เพราะการขอแก้ไขรัฐธรรมนูญในครั้งนี้มี ประเด็นหลัก ที่หลายฝ่ายรู้สึกกังวลเป็นอย่างมากอยู่ สามประการ ด้วยกัน
ประการแรกคือ ยกเลิกระบบสรรหา ส.ว. และให้ ส.ว. มาจากการเลือกตั้งหมด ทั้ง 200 คน
ข้ออ้างที่ขอยกเลิกคือ ต้องการให้ ส.ว. มีจุด ยึดโยง กับประชาชน ถ้าประชาชนไม่ได้เลือกตั้งมา จะบอกว่าเป็นตัวแทนของประชาชนย่อมไม่ได้
ประการที่สอง คือ เปิดโอกาสให้ เครือข่ายของนักการเมือง สมัครเป็น ส.ว. ได้
ถ้าแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 หมาย ความว่า เปิดโอกาสให้ครอบครัว ส.ส. และผู้มีอำนาจทางการเมืองลงสมัคร ส.ว. ได้
ใครที่หลุดจากเก้าอี้รัฐมนตรีหรือ ส.ส. สามารถลงสมัคร ส.ว. ได้ทันที ซึ่งแต่เดิมห้ามเอาไว้
ประการที่สาม คือ เปิดโอกาสให้บุคคลมีสิทธิเป็น ส.ว. ได้ สองสมัยติดกัน
รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันบัญญัติไว้ว่า บุคคลผู้เคยดำรงตำแหน่ง ส.ว. และสมาชิกภาพสิ้นสุดลงมาแล้ว ยังไม่เกิน 2 ปี จะเป็นรัฐมนตรี หรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง มิได้
แก้ไขใหม่จะกลายเป็นว่า บุคคลผู้เคยดำรงตำแหน่ง ส.ว. และสมาชิกภาพสิ้นสุดลงแล้วยังไม่เกิน 2 ปี จะเป็นรัฐมนตรีหรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ซึ่งมิใช่ ส.ว. มิได้
ความหมายคือ เป็นรัฐมนตรีหรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองซึ่งมิใช่ ส.ว. มิได้
แต่เป็น ส.ว. ต่อไปได้เลย นับเป็นการเขียนที่มีความลุ่มลึกไม่เบาทีเดียว
ประเด็น ที่ใครต่อใครเป็นห่วงเป็นใยกับการแก้รัฐธรรมนูญ เกี่ยวกับ ส.ว. มีดังนี้
หนึ่ง ถ้าเลือกตั้งหมดเหมือน ส.ส. แล้วจะมี ส.ว. ไปทำไม
สอง ส.ว. นั้นเป็นผู้ สถาปนา บุคคลเข้าไปนั่งในหลายองค์กรของรัฐ พร้อมทั้งมีอำนาจในการ ถอดถอน บุคคลระดับสูงของประเทศอีกด้วย ถ้าได้ บุคคลที่มาในคราบของการเมืองแบบกินรวบประเทศไทย และ ไม่มีความเป็นกลาง บ้านเมืองจะเหลืออะไรในอนาคต
สาม ถ้าไม่เชื่อมั่นในระบบคัดเลือกก็ควรไปแก้ที่ระบบคัดเลือก และ ส.ว. แต่งตั้ง ก็ควรมีต่อไป
มีการเสนอว่า ควรให้มีกระบวนการเลือกตั้งทางอ้อมจากองค์กรวิชาชีพ ผสมกับ การเลือกตั้งทางตรงเพราะถ้าเลือกตั้งทางตรงกันหมด เกรงว่าผู้สมัคร ส.ว. จะไปพึ่งพิงฐานเสียงของพรรคการเมือง ซึ่งในที่สุดจะหาความเป็นกลางไม่ได้อย่างแน่นอน
แต่ข้อเสนอเหล่านี้ มิได้รับการตอบสนอง ในทางบวก แต่อย่างใด
ผลคือ ยืนยัน ยืนหยัด ว่าจะต้องมาจากเลือกตั้งทั้ง 200 คน ห้ามผิดเพี้ยนไปกว่านี้
บ้านเมืองเป็นของคนไทยทุกคน ใครทักใครทานอะไรควรต้องฟังกันบ้าง มิฉะนั้นบ้านเมืองจะวุ่นไม่มีสิ้นสุด
ขนาด จิ้งจก ทักเรายังต้องฟังกันเลย แล้วเรื่องใหญ่ ๆ เช่นนี้จะ ไม่ฟังกันบ้างเลยหรือ ท่าน กรรมาธิการเสียงข้างมาก ในสภา.
ตัดตอนจากเดลินิวส์
รัฐบาลเพื่อไทย วางแผนกินรวบประเทศไทย
ประการแรกคือ ยกเลิกระบบสรรหา ส.ว. และให้ ส.ว. มาจากการเลือกตั้งหมด ทั้ง 200 คน
ข้ออ้างที่ขอยกเลิกคือ ต้องการให้ ส.ว. มีจุด ยึดโยง กับประชาชน ถ้าประชาชนไม่ได้เลือกตั้งมา จะบอกว่าเป็นตัวแทนของประชาชนย่อมไม่ได้
ประการที่สอง คือ เปิดโอกาสให้ เครือข่ายของนักการเมือง สมัครเป็น ส.ว. ได้
ถ้าแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 หมาย ความว่า เปิดโอกาสให้ครอบครัว ส.ส. และผู้มีอำนาจทางการเมืองลงสมัคร ส.ว. ได้
ใครที่หลุดจากเก้าอี้รัฐมนตรีหรือ ส.ส. สามารถลงสมัคร ส.ว. ได้ทันที ซึ่งแต่เดิมห้ามเอาไว้
ประการที่สาม คือ เปิดโอกาสให้บุคคลมีสิทธิเป็น ส.ว. ได้ สองสมัยติดกัน
รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันบัญญัติไว้ว่า บุคคลผู้เคยดำรงตำแหน่ง ส.ว. และสมาชิกภาพสิ้นสุดลงมาแล้ว ยังไม่เกิน 2 ปี จะเป็นรัฐมนตรี หรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง มิได้
แก้ไขใหม่จะกลายเป็นว่า บุคคลผู้เคยดำรงตำแหน่ง ส.ว. และสมาชิกภาพสิ้นสุดลงแล้วยังไม่เกิน 2 ปี จะเป็นรัฐมนตรีหรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ซึ่งมิใช่ ส.ว. มิได้
ความหมายคือ เป็นรัฐมนตรีหรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองซึ่งมิใช่ ส.ว. มิได้
แต่เป็น ส.ว. ต่อไปได้เลย นับเป็นการเขียนที่มีความลุ่มลึกไม่เบาทีเดียว
ประเด็น ที่ใครต่อใครเป็นห่วงเป็นใยกับการแก้รัฐธรรมนูญ เกี่ยวกับ ส.ว. มีดังนี้
หนึ่ง ถ้าเลือกตั้งหมดเหมือน ส.ส. แล้วจะมี ส.ว. ไปทำไม
สอง ส.ว. นั้นเป็นผู้ สถาปนา บุคคลเข้าไปนั่งในหลายองค์กรของรัฐ พร้อมทั้งมีอำนาจในการ ถอดถอน บุคคลระดับสูงของประเทศอีกด้วย ถ้าได้ บุคคลที่มาในคราบของการเมืองแบบกินรวบประเทศไทย และ ไม่มีความเป็นกลาง บ้านเมืองจะเหลืออะไรในอนาคต
สาม ถ้าไม่เชื่อมั่นในระบบคัดเลือกก็ควรไปแก้ที่ระบบคัดเลือก และ ส.ว. แต่งตั้ง ก็ควรมีต่อไป
มีการเสนอว่า ควรให้มีกระบวนการเลือกตั้งทางอ้อมจากองค์กรวิชาชีพ ผสมกับ การเลือกตั้งทางตรงเพราะถ้าเลือกตั้งทางตรงกันหมด เกรงว่าผู้สมัคร ส.ว. จะไปพึ่งพิงฐานเสียงของพรรคการเมือง ซึ่งในที่สุดจะหาความเป็นกลางไม่ได้อย่างแน่นอน
แต่ข้อเสนอเหล่านี้ มิได้รับการตอบสนอง ในทางบวก แต่อย่างใด
ผลคือ ยืนยัน ยืนหยัด ว่าจะต้องมาจากเลือกตั้งทั้ง 200 คน ห้ามผิดเพี้ยนไปกว่านี้
บ้านเมืองเป็นของคนไทยทุกคน ใครทักใครทานอะไรควรต้องฟังกันบ้าง มิฉะนั้นบ้านเมืองจะวุ่นไม่มีสิ้นสุด
ขนาด จิ้งจก ทักเรายังต้องฟังกันเลย แล้วเรื่องใหญ่ ๆ เช่นนี้จะ ไม่ฟังกันบ้างเลยหรือ ท่าน กรรมาธิการเสียงข้างมาก ในสภา.
ตัดตอนจากเดลินิวส์