คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 3
ในยุคที่เริ่มแปลนิยายกำลังภายในนั้น ภาษาไทยที่เราใช้สนทนากันในวงสังคมทั่วไปก็ไม่ได้เป็นอย่างภาษาไทยสำนวนปัจจุบันนะครับ สำนวนภาษาไทยที่ใช้แปลนิยายกำลังภายในไม่ได้ห่างจากภาษาสามัญที่ใช้ในยุคมากนัก ลองไปหานิยายของ "ดอกไม้สด", "สด กูรมะโลหิต" หรือนิยายชุดอิงประวัติศาสตร์อินเดียของ "พนมเทียน" เช่นเรื่อง "ศิวา-ราตรี" จะเห็นได้ชัด
นิยายกำลังภายในถูกแปลเป็นภาษาไทยตั้งแต่ประมาณปี 2500 - 2504 นับจนถึงวันนี้ก็ 50 กว่าปีแล้ว ก่อนหน้าที่จะมีการแปลนิยายกำลังภายในก็ได้มีการแปล "นิยายอิงประวัติศาสตร์" ที่เรียกว่า "พงศาวดารจีน" เรื่องแรกที่สามัญชนรู้จักกันดีคือ "สามก๊ก" ฉบับของเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ทุกวันนี้เรายังหามาอ่านกันได้ไม่ยาก หลังจากนั้นก็มีพงศาวดารเรื่องอื่นๆถูกแปลตามมามากมายเช่น ซ้องกั๋ง, เปาบุ้นจิ้น, เป็นต้น สำนวนก็อยู่ในแนวทางเดียวกัน
จนกระทั่งประมาณต้นยุคกึ่งพุทธกาลคุณจำลอง พิศนาคะกับคุณนิยม โรหิตเสถียรเริ่มแปลนิยายจีนกำลังภายในเรื่อง "มังกรหยก" พวกท่านได้ใช้สำนวนเลียนอย่างสามก๊ก คงเป็นเพราะความนิยมเรื่องสามก๊กเป็นอมตะในหมู่นักอ่านจึงน่าจะเป็นกลวิธีสร้างความคุ้นเคยอย่างง่ายๆให้กับผู้อ่านยุคนั้น เรื่องมังกรหยกได้สร้างปรากฏการณ์ครั้งยิ่งใหญ่ในวงการหนังสือนิยายเมืองไทย ด้วยเหตุที่นิยายเรื่องยาวยุคเก่าๆที่ยาวมากๆจะถูกแยกพิมพ์เป็นเล่มเล็กขนาดพ็อคเก็ตบุ๊คบางๆต่อเนื่อง เมื่อถึงวันกำหนดหนังสือออกจะมีแฟนนิยายมายืนต่อแถวหน้าโรงพิมพ์รอซื้อทีเดียว ด้วยความนิยมมากมายมหาศาลขนาดนี้ สำนวนแปลนิยายจึงไม่สามารถเปลี่ยนเป็นอื่นได้อีก นักแปลรุ่นน้องก็ต้องเดินตามรอยเช่นกัน ต่อมาเมื่อคุณว.ณ.เมืองลุงเริ่มแปลออกมาบ้างท่านก็ต้องอาศัยแนวสำนวนนี้เพราะเป็นเอกลักษณ์ภาคบังคับไปเสียแล้ว แต่มีนักวิจารณ์สังเกตุว่าสำนวนของท่านว.ณ.เมืองลุงจะเลียนแบบของ "ยาขอบ" ผู้แปลเรื่อง "สามก๊ก - ฉบับวณิพก" มากกว่า
เมื่อพี่น้องนามปากกา น.นพรัตน์เริ่มเข้าวงการแปลบ้างจึงต้องใช้สำนวนเช่นนี้ตามด้วย แม้ว่าจะเหลือเพียงคนเดียวแล้ววันนี้คุณน.นพรัตน์ก็ยังรักษาเอกลักษณ์เอาไว้ แต่แน่นอนว่าต้องมีวิวัฒนาการบ้างเป็นธรรมดา ที่เปลี่ยนแปลงอย่างมากคือการใช้คำภาษาจีนในเรื่องเป็นภาษาจีนกลาง ในขณะที่ยุคเก่าๆจะใช้ทับศัพท์เป็นภาษาแต้จิ๋วทั้งหมดทุกเรื่อง
ไม่ได้มีอิทธิพลทางสำนวนภาษาจีนมากำกับให้ผู้แปลทั้งหลายต้องใช้สำนวนภาคาษาไทยเป็นอย่างที่ได้อ่านกันหรอกครับ
ที่จริงแล้วภาษาไทยที่แปลนั้น "หรูหรา" กว่าที่ผู้ประพันธ์ต้นฉบับชาวจีนไม่ว่าจะเป็นฮ่องกง, ไต้หวัน หรือจีนแผ่นดินใหญ่ใช้กันจริงๆด้วยซ้ำไป ตัวอย่างเช่นมีฉายาตัวละครเเรื่องหนึ่งที่แปลเป็นภาษาไทยอย่างตรงๆว่า "ยายแก่แร้งดำ" ผู้แปลภาษาไทยคงกลัวว่าฉายานี้น่าจะทำให้ผู้อ่านชาวไทยหัวเราะมากกว่าจะรู้สึกว่าอำมหิตน่าเกรงขาม เลยเปลี่ยนเป็น "นางเฒ่าคฤธรดำ" ไปเสีย อีกตัวอย่างหนึ่งเช่นฉายานักสู้ที่แปลว่า "เหยี่ยวเหลือง" คนแปลคงจะกลัวว่าคนอ่านจะอ่านผิดตกตัว "ห" จอมยุทธ์ผู้นั้นคงหมดสง่ากลายเป็นจอมยุทธ์ป่วยใกล้ตาย ก็เลยประดิษฐ์ประดอยเป็น "เหยี่ยวอำพัน" ไป เหล่านี้เป็นต้น
ไม่ได้มีเพียงแค่นิยายจีนกำลังภายในที่มีสำนวนห่างไกลกับความคุ้นเคยของคนอ่านยุคหลังๆเท่านั้น นิยายแปลจากตะวันตกบางเรื่องที่คงความอมตะจนผู้แปลรุ่นหลังไม่กล้าแปลซ้ำก็มีเช่นกัน ที่ผมเห็นยังมีขายในร้านหนังสือทุกวันนี้คือ "เชอร์ล็อค โฮล์ม" ที่แปลโดย "อ.สายสุวรรณ" ลองไปหาอ่านดูสิครับ สำนวนภาษาไทยจะแปลกมากสำหรับคนอ่านไม่แพ้กัน แต่เป็นเรื่องของการใช้ถ้อยคำร่วมสมัยกับยุคที่แปล ทั้งไม่ใช่เป็นสำนวนแนวพงศาวดารจีนด้วย
นิยายกำลังภายในถูกแปลเป็นภาษาไทยตั้งแต่ประมาณปี 2500 - 2504 นับจนถึงวันนี้ก็ 50 กว่าปีแล้ว ก่อนหน้าที่จะมีการแปลนิยายกำลังภายในก็ได้มีการแปล "นิยายอิงประวัติศาสตร์" ที่เรียกว่า "พงศาวดารจีน" เรื่องแรกที่สามัญชนรู้จักกันดีคือ "สามก๊ก" ฉบับของเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ทุกวันนี้เรายังหามาอ่านกันได้ไม่ยาก หลังจากนั้นก็มีพงศาวดารเรื่องอื่นๆถูกแปลตามมามากมายเช่น ซ้องกั๋ง, เปาบุ้นจิ้น, เป็นต้น สำนวนก็อยู่ในแนวทางเดียวกัน
จนกระทั่งประมาณต้นยุคกึ่งพุทธกาลคุณจำลอง พิศนาคะกับคุณนิยม โรหิตเสถียรเริ่มแปลนิยายจีนกำลังภายในเรื่อง "มังกรหยก" พวกท่านได้ใช้สำนวนเลียนอย่างสามก๊ก คงเป็นเพราะความนิยมเรื่องสามก๊กเป็นอมตะในหมู่นักอ่านจึงน่าจะเป็นกลวิธีสร้างความคุ้นเคยอย่างง่ายๆให้กับผู้อ่านยุคนั้น เรื่องมังกรหยกได้สร้างปรากฏการณ์ครั้งยิ่งใหญ่ในวงการหนังสือนิยายเมืองไทย ด้วยเหตุที่นิยายเรื่องยาวยุคเก่าๆที่ยาวมากๆจะถูกแยกพิมพ์เป็นเล่มเล็กขนาดพ็อคเก็ตบุ๊คบางๆต่อเนื่อง เมื่อถึงวันกำหนดหนังสือออกจะมีแฟนนิยายมายืนต่อแถวหน้าโรงพิมพ์รอซื้อทีเดียว ด้วยความนิยมมากมายมหาศาลขนาดนี้ สำนวนแปลนิยายจึงไม่สามารถเปลี่ยนเป็นอื่นได้อีก นักแปลรุ่นน้องก็ต้องเดินตามรอยเช่นกัน ต่อมาเมื่อคุณว.ณ.เมืองลุงเริ่มแปลออกมาบ้างท่านก็ต้องอาศัยแนวสำนวนนี้เพราะเป็นเอกลักษณ์ภาคบังคับไปเสียแล้ว แต่มีนักวิจารณ์สังเกตุว่าสำนวนของท่านว.ณ.เมืองลุงจะเลียนแบบของ "ยาขอบ" ผู้แปลเรื่อง "สามก๊ก - ฉบับวณิพก" มากกว่า
เมื่อพี่น้องนามปากกา น.นพรัตน์เริ่มเข้าวงการแปลบ้างจึงต้องใช้สำนวนเช่นนี้ตามด้วย แม้ว่าจะเหลือเพียงคนเดียวแล้ววันนี้คุณน.นพรัตน์ก็ยังรักษาเอกลักษณ์เอาไว้ แต่แน่นอนว่าต้องมีวิวัฒนาการบ้างเป็นธรรมดา ที่เปลี่ยนแปลงอย่างมากคือการใช้คำภาษาจีนในเรื่องเป็นภาษาจีนกลาง ในขณะที่ยุคเก่าๆจะใช้ทับศัพท์เป็นภาษาแต้จิ๋วทั้งหมดทุกเรื่อง
ไม่ได้มีอิทธิพลทางสำนวนภาษาจีนมากำกับให้ผู้แปลทั้งหลายต้องใช้สำนวนภาคาษาไทยเป็นอย่างที่ได้อ่านกันหรอกครับ
ที่จริงแล้วภาษาไทยที่แปลนั้น "หรูหรา" กว่าที่ผู้ประพันธ์ต้นฉบับชาวจีนไม่ว่าจะเป็นฮ่องกง, ไต้หวัน หรือจีนแผ่นดินใหญ่ใช้กันจริงๆด้วยซ้ำไป ตัวอย่างเช่นมีฉายาตัวละครเเรื่องหนึ่งที่แปลเป็นภาษาไทยอย่างตรงๆว่า "ยายแก่แร้งดำ" ผู้แปลภาษาไทยคงกลัวว่าฉายานี้น่าจะทำให้ผู้อ่านชาวไทยหัวเราะมากกว่าจะรู้สึกว่าอำมหิตน่าเกรงขาม เลยเปลี่ยนเป็น "นางเฒ่าคฤธรดำ" ไปเสีย อีกตัวอย่างหนึ่งเช่นฉายานักสู้ที่แปลว่า "เหยี่ยวเหลือง" คนแปลคงจะกลัวว่าคนอ่านจะอ่านผิดตกตัว "ห" จอมยุทธ์ผู้นั้นคงหมดสง่ากลายเป็นจอมยุทธ์ป่วยใกล้ตาย ก็เลยประดิษฐ์ประดอยเป็น "เหยี่ยวอำพัน" ไป เหล่านี้เป็นต้น
ไม่ได้มีเพียงแค่นิยายจีนกำลังภายในที่มีสำนวนห่างไกลกับความคุ้นเคยของคนอ่านยุคหลังๆเท่านั้น นิยายแปลจากตะวันตกบางเรื่องที่คงความอมตะจนผู้แปลรุ่นหลังไม่กล้าแปลซ้ำก็มีเช่นกัน ที่ผมเห็นยังมีขายในร้านหนังสือทุกวันนี้คือ "เชอร์ล็อค โฮล์ม" ที่แปลโดย "อ.สายสุวรรณ" ลองไปหาอ่านดูสิครับ สำนวนภาษาไทยจะแปลกมากสำหรับคนอ่านไม่แพ้กัน แต่เป็นเรื่องของการใช้ถ้อยคำร่วมสมัยกับยุคที่แปล ทั้งไม่ใช่เป็นสำนวนแนวพงศาวดารจีนด้วย
สุดยอดความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น
สงสัยเกี่ยวกับสำนวนการแปลนิยายจีนครับ
- ภายในห้องโถงมีเก้าอี้ไม้ตัวใหญ่ นั่งไว้ด้วยชายวัยกลางคนผู้หนึ่ง
- ด้วยบุญคุณความแค้นมากมาย ข้าพเจ้ามิอาจไม่ลงมือ
- เหตุการณ์แปรเปลี่ยนไปเช่นนี้ ไยมิใช่ย่ำแย่แล้ว
คือภาษาไทยทั่วไปจะไม่ได้เขียนกันแบบนี้ ทีนี้ประเด็นของผมคือผมสงสัยว่า
การเขียนแบบนี้เป็นฝีมือ + สำนวนลีลาของผู้แปลเอง หรือว่าประโยค + ไวยากรณ์ภาษาจีนต้นฉบับมีส่วนช่วยให้เขียนออกมาแบบนี้ครับ
ผมแท็กภาษาจีนด้วยเผื่อคนรู้ภาษาจีนมาช่วยตอบนะครับ ขอบคุณครับ