พ.ท.หญิงลัดดา แทมมี ดักเวิร์ธ ส.ส.สหรัฐเชื้อสายไทยยันสัมพันธ์ไทย-สหรัฐแน่นแฟ้น
ดันสตรีมีบทบาทในสังคม ไม่เห็นด้วยสหรัฐจะแทรกแซงซีเรียเวลานี้
พ.ท.หญิงลัดดา แทมมี ดักเวิร์ธ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ เขต 8 นครชิคาโก มลรัฐอิลลินอยส์ บรรยายพิเศษในหัวข้อ
"US foreign Policy in Congresswoman Tammy Duckworth s Perspective" ที่คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ว่า
การกำหนดนโยบายปรับสมดุลต่อภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (Rebalancing towards Asia - Pacific) ของประธานาธิบดี บารัก โอบามา
แห่งสหรัฐฯ นั้น เพราะสหรัฐฯ เห็นความสำคัญของภูมิภาคเอเชียว่ามีศักยภาพในการเติบโตสูง มีการขยายตัวของตลาดอย่างต่อเนื่อง
โดยเฉพาะประเทศไทยที่มีความสัมพันธ์กับสหรัฐยาวนานถึง 180 ปี ที่สหรัฐให้ความสำคัญทั้งความร่วมมือทางทหาร ทางธุรกิจ
สาธารณสุข และวิทยาศาสตร์ ซึ่งในฐานะที่ตัวเองเป็นคนไทย ในฐานะสมาชิกสภาคองเกรส มุ่งมั่นที่จะกระชับความสัมพันธ์ของ
ทั้ง 2 ประเทศให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น
ทั้งนี้ อยากสนับสนุนให้ผู้หญิงกล้าขึ้นมามีบทบาทมากขึ้น ซึ่งแม้แต่สภาคองเกรสเอง ก็มีสัดส่วนผู้หญิงน้อยกว่า 25% ทั้งๆ ที่จาก
ประสบการณ์ในการหาเสียงเลือกตั้งพบว่า ผู้หญิงจะได้รับความเชื่อถือมากกว่าผู้ชายด้วยซ้ำ ซึ่งตัวเองกว่าจะได้เข้ามาอยู่ในสภา
ก็เคยแพ้มาก่อน เคยร้องไห้ในห้องน้ำถึง 3 วัน แต่จากนั้น 6 ปีก็ประสบความสำเร็จ
"ภาวะผู้นำไม่ได้จำกัดอยู่แต่ในภาวะผู้มีอำนาจเท่านั้น แม้แต่ผู้บาดเจ็บก็เป็นผู้นำได้ เช่นเดียวกับตนเองที่เผชิญกับ
สิ่งเลวร้ายในสงครามอิรักจนได้มามีโอกาสทำงานช่วยเหลือเพื่อนทหาร เพราะผู้นำไม่ใช่ทำสิ่งที่ถูกต้องเมื่ออยู่หน้ากล้อง
หรือตอนที่มีคนมอง แต่หมายถึงทำสิ่งที่ถูกต้องด้วยตัวเอง
และทำไปเพราะรู้ว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้อง"
สำหรับงานด้านการดูแลทหารผ่านศึก ยอมรับว่า หลังสงครามโดยเฉพาะสงครามอิรัก ซึ่งเป็นช่วงเศรษฐกิจตกต่ำ ทหารผ่านศึกหลายคน
ไม่มีงาน ไม่มีบ้าน ติดสุรา แต่รัฐบาลพยายามแก้ไขปัญหาอยู่ เพื่อให้มั่นใจว่าพวกเขาจะมีงานทำและมีสวัสดิการที่ดี เหล่านี้เป็นราคาของสงคราม (cost of war) เพราะเกณฑ์ทหารไปรบตอนอายุ 20-25 ปี แต่ต้องดูแลพวกเขาไปอีก 60 ปี
ส่วนกระแสกดดันให้สหรัฐเข้าแทรกแซงสถานการณ์ในซีเรียนั้น ส่วนตัวเห็นว่ายังไม่ถึงเวลา และเป็นเรื่องที่ต้องไตร่ตรองให้รอบคอบ
เพราะมีผลผูกพันระยะยาว สถานการณ์ในซีเรียอยู่ในขั้นวิกฤตมนุษยธรรมที่ประเทศมหาอำนาจอาจต้องเข้าไปช่วยหยุดยั้งและรักษาสมดุล
ต่างกับการต่อต้านเครือข่ายก่อการร้ายอัล-เคด้า ซึ่งสหรัฐฯ ถูกโจมตี ที่จำเป็นต้องปกป้องตัวเอง
อย่างไรก็ตาม ในด้านเศรษฐกิจที่สหรัฐกำลังเผชิญการชะลอตัวนั้น เชื่อว่า มีสัญญาณว่าเศรษฐกิจสหรัฐกำลังฟื้นตัวจากภาวะถดถอย
เช่น ภาพรวมการผลิตอุตสาหกรรมที่กำลังกลับมา แม้จะมีปัญหาในระดับรัฐบาลท้องถิ่น อย่างการล่มสลายในดีทรอยต์ก็ตาม
cr:
http://news.thaiza.com/ข่าวการเมือง--พ-ท-หญิงลัดดา-แทมมี-ย้ำสหรัฐมุ่งกระชับสัมพันธ์ไทย/274545/
2 คนนี้เป็นสตรีทั้งคู่ แต่บทบาทคนซ้ายมือ ต้องบอกว่า "คมและเฉียบ" ส่วนขวามือ "คมแต่โง่" คร่าๆๆๆ
พ.ท.หญิงลัดดา แทมมี ดักเวิร์ธ ส.ส.สหรัฐเชื้อสายไทยยันสัมพันธ์ไทย-สหรัฐแน่นแฟ้น
ดันสตรีมีบทบาทในสังคม ไม่เห็นด้วยสหรัฐจะแทรกแซงซีเรียเวลานี้
พ.ท.หญิงลัดดา แทมมี ดักเวิร์ธ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ เขต 8 นครชิคาโก มลรัฐอิลลินอยส์ บรรยายพิเศษในหัวข้อ
"US foreign Policy in Congresswoman Tammy Duckworth s Perspective" ที่คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ว่า
การกำหนดนโยบายปรับสมดุลต่อภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (Rebalancing towards Asia - Pacific) ของประธานาธิบดี บารัก โอบามา
แห่งสหรัฐฯ นั้น เพราะสหรัฐฯ เห็นความสำคัญของภูมิภาคเอเชียว่ามีศักยภาพในการเติบโตสูง มีการขยายตัวของตลาดอย่างต่อเนื่อง
โดยเฉพาะประเทศไทยที่มีความสัมพันธ์กับสหรัฐยาวนานถึง 180 ปี ที่สหรัฐให้ความสำคัญทั้งความร่วมมือทางทหาร ทางธุรกิจ
สาธารณสุข และวิทยาศาสตร์ ซึ่งในฐานะที่ตัวเองเป็นคนไทย ในฐานะสมาชิกสภาคองเกรส มุ่งมั่นที่จะกระชับความสัมพันธ์ของ
ทั้ง 2 ประเทศให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น
ทั้งนี้ อยากสนับสนุนให้ผู้หญิงกล้าขึ้นมามีบทบาทมากขึ้น ซึ่งแม้แต่สภาคองเกรสเอง ก็มีสัดส่วนผู้หญิงน้อยกว่า 25% ทั้งๆ ที่จาก
ประสบการณ์ในการหาเสียงเลือกตั้งพบว่า ผู้หญิงจะได้รับความเชื่อถือมากกว่าผู้ชายด้วยซ้ำ ซึ่งตัวเองกว่าจะได้เข้ามาอยู่ในสภา
ก็เคยแพ้มาก่อน เคยร้องไห้ในห้องน้ำถึง 3 วัน แต่จากนั้น 6 ปีก็ประสบความสำเร็จ
"ภาวะผู้นำไม่ได้จำกัดอยู่แต่ในภาวะผู้มีอำนาจเท่านั้น แม้แต่ผู้บาดเจ็บก็เป็นผู้นำได้ เช่นเดียวกับตนเองที่เผชิญกับ
สิ่งเลวร้ายในสงครามอิรักจนได้มามีโอกาสทำงานช่วยเหลือเพื่อนทหาร เพราะผู้นำไม่ใช่ทำสิ่งที่ถูกต้องเมื่ออยู่หน้ากล้อง
หรือตอนที่มีคนมอง แต่หมายถึงทำสิ่งที่ถูกต้องด้วยตัวเอง
และทำไปเพราะรู้ว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้อง"
สำหรับงานด้านการดูแลทหารผ่านศึก ยอมรับว่า หลังสงครามโดยเฉพาะสงครามอิรัก ซึ่งเป็นช่วงเศรษฐกิจตกต่ำ ทหารผ่านศึกหลายคน
ไม่มีงาน ไม่มีบ้าน ติดสุรา แต่รัฐบาลพยายามแก้ไขปัญหาอยู่ เพื่อให้มั่นใจว่าพวกเขาจะมีงานทำและมีสวัสดิการที่ดี เหล่านี้เป็นราคาของสงคราม (cost of war) เพราะเกณฑ์ทหารไปรบตอนอายุ 20-25 ปี แต่ต้องดูแลพวกเขาไปอีก 60 ปี
ส่วนกระแสกดดันให้สหรัฐเข้าแทรกแซงสถานการณ์ในซีเรียนั้น ส่วนตัวเห็นว่ายังไม่ถึงเวลา และเป็นเรื่องที่ต้องไตร่ตรองให้รอบคอบ
เพราะมีผลผูกพันระยะยาว สถานการณ์ในซีเรียอยู่ในขั้นวิกฤตมนุษยธรรมที่ประเทศมหาอำนาจอาจต้องเข้าไปช่วยหยุดยั้งและรักษาสมดุล
ต่างกับการต่อต้านเครือข่ายก่อการร้ายอัล-เคด้า ซึ่งสหรัฐฯ ถูกโจมตี ที่จำเป็นต้องปกป้องตัวเอง
อย่างไรก็ตาม ในด้านเศรษฐกิจที่สหรัฐกำลังเผชิญการชะลอตัวนั้น เชื่อว่า มีสัญญาณว่าเศรษฐกิจสหรัฐกำลังฟื้นตัวจากภาวะถดถอย
เช่น ภาพรวมการผลิตอุตสาหกรรมที่กำลังกลับมา แม้จะมีปัญหาในระดับรัฐบาลท้องถิ่น อย่างการล่มสลายในดีทรอยต์ก็ตาม
cr:http://news.thaiza.com/ข่าวการเมือง--พ-ท-หญิงลัดดา-แทมมี-ย้ำสหรัฐมุ่งกระชับสัมพันธ์ไทย/274545/