื้ออะไร
เริ่มต้นเราต้องมาดูรายละเอียดของ "ข้อตกลง" (หรือดีล) ที่ว่านี้ก่อนว่า ทั้งสองบริษัทตกลงอะไรกันบ้าง
จากสไลด์จะเห็นว่า ประเด็นหลักคือไมโครซอฟท์ซื้อหน่วยธุรกิจโทรศัพท์ (phone business) ของโนเกียเท่านั้น
สิ่งที่โนเกียเหลืออยู่ก็ตามที่ผมไฮไลท์สีเหลืองไว้ ได้แก่
ธุรกิจอุปกรณ์เครือข่าย NSN (Nokia Siemens Network เดิม โนเกียเพิ่งซื้อหุ้นส่วนของ Siemens คืนเมื่อเร็วๆ นี้ และเปลี่ยนชื่อเป็น Nokia Solutions and Networks)
ธุรกิจแผนที่ตระกูล HERE ซึ่งเป็นกิจการ NAVTEQ เดิมที่โนเกียซื้อมาอีกที
CTO Office อันนี้สำนักงานทั่วไป
สิทธิบัตรต่างๆ ของโนเกีย โนเกียยังเป็นเจ้าของอยู่
ในสไลด์ไม่ได้บอกไว้ชัด แต่โนเกียยังคงความเป็นเจ้าของ "แบรนด์" ของตัวเองไว้อยู่เช่นเดิม ไมโครซอฟท์ไม่ได้สิทธิทำสมาร์ทโฟนใต้แบรนด์โนเกีย (เรื่องแบรนด์จะกล่าวถึงต่อไป)
งานนี้นอกจากไมโครซอฟท์จะได้ธุรกิจมือถือที่เป็นหัวใจสำคัญแล้ว ก็ยังได้
"ความเป็นเจ้าของ" สิทธิบัตรบางส่วนของโนเกียที่ซื้อมาจาก Qualcomm อีกที
"สิทธิการใช้งาน" สิทธิบัตรของโนเกีย
"สิทธิการใช้งาน" แผนที่ HERE
ข้อตกลงครั้งนี้มีมูลค่ารวมตามตัวเลขในสไลด์ (แปลงเป็นดอลลาร์คือ 7.2 พันล้านดอลลาร์) โดยแยกส่วนการตีมูลค่าเป็นเรื่องของแผนกมือถือ และทรัพย์สินทางปัญญา
ในแง่โครงสร้างการบริหาร โนเกียจะยกธุรกิจมือถือทั้งหมดเข้ามาเป็นฝ่ายใหม่ของไมโครซอฟท์เลย พนักงานทั้งหมดในฝ่ายนี้จำนวน 32,000 คนจะโอนมาเป็นพนักงานของไมโครซอฟท์ (อย่าลืมว่าบริษัทโนเกียยังมีอยู่นะครับ) และผู้บริหารของโนเกียที่เห็นตามภาพก็จะกลายมาเป็นผู้บริหารของไมโครซอฟท์
ไมโครซอฟท์จะเรียกฝ่ายของโนเกียเดิมว่าเป็นฝ่าย "Devices" โดย Stephen Elop จะมาเป็นหัวหน้าของฝ่ายนี้ด้วย (รายงานตรงต่อ Steve Ballmer) ส่วนฝั่งของโนเกียจะเปลี่ยนตัวซีอีโอเป็น Risto Siilasmaa ประธานบอร์ดของโนเกียนั่งแทนไปพลางๆ ก่อน (แล้วหาซีอีโอตัวจริงต่อไป)
จากภาพ Risto Siilasmaa คือคนซ้ายมือ ตามมาด้วยผู้มีส่วนเกี่ยวข้องสำคัญคือ Steve Ballmer และ Stephen Elop
ลูกน้องเก่าของ Elop จะเข้ามาเป็นผู้บริหารของไมโครซอฟท์ และยังเป็นลูกน้องของ Elop ต่อไปดังเดิม
แต่ไมโครซอฟท์เองก็มีฝ่ายฮาร์ดแวร์อยู่แล้ว (Devices and Studios ที่คุมโดย Julie Larson-Green อดีตหัวหน้าทีมวินโดวส์) ในเบื้องต้นจะแยกกันบริหารไปก่อน แต่ Julie Larson-Green จะต้องรายงานตรงต่อ Elop แทน
เมื่อการควบกิจการใกล้เสร็จสิ้น (ผ่านกระบวนการอนุมัติของหน่วยงานภาครัฐแล้ว) ไมโครซอฟท์จะยุบสองฝ่ายนี้รวมกันเป็นฝ่ายใหม่ในอนาคต (ไว้ว่ากันอีกครั้ง)
ข้อมูลส่วนนี้นำมาจาก Steve Ballmer email to Microsoft employees on Nokia Devices & Services acquisition
แบรนด์
เรื่องแบรนด์ "โนเกีย" ยังน่าสับสนพอสมควรครับ เรื่องนี้อธิบายเป็นตัวเล็กๆ ไว้ในสไลด์
โนเกียยังเป็นเจ้าของแบรนด์ "Nokia" ดังเดิม
ไมโครซอฟท์ได้แบรนด์ Lumia และ Asha
ไมโครซอฟท์ได้สิทธิใช้ชื่อแบรนด์ Nokia สำหรับฟีเจอร์โฟนนาน 10 ปี
แบบสรุปๆ ก็คือ
เราจะได้เห็นแบรนด์ Microsoft Lumia และ Microsoft Asha แทน Nokia Lumia/Asha
เราจะเห็นฟีเจอร์โฟนแปะตรา Nokia ต่อไป แต่ผลิตโดยไมโครซอฟท์
อันนี้จะเหมือนกับ Lenovo ได้สิทธิแปะตรา IBM ต่อไปพักหนึ่ง และได้แบรนด์ ThinkPad เป็นสิทธิขาด
ทำไมต้องชื้อโนเกีย?
ไมโครซอฟท์อธิบายไว้ตามสไลด์ โดยเหตุผลหลักคือ 2 ข้อแรกครับ Accelerate Phone Share และ Strengthen Overall Opportunity
เริ่มจากส่วนแรกคือ Phone ก่อน
อันนี้คงไม่ต้องอธิบายอะไรกันมากเพราะโนเกียก็อยู่ในสภาพกึ่งเมืองขึ้นของไมโครซอฟท์มาได้ 2 ปีกว่าๆ แล้ว (นับตั้งแต่ช่วงต้นปี 2011) ยุทธศาสตร์ของไมโครซอฟท์นั้นชัดเจนว่าจะยังผลักดัน Windows Phone ต่อไป ยอดขายก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ (แม้ส่วนแบ่งตลาดยังไม่เยอะ) แต่ก็ชนะ BlackBerry ขึ้นมาเป็นขั้วที่สามได้อย่างชัดเจน
ในแง่ของแบรนด์ก็ชัดเจนในหมู่คนทั่วไปว่า Windows Phone = Nokia ตรงไปตรงมามาก
แต่ไมโครซอฟท์ก็ไม่ได้มองแค่มือถืออย่างเดียว ยังมองไปถึงเทคโนโลยีอื่นๆ ของโนเกีย เช่น กล้อง การสื่อสาร ฯลฯ รวมถึง form factor ใหม่ๆ ของอุปกรณ์พกพาในอนาคตด้วย ซึ่งกิจการฮาร์ดแวร์ของโนเกียตอบโจทย์อันนี้ได้
ส่วนที่สองคือ Strengthen Overall Opportunity เป็นเรื่องของโอกาสใหม่ๆ หลังการควบกิจการ
สังเกตจุดที่ผมวงไว้ในสไลด์นะครับ ไมโครซอฟท์เน้นย้ำคำว่า "devices" และ "services" มาก
ถ้าย้อนไปเปิดดูข่าวเก่า ไมโครซอฟท์ปรับโครงสร้างองค์กรครั้งใหญ่ ยุบหน่วยธุรกิจทั้งหมดเข้าด้วยกัน เน้นการประสานงานที่ดีขึ้น วิสัยทัศน์ใหม่ของไมโครซอฟท์คือ
Going forward, our strategy will focus on creating a family of devices and services for individuals and businesses that empower people around the globe at home, at work and on the go, for the activities they value most.
อันนี้ชัดเจนมากว่าการซื้อโนเกีย ตอบสนองเรื่อง devices จังๆ และมีเรื่อง services มาเกี่ยวข้องด้วยในส่วนของ HERE (geospatial) ตามที่ไฮไลท์สีไว้
สไลด์นี้ไมโครซอฟท์ขยายความในประเด็น "services"
Service ที่ไมโครซอฟท์มีอยู่แล้วคือ Office, Skype, Xbox Live, SkyDrive, Bing
ได้ส่วนของ geospatial/mapping ที่สำคัญต่อยุคแห่งอุปกรณ์พกพามาเสริมทัพ
ตรงที่ไฮไลท์สีส้ม ชัดเจนมากว่าไมโครซอฟท์ต้องการเป็น "ทางเลือก" นอกจากกูเกิล ในเรื่อง digital map of the world
ย้ำอีกรอบว่าไมโครซอฟท์ไม่ได้ซื้อ HERE แต่ขอสิทธิการใช้งานแทน ช่วยให้ไมโครซอฟท์มีทางเลือกในการนำข้อมูลจาก HERE ไปผสมผสานกับแหล่งข้อมูลอื่นๆ (เช่น อาจเป็น Tom Tom/Tele Atlas หรือพวก MapQuest ก็ได้) ส่วนโนเกียก็ยังคงสิทธิการนำ HERE ไปขายให้คนอื่นๆ ได้ดังเดิม ซึ่งน่าจะส่งผลไปถึงธุรกิจใหม่ๆ ของโนเกียในอนาคต (เช่น Nokia Connected Driving ที่เพิ่งเปิดตัว)
สไลด์นี้พูดถึง "devices" กับ "services" ว่าจะช่วยเสริมกันได้อย่างไร ไมโครซอฟท์อธิบายว่าในยุค consumerization of IT ผู้ใช้นั้นใช้อุปกรณ์เดียวกันทั้งที่บ้านและที่ทำงาน (ย้อนกลับไปอ่านวิสัยทัศน์ของไมโครซอฟท์อีกรอบ)
ไมโครซอฟท์ให้ความสำคัญกับ "โทรศัพท์" เพราะเป็นจุดที่สร้างมูลค่าจากการใช้งานได้เยอะ
ไมโครซอฟท์จะยังทำบริการของตัวเองให้ใช้ได้บน iOS/Android ต่อไป
แต่ไมโครซอฟท์ไม่สามารถเสี่ยงให้นวัตกรรมด้านมือถือเกิดจากแอปเปิล/กูเกิลเพียงสองบริษัทได้ (เป็นเหตุผลว่าทำไมต้องมาทำมือถือเอง)
ไมโครซอฟท์จึงจำเป็นต้องมี "Microsoft phone" คุณภาพดี (first-rate) มาแข่งขัน
สไลด์นี้ต่อจากสไลด์ข้างต้น อธิบายว่าการซื้อโนเกียนั้นช่วยการันตีอนาคตของ Windows Phone ระบบปฏิบัติการมือถือที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 (เชียวนะ)
จุดสำคัญในสไลด์คือคำว่า first party hardware โดยอธิบายว่าโมเดลการทำโทรศัพท์แบบ OEM อย่างเดียวนั้นแพงเกินไปสำหรับอุตสาหกรรมนี้
ไมโครซอฟท์ได้อะไรจากธุรกิจฮาร์ดแวร์ของโนเกียบ้าง? ในสไลด์อธิบายไว้ครบถ้วนดี แต่ผมอยากเน้นประเด็นที่คนไม่ค่อยให้ความสนใจนัก (แต่สำคัญไม่แพ้กัน)
ช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าของโนเกีย กว้างขวางมากจากประสบการณ์ในธุรกิจนี้อันยาวนาน
ซัพพลายเชนระดับโลก ผลิตมือถือขายทันแน่นอน
ช่องทางการขาย-สนับสนุนหลังการขายผ่านโอเปอเรเตอร์ ซึ่งในหลายๆ ประเทศ (อย่างสหรัฐ-ญี่ปุ่น-จีน-ยุโรป) สำคัญมากๆ
ความคุ้มค่าของดีล (ในสายตาของไมโครซอฟท์)
ตัวเลขที่ไมโครซอฟท์ประกาศคือ รายได้ของไมโครซอฟท์จะเพิ่มขึ้นทันที 14.9 พันล้านยูโร โดยคิดจาก 50% ของรายได้โนเกียทั้งบริษัทในปี 2012 (เพราะไม่ได้ซื้อทั้งบริษัท)
เรื่องไมโครซอฟท์-โนเกีย ต้องย้อนไปดูข้อตกลงเมื่อปี 2011 เพราะทั้งสองบริษัทนี้มีข้อตกลงเรื่องการใช้งาน Windows Phone ร่วมกันอยู่แล้ว (อายุสัญญา 5 ปีในช่วงแรก และเจรจาต่อในอีก 5 ปีหลัง)
จากสไลด์ ไมโครซอฟท์อธิบายว่าภายใต้สัญญาฉบับเดิม ไมโครซอฟท์จะได้เงินจากโนเกียเป็นค่า license การใช้ Windows Phone น้อยกว่า 10 ดอลลาร์ต่อเครื่อง โดยที่ไมโครซอฟท์ต้องจ่ายค่าวิจัย-พัฒนา-การตลาดให้
เมื่อเทียบกับสัญญาฉบับใหม่แล้ว ไมโครซอฟท์จะมีรายได้จากการขายมือถือของโนเกียประมาณ 40 ดอลลาร์ต่อเครื่อง (มากกว่าเห็นๆ) โดยที่ได้ประโยชน์เรื่องการพัฒนาที่เชื่อมกับฮาร์ดแวร์ของโนเกียเพิ่มเข้ามา และการตลาดก็จะได้เจาะจงมากขึ้น
ในวงสีแดง ไมโครซอฟท์ประเมินว่าจะคุ้มทุนในแง่การดำเนินงาน (operating income breakeven) ถ้าขายมือถือ smart device ได้มากกว่า 50 ล้านเครื่อง (เข้าใจว่าเป็นตัวเลขต่อปี)
ประเมินโอกาสตลาด เวอร์ชันไมโครซอฟท์ประเมินเอง
ปี 2018 โลกเราน่าจะมีสมาร์ทโฟนขายออกไป 1.7 พันล้านเครื่อง ไมโครซอฟท์หวังส่วนแบ่งตลาด 15% (ตัวเลขล่าสุดของ Gartner บอกว่า Windows Phone มี 3.3%, ComScore บอก 3.1%)
ไมโครซอฟท์ประเมินว่าจะมีรายรับ (revenue) จากการนี้ 45 พันล้านดอลลาร์ ถ้าคิดอัตราส่วนกำไรแบบหยาบๆ 10% ก็จะมีกำไร 4.5 พันล้านดอลลาร์ เกินครึ่งของเงินที่จ่ายออกไปแล้ว
สไลด์นี้น่าสนใจเพราะเป็นการประเมินความคุ้มค่าเรื่องสิทธิบัตร โดยรวมๆ แล้วสรุปได้ว่า การที่ไมโครซอฟท์ได้สิทธิใช้งานสิทธิบัตรของโนเกีย + สิทธิบัตรเดิมของไมโครซอฟท์เอง + สิทธิบัตรที่ไมโครซอฟท์เคยไปตกลงกับชาวบ้านไว้ (ชื่อตามสีเหลือง) ทำให้ไมโครซอฟท์มีสิทธิบัตรด้านอุปกรณ์พกพาในมือเป็นจำนวนมาก และถ้าตีเฉลี่ยออกมาเป็นต้นทุนแล้ว ไมโครซอฟท์จะมีต้นทุนด้านสิทธิบัตรถูกกว่าคู่แข่งอย่างมาก
ขั้นต่อไป ไมโครซอฟท์จะต้องยื่นเอกสารขออนุมัติการซื้อกิจการในหลายๆประเทศ