ผมมีปัญหาสายตา จึงไม่ค่อยได้เขียนกระทู้ หรือตอบกระทู้ในช่วงนี้ แต่ติดตามอยู่เสมอครับ
แต่...เห็นข่าวการชุมนุมของพี่น้องท่ีภาคใต้เมื่อวานแล้ว ก็อดไม่ได้ที่จะเขียนถึง เผื่อท่านเหล่านั้นได้อ่านบ้าง จะได้เข้าใจถึงจิตใจคนอิสาน ที่ต้องฝ่าฟันความแห้งแล้งกันดาร อยู่กันมาอย่างอดทน ดิ้นรน และไม่เคยท้อถอย
ผมทำธุรกิจโรงพิมพ์เล็กๆ มีพนักงานไม่ถึง 40 คน ในขณะเดียวกันก็ทำนา และปลูกยางพาราไปด้วย จึงพอมีความเข้าใจหัวอกของในแต่ละภาคส่วนเป็นอย่างดี
การทำโรงพิมพ์ต้องอาศัยเครื่องจักรหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นเครื่องออกเพลท เครื่องพิมพ์ เครื่องตัด เครื่องพับ เครื่องเย็บ เครื่องเคลือบ เครื่องปั๊ม ฯลฯ ถ้าคิดคร่าวๆ แค่ราคามือสอง ก็ปาไปไม่ต่ำกว่า 20 ล้านบาท หนี้สินที่แบกจึงเป็นเหมือนกองไฟที่สุมอยู่ใต้ก้นตลอดเวลา
- ต้องแข่งขัน
- ต้องตื่นตัว
- ต้องปรับตัวอยู่เสมอ
สิ่งที่หน้ากลัวที่สุดคือเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เข้าแทนที่ ในขณะที่เรายังคงใช้เครื่องจักรแบบเดิมๆ อยู่ เพราะของใหม่ๆ ราคาสูงนั่นเอง
ความเสี่ยงของธุรกิจจึงมีมาก
- เสี่ยงที่ล้มละลาย
- เสี่ยงที่จะมีหนี้สินล้นพ้นตัว
เสี่ยงเหมือนยืนอยู่บนหน้าผาที่สูงชันประมาณนั้นเลยทีเดียว
สิ่งที่ทำได้ดีที่สุดในการทำธุรกิจ คือต้องลดต้นทุน (ย้ำ! ต้องลดต้นทุน) ต้องลดขั้นตอน ต้องลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นออกไป และต้องพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ อยู่เสมอๆ
หากล้มละลายไป ทางออกคือการประนอมหนี้ ลุกขึ้นสู้ใหม่ หรือยอมรับชะตากรรม ยอมรับความพ่ายแพ้ล้มเหลว
แต่ตราบใดที่ล้มหายใจยังมี
คงไม่ไปปิดถนนหนทางที่ไหน เพราะคำว่าศักดิ์ศรีความเป็นเลือดนักสู้ ศักดิ์ศรีความเป็นคนอิสานยังค้ำคออยู่
........................................................................................................................
อาชีพอีกหนึ่งของผมคือ ทำนา
ผมเกิดในตระกูลชาวนาเต็มขั้น ผ่านน้ำท่วม ผ่านฝนแล้ง ผ่านเพลี้ยหนอนจนชาชิน บางปีไม่ได้ข้าวแม้สักเม็ด เพราะเพลี้ยลงจนเกลี้ยง บางปีข้าวแห้งตายเพราะฝนทิ้งช่วง
ชาวนาที่สุรินทร์ทำปีละครั้ง ต้องเหงนมองดูฟ้าทุกวัน ว่าเมื่อไหร่ฝนจะตก อาการนี้เป็นทุกคน คือ เหงนคอตั้งบ่า
ทำนาก็ไม่ได้มากมายอะไร แต่ละบ้านก็ได้กันคนละ 1-5 ตันเป็นอย่างมาก ราคาตันละ 3,000-4,000 บาท เมื่อ 20 กว่าปีที่แล้ว และครองราคานี้มาอย่างต่อเนื่องยาวนาน หรือบางปีได้ 7,000 บาท ก็ดีใจแทบแย่
ขาดทุนยับครับ ถ้าคิดค่าแรง ถ้าคิดค่าควาย ค่าคิดค่ายา ค่าปุ๋ย
ยิ่งทุกวันนี้ด้วย ต้องใช้รถไถ รถเกี่ยวด้วยแล้ว ไม่ต้องพูดถึง ต่อให้ตันละ 15,000 บาท ก็ยังหากำไรแทบไม่ได้ ยืนยันได้
ชาวนาที่บ้านผม จึงมีการเปลี่ยนอาชีพมาปลูกยางพารากันมาก รวมทั้งผมด้วย
ของพ่อเพิ่งได้กรีดเมื่อปีที่แล้ว ของญาติๆ เขาปลูกกันมาประมาณ 10 ปีกว่าแล้ว มีรายได้ดีมากๆ แค่ 3 ไร่ที่เคยปลูกข้าวได้ไม่ถึง 2 ตันต่อปี บัดนี้ที่ต้นยางแค่ 200 ต้น สามารถเลี้ยงครอบครัวได้แล้ว
......................................................................................
อาชีพหนึ่งของผมคือ ทำสวนยางพารา
ผมเพิ่งปลูกยางพาราได้ 2 ปี บนที่ ๆ เคยทำนามาก่อน แต่เจอแล้งติดต่อกัน จึงหันมาปลูกยาง
ต้องเจาะบาดาลเพื่อรดน้ำ (บาดาลยังออกกระปริดกระปรอย) ไม่งั้นต้นจะตายเพราะแล้งมาก ขนาดต้นเป็น 10 ปีแล้ว ยังยืนต้นตายเป็นแถว ๆ
อยู่กรุงเทพฯ ครับ แต่เสาร์-อาทิตย์ จะกลับบ้านไปดูแลสวนยาง อันเป็นความหวังที่สูงสุดในขณะนี้ หากไม่ทำโรงพิมพ์ก็คงจะไปกรีดยาง คิดไปแล้วมีความสุขนะครับ
คนภาคใต้อาจจะไม่คุ้นเคยกับภาพคนแบกแกลลอน 20 ลิตรเพื่อรดน้ำต้นยาง ผมทำเองครับ ขนน้ำใส่รถ 20 กว่าแกลลอนไกลเกือบ 3 กิโลเมตร เพื่อไปรดต้นยางพารา ถามว่าเหนื่อยไหม เหนื่อยครับ แต่มีความสุขมากกว่า
ที่สุรินทร์ทำสวนยางต้องรดน้ำครับ
ปีที่แล้วตายกันทุกสวน บางที่หมดทั้งสวนเลย ต้น 10 ปีแล้วนะครับยังตาย บาดาลน้ำก็ไม่ออกครับ
ตอนนี้ ขณะนี้ ที่บ้านยังไม่ได้กรีดยางกัน เพราะเสี่ยงกลัวต้นยางจะตาย เพราะแล้งที่ผ่านมาทำให้ขยาดกันไปหมด
แต่...
- ชาวสวนยางที่นี่ ไม่ปิดถนน
- ชาวสวนยางที่นี่ ไม่ร้องแรกแหกกระเชอ
- ชาวสวนยางที่นี่ ไม่หมดหนทาง
- ชาวสวนยางที่นี่ ไม่สิ้นไร้ไม้ตอก
- ชาวสวนยางที่นี่ ไปรับทำก่อสร้างที่เมือง ที่กรุงเทพ ไปรับจ้างตัดอ้อยแถวสุพรรณบุรี
ยังคงก้มหน้ารับชะตากรรม เพราะคุ้นชินกับมันตั้งแต่เกิด
เราถือว่า...
- ตราบใดที่เรายังมีชีวิต ตราบนั้นยังมีหวัง
- ตราบใดที่ต้นยางยังไม่ตาย เราจะไปรับจ้างทำอย่างอื่นไปก่อน รอราคายางขึ้นแล้วค่อยกรีด
- ตราบใดที่เรายังไม่ได้ลดต้นทุนการผลิต เราจะไม่บอกว่า ขาดทุน
สรุปว่า....
การทำธุรกิจ ทุกวันเวลานาทีคือความตื่นตัว คือความเสี่ยง คือความแข่งขัน
การทำนา ทุกวันคือความวิตกกังวล ทั้งเรื่องฟ้าฝน เรื่องแมลงต่าง ๆ ที่จะมากัดกิน เรื่องราคาปุ๋ย ราคายา เรื่องราคาขายท่ี่ไม่แน่นอน
การทำสวนยาง ทุกวันคือความสุข คือความหวัง สุขที่เห็นการเจริญเติบโตของต้นยาง สุขที่ไม่ต้องแหงนคอรอฟ้าฝน สุขที่ไม่ต้องเสี่ยงการล้มละลาย
แม้ยางราคาตก หากต้นยางยังอยู่ ก็ไม่ถึงกับสิ้นเนื้อประดาตัว และอยู่ได้ตามอัตภาพ เรา...เชื่อ...อย่างนั้น...จริงๆ
ทำสวนยางพารา ทำนา และทำธุรกิจ หนึ่งความสุข หนึ่งความทุกข์ และหนึ่งความเสี่ยง
แต่...เห็นข่าวการชุมนุมของพี่น้องท่ีภาคใต้เมื่อวานแล้ว ก็อดไม่ได้ที่จะเขียนถึง เผื่อท่านเหล่านั้นได้อ่านบ้าง จะได้เข้าใจถึงจิตใจคนอิสาน ที่ต้องฝ่าฟันความแห้งแล้งกันดาร อยู่กันมาอย่างอดทน ดิ้นรน และไม่เคยท้อถอย
ผมทำธุรกิจโรงพิมพ์เล็กๆ มีพนักงานไม่ถึง 40 คน ในขณะเดียวกันก็ทำนา และปลูกยางพาราไปด้วย จึงพอมีความเข้าใจหัวอกของในแต่ละภาคส่วนเป็นอย่างดี
การทำโรงพิมพ์ต้องอาศัยเครื่องจักรหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นเครื่องออกเพลท เครื่องพิมพ์ เครื่องตัด เครื่องพับ เครื่องเย็บ เครื่องเคลือบ เครื่องปั๊ม ฯลฯ ถ้าคิดคร่าวๆ แค่ราคามือสอง ก็ปาไปไม่ต่ำกว่า 20 ล้านบาท หนี้สินที่แบกจึงเป็นเหมือนกองไฟที่สุมอยู่ใต้ก้นตลอดเวลา
- ต้องแข่งขัน
- ต้องตื่นตัว
- ต้องปรับตัวอยู่เสมอ
สิ่งที่หน้ากลัวที่สุดคือเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เข้าแทนที่ ในขณะที่เรายังคงใช้เครื่องจักรแบบเดิมๆ อยู่ เพราะของใหม่ๆ ราคาสูงนั่นเอง
ความเสี่ยงของธุรกิจจึงมีมาก
- เสี่ยงที่ล้มละลาย
- เสี่ยงที่จะมีหนี้สินล้นพ้นตัว
เสี่ยงเหมือนยืนอยู่บนหน้าผาที่สูงชันประมาณนั้นเลยทีเดียว
สิ่งที่ทำได้ดีที่สุดในการทำธุรกิจ คือต้องลดต้นทุน (ย้ำ! ต้องลดต้นทุน) ต้องลดขั้นตอน ต้องลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นออกไป และต้องพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ อยู่เสมอๆ
หากล้มละลายไป ทางออกคือการประนอมหนี้ ลุกขึ้นสู้ใหม่ หรือยอมรับชะตากรรม ยอมรับความพ่ายแพ้ล้มเหลว
แต่ตราบใดที่ล้มหายใจยังมี
คงไม่ไปปิดถนนหนทางที่ไหน เพราะคำว่าศักดิ์ศรีความเป็นเลือดนักสู้ ศักดิ์ศรีความเป็นคนอิสานยังค้ำคออยู่
........................................................................................................................
อาชีพอีกหนึ่งของผมคือ ทำนา
ผมเกิดในตระกูลชาวนาเต็มขั้น ผ่านน้ำท่วม ผ่านฝนแล้ง ผ่านเพลี้ยหนอนจนชาชิน บางปีไม่ได้ข้าวแม้สักเม็ด เพราะเพลี้ยลงจนเกลี้ยง บางปีข้าวแห้งตายเพราะฝนทิ้งช่วง
ชาวนาที่สุรินทร์ทำปีละครั้ง ต้องเหงนมองดูฟ้าทุกวัน ว่าเมื่อไหร่ฝนจะตก อาการนี้เป็นทุกคน คือ เหงนคอตั้งบ่า
ทำนาก็ไม่ได้มากมายอะไร แต่ละบ้านก็ได้กันคนละ 1-5 ตันเป็นอย่างมาก ราคาตันละ 3,000-4,000 บาท เมื่อ 20 กว่าปีที่แล้ว และครองราคานี้มาอย่างต่อเนื่องยาวนาน หรือบางปีได้ 7,000 บาท ก็ดีใจแทบแย่
ขาดทุนยับครับ ถ้าคิดค่าแรง ถ้าคิดค่าควาย ค่าคิดค่ายา ค่าปุ๋ย
ยิ่งทุกวันนี้ด้วย ต้องใช้รถไถ รถเกี่ยวด้วยแล้ว ไม่ต้องพูดถึง ต่อให้ตันละ 15,000 บาท ก็ยังหากำไรแทบไม่ได้ ยืนยันได้
ชาวนาที่บ้านผม จึงมีการเปลี่ยนอาชีพมาปลูกยางพารากันมาก รวมทั้งผมด้วย
ของพ่อเพิ่งได้กรีดเมื่อปีที่แล้ว ของญาติๆ เขาปลูกกันมาประมาณ 10 ปีกว่าแล้ว มีรายได้ดีมากๆ แค่ 3 ไร่ที่เคยปลูกข้าวได้ไม่ถึง 2 ตันต่อปี บัดนี้ที่ต้นยางแค่ 200 ต้น สามารถเลี้ยงครอบครัวได้แล้ว
......................................................................................
อาชีพหนึ่งของผมคือ ทำสวนยางพารา
ผมเพิ่งปลูกยางพาราได้ 2 ปี บนที่ ๆ เคยทำนามาก่อน แต่เจอแล้งติดต่อกัน จึงหันมาปลูกยาง
ต้องเจาะบาดาลเพื่อรดน้ำ (บาดาลยังออกกระปริดกระปรอย) ไม่งั้นต้นจะตายเพราะแล้งมาก ขนาดต้นเป็น 10 ปีแล้ว ยังยืนต้นตายเป็นแถว ๆ
อยู่กรุงเทพฯ ครับ แต่เสาร์-อาทิตย์ จะกลับบ้านไปดูแลสวนยาง อันเป็นความหวังที่สูงสุดในขณะนี้ หากไม่ทำโรงพิมพ์ก็คงจะไปกรีดยาง คิดไปแล้วมีความสุขนะครับ
คนภาคใต้อาจจะไม่คุ้นเคยกับภาพคนแบกแกลลอน 20 ลิตรเพื่อรดน้ำต้นยาง ผมทำเองครับ ขนน้ำใส่รถ 20 กว่าแกลลอนไกลเกือบ 3 กิโลเมตร เพื่อไปรดต้นยางพารา ถามว่าเหนื่อยไหม เหนื่อยครับ แต่มีความสุขมากกว่า
ที่สุรินทร์ทำสวนยางต้องรดน้ำครับ
ปีที่แล้วตายกันทุกสวน บางที่หมดทั้งสวนเลย ต้น 10 ปีแล้วนะครับยังตาย บาดาลน้ำก็ไม่ออกครับ
ตอนนี้ ขณะนี้ ที่บ้านยังไม่ได้กรีดยางกัน เพราะเสี่ยงกลัวต้นยางจะตาย เพราะแล้งที่ผ่านมาทำให้ขยาดกันไปหมด
แต่...
- ชาวสวนยางที่นี่ ไม่ปิดถนน
- ชาวสวนยางที่นี่ ไม่ร้องแรกแหกกระเชอ
- ชาวสวนยางที่นี่ ไม่หมดหนทาง
- ชาวสวนยางที่นี่ ไม่สิ้นไร้ไม้ตอก
- ชาวสวนยางที่นี่ ไปรับทำก่อสร้างที่เมือง ที่กรุงเทพ ไปรับจ้างตัดอ้อยแถวสุพรรณบุรี
ยังคงก้มหน้ารับชะตากรรม เพราะคุ้นชินกับมันตั้งแต่เกิด
เราถือว่า...
- ตราบใดที่เรายังมีชีวิต ตราบนั้นยังมีหวัง
- ตราบใดที่ต้นยางยังไม่ตาย เราจะไปรับจ้างทำอย่างอื่นไปก่อน รอราคายางขึ้นแล้วค่อยกรีด
- ตราบใดที่เรายังไม่ได้ลดต้นทุนการผลิต เราจะไม่บอกว่า ขาดทุน
สรุปว่า....
การทำธุรกิจ ทุกวันเวลานาทีคือความตื่นตัว คือความเสี่ยง คือความแข่งขัน
การทำนา ทุกวันคือความวิตกกังวล ทั้งเรื่องฟ้าฝน เรื่องแมลงต่าง ๆ ที่จะมากัดกิน เรื่องราคาปุ๋ย ราคายา เรื่องราคาขายท่ี่ไม่แน่นอน
การทำสวนยาง ทุกวันคือความสุข คือความหวัง สุขที่เห็นการเจริญเติบโตของต้นยาง สุขที่ไม่ต้องแหงนคอรอฟ้าฝน สุขที่ไม่ต้องเสี่ยงการล้มละลาย
แม้ยางราคาตก หากต้นยางยังอยู่ ก็ไม่ถึงกับสิ้นเนื้อประดาตัว และอยู่ได้ตามอัตภาพ เรา...เชื่อ...อย่างนั้น...จริงๆ