เราเคยคิดเอะใจกันบ้างไหม ทำไมสระไอต้องมีทั้งไม้ม้วนและไม้มลาย?
จำได้ไหมครับ? กลอนสระไอไม้ม้วนสมัยประถมที่เราเคยท่องกันเป็นนกแก้วนกขุนทอง:
“ผู้ใหญ่หาผ้าใหม่ ให้สะใภ้ใช้คล้องคอ
ใฝ่ใจเอาใส่ห่อ มิหลงใหลใครขอดู
จะใคร่ลงเรือใบ ดูน้ำใสและปลาปู
สิ่งใดอยู่ในตู้ มิใช่อยู่ใต้ตั่งเตียง
บ้าใบ้ถือใยบัว หูตามัวมาใกล้เคียง
เล่าท่องอย่าละเลี่ยง ยี่สิบม้วนจำจงดี”
เรารู้กันแค่ว่า มีเพียง 20 คำนี้เท่านั้นที่ใช้ไม้ม้วน คำอื่นใช้ไม้มลายหมด โดยที่เรากลับไม่รู้เลยว่าเพราะอะไร จริงไหมครับ?
ผมก็เป็นคนหนึ่งที่กำลังเรียนภาษาลาวอยู่ และใครที่เรียนภาษาลาวจะรู้ดีว่า “คำที่ใช้สระไอไม้ม้วนนั้นมันมีมากกว่า 20 คำ!” แต่ก็ไม่แน่ใจว่ามันมีกี่คำกันแน่ (ก็มันไม่มีกลอนให้ท่องแบบภาษาไทยนี่นา) ผมจึงลองถามอากู๋ผู้รู้ของเราๆท่านๆดู ในที่สุดผมก็ถึงบางอ้อในทันทีเมื่อเจอกับบทความนี้ครับ
http://lass.gov.la/attachments/article/61/13.pdf
บทความนี้ชื่อว่า ຄຳທີ່ໃຊ້ສະຫຼະ ໃx ແລະ ໄx ໃນພາສາລາວ (คำที่ใช้สระ ใ และ ไ ในภาษาลาว) เขียนโดย ສົມແສງ ໄຊຍະວົງ (สมแสง ไซยะวง) จากเว็บไซต์ สถาบันวิทยาศาสตร์สังคมแห่งชาติของประเทศลาว (ສະຖາບັນວິທະຍາສາດສັງຄົມແຫ່ງຊາດລາວ; Lao Academy of Social Sciences)
ต่อไปนี้จะเป็นการแปลเฉพาะส่วนที่เป็นเนื้อหาสำคัญๆ ว่า ”ทำไมต้องมีไม้มวนกับไม้มลาย” ครับ
แต่ก่อนเสียงสระ ‘ใ’ และ ‘ไ’ เคยเรียกกันว่าเป็นสระพิเศษ แต่พิเศษอย่างไรนั้นก็ไม่มีใครเขียนชี้แจ้ง ความจริงแล้ว พิเศษที่ว่านี้คือ สระทั้งสองเป็นสระประสม ‘ใ’ เป็นเสียง /a/ (อา) ประสมกับ /ǝ/ (เออ) เป็น /aǝ/ ส่วน ‘ไ’ เป็นเสียง /a/ ประสมกับ /j/ (ย) เป็น /aj/ แต่รูปเขียนในภาษาลาวจะแสดงด้วยรูปอักษรเดียวคือ ‘ใ’ และ ‘ไ’ รูปเขียนมีเพียงอักษรเดียวแต่เสียงเป็นสระประสม
แต่เดิมคนลาวที่สามารถออกเสียงสระสองตัวนี้ให้ต่างกันได้นั้นมีอย่างกว้างขว้าง ปัจจุบันยังเหลือแต่ชาวลาวหลวงพระบาง ชาวลาวไชยบุรี (ไซยะบูลี) ไทดำ และลื้อ (ไทลื้อ) ที่สามารถออกเสียงสระแต่ละตัวนี้ให้แตกต่างกันได้ และเขียนคำก็ไม่ค่อยเขียนผิดกัน คนลาวหลายคนออกเสียงสระ ‘ใ’ ไม่ค่อยเป็นแล้ว กลายเป็น ‘ไ’ ไปหมด ส่วนชาวไทแดงกับไทขาวนั้นออกเสียงสระได้แค่ ‘ไ-’ กับ ‘เ-อ’ ส่วนเสียง ‘ใ’ ก็กลับออกเสียงเหมือนสระ ‘เ-อ’ ดังนั้นพวกเขาเลยมีปัญหาในการแยกจำแนกเสียง ‘ใ-’ กับ ‘เ-อ’
(ขอยกตัวอย่างใกล้ตัวนะครับ ตาจขกท.(หมายถึงพ่อของแม่)เป็นคนผู้ไทกาฬสินธุ์ อย่างเวลาท่านพูดคำว่า ‘ใผ’ (ภาษาอีสานแปลว่า ใคร) ท่านจะออกเสียงว่า ‘เผอ’ เช่นเดียวกันครับ)
เพื่อแก้ไขความสับสนนี้จึงมีผู้หาชื่อใหม่ให้ คือ ‘ใ’ ให้เรียกว่า ‘ไม้ม้วน’ และ ‘ไ’ ให้เรียกว่า ‘ไม้มาย(ไม้มลาย)’ วิธีนี้ก็พอจะช่วยในการเขียนและการจำ แต่มันไม่ใช่วิธีทางภาษาศาสตร์ วิธีทางภาษาศาสตร์นั้นต้องการในเรื่องเสียงที่แท้จริงของมัน หากเห็นรูปเขียนต่างกันเป็น ‘ใ’ และ ‘ไ’ แต่จริงๆแล้วออกเสียงไม่ต่างกัน ก็จำแนกไม่ออกว่าตัวไหนเป็นเสียงไหน เวลาเขียนก็คิดว่าใส่ตัวไหนก็ได้ หรือไม่ก็อาศัยแต่ความจำ ดังนั้นจึงเกิดการเขียนผิดกันอยู่เรื่อย คำๆนึงบางทีก็ใช้ ‘ใ’ บางทีก็ใช้ ‘ไ’ ตัวอย่างเช่น น้ำใส-น้ำไส หวั่นใหว-หวั่นไหว ปาใส-ปาไส(ปราศรัย) ปะชาทิปะไต-ปะชาทิปะใต และยังอีกหลายคำ
ที่กล่าวมานี้เป็นสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงด้านเสียงของภาษาลาว ซึ่งเมื่อเวลาผ่านไปหลายศตวรรษ เสียงสระใดที่คล้ายกันมากก็มักจะเกิดการเปลี่ยนแปลง หรือเกิดการรวมเสียงเข้ากัน (Sound Blending) เสียงสระ /ǝ/ (เออ) และเสียง /j/ (ย) มีความคล้ายกัน เพราะเสียงทั้งสองเป็นสระแถวกลางในช่องปาก (ตามการวิเคราะห์ทางภาษาศาสตร์) เสียง /j/ (ย) บางครั้งก็เป็นได้ทั้งสระและเป็นได้ทั้งพยัญชนะ หมายความว่าเป็นสระที่มีเสียงครึ่งๆกลางๆ (Semivowel;
ภาษาไทยเรียกว่า อัฒสระ ครับ) โอกาสที่เสียง /j/ (ย) จะเปลี่ยนมารวมเป็นเสียงสระ /ǝ/ (เออ) จึงมีมากทีเดียว
ส่วนคำที่ใช้ไม้ม้วนในภาษาลาว เท่าที่รวบรวมได้มีทั้งหมด 29 คำครับ
ใก้ = ใกล้
ใข่ = แห้ง
ใค = ใคร
ใค่ = ใคร่
ใจ = ใจ
ใจ้ = (ปี)ชวด,(ปี)หนู
ใส = ใส, ที่ไหน
ใส่ = ใส่
ใซ = เวลา
ใซ่ = ใช่
ใซ้ = ใช้
ใญ = ใย
ใด = ใด
ใต = ไต
ใต้ = ใต้
ใน = ใน
ใบ = ใบ
ใบ้ = ใบ้
ใผ = ใคร
ใฝ่ = ใฝ่
ใพ้ = (สะ)ใภ้
ใย = [คำอุทาน]
ให้ = ให้
ใอ = [คำอุทาน]
ใฮ่ = ไร่
ใหง่ =
*จขกท.ไม่รู้เหมือนกันว่าแปลว่าอะไร ตามความเข้าใจคงแปลว่า ขี้ฝุ่น*
ใหม = (สิน)ไหม
ใหม่ = ใหม่
ใหล = (หลง)ใหล
ทำไมสระไอถึงต้องมีทั้ง ไม้ม้วน (ใ) และ ไม้มลาย (ไ) - ภาษาลาวมีคำตอบ!
จำได้ไหมครับ? กลอนสระไอไม้ม้วนสมัยประถมที่เราเคยท่องกันเป็นนกแก้วนกขุนทอง:
“ผู้ใหญ่หาผ้าใหม่ ให้สะใภ้ใช้คล้องคอ
ใฝ่ใจเอาใส่ห่อ มิหลงใหลใครขอดู
จะใคร่ลงเรือใบ ดูน้ำใสและปลาปู
สิ่งใดอยู่ในตู้ มิใช่อยู่ใต้ตั่งเตียง
บ้าใบ้ถือใยบัว หูตามัวมาใกล้เคียง
เล่าท่องอย่าละเลี่ยง ยี่สิบม้วนจำจงดี”
เรารู้กันแค่ว่า มีเพียง 20 คำนี้เท่านั้นที่ใช้ไม้ม้วน คำอื่นใช้ไม้มลายหมด โดยที่เรากลับไม่รู้เลยว่าเพราะอะไร จริงไหมครับ?
ผมก็เป็นคนหนึ่งที่กำลังเรียนภาษาลาวอยู่ และใครที่เรียนภาษาลาวจะรู้ดีว่า “คำที่ใช้สระไอไม้ม้วนนั้นมันมีมากกว่า 20 คำ!” แต่ก็ไม่แน่ใจว่ามันมีกี่คำกันแน่ (ก็มันไม่มีกลอนให้ท่องแบบภาษาไทยนี่นา) ผมจึงลองถามอากู๋ผู้รู้ของเราๆท่านๆดู ในที่สุดผมก็ถึงบางอ้อในทันทีเมื่อเจอกับบทความนี้ครับ http://lass.gov.la/attachments/article/61/13.pdf
บทความนี้ชื่อว่า ຄຳທີ່ໃຊ້ສະຫຼະ ໃx ແລະ ໄx ໃນພາສາລາວ (คำที่ใช้สระ ใ และ ไ ในภาษาลาว) เขียนโดย ສົມແສງ ໄຊຍະວົງ (สมแสง ไซยะวง) จากเว็บไซต์ สถาบันวิทยาศาสตร์สังคมแห่งชาติของประเทศลาว (ສະຖາບັນວິທະຍາສາດສັງຄົມແຫ່ງຊາດລາວ; Lao Academy of Social Sciences)
ต่อไปนี้จะเป็นการแปลเฉพาะส่วนที่เป็นเนื้อหาสำคัญๆ ว่า ”ทำไมต้องมีไม้มวนกับไม้มลาย” ครับ
แต่ก่อนเสียงสระ ‘ใ’ และ ‘ไ’ เคยเรียกกันว่าเป็นสระพิเศษ แต่พิเศษอย่างไรนั้นก็ไม่มีใครเขียนชี้แจ้ง ความจริงแล้ว พิเศษที่ว่านี้คือ สระทั้งสองเป็นสระประสม ‘ใ’ เป็นเสียง /a/ (อา) ประสมกับ /ǝ/ (เออ) เป็น /aǝ/ ส่วน ‘ไ’ เป็นเสียง /a/ ประสมกับ /j/ (ย) เป็น /aj/ แต่รูปเขียนในภาษาลาวจะแสดงด้วยรูปอักษรเดียวคือ ‘ใ’ และ ‘ไ’ รูปเขียนมีเพียงอักษรเดียวแต่เสียงเป็นสระประสม
แต่เดิมคนลาวที่สามารถออกเสียงสระสองตัวนี้ให้ต่างกันได้นั้นมีอย่างกว้างขว้าง ปัจจุบันยังเหลือแต่ชาวลาวหลวงพระบาง ชาวลาวไชยบุรี (ไซยะบูลี) ไทดำ และลื้อ (ไทลื้อ) ที่สามารถออกเสียงสระแต่ละตัวนี้ให้แตกต่างกันได้ และเขียนคำก็ไม่ค่อยเขียนผิดกัน คนลาวหลายคนออกเสียงสระ ‘ใ’ ไม่ค่อยเป็นแล้ว กลายเป็น ‘ไ’ ไปหมด ส่วนชาวไทแดงกับไทขาวนั้นออกเสียงสระได้แค่ ‘ไ-’ กับ ‘เ-อ’ ส่วนเสียง ‘ใ’ ก็กลับออกเสียงเหมือนสระ ‘เ-อ’ ดังนั้นพวกเขาเลยมีปัญหาในการแยกจำแนกเสียง ‘ใ-’ กับ ‘เ-อ’
(ขอยกตัวอย่างใกล้ตัวนะครับ ตาจขกท.(หมายถึงพ่อของแม่)เป็นคนผู้ไทกาฬสินธุ์ อย่างเวลาท่านพูดคำว่า ‘ใผ’ (ภาษาอีสานแปลว่า ใคร) ท่านจะออกเสียงว่า ‘เผอ’ เช่นเดียวกันครับ)
เพื่อแก้ไขความสับสนนี้จึงมีผู้หาชื่อใหม่ให้ คือ ‘ใ’ ให้เรียกว่า ‘ไม้ม้วน’ และ ‘ไ’ ให้เรียกว่า ‘ไม้มาย(ไม้มลาย)’ วิธีนี้ก็พอจะช่วยในการเขียนและการจำ แต่มันไม่ใช่วิธีทางภาษาศาสตร์ วิธีทางภาษาศาสตร์นั้นต้องการในเรื่องเสียงที่แท้จริงของมัน หากเห็นรูปเขียนต่างกันเป็น ‘ใ’ และ ‘ไ’ แต่จริงๆแล้วออกเสียงไม่ต่างกัน ก็จำแนกไม่ออกว่าตัวไหนเป็นเสียงไหน เวลาเขียนก็คิดว่าใส่ตัวไหนก็ได้ หรือไม่ก็อาศัยแต่ความจำ ดังนั้นจึงเกิดการเขียนผิดกันอยู่เรื่อย คำๆนึงบางทีก็ใช้ ‘ใ’ บางทีก็ใช้ ‘ไ’ ตัวอย่างเช่น น้ำใส-น้ำไส หวั่นใหว-หวั่นไหว ปาใส-ปาไส(ปราศรัย) ปะชาทิปะไต-ปะชาทิปะใต และยังอีกหลายคำ
ที่กล่าวมานี้เป็นสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงด้านเสียงของภาษาลาว ซึ่งเมื่อเวลาผ่านไปหลายศตวรรษ เสียงสระใดที่คล้ายกันมากก็มักจะเกิดการเปลี่ยนแปลง หรือเกิดการรวมเสียงเข้ากัน (Sound Blending) เสียงสระ /ǝ/ (เออ) และเสียง /j/ (ย) มีความคล้ายกัน เพราะเสียงทั้งสองเป็นสระแถวกลางในช่องปาก (ตามการวิเคราะห์ทางภาษาศาสตร์) เสียง /j/ (ย) บางครั้งก็เป็นได้ทั้งสระและเป็นได้ทั้งพยัญชนะ หมายความว่าเป็นสระที่มีเสียงครึ่งๆกลางๆ (Semivowel; ภาษาไทยเรียกว่า อัฒสระ ครับ) โอกาสที่เสียง /j/ (ย) จะเปลี่ยนมารวมเป็นเสียงสระ /ǝ/ (เออ) จึงมีมากทีเดียว
ส่วนคำที่ใช้ไม้ม้วนในภาษาลาว เท่าที่รวบรวมได้มีทั้งหมด 29 คำครับ
ใก้ = ใกล้
ใข่ = แห้ง
ใค = ใคร
ใค่ = ใคร่
ใจ = ใจ
ใจ้ = (ปี)ชวด,(ปี)หนู
ใส = ใส, ที่ไหน
ใส่ = ใส่
ใซ = เวลา
ใซ่ = ใช่
ใซ้ = ใช้
ใญ = ใย
ใด = ใด
ใต = ไต
ใต้ = ใต้
ใน = ใน
ใบ = ใบ
ใบ้ = ใบ้
ใผ = ใคร
ใฝ่ = ใฝ่
ใพ้ = (สะ)ใภ้
ใย = [คำอุทาน]
ให้ = ให้
ใอ = [คำอุทาน]
ใฮ่ = ไร่
ใหง่ = *จขกท.ไม่รู้เหมือนกันว่าแปลว่าอะไร ตามความเข้าใจคงแปลว่า ขี้ฝุ่น*
ใหม = (สิน)ไหม
ใหม่ = ใหม่
ใหล = (หลง)ใหล