1. Naegleria fowleri
เมื่อประมาณ 1 เดือนที่ผ่านมา ได้มีเด็กอายุ 12 ปีเข้าโรงพยาบาลด้วยอาการปวดหัว หลังจากกลับจากการไปเล่นน้ำที่ sandy-bottom lake ใน Willow Springs Water Park เมื่อทำการตรวจร่างกายอย่างละเอียดจึงพบว่า สมองของเด็กกำลังถูก"อะมีบ้า" กัดกิน
เชื้ออะมีบาใน Genus Naegleria เช่น Naegleria fowleri เป็นเชื้อที่ก่อให้เกิดโรค โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากอะมีบา (Amoebic meningoencephalalitis) พบได้ในดินและแหล่งน้ำตามธรรมชาติเช่น ลำธาร ลำคลอง หนองน้ำ บ่อ บึง ทะเลสาบน้ำจืด ฯลฯ โดยเฉพาะบริเวณที่น้ำไหลช้าๆ หรือบริเวณที่เป็นดินโคลน อะมีบาเหล่านี้ชอบน้ำอุ่นๆ จึงพบมากในฤดูร้อน หรือพบตามแหล่งน้ำธรรมชาติใกล้โรงงานที่ปล่อยน้ำร้อนออกมา แต่จะไม่พบในน้ำกร่อยหรือน้ำทะเล
โดยปกติอะมีบาเหล่านี้ดำรงชีพอิสระในสิ่งแวดล้อม โดยอาศัยกินของเสียจากแบคทีเรีย แต่เมื่ออะมีบาดังกล่าวมีโอกาสเข้าสู่คนจะก่อให้เกิดพยาธิสภาพที่รุนแรงโดยเฉพาะที่สมอง ทำให้เกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบและเนื้อสมองอักเสบที่มีอาการรุนแรงถึงแก่ความตายได้ ในประเทศไทยมีรายงานผู้ป่วยโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้ออะมีบาเหล่านี้ไม่มากนัก มีรายงานพบในประเทศต่าง ๆ ได้แก่ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อังกฤษ สหรัฐอเมริกา เบลเยียมและเช็คโกสโลวาเกีย เป็นต้น
การติดเชื้อ Naegleria fowleri นั้นอาจเกิดจากการไปว่ายน้ำในแหล่งที่มีเชื้ออยู่ และอาจเกิดการสำลักน้ำ โดยเฉพาะ คนที่ชอบดำน้ำลงไปที่ก้นหนองน้ำหรือบึงแล้วสำลักจะมีโอกาสเป็นโรคนี้มากกว่าคนที่เล่นน้ำบริเวณผิวน้ำ เพราะเชื้อจะมีมากบริเวณก้นบึง ในกรณีที่ได้รับเชื้อเข้าไปมากเชื้อจะแบ่งตัวในจมูก ทำให้มีอาการคล้ายเป็นหวัด คัดจมูก มีน้ำมูกไหล ต่อมาอะมีบาจะไชเยื่อบุโพรงจมูกผ่านไปตามเส้นประสาทสมองคู่ที่ 1 (olfactory nerve) และลามต่อไปยังเนื้อสมองและเยื่อหุ้มสมอง แล้วมีการเจริญเติบโตและแบ่งตัวในสมอง
แต่การที่จะเกิดโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากอะมีบา (Amoebic meningoencephalalitis) นี้มีโอกาสน้อยมาก ในปี 1962 เคยมีผู้ป่วยติดเชื้อดังกล่าว และเสียชีวิตในอีก 5 วันถัดมา และตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาก็ไม่เคยเกิดอีกเลย
2. Taenia solium
Taenia solium หรือพยาธิตัวตืดหมู พบได้ทั่วไปในแอฟริกา เอเชีย และลาตินอเมริกา พยาธิเหล่านี้จะอาศัยอยู่ในลำไส้เล็กของมนุษย์พร้อมทั้งวางไข่ไว้ในลำไส้
พยาธิตัวตืดหมู (Taenia solium) จะมีลักษณะลำตัวเป็นเส้นแบนคล้ายเส้นข้าวซอย มีความยาวหลายเมตร ลำตัวเป็นปล้องๆ ส่วนปล้องท้ายสุด จะหลุดปนออกมากับอุจจาระคน หรืออาจจะคืบคลานออกมาจากทวารหนัก ภายในปล้องจะมีไข่พยาธิ
เมื่อคนกินอาหารที่ประกอบจากเนื้อหมูที่มีตัวอ่อนพยาธิอยู่ โดยกินดิบหรือสุกๆ ดิบๆ หรือน้ำดื่มที่มีไข่พยาธิปะปน ไข่พยาธิก็จะเจริญเติบโตเป็นระยะตัวอ่อนเม็ดสาคูในร่างกายคน โดยไปอยู่ตามอวัยวะต่างๆ เช่น สมอง ตา หัวใจ ปอด และกล้ามเนื้อ ทำให้เกิดอาการรุนแรง ภาวะที่มีตัวอ่อนเม็ดสาคู cysticercus ในร่างกาย เรียกว่า ซิสติเซอร์โคซิส (cysticercosis) เมื่ออยู่ในอวัยวะที่สำคัญๆ เช่น ในสมองและไขสันหลัง (neurocysticercosis) อาจส่งผลให้เสียชีวิตได้ หรือตาบอดเมื่ออยู่ในตา (ซิสติเซอร์โคซิสของนัยน์ตา ocular cysticercosis)
การป้องกันพยาธิตัวตืดหมูทำได้โดยไม่ทานอาหารสุกๆ ดิบๆ และถ้าเป็นผักสดก็ควรนำมาล้างให้สะอาดก่อนเท่านั้นเอง
3. Toxoplasma gondii
Toxoplasma gondii เป็นปรสิตสัตว์เซลล์เดียวกลุ่มค็อกซิเดีย (coccidia) มีรูปร่าง 3 แบบ ได้แก่ trophozoite, bradyzoites (tissue cyst) และ oocyst เชื้อนี้จะอาศัยอยู่ในสัตว์หลายๆ ชนิด เช่น แมว หมู นก ไก่ แพะ โค เป็นต้น
Toxoplasma gondii เป็นปรสิตที่สามารถแพร่กระจายจากสัตว์สู่คนได้ การติดเชื้อ Toxoplasma gondii ส่วนใหญ่จะผ่านทางระบบทางเดินอาหารจากการกิน oocyst เมื่อซีสต์แตกจะทำให้เชื้อออกมาในลำไส้เล็ก และไชผ่านผนังเข้าไปในกระแสเลือดและระบบน้ำเหลืองของสัตว์แล้วไปสู่อวัยวะต่างๆ ในร่างกาย เมื่อภูมิคุ้มกันของสัตว์เกิดการต่อต้านปรสิตจะเข้าสู่อวัยวะภายในที่ภูมิคุ้มกันเข้าไม่ถึงเช่น สมอง กล้ามเนื้อ หัวใจ ลูกตา แล้วแบ่งตัวและสร้างผนังห่อหุ้มตัวเองไว้กลายเป็น ซีสต์ (cyst) ซึ่งภายในซิสต์อาจมีปรสิตมากถึง 3000 ตัว เมื่อใดที่ภูมิคุ้มกันต่ำลงซีสต์เหล่านั้นจะแตกออกและปรสิตเหล่าน้นก็จะเจริญต่อไป
คนสามารถติดปรสิตชนิดนี้ได้จาก "แมว" เมื่อแมวที่ติดเชื้อถ่ายอุจจาระ ซีสต์ที่อยู่ในตัวแมวก็จะถูกปล่อยออกมาด้วย เมื่อคนรับประทานน้ำหรืออาหารที่ปนเปื้อนปรสิตเหล่านั้นเข้าไปก็จะเกิดการติดเชื้อ นอกจากนี้ผู้ที่ชอบทานอาหารสุกๆ ดิบๆ ก็อาจได้รับซึสต์จากเนื้อสัตว์ที่ติดเชื้อได้ นอกจากการติดเชื้อผ่านทางการกินแล้ว Toxoplasma gondii ยังสามารถติดผ่านการถ่ายเลือดหรือการปลูกถ่ายอวัยวะที่สำคัญ และยังติดเชื้อจากแม่ไปสู่ทารกในครรภ์ได้อีกด้วย
ส่วนใหญ่ผู้ที่รับเชื้อโดยตรงจะไม่แสดงอาการใดๆ จนกระทั่งระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายลดลง โดยจะมีอาการคือ เป็นไข้ไม่ทราบสาเหตุ ต่อมน้ำเหลืองโต ติดเชื้อในอวัยวะต่างๆ เช่น หัวใจ ปอด ตับ ระบบประสาท และสมองเป็นต้น และสำหรับทารกในครรภ์จะได้รับเชื้อผ่านทางรกเข้าไปสู่ตับของเด็ก และแพร่กระจายไปตามหลอดเลือดและท่อน้ำเหลืองเข้าสู่อวัยวะต่างๆ ทำให้เกิดปอดอักเสบ หัวใจอักเสบ เนื้อสมองตาย
การป้องกันการติดเชื้อทำได้โดยไม่รับประทานอาหารสุกๆ ดิบๆ และล้างมือให้สะอาดทุกครั้งก่อนรับประทานอาหาร หากเลี้ยงแมวควรมีที่ให้แมวขับถ่ายและเปลี่ยนทุกวัน ไม่ควรเลี้ยงแมวด้วยอาหารดิบ และในผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันต่ำหรือหญิงมีครรภ์ควรระมัดระวังที่จะไม่สัมผัสกับถาดทรายที่ทำไว้ให้แมวถ่าย
4. loa loa
loa loa หรือพยาธิตัวกลมสายพันธุ์ filaria พบได้ทางตะวันตกและตอนกลางของทวีปแอฟริกา บริเวณป่าที่มีฝนตกชุกตลอดปี พาหะของโรคชนิดนี้คือ คนและลิงบาบูน โดยมีพาหะนำเชื้อได้แก่ แมลงชนิดmango flies ใน genus Chrysops แมลงเหล่านี้จะปล่อยตัวอ่อนระยะติดต่อ microfilaria เข้าสู่กระแสโลหิต เมื่อมันมากัดคนหรือสัตว์ ตัวอ่อนเหล่านี้เจริญเป็นตัวแก่ใช้เวลานานเป็นปี
พยาธิ
loa loa นี้ที่พบได้ในตา แต่ใช่ว่ามันจะอยู่ในตาเสมอไป บางครั้งมันก็เคลื่อนที่ไปยังบริเวณอื่นๆ ของร่างกาย โดยถ้าเคลื่อนที่ไปตามผิวหนังของผู้ป่วยจะมีอาการคัน โดยเฉพาะที่ตาและตามผิวหนังบริเวณข้อมือหรือข้อเท้า ส่วนมากพบเป็นก้อนบวมร้อน แต่ไม่เจ็บ อาจมีบางรายที่มีไข้ ชาตามเส้น
การตรวจพยาธิ loa loa สามารถพบพยาธิในกระแสโลหิตได้ในเวลากลางวัน ส่วนเวลากลางคืนพบอยู่ในหลอดเลือดฝอยของปอดหรืออวัยวะอื่นๆ
การใช้ยาในการฆ่าพยาธิตัวกลมถือว่าเป็นวิธีที่เสี่ยงเป็นอย่างมาก เพราะในร่างกายมีพยาธิจำนวนมาก เมื่อให้ยาจะทำให้พยาธิตาย ซึ่งมีโอกาสที่พยาธิจะไปตายในสมองหรือรอบๆ สมอง เป็นสาเหตุให้สมองอาจเกิดการอักเสบได้หรืออาจตายในเส้นเลือดฝอยทำให้ขวางการไหลของเลือดที่จะไปหล่อเลี้ยงสมอง ส่งผลให้สมองทำงานผิดปกติ (encephalopathy)
ที่มา..บทความจาก
http://vcharkarn.com/varticle/57302
4 ปรสิตที่พร้อมจะเข้าสมอง หากคุณไม่ระวัง (ถ้าตั้งกระทู้ซ้ำต้องขออภัยด้วยนะคะ)
1. Naegleria fowleri
เมื่อประมาณ 1 เดือนที่ผ่านมา ได้มีเด็กอายุ 12 ปีเข้าโรงพยาบาลด้วยอาการปวดหัว หลังจากกลับจากการไปเล่นน้ำที่ sandy-bottom lake ใน Willow Springs Water Park เมื่อทำการตรวจร่างกายอย่างละเอียดจึงพบว่า สมองของเด็กกำลังถูก"อะมีบ้า" กัดกิน
เชื้ออะมีบาใน Genus Naegleria เช่น Naegleria fowleri เป็นเชื้อที่ก่อให้เกิดโรค โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากอะมีบา (Amoebic meningoencephalalitis) พบได้ในดินและแหล่งน้ำตามธรรมชาติเช่น ลำธาร ลำคลอง หนองน้ำ บ่อ บึง ทะเลสาบน้ำจืด ฯลฯ โดยเฉพาะบริเวณที่น้ำไหลช้าๆ หรือบริเวณที่เป็นดินโคลน อะมีบาเหล่านี้ชอบน้ำอุ่นๆ จึงพบมากในฤดูร้อน หรือพบตามแหล่งน้ำธรรมชาติใกล้โรงงานที่ปล่อยน้ำร้อนออกมา แต่จะไม่พบในน้ำกร่อยหรือน้ำทะเล
โดยปกติอะมีบาเหล่านี้ดำรงชีพอิสระในสิ่งแวดล้อม โดยอาศัยกินของเสียจากแบคทีเรีย แต่เมื่ออะมีบาดังกล่าวมีโอกาสเข้าสู่คนจะก่อให้เกิดพยาธิสภาพที่รุนแรงโดยเฉพาะที่สมอง ทำให้เกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบและเนื้อสมองอักเสบที่มีอาการรุนแรงถึงแก่ความตายได้ ในประเทศไทยมีรายงานผู้ป่วยโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้ออะมีบาเหล่านี้ไม่มากนัก มีรายงานพบในประเทศต่าง ๆ ได้แก่ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อังกฤษ สหรัฐอเมริกา เบลเยียมและเช็คโกสโลวาเกีย เป็นต้น
การติดเชื้อ Naegleria fowleri นั้นอาจเกิดจากการไปว่ายน้ำในแหล่งที่มีเชื้ออยู่ และอาจเกิดการสำลักน้ำ โดยเฉพาะ คนที่ชอบดำน้ำลงไปที่ก้นหนองน้ำหรือบึงแล้วสำลักจะมีโอกาสเป็นโรคนี้มากกว่าคนที่เล่นน้ำบริเวณผิวน้ำ เพราะเชื้อจะมีมากบริเวณก้นบึง ในกรณีที่ได้รับเชื้อเข้าไปมากเชื้อจะแบ่งตัวในจมูก ทำให้มีอาการคล้ายเป็นหวัด คัดจมูก มีน้ำมูกไหล ต่อมาอะมีบาจะไชเยื่อบุโพรงจมูกผ่านไปตามเส้นประสาทสมองคู่ที่ 1 (olfactory nerve) และลามต่อไปยังเนื้อสมองและเยื่อหุ้มสมอง แล้วมีการเจริญเติบโตและแบ่งตัวในสมอง
แต่การที่จะเกิดโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากอะมีบา (Amoebic meningoencephalalitis) นี้มีโอกาสน้อยมาก ในปี 1962 เคยมีผู้ป่วยติดเชื้อดังกล่าว และเสียชีวิตในอีก 5 วันถัดมา และตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาก็ไม่เคยเกิดอีกเลย
2. Taenia solium
Taenia solium หรือพยาธิตัวตืดหมู พบได้ทั่วไปในแอฟริกา เอเชีย และลาตินอเมริกา พยาธิเหล่านี้จะอาศัยอยู่ในลำไส้เล็กของมนุษย์พร้อมทั้งวางไข่ไว้ในลำไส้
พยาธิตัวตืดหมู (Taenia solium) จะมีลักษณะลำตัวเป็นเส้นแบนคล้ายเส้นข้าวซอย มีความยาวหลายเมตร ลำตัวเป็นปล้องๆ ส่วนปล้องท้ายสุด จะหลุดปนออกมากับอุจจาระคน หรืออาจจะคืบคลานออกมาจากทวารหนัก ภายในปล้องจะมีไข่พยาธิ
เมื่อคนกินอาหารที่ประกอบจากเนื้อหมูที่มีตัวอ่อนพยาธิอยู่ โดยกินดิบหรือสุกๆ ดิบๆ หรือน้ำดื่มที่มีไข่พยาธิปะปน ไข่พยาธิก็จะเจริญเติบโตเป็นระยะตัวอ่อนเม็ดสาคูในร่างกายคน โดยไปอยู่ตามอวัยวะต่างๆ เช่น สมอง ตา หัวใจ ปอด และกล้ามเนื้อ ทำให้เกิดอาการรุนแรง ภาวะที่มีตัวอ่อนเม็ดสาคู cysticercus ในร่างกาย เรียกว่า ซิสติเซอร์โคซิส (cysticercosis) เมื่ออยู่ในอวัยวะที่สำคัญๆ เช่น ในสมองและไขสันหลัง (neurocysticercosis) อาจส่งผลให้เสียชีวิตได้ หรือตาบอดเมื่ออยู่ในตา (ซิสติเซอร์โคซิสของนัยน์ตา ocular cysticercosis)
การป้องกันพยาธิตัวตืดหมูทำได้โดยไม่ทานอาหารสุกๆ ดิบๆ และถ้าเป็นผักสดก็ควรนำมาล้างให้สะอาดก่อนเท่านั้นเอง
3. Toxoplasma gondii
Toxoplasma gondii เป็นปรสิตสัตว์เซลล์เดียวกลุ่มค็อกซิเดีย (coccidia) มีรูปร่าง 3 แบบ ได้แก่ trophozoite, bradyzoites (tissue cyst) และ oocyst เชื้อนี้จะอาศัยอยู่ในสัตว์หลายๆ ชนิด เช่น แมว หมู นก ไก่ แพะ โค เป็นต้น
Toxoplasma gondii เป็นปรสิตที่สามารถแพร่กระจายจากสัตว์สู่คนได้ การติดเชื้อ Toxoplasma gondii ส่วนใหญ่จะผ่านทางระบบทางเดินอาหารจากการกิน oocyst เมื่อซีสต์แตกจะทำให้เชื้อออกมาในลำไส้เล็ก และไชผ่านผนังเข้าไปในกระแสเลือดและระบบน้ำเหลืองของสัตว์แล้วไปสู่อวัยวะต่างๆ ในร่างกาย เมื่อภูมิคุ้มกันของสัตว์เกิดการต่อต้านปรสิตจะเข้าสู่อวัยวะภายในที่ภูมิคุ้มกันเข้าไม่ถึงเช่น สมอง กล้ามเนื้อ หัวใจ ลูกตา แล้วแบ่งตัวและสร้างผนังห่อหุ้มตัวเองไว้กลายเป็น ซีสต์ (cyst) ซึ่งภายในซิสต์อาจมีปรสิตมากถึง 3000 ตัว เมื่อใดที่ภูมิคุ้มกันต่ำลงซีสต์เหล่านั้นจะแตกออกและปรสิตเหล่าน้นก็จะเจริญต่อไป
คนสามารถติดปรสิตชนิดนี้ได้จาก "แมว" เมื่อแมวที่ติดเชื้อถ่ายอุจจาระ ซีสต์ที่อยู่ในตัวแมวก็จะถูกปล่อยออกมาด้วย เมื่อคนรับประทานน้ำหรืออาหารที่ปนเปื้อนปรสิตเหล่านั้นเข้าไปก็จะเกิดการติดเชื้อ นอกจากนี้ผู้ที่ชอบทานอาหารสุกๆ ดิบๆ ก็อาจได้รับซึสต์จากเนื้อสัตว์ที่ติดเชื้อได้ นอกจากการติดเชื้อผ่านทางการกินแล้ว Toxoplasma gondii ยังสามารถติดผ่านการถ่ายเลือดหรือการปลูกถ่ายอวัยวะที่สำคัญ และยังติดเชื้อจากแม่ไปสู่ทารกในครรภ์ได้อีกด้วย
ส่วนใหญ่ผู้ที่รับเชื้อโดยตรงจะไม่แสดงอาการใดๆ จนกระทั่งระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายลดลง โดยจะมีอาการคือ เป็นไข้ไม่ทราบสาเหตุ ต่อมน้ำเหลืองโต ติดเชื้อในอวัยวะต่างๆ เช่น หัวใจ ปอด ตับ ระบบประสาท และสมองเป็นต้น และสำหรับทารกในครรภ์จะได้รับเชื้อผ่านทางรกเข้าไปสู่ตับของเด็ก และแพร่กระจายไปตามหลอดเลือดและท่อน้ำเหลืองเข้าสู่อวัยวะต่างๆ ทำให้เกิดปอดอักเสบ หัวใจอักเสบ เนื้อสมองตาย
การป้องกันการติดเชื้อทำได้โดยไม่รับประทานอาหารสุกๆ ดิบๆ และล้างมือให้สะอาดทุกครั้งก่อนรับประทานอาหาร หากเลี้ยงแมวควรมีที่ให้แมวขับถ่ายและเปลี่ยนทุกวัน ไม่ควรเลี้ยงแมวด้วยอาหารดิบ และในผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันต่ำหรือหญิงมีครรภ์ควรระมัดระวังที่จะไม่สัมผัสกับถาดทรายที่ทำไว้ให้แมวถ่าย
4. loa loa
loa loa หรือพยาธิตัวกลมสายพันธุ์ filaria พบได้ทางตะวันตกและตอนกลางของทวีปแอฟริกา บริเวณป่าที่มีฝนตกชุกตลอดปี พาหะของโรคชนิดนี้คือ คนและลิงบาบูน โดยมีพาหะนำเชื้อได้แก่ แมลงชนิดmango flies ใน genus Chrysops แมลงเหล่านี้จะปล่อยตัวอ่อนระยะติดต่อ microfilaria เข้าสู่กระแสโลหิต เมื่อมันมากัดคนหรือสัตว์ ตัวอ่อนเหล่านี้เจริญเป็นตัวแก่ใช้เวลานานเป็นปี
พยาธิ loa loa นี้ที่พบได้ในตา แต่ใช่ว่ามันจะอยู่ในตาเสมอไป บางครั้งมันก็เคลื่อนที่ไปยังบริเวณอื่นๆ ของร่างกาย โดยถ้าเคลื่อนที่ไปตามผิวหนังของผู้ป่วยจะมีอาการคัน โดยเฉพาะที่ตาและตามผิวหนังบริเวณข้อมือหรือข้อเท้า ส่วนมากพบเป็นก้อนบวมร้อน แต่ไม่เจ็บ อาจมีบางรายที่มีไข้ ชาตามเส้น
การตรวจพยาธิ loa loa สามารถพบพยาธิในกระแสโลหิตได้ในเวลากลางวัน ส่วนเวลากลางคืนพบอยู่ในหลอดเลือดฝอยของปอดหรืออวัยวะอื่นๆ
การใช้ยาในการฆ่าพยาธิตัวกลมถือว่าเป็นวิธีที่เสี่ยงเป็นอย่างมาก เพราะในร่างกายมีพยาธิจำนวนมาก เมื่อให้ยาจะทำให้พยาธิตาย ซึ่งมีโอกาสที่พยาธิจะไปตายในสมองหรือรอบๆ สมอง เป็นสาเหตุให้สมองอาจเกิดการอักเสบได้หรืออาจตายในเส้นเลือดฝอยทำให้ขวางการไหลของเลือดที่จะไปหล่อเลี้ยงสมอง ส่งผลให้สมองทำงานผิดปกติ (encephalopathy)
ที่มา..บทความจาก http://vcharkarn.com/varticle/57302