อุโฆษสาร ๒๕๕๓
อัสสัมชัญ ๑๒๕ ปี "ที่นี่มีประวัติศาสตร์"
อาตมาเข้าเรียนที่อัสสัมชัญปี ๒๕๐๖ และเรียนจบในปีการศึกษา ๒๕๑๗ ต่อมาได้เข้าเรียนที่คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ระหว่างนั้นได้เป็นสาราณียกรปาจารยสาร ของมูลนิธิเสฐียรโกเศศ-นาคะประทีป และทำงานให้แก่กลุ่มประสานงานศาสนาเพื่อสังคม เพื่อรณรงค์ด้านสิทธิมนุษยชนและนิรโทษกรรมนักโทษการเมืองหลังเหตุการณ์ ๖ ตุลา ๒๕๑๙ จนถึงปี ๒๕๒๖ จึงได้อุปสมบท ณ วัดทองนพคุณ และพำนักที่วัดป่าสุคะโต อ.แก้งคร้อ จ.ชัยภูมิ นับแต่นั้น ปัจจุบันยังได้ดูแลวัดป่ามหาวันอีกวัดหนึ่งด้วย นอกจากงานเขียน งานแปล แล้ว อาตมายังทำงานอบรมด้านสมาธิภาวนา การแก้ไขความขัดแย้งด้วยสันติวิธี นอกจากเป็นกรรมการมูลนิธิโกมลคีมทอง และอีกหลายหน่วยงานแล้ว ยังเป็นประธานเครือข่ายพุทธิกา ซึ่งมีงานหลายโครงการ เช่น ฉลาดทำบุญด้วยจิตอาสา สุขแท้ด้วยปัญญา และเผชิญความตายอย่างสงบ ปัจจุบันบวชมาแล้ว ๒๙ พรรษา
อาตมาเข้าเรียนที่อัสสัมชัญตั้งแต่ป.๑ จนถึง ม.ศ. ๕ จึงเรียกได้ว่าความรู้แทบทั้งหมดที่มีก่อนเข้ามหาวิทยาลัยนั้น ล้วนเป็นผลมาจากการปลูกฝังที่อัสสัมชัญทั้งสิ้น ความรู้เหล่านั้นเป็นพื้นฐานสำคัญให้กับความรู้ต่าง ๆ ที่ต่อยอดสืบมาหลังจากนั้น แม้กระทั่งทุกวันนี้สติปัญญาทั้งหมดที่มีก็ได้อาศัยความรู้จากอัสสัมชัญเป็นตัวรองรับอยู่ไม่น้อย ที่สำคัญก็คือ ภาษาอังกฤษ อันที่จริงวิชาอื่นก็มีความสำคัญอยู่มาก แต่ที่ลืมไปก็เยอะ ที่ล้าสมัยไปแล้วก็มาก ไม่เหมือนกับภาษาอังกฤษ ซึ่งถูกปูพื้นไว้ค่อนข้างมากตั้งแต่ป.๑ อาตมาได้เอามาใช้อยู่บ่อย ๆ และอย่างต่อเนื่องจนทุกวันนี้ อีกทั้งเป็นวิชาที่หากเรียนจากที่อื่น (ไม่ว่าโรงเรียนอื่นหรือที่มหาวิทยาลัย) ก็คงไม่ได้พื้นที่แน่นหนาอย่างที่ได้จากอัสสัมชัญ ความจริงในสมัยของอาตมา ก็มีเสียงบ่นแล้วว่า การสอนภาษาอังกฤษที่อัสสัมชัญ “อ่อน”กว่าสมัยก่อน แต่ก็ยังนับว่า “แข็ง” กว่าที่อื่นเป็นส่วนใหญ่ในเวลานั้น
ที่จริงมีวิชาหนึ่งที่อาตมาได้ “ไฟ” หรือ แรงบันดาลใจจากอัสสัมชัญ ก็คือ วิทยาศาสตร์ ทั้งนี้เป็นผลจากการสอนของครูคนหนึ่ง (คือ ม.ทบ เสนีย์) ตั้งแต่ชั้น ป.๗ ที่ทำให้ตนเองอยากเอาดีทางนี้ ถึงกับทำกิจกรรมวิทยาศาสตร์ออกงานแทบทุกปี และได้รับรางวัลในงานนิทรรศการระหว่างโรงเรียนอยู่ ๒ ครั้ง คือม.ศ.๒ และม.ศ.๔ แต่หลังจากนั้นใจก็น้อมไปทางด้านสังคมศาสตร์มากกว่า ก็เลยไม่ได้เป็นวิศวกรหรือหมออย่างที่ตั้งใจเอาไว้ แม้กระนั้นทุกวันนี้ก็ยังมีใจรักในวิทยาศาสตร์อยู่
ไหน ๆ พูดแล้วก็อยากพูดถึงอีกวิชาหนึ่งที่อาตมาได้รับจากอัสสัมชัญ และใช้บ่อยมากไม่น้อยกว่าภาษาอังกฤษ (ส่วนภาษาไทยนั้นยกไว้วิชาหนึ่ง) ก็คือ วิชาพิมพ์ดีด อาตมาเป็นคนสนใจเรื่องขีดเขียน จึงได้ใช้วิชาพิมพ์ดีดของ ม.บรรณา ชโนดม เป็นประจำ หากไม่ได้เรียนอัสสัมชัญจนถึงมัธยม ก็คงจะพิมพ์ดีดแบบใช้นิ้วจิ้ม แทนที่จะพิมพ์แบบสัมผัส ซึ่งช่วยให้พิมพ์ได้เร็วและมีสมาธิได้มากกว่า ไม่ว่าพิมพ์ภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ
อย่างไรก็ตาม อาตมาคิดว่าความรู้จากห้องเรียนเป็นเพียงส่วนเดียวของคุณูปการที่ได้จากอัสสัมชัญ ความรู้และสิ่งดี ๆ นอกห้องเรียน ก็มีคุณค่าต่ออาตมาไม่น้อย อาจจะมากกว่าด้วยซ้ำ อย่างแรกก็คือ ความรู้จากห้องสมุด อัสสัมชัญนั้นเริ่มมีห้องสมุดที่ได้มาตรฐานก็ตอนที่อาตมาอยู่ชั้นป.๔ แต่ตอนนั้นอาตมาอยู่อัสสัมชัญเซ็นต์หลุยส์ พอขึ้นป.๕ ย้ายมาบางรัก ก็ดีใจมากเพราะมีโอกาสได้อ่านหนังสือดี ๆ มากมายจากห้องสมุด หนังสือเหล่านั้นมีส่วนอย่างมากในการเสริมสร้างสติปัญญาและปลูกฝังทัศนคติดี ๆ หลายอย่างให้แก่อาตมา โดยเฉพาะความสำนึกในทางสังคม ทำให้ไม่เอาแต่เรียนหนังสือ โดยไม่สนใจเรื่องชีวิตและสังคมรอบตัว การที่อาตมาเปิดหูเปิดตาเข้าใจโลกมากขึ้น ไม่ถูกตีกรอบด้วยห้องเรียน ก็มีพื้นฐานมาจากห้องสมุดนี้เอง
ประการต่อมาก็คือ เรื่องเล่าเกี่ยวกับคุณงามความดีของศิษย์เก่า ตอนเด็ก ๆ นั้น ทุกวันเสาร์มีการประชุมใหญ่ทั้งโรงเรียน บางเสาร์บราเดอร์หลุยส์ ชาแนล อธิการของเราก็จะเชิญศิษย์เก่าเวียนกันมาเล่าถึงประสบการณ์ในวัยและชีวิตการทำงานของท่าน ส่วนใหญ่จะเน้นเน้นเรื่องความซื่อสัตย์สุจริต ความขยันหมั่นเพียร (ตรงตามคติของอัสสัมชัญที่ว่า Labor Omnia Vincit) บางครั้งก็เชิญศิษย์เก่ามาพูดถึงคุณงามความดีของอัสสัมชนิกรุ่นก่อนที่เสียชีวิต (เช่น เชิญอาจารย์สุลักษณ์ ศิวรักษ์ มาพูดถึงพระยาอนุมานราชธน) เรื่องราวเหล่านี้สอดคล้องกับคำสอนของบราเดอร์ฮีแลร์ ที่จารึกบนแผ่นหินแกะสลักเหนือเวทีที่ว่า “จงตื่นเถิด เปิดหา หาความรู้ เรียนคำครู คำพระเจ้า เฝ้าขยัน จะอุดม สมบัติ ปัจจุบัน แต่สวรรค์ ดีกว่า เราอย่าลืม” อาตมารู้สึกประทับใจเรื่องราวเหล่านี้มาก ซึ่งบางครั้งยังได้จากการอ่านบทความของศิษย์เก่าใน “อุโฆษสาร” มันไม่เพียงทำให้เกิดความภาคภูมิใจในความเป็นอัสสัมชนิก แต่ยังตอกย้ำให้เกิดศรัทธาในคุณธรรมและความดีงาม ซึ่งวิชาศีลธรรมในโรงเรียนไม่สามารถทำให้ได้เลย
ประการที่สาม ก็คือ แบบอย่างของบราเดอร์และมาสเตอร์หลายท่าน ท่านเหล่านี้คือรูปธรรมแห่งความดี ซึ่งพวกเราสัมผัสได้ ท่านเหล่านี้อยู่อย่างสมถะ เสียสละเพื่อนักเรียน อีกทั้งซื่อตรง รักและภูมิใจในความเป็นครู เป็นเรื่องธรรมดามากที่จะเห็นบราเดอร์และมาสเตอร์ไม่ยอมโอนอ่อนให้กับผู้ปกครอง ไม่ว่าเขาจะร่ำรวยหรือใหญ่มาจากไหน หากเรียกร้องหรือทำสิ่งที่ไม่ถูกต้อง (เช่น ปกป้องลูกที่ทำผิด) ก็จะโดนท่านเหล่านั้นต่อว่า นี่คือภาพที่อาตมาแลเห็นอยู่บ่อย ๆ รวมทั้งเวลาที่พ่อแม่พยายามช่วยลูกที่มาโรงเรียนสาย แล้วต้องโดนมาสเตอร์ยาก๊อบเล่นงานจนหน้าหงาย ความดีของบางท่านอาตมาไม่ได้เห็นกับตา แต่ก็ได้ยินกิตติศัพท์และเสียงเล่าขานประดุจตำนานที่สืบทอดมาหลายชั่วอายุคน
คุณงามความดีของบราเดอร์ มาสเตอร์และศิษย์เก่า ไม่เพียงเป็นเกียรติประวัติอันน่าภาคภูมิใจของอัสสัมชัญเท่านั้น หากยังทำให้อาตมารู้สึกว่าตนมีรากเหง้าที่หยั่งลึก ไม่ใช่คนหลักลอยหรือไร้ราก
คุณูปการนอกห้องเรียนประการที่ ๔ ก็คือ การกระตุ้นเตือนและส่งเสริมให้นึกถึงผู้ทุกข์ยาก เรื่องนี้เป็นสิ่งที่ครูบาอาจารย์ทั้งหลายสอนอยู่เป็นประจำ โดยเฉพาะจากบราเดอร์ผู้เป็นนักบวช แต่มีสิ่งหนึ่งที่อัสสัมชัญทำมากกว่านั้นก็คือ การส่งเสริมให้นักเรียนทำกิจกรรมช่วยเหลือสังคม อาตมาได้มีโอกาสออกค่ายอาสาพัฒนาเป็นครั้งแรกก็ตอนอยู่ที่อัสสัมชัญนี้เอง ตอนนั้นเรามี “กลุ่มอัสสัมชัญอาสาพัฒนา” ซึ่งเป็นชุมนุมที่นักเรียนบริหารกันเอง และพากันไปออกค่ายบ้าง ช่วยเหลือเด็กกำพร้าและคนชราบ้าง อาตมาได้รับประโยชน์อย่างมากจากการร่วมกิจกรรมดังกล่าว โดยเฉพาะการออกค่าย ซึ่งเป็นการเปิดหูเปิดตาให้เห็นโลกกว้างขึ้น ว่ามีคนที่ลำบากกว่าเราอีกมาก ชีวิตในค่ายนั้นยังได้สอนอะไรแก่เราหลายอย่าง ซึ่งไม่มีทางจะเรียนรู้ได้จากห้องเรียนหรือจากชีวิตในกรุงเทพ ฯ เลย อาตมาเชื่อว่าเพื่อน ๆ และพี่ ๆ หลายคนที่ได้ออกค่ายจะเห็นตรงกับอาตมาว่า ประสบการณ์ในค่ายนั้นได้สร้างความประทับใจและหล่อหลอมบุคลิกบางอย่างให้แก่ตนเอง ซึ่งล้วนเป็นสิ่งที่มีคุณค่าอย่างมาก ทำให้ตระหนักว่าชีวิตนี้ไม่ได้มีขึ้นเพียงเพื่อตักตวงเงินทองหรือแสวงหาความสุขใส่ตัว แต่เพื่อเกื้อกูลเพื่อนมนุษย์และช่วยเหลือสังคมส่วนรวม
ประสบการณ์และคุณค่าเหล่านี้หาไม่ได้จากโรงเรียนอื่น เพราะสมัยนั้นการออกค่ายอาสาพัฒนาเป็นอภิสิทธิ์เฉพาะของนักศึกษามหาวิทยาลัยเท่านั้น หากไม่ใช่เป็นเพราะการสนับสนุนของอธิการนับแต่บราเดอร์หลุยส์ ชาแนล มาจนถึงบราเดอร์วิจารณ์ ทรงเสี่ยงชัยพวกเราย่อมไม่มีโอกาสอย่างนี้ และหากไม่ใช่เพราะความใจกว้างและไว้วางใจของท่านทั้งสอง พวกเราก็คงจะไม่รู้จักคิดและเรียนรู้ที่จะช่วยเหลือผู้อื่นที่ลำบากกว่าเรา ด้วยวิธีการของเราเอง
ที่จริงท่านอธิการไม่เพียงเปิดโอกาสเท่านั้น แต่ยังสนับสนุนจริงจัง ภาพที่ยังจำได้ดีคือ บราเดอร์หลุยส์เดินทางไปเยี่ยมพวกเราที่ออกค่ายอาสาพัฒนาทุกปี พร้อมกับของฝากอร่อย ๆ ให้แก่ชาวค่าย โดยเป็นกันเองกับพวกเรา และภาพบราเดอร์วิจารณ์ ซึ่งร่วมออกค่ายกับเรา ร่วมทุกข์ร่วมสุขกับเรา ตั้งแต่วันแรกจนวันสุดท้าย โดยปีนป่ายตอกตะปู หรือขุดหลุมส้วม โดยไม่เห็นแก่เหน็ดเหนื่อย
คุณูปการของโรงเรียนอัสสัมชัญ โดย พระไพศาล วิสาโล
อุโฆษสาร ๒๕๕๓
อัสสัมชัญ ๑๒๕ ปี "ที่นี่มีประวัติศาสตร์"
อาตมาเข้าเรียนที่อัสสัมชัญปี ๒๕๐๖ และเรียนจบในปีการศึกษา ๒๕๑๗ ต่อมาได้เข้าเรียนที่คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ระหว่างนั้นได้เป็นสาราณียกรปาจารยสาร ของมูลนิธิเสฐียรโกเศศ-นาคะประทีป และทำงานให้แก่กลุ่มประสานงานศาสนาเพื่อสังคม เพื่อรณรงค์ด้านสิทธิมนุษยชนและนิรโทษกรรมนักโทษการเมืองหลังเหตุการณ์ ๖ ตุลา ๒๕๑๙ จนถึงปี ๒๕๒๖ จึงได้อุปสมบท ณ วัดทองนพคุณ และพำนักที่วัดป่าสุคะโต อ.แก้งคร้อ จ.ชัยภูมิ นับแต่นั้น ปัจจุบันยังได้ดูแลวัดป่ามหาวันอีกวัดหนึ่งด้วย นอกจากงานเขียน งานแปล แล้ว อาตมายังทำงานอบรมด้านสมาธิภาวนา การแก้ไขความขัดแย้งด้วยสันติวิธี นอกจากเป็นกรรมการมูลนิธิโกมลคีมทอง และอีกหลายหน่วยงานแล้ว ยังเป็นประธานเครือข่ายพุทธิกา ซึ่งมีงานหลายโครงการ เช่น ฉลาดทำบุญด้วยจิตอาสา สุขแท้ด้วยปัญญา และเผชิญความตายอย่างสงบ ปัจจุบันบวชมาแล้ว ๒๙ พรรษา
อาตมาเข้าเรียนที่อัสสัมชัญตั้งแต่ป.๑ จนถึง ม.ศ. ๕ จึงเรียกได้ว่าความรู้แทบทั้งหมดที่มีก่อนเข้ามหาวิทยาลัยนั้น ล้วนเป็นผลมาจากการปลูกฝังที่อัสสัมชัญทั้งสิ้น ความรู้เหล่านั้นเป็นพื้นฐานสำคัญให้กับความรู้ต่าง ๆ ที่ต่อยอดสืบมาหลังจากนั้น แม้กระทั่งทุกวันนี้สติปัญญาทั้งหมดที่มีก็ได้อาศัยความรู้จากอัสสัมชัญเป็นตัวรองรับอยู่ไม่น้อย ที่สำคัญก็คือ ภาษาอังกฤษ อันที่จริงวิชาอื่นก็มีความสำคัญอยู่มาก แต่ที่ลืมไปก็เยอะ ที่ล้าสมัยไปแล้วก็มาก ไม่เหมือนกับภาษาอังกฤษ ซึ่งถูกปูพื้นไว้ค่อนข้างมากตั้งแต่ป.๑ อาตมาได้เอามาใช้อยู่บ่อย ๆ และอย่างต่อเนื่องจนทุกวันนี้ อีกทั้งเป็นวิชาที่หากเรียนจากที่อื่น (ไม่ว่าโรงเรียนอื่นหรือที่มหาวิทยาลัย) ก็คงไม่ได้พื้นที่แน่นหนาอย่างที่ได้จากอัสสัมชัญ ความจริงในสมัยของอาตมา ก็มีเสียงบ่นแล้วว่า การสอนภาษาอังกฤษที่อัสสัมชัญ “อ่อน”กว่าสมัยก่อน แต่ก็ยังนับว่า “แข็ง” กว่าที่อื่นเป็นส่วนใหญ่ในเวลานั้น
ที่จริงมีวิชาหนึ่งที่อาตมาได้ “ไฟ” หรือ แรงบันดาลใจจากอัสสัมชัญ ก็คือ วิทยาศาสตร์ ทั้งนี้เป็นผลจากการสอนของครูคนหนึ่ง (คือ ม.ทบ เสนีย์) ตั้งแต่ชั้น ป.๗ ที่ทำให้ตนเองอยากเอาดีทางนี้ ถึงกับทำกิจกรรมวิทยาศาสตร์ออกงานแทบทุกปี และได้รับรางวัลในงานนิทรรศการระหว่างโรงเรียนอยู่ ๒ ครั้ง คือม.ศ.๒ และม.ศ.๔ แต่หลังจากนั้นใจก็น้อมไปทางด้านสังคมศาสตร์มากกว่า ก็เลยไม่ได้เป็นวิศวกรหรือหมออย่างที่ตั้งใจเอาไว้ แม้กระนั้นทุกวันนี้ก็ยังมีใจรักในวิทยาศาสตร์อยู่
ไหน ๆ พูดแล้วก็อยากพูดถึงอีกวิชาหนึ่งที่อาตมาได้รับจากอัสสัมชัญ และใช้บ่อยมากไม่น้อยกว่าภาษาอังกฤษ (ส่วนภาษาไทยนั้นยกไว้วิชาหนึ่ง) ก็คือ วิชาพิมพ์ดีด อาตมาเป็นคนสนใจเรื่องขีดเขียน จึงได้ใช้วิชาพิมพ์ดีดของ ม.บรรณา ชโนดม เป็นประจำ หากไม่ได้เรียนอัสสัมชัญจนถึงมัธยม ก็คงจะพิมพ์ดีดแบบใช้นิ้วจิ้ม แทนที่จะพิมพ์แบบสัมผัส ซึ่งช่วยให้พิมพ์ได้เร็วและมีสมาธิได้มากกว่า ไม่ว่าพิมพ์ภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ
อย่างไรก็ตาม อาตมาคิดว่าความรู้จากห้องเรียนเป็นเพียงส่วนเดียวของคุณูปการที่ได้จากอัสสัมชัญ ความรู้และสิ่งดี ๆ นอกห้องเรียน ก็มีคุณค่าต่ออาตมาไม่น้อย อาจจะมากกว่าด้วยซ้ำ อย่างแรกก็คือ ความรู้จากห้องสมุด อัสสัมชัญนั้นเริ่มมีห้องสมุดที่ได้มาตรฐานก็ตอนที่อาตมาอยู่ชั้นป.๔ แต่ตอนนั้นอาตมาอยู่อัสสัมชัญเซ็นต์หลุยส์ พอขึ้นป.๕ ย้ายมาบางรัก ก็ดีใจมากเพราะมีโอกาสได้อ่านหนังสือดี ๆ มากมายจากห้องสมุด หนังสือเหล่านั้นมีส่วนอย่างมากในการเสริมสร้างสติปัญญาและปลูกฝังทัศนคติดี ๆ หลายอย่างให้แก่อาตมา โดยเฉพาะความสำนึกในทางสังคม ทำให้ไม่เอาแต่เรียนหนังสือ โดยไม่สนใจเรื่องชีวิตและสังคมรอบตัว การที่อาตมาเปิดหูเปิดตาเข้าใจโลกมากขึ้น ไม่ถูกตีกรอบด้วยห้องเรียน ก็มีพื้นฐานมาจากห้องสมุดนี้เอง
ประการต่อมาก็คือ เรื่องเล่าเกี่ยวกับคุณงามความดีของศิษย์เก่า ตอนเด็ก ๆ นั้น ทุกวันเสาร์มีการประชุมใหญ่ทั้งโรงเรียน บางเสาร์บราเดอร์หลุยส์ ชาแนล อธิการของเราก็จะเชิญศิษย์เก่าเวียนกันมาเล่าถึงประสบการณ์ในวัยและชีวิตการทำงานของท่าน ส่วนใหญ่จะเน้นเน้นเรื่องความซื่อสัตย์สุจริต ความขยันหมั่นเพียร (ตรงตามคติของอัสสัมชัญที่ว่า Labor Omnia Vincit) บางครั้งก็เชิญศิษย์เก่ามาพูดถึงคุณงามความดีของอัสสัมชนิกรุ่นก่อนที่เสียชีวิต (เช่น เชิญอาจารย์สุลักษณ์ ศิวรักษ์ มาพูดถึงพระยาอนุมานราชธน) เรื่องราวเหล่านี้สอดคล้องกับคำสอนของบราเดอร์ฮีแลร์ ที่จารึกบนแผ่นหินแกะสลักเหนือเวทีที่ว่า “จงตื่นเถิด เปิดหา หาความรู้ เรียนคำครู คำพระเจ้า เฝ้าขยัน จะอุดม สมบัติ ปัจจุบัน แต่สวรรค์ ดีกว่า เราอย่าลืม” อาตมารู้สึกประทับใจเรื่องราวเหล่านี้มาก ซึ่งบางครั้งยังได้จากการอ่านบทความของศิษย์เก่าใน “อุโฆษสาร” มันไม่เพียงทำให้เกิดความภาคภูมิใจในความเป็นอัสสัมชนิก แต่ยังตอกย้ำให้เกิดศรัทธาในคุณธรรมและความดีงาม ซึ่งวิชาศีลธรรมในโรงเรียนไม่สามารถทำให้ได้เลย
ประการที่สาม ก็คือ แบบอย่างของบราเดอร์และมาสเตอร์หลายท่าน ท่านเหล่านี้คือรูปธรรมแห่งความดี ซึ่งพวกเราสัมผัสได้ ท่านเหล่านี้อยู่อย่างสมถะ เสียสละเพื่อนักเรียน อีกทั้งซื่อตรง รักและภูมิใจในความเป็นครู เป็นเรื่องธรรมดามากที่จะเห็นบราเดอร์และมาสเตอร์ไม่ยอมโอนอ่อนให้กับผู้ปกครอง ไม่ว่าเขาจะร่ำรวยหรือใหญ่มาจากไหน หากเรียกร้องหรือทำสิ่งที่ไม่ถูกต้อง (เช่น ปกป้องลูกที่ทำผิด) ก็จะโดนท่านเหล่านั้นต่อว่า นี่คือภาพที่อาตมาแลเห็นอยู่บ่อย ๆ รวมทั้งเวลาที่พ่อแม่พยายามช่วยลูกที่มาโรงเรียนสาย แล้วต้องโดนมาสเตอร์ยาก๊อบเล่นงานจนหน้าหงาย ความดีของบางท่านอาตมาไม่ได้เห็นกับตา แต่ก็ได้ยินกิตติศัพท์และเสียงเล่าขานประดุจตำนานที่สืบทอดมาหลายชั่วอายุคน
คุณงามความดีของบราเดอร์ มาสเตอร์และศิษย์เก่า ไม่เพียงเป็นเกียรติประวัติอันน่าภาคภูมิใจของอัสสัมชัญเท่านั้น หากยังทำให้อาตมารู้สึกว่าตนมีรากเหง้าที่หยั่งลึก ไม่ใช่คนหลักลอยหรือไร้ราก
คุณูปการนอกห้องเรียนประการที่ ๔ ก็คือ การกระตุ้นเตือนและส่งเสริมให้นึกถึงผู้ทุกข์ยาก เรื่องนี้เป็นสิ่งที่ครูบาอาจารย์ทั้งหลายสอนอยู่เป็นประจำ โดยเฉพาะจากบราเดอร์ผู้เป็นนักบวช แต่มีสิ่งหนึ่งที่อัสสัมชัญทำมากกว่านั้นก็คือ การส่งเสริมให้นักเรียนทำกิจกรรมช่วยเหลือสังคม อาตมาได้มีโอกาสออกค่ายอาสาพัฒนาเป็นครั้งแรกก็ตอนอยู่ที่อัสสัมชัญนี้เอง ตอนนั้นเรามี “กลุ่มอัสสัมชัญอาสาพัฒนา” ซึ่งเป็นชุมนุมที่นักเรียนบริหารกันเอง และพากันไปออกค่ายบ้าง ช่วยเหลือเด็กกำพร้าและคนชราบ้าง อาตมาได้รับประโยชน์อย่างมากจากการร่วมกิจกรรมดังกล่าว โดยเฉพาะการออกค่าย ซึ่งเป็นการเปิดหูเปิดตาให้เห็นโลกกว้างขึ้น ว่ามีคนที่ลำบากกว่าเราอีกมาก ชีวิตในค่ายนั้นยังได้สอนอะไรแก่เราหลายอย่าง ซึ่งไม่มีทางจะเรียนรู้ได้จากห้องเรียนหรือจากชีวิตในกรุงเทพ ฯ เลย อาตมาเชื่อว่าเพื่อน ๆ และพี่ ๆ หลายคนที่ได้ออกค่ายจะเห็นตรงกับอาตมาว่า ประสบการณ์ในค่ายนั้นได้สร้างความประทับใจและหล่อหลอมบุคลิกบางอย่างให้แก่ตนเอง ซึ่งล้วนเป็นสิ่งที่มีคุณค่าอย่างมาก ทำให้ตระหนักว่าชีวิตนี้ไม่ได้มีขึ้นเพียงเพื่อตักตวงเงินทองหรือแสวงหาความสุขใส่ตัว แต่เพื่อเกื้อกูลเพื่อนมนุษย์และช่วยเหลือสังคมส่วนรวม
ประสบการณ์และคุณค่าเหล่านี้หาไม่ได้จากโรงเรียนอื่น เพราะสมัยนั้นการออกค่ายอาสาพัฒนาเป็นอภิสิทธิ์เฉพาะของนักศึกษามหาวิทยาลัยเท่านั้น หากไม่ใช่เป็นเพราะการสนับสนุนของอธิการนับแต่บราเดอร์หลุยส์ ชาแนล มาจนถึงบราเดอร์วิจารณ์ ทรงเสี่ยงชัยพวกเราย่อมไม่มีโอกาสอย่างนี้ และหากไม่ใช่เพราะความใจกว้างและไว้วางใจของท่านทั้งสอง พวกเราก็คงจะไม่รู้จักคิดและเรียนรู้ที่จะช่วยเหลือผู้อื่นที่ลำบากกว่าเรา ด้วยวิธีการของเราเอง
ที่จริงท่านอธิการไม่เพียงเปิดโอกาสเท่านั้น แต่ยังสนับสนุนจริงจัง ภาพที่ยังจำได้ดีคือ บราเดอร์หลุยส์เดินทางไปเยี่ยมพวกเราที่ออกค่ายอาสาพัฒนาทุกปี พร้อมกับของฝากอร่อย ๆ ให้แก่ชาวค่าย โดยเป็นกันเองกับพวกเรา และภาพบราเดอร์วิจารณ์ ซึ่งร่วมออกค่ายกับเรา ร่วมทุกข์ร่วมสุขกับเรา ตั้งแต่วันแรกจนวันสุดท้าย โดยปีนป่ายตอกตะปู หรือขุดหลุมส้วม โดยไม่เห็นแก่เหน็ดเหนื่อย