เงินบาทไทยอ่อนค่าลงแรงที่สุดนับตั้งแต่ ปี 2006

กระทู้สนทนา

http://www.biztempnews.com/index.php/finance/item/4138-เงินบาทไทยอ่อนค่าลงแรงที่สุดนับตั้งแต่-ปี-2006


รายงานของสำนักข่าว”บลูมเบิร์ก” ระบุว่า สัปดาห์ที่ผ่านมา นับเป็นสัปดาห์ที่เงินบาทของไทยอ่อนค่าลงมากที่สุดนับตั้งแต่ปี 2006 ที่ผ่านมา  ตามกระแสเงินทุนไหลออกจากตลาดประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ หลังเฟดส่งสัญญาณลดมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ(QE)

สำนักข่าวบลูมเบิร์ก อันเป็นสำนักข่าวทางด้านการเงินการลงทุนชื่อดังของโลก รายงานเเมื่อวันเสาร์ที่ 24 สิงหาคม 2556 ว่า  เงินบาทของไทยลงไปแตะระดับต่ำที่สุดในรอบ 3 ปีที่ระดับ 32.17 บาทต่อ 1 ดอลล่าร์สหรัฐฯเมื่อปิดตลาดในวันศุกร์ที่ 23 สิงหาคม 2556 ที่ผ่านมานี้

           สาเหตุจากการที่กองทุนการลงทุนจากต่างประเทศขายตราสารหนี้และพันธบัตรของไทยออกมาเป็นยอดสุทธิทั้งสิ้น 917 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ(ประมาณ 28,000 ล้านบาท) และขายหุ้นในตลาดหุ้นไทยออกมาเป็นยอดขายสุทธิอีกจำนวนทั้งสิ้น 903 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ(ประมาณ 27,000 ล้านบาทไทย) หลังจากที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปรับลดการคาดการณ์อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจขอประเทศไทยลงมาเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 56 ที่ผ่านมา รวมทั้งเศรษฐกิจของประเทศไทยเข้าสู่ภาวะที่ถดถอยเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2009 เป็นต้นมา รวมทั้งความกดดันจากการส่งสัญญาณที่จะลดการซื้อพันธบัตรเดือนละ 8.5 หมื่นล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ ในมาตรการผ่อนคลายทางการเงินเชิงปริมาณเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา  ซึ่งนักลงทุนคาดการณ์ว่า เฟดจะเริ่มแผนการลดการซื้อพันธบัตรดังกล่าวลงในเดือนกันยายนที่จะถึงนี้

          “เงินของกองทุนไหลออกจากตลาดประเทศเกิดใหม่ ทำให้ฉุดลากสกุลเงินของประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ให้อ่อนค่าลงมา”โคจิ ฟูกูยะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และนักกลยุทธ์การลงทุนในตลาดอัตราแลกเปลี่ยนต่างประเทศของ FPG Securities Co. ในตลาดโตเกียว กล่าว

          เงินบาทอ่อนค่าลงแรงถึง 2.2% ในสัปดาห์นี้ นับเป็นการลดลงที่แรงที่สุดของรอบสัปดาห์นับตั้งแต่เมื่อสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 22 ธันวาคม 2006 (2550)เป็นต้นมา ลงไปแตะที่ระดับ 31.98 บาทต่อ 1 ดอลล่าร์สหรัฐอเมริกา เมื่อเวลา 15.00 น.ตามเวลาในกรุงเทพมหานคร

          อย่างไรก็ตาม สำหรับวันศุกร์ที่ผ่านมา เงินบาทแข็งค่าขึ้นมา 0.4% เมื่อเปรียบเทียบกับวันพฤหัสบดี นับเป็นวันแรกที่เงินบาทแข็งค่าขึ้น หลังจากอ่อนค่าลงมาต่อเนื่องถึง 14 วันเต็มเมื่อเปรียบเทียบกับเงินดอลล่าร์สหรัฐฯ

          อย่างไรก็ตาม ฟูกูยะ เจ้าหน้าที่บริหารของ FPG กล่าวว่า สถานการณ์เช่นนี้ น่าจะเป็นประโยชน์ต่อนักลงทุนในประเทศไทย เนื่องจากการฟื้นตัวขึ้นของเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของโลก นั่นก็คือ โอกาสของปริมาณความต้องการสินค้าในต่างประเทศที่มากขึ้น ย่อมเป็นประโยชน์ต่อการส่งออกของอุตสาหกรรมการส่งออกของไทย

          “หากคิดว่า การลดลงในช่วงที่ผ่านมา เป็นโอกาสของการซื้อ ก็น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับนักลงทุนในประเทศไทยขณะนี้”ฟูกูยะ แห่ง FPG กล่าวที่โตเกียว

          บลูมเบิร์ก ระบุด้วยว่า ในสัปดาห์หน้าที่จะถึงนี้ ทางการของไทยจะรายงานตัวเลขการส่งออกของเดือนกรกฏาคม ซึ่งนักวิเคราะห์ตามโพลสำรวจของบลูมเบิร์ก คาดการณ์ว่า ยอดการส่งออกของไทยจะเพิ่มขึ้น 1% ภายหลังจากที่ลดลง 3.4% ในเดือนมิถุนายน และ 5.3% เมื่อเดือนพฤษภาคม

          นอกจากนั้น ดุลบัญชีเดินสะพัดของไทยก็เกินดุลมาตลอดทุกเดือนในช่วงไตรมาสที่ 2 ที่ผ่านมา

          อย่างไรก็ตาม มอร์แกน สแตนเลย์ มีมุมมองไม่ดีต่อทิศทางและแนวโน้มของค่าเงินบาทไทย รวมทั้งซิติ กรุ๊ป อิงค์ ก็ไม่ให้น้ำหนักในการลงทุนในสกุลเงินบาทไทย(ตามรายงานบทวิเคราะห์ของทั้งสองบริษัท เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา)

          ในขณะที่โกลด์ แมนแซคส์ ปรับลดประมาณการค่าเงินบาทของไทยในระยะ 3 เดือนว่าจะลงไปอยู่ที่ 33 บาทต่อ 1 ดอลล่าร์สหรัฐฯ จากที่ประมาณการก่อนหน้านี้ว่าจะอยู่ที่ระดับ 31.3 บาทต่อ 1 ดอลล่าร์สหรัฐฯ

          สำหรับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรของรัฐบาลไทย อายุ 10 ปีหลังจากถูกขายอย่างหนัก โดยขึ้นมาถึง 22 เบสิสพอยท์ เมื่อเปรียบเทียบกับสัปดาห์ที่แล้ว ขึ้นมาอยู่ที่ 4.2% จากเมื่อสัปดาห์ที่แล้วอยู่ที่ระดับ 3.625%

          อย่างไรก็ตาม อัตราผลตอบแทนดังกล่าว ในวันศุกร์ที่ผ่านมา ลดลง 3 เบสิสพอยท์ เมื่อเปรียบเทียบกับวันก่อนหน้านั้นซึ่งปิดในระดับที่สูงที่สุดนับตั้งแต่ปี 2010 เป็นต้นมา


ปล.  ตราบใดที่ยังมีปัจจัยพื้นฐาน และยังมีอนาคตที่ดีรออยู่ ไม่มีหรอกครับ ที่จะลงตลอดไป ไทยแลนด์สู้ๆ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่