ไม่ใช่ดอกหญ้าธรรมดานะคะนั่น ที่พี่ชายเก็บให้น้องน้อยนั่น ดอกหญ้า "ขี้ครอก" ซะด้วย :P

ทำไมต้องตอกย้ำน้องน้อยขนาดนี้ด้วย!!  ร้องไห้


ขำๆ นะคะ ไม่ได้เห็นดอกไม้สีชมพูนี่นานแล้ว เมื่อก่อนแถวบ้านมีเพียบ
ตอนเด็กๆ สงสัยมาตลอด ดอกออกจะสวย สีหวาน ทำไมชื่อนี้ก็ไม่รู้




ชื่อพฤกษาศาสตร์ Ureae lobata
วงศ์ MALVACEAE

  ขี้ครอก เป็นพืชในวงศ์ชบา (MALVACEAE) พืชนิดนี้เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก (Undershrub) สูง 0.5-1.5 เมตร ใบเป็นรูปหอกหรือรูปไข่ ยาว 6-8 เซนติเมตร กว้าง 3.5 เซนติเมตร มีขนแข็งๆสากมือปกคลุมทั้งสองด้าน ถ้าใบแฉกลึกเรีนกว่า "ขี้ครอกตัวผู้" ถ้ามีแฉกน้อยและตื้นเรียกว่า "ขี้ครอกตัวเมีย" ดอกออกเป็นช่อกระจุกที่ซอกใบ ดอกสีชมพู หรือชมพูอมแดง หรือชมพูอมม่วง กลีบดอกมี 5 กลีบ ปลายกลีบค่อนข้างกลมมน

ฤดูกาลออกดอก : เดือนพฤษภาคม-ตุลาคม
ถิ่นกระจายพันธุ์และนิเวศวิทยา : พบตามป่าที่ราบ พื้นที่รกร้างว่างเปล่า และทุ่งหญ้าในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออก อาทิ อุทยานแห่งชาติผาแต้ม จังหวัดอุบลราชธานี เป็นต้น
สภาพนิเวศที่พบ : ทุ่งหญ้า, ที่ราบ
สถานภาพ : พบเห็นได้ง่าย


ที่มา: http://suphapr.wordpress.com/2007/12/25/%E0%B8%82%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%81/
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่