ประเพณีผู้หญิงเปลี่ยนนามสกุลตามสามีเริ่มมาจากไหน? และเพราะอะไร?

กระทู้นี้แตกประเด็นมาจาก http://ppantip.com/topic/30903225

จากกระทู้ด้านบนค่ะ จะเห็นว่าในสังคมจะมองว่าการที่ผู้หญิงเปลี่ยนนามสกุลตามสามีเมื่อแต่งงาน เป็นประเพณีที่ทำกันมานาน และถึงแม้ปัจจุบันก็ไม่ได้ถูกกำหนดเป็นข้อกฎหมายว่า"ต้อง"ทำ แต่ก็จะมีผู้ชายส่วนหนึ่งคิดเสมอว่าถึงภรรยาไม่เปลี่ยน แต่ถ้ามีลูกก็ต้องให้ลูกใช้นามสกุลของตน (คล้ายกับเป็นสัญชาตญานการดำรงเผ่าพันธุ์ของเพศผู้..) ทั้งที่ในทางปฏิบัติผู้หญิงเป็นคนอุ้มท้อง(สร้างให้มีตัวตน) คลอดออกมา(ให้กำเนิดชีวิต) ให้นม(ทำให้อยู่รอด.. อันนี้พูดถึงสมัยที่ยังไม่มีนมให้ซื้อกิน) ในทางปฏิบัติลูกเกิดออกมาจากแม่ แต่ส่วนใหญ่ผู้ชายและสังคมส่วนมากจะมองว่าลูกต้องใช้นามสกุลของพ่อเป็นสำคัญ เราเลยสงสัยว่าวัฒนธรรมที่ผู้ชายใช้ชื่อเดิมตั้งแต่เกิดจนตาย แต่ผู้หญิงต้องมีการเปลี่ยนนามสกุลตามสามีเมื่อแต่งงาน มันเกิดขึ้นมาตั้งแต่เมื่อไหร่? ใครเป็นคนริเริ่ม ประเทศไทยเราคิดเองหรือเอามาจากต่างประเทศ? และทำไมผู้หญิงต้องแสดงฐานะว่ามีครอบครัวแล้วโดยการเปลี่ยนชื่อต้นกับนามสกุล  ในขณะที่ผู้ชายไม่มีอะไรบ่งบอกเลยว่าแต่งงานแล้วหรือโสด? ขอบคุณค่ะ
แก้ไขข้อความเมื่อ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 6
มองอีกมุมก็ถือว่าเป็นประโยชน์กับเพศหญิงเหมือนกันครับ เพราะการที่ให้ลูกใช้นามสกุลพ่อ ทำให้พ่อต้องมีความรับผิดชอบกับลูกที่เกิดมามากขึ้นเพราะถือว่าลูกจะเป็นผู้สืบตระกูลของตัวเอง (โดยเฉพาะลูกชาย)

ถ้าลองให้ลูกถือนามสกุลแม่ เชื่อได้เลยว่าด้วยนิสัยของผู้ชายไม่ว่าชาติไหนในโลกที่เหมือนกันหมด จะมีคุณแม่ที่ต้องเป็น "ซิงเกิ้ลมัม" เพิ่มขึ้นอีกมากมายกว่านี้อีกครับ
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 9
ครอบครัวครับ...

แต่เดิมยุคบรรพกาลเรื่อยมา ไม่มีนามสกุลบ่งบอก ว่าเป็นใครมาจากไหน

และคนมีชื่อพ้องกันเยอะ ก็ใช้สัญญลักษณ์จากร่างกายบ้าง  จากพ่อแม่ปู่ย่าตายายบ้าง...เช่น

นายถึกเหล่ .... นายคนนี้มีตาเหล่เป็นสัญญลักษณ์
นายถึกเป๋ บ้านดอนกระโทก ... นายคนนี้ขาเป๋ บานดอนกระโทก หมายถึงหมู่บ้านของนายถึก
นายถึก ลูกยายถิ้งถ่วง

นางสา ... สาไหน ?
สาลูกยายส่วนไง..! ฯลฯ

สมัยโบราณ  เค้าใช้เรียกกันแบบนี้

ทีนี้เพื่อเป็นการแสดงถึงความศิวิไลซ์ของคนไทย เพราะมีการติดต่อกับชาวต่างประเทศมากขึ้น
และชื่อเสียงเรียงนามที่ซ้ำซ้อนกัน ทำให้เกิดการ จำผิด จำถูก...มั่ว !

จึงได้มีการบัญญัตนามสกุลขึ้น ในสมัย รัชกาลที่ ๖ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

หญิงที่แต่งงานแล้วให้ใช้นามสกุลสามี  เหตุสำคัญก็คือ  การแสดงความเป็นครอบครัวเดียวกัน

ระหว่าง สามี ภรรยา บุตร
และเกี่ยวเนื่องด้วยการทำนิติกรรมทางกฏหมายต่างๆนานา  นั่นเอง

สังคมไทย เป็นสังคมครอบครัวมาแต้บรรพกาล
พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย  อยู่ร่วมกันเป็นโขยง

ความเป็นหนึ่งเดียวของ คำว่า ครอบครัว  ก็คือการสืบสกุลนั่นเอง

และที่ถือกันมาแต่โบร่ำโบราณ ก็คือ สกุลของฝ่ายชาย เป็นหลัก
เพราะสังคมโบราณ  หญิงที่แต่งงานแล้ว

อยู่บ้าน ทำกับข้าว เลี้ยงลูก
ผู้ชายไปทำงาน หาเงิน มาเลี้ยงลูกเมีย

แต่ปัจจุบันโลกมันพัฒนาการไปไกลสุดกู่
ถึงขั้นกลับตาลปัตร ก็มีเยอะ

ประเภทสามีนอนเอกเขนกอยู่บ้าน

เมียหามาประเคนอย่างเดียวไม่ปริปากบ่น

ขืนบ่น....อาจเจอแข้ง เจอเข่า  เบาะๆ ก็หลังมือ ผัวะ ๆ ๆ ๆ...สบายไป...!!
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่