กระทรวงอุตสาหกรรม
ตราสัญลักษณ์ของกระทรวงอุตสาหกรรม คือ ตรานารายณ์เกษียรสมุทร ซึ่งนำจากเรื่องนารายณ์สิบปาง ปางที่สองหรือกูรมาวตาร โดยถือเอาสัญลักษณ์ขณะที่พระนารายณ์ทรงแสดงอิทธิฤทธิ์ประกอบพิธีกวนน้ำอมฤต ซึ่งในการกวนน้ำอมฤตนี้ ก็ได้เกิดผลิตผลอย่างอื่น ๆ ขึ้นในโลกอีกด้วย
กระทรวงสาธารณสุข
เมื่อได้จัดตั้งกระทรวงสาธารณสุขขึ้นแล้ว ทางราชการได้กำหนดรูปคบเพลิงมีปีกและมีงูพันคบเพลิงเป็นตรากระทรวงสาธารณสุข
กระทรวงวัฒนธรรม
ตราแรกของกระทรวงวัฒนธรรมนั้น เป็นรูปพระพรหม 4 หน้า 4 หัตถ์ ประทับอยู่ยนดอกบัวบานโพล่จากน้ำ หัตถ์ซ้ายบนถือสมุดดำ (หมายถึงศิลปวิทยา)หัตถ์ซ้ายล่างถือประดำ (เกี่ยวกับคะแนนนับ)หัตถ์ขวาบนถือช้อนตักเนย (แสดงว่าไม่มีอาวุธอย่างไร)หัตถ์ขวาล่างถือหม้อน้ำ (เกี่ยวกับน้ำอมฤต) ภายในกรอบวงกลมเบื้องล่างมีอักษร "กระทรวงวัฒนธรรม"
ตรากระทรวงวัฒนธรรมเมื่อแรกเริ่มใช้
ตราสัญลักษณ์เป็นรูปดวงประทีปภายในบุษบก เหนือหมู่ลายเมฆหมอก หมายถึง ปัญญาซึ่งเป็นรากฐานของวัฒนธรรม (กรมศิลปากร เป็นผู้ออกแบบ โดยศึกษาจากรูปแบบตราสภาวัฒนธรรมแห่งชาติ เมื่อ พ.ศ. 2485 และนำมาดัดแปลง ปรับรูปแบบให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น
กระทรวงพลังงาน
โลกุตระ สื่อความหมายถึง พุทธปัญญา ความหยั่งรู้ในการทำให้หลุดพ้น นอกจากนี้สัญลักษณ์นี้ ยังอาจดูได้ประหนึ่งคล้าย "เปลวไฟ" ที่กำลังลุกโชติช่วง ให้ความสว่างไสว สะท้อนถึงพลังงานที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และความเจริญของประเทศ
กระทรวงการต่างประเทศ
ตราบัวแก้ว ซึ่งเป็นรูปเทพยดานั่งในดอกบัว ถือดอกบัวข้างขวา ถือวชิระข้างซ้ายนั้น เป็นตราของกระทรวงการต่างประเทศ ตรานี้มีปรากฏใช้มาตั้งแต่กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ตราบัวแก้วเป็นตราซึ่งเจ้าพระยาพระคลังใช้ประทับในเอกสารของกรมท่า (ซึ่งต่อมาในสมัยปัจจุบันได้ปรับรูปมาเป็น กรมเจ้าท่า กระทรวงคมนาคม) และเอกสารที่เกี่ยวข้องกับงานด้านการต่างประเทศ เช่น สนธิสัญญาต่าง ๆ
ในยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น ตราสำคัญในราชการไทยมีสามดวง คือตราพระคชสีห์สำหรับสมุหพระกลาโหม ซึ่งใช้ในราชการด้านการทหารทั่วไป ตราพระราชสีห์สำหรับสมุหนายก ใช้ในราชการด้านมหาดไทย และตราบัวแก้วประจำตำแหน่งพระคลัง กฎหมายไทยที่เรียกว่า "กฎหมายตราสามดวง" ก็เป็นเพราะมีการประทับตราทั้งสามดวงนี้ ซึ่งมีตราบัวแก้วรวมอยู่ด้วยดวงหนึ่ง
ในปี พ.ศ. 2418 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้แยกราชการด้านการคลัง (กรมพระคลังมหาสมบัติ) ออกจากกรมท่า ตราบัวแก้วจึงเป็นตราประจำตำแหน่งเสนาบดีจตุสดมภ์ กรมท่า และต่อมาเมื่อได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ จัดระบบราชการใหม่โดยแบ่งเป็น 12 กระทรวง ตราบัวแก้ว จึงเป็นตราประจำเสนาบดีว่าการต่างประเทศ และกลายมาเป็นตราของกระทรวงการต่างประเทศจนปัจจุบัน การใช้ตราบัวแก้วในปัจจุบันนี้ไม่ได้ใช้ประทับในเอกสารทางราชการเหมือนเช่นในสมัยโบราณแล้ว (ตราสำหรับเอกสารราชการไทยทั้งหมด รวมทั้งที่ใช้ในเอกสารราชการของกระทรวงการต่างประเทศด้วย คือตราครุฑ)แต่ถือเป็นตราประจำกระทรวง และเป็นตราประจำสโมสรสราญรมย์ อันเป็นสโมสรของข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศด้วย
กระทรวงการต่างประเทศมีเพลงประจำกระทรวง คือเพลง "บัวแก้ว" ประพันธ์คำร้องและทำนองโดย หลวงวิจิตรวาทการ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
กระทรวงยุติธรรม
แต่เดิมนั้นมีราชประเพณีพระราชทานพระราชลัญจกรแก่เสนาบดีเป็นตราประจำตัวเป็นเกียรติยศ ถ้าเสนาบดีผู้ใดพ้นไปจากตำแหน่งก็ต้องส่งคืน สำหรับเสนาบดีกระทรวงยุติธรรมเดิมนั้นใช้ตราจันทรมณฑล ซึ่งเป็นตราประจำตัวของ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ ภายหลังพระราชทานเป็นตราตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.6) ปีพุทธศักราช 2459 ได้มีการเปลี่ยนแปลงตราตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม เป็นตราดุลพาห
ตราดุลพาห มีลักษณะเป็นดวงตราใหญ่ มีรูปดุลขัดอยู่ที่ด้ามพระขรรค์ ตั้งอยู่บนพานกลีบบัวสองชั้น มีฐานสิงห์รอง มีลายกนกล้อม
พระราชทานนามว่า ตราดุลพาห ตามคำกราบบังคมทูลเสนอของพระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงปราจิณกิตติบดี
ตราดุลพาห แปลความตามศัพท์ว่า เครื่องมือสำหรับชั่งหรือวัด ให้เกิดความเที่ยงธรรม ได้แก่ ตราชู คือเครื่องชั่งให้รู้หนักเบา แปลความตามนัย หมายถึง ความรับผิดชอบในการผดุงความยุติธรรมให้สถิตเสถียร สม่ำเสมอ ไม่เอนเอียงไปข้างฝ่ายใดด้วยอคติ
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
พระประชาบดีหมายถึง เทพผู้เป็นที่พึ่งของประชาชน เป็นบุตรของพระพรหม หรือเรียกอีกชื่อหนึ่ง ว่า เทพมเหศักดิ์ ซึ่งเป็นผู้ให้การสงเคราะห์แก่ประชาชน เป็นมนสาบุตร หมายถึง พระพรหมนึกให้เกิดพระประบดีและบริวาร ซึ่งเป็นฤาษี 7คน หรือสัปตฤาษี ได้รับมอบหมายจากพระพรหมให้มาสร้างมนุษย์และ สัตว์อื่น ๆ เมื่อทรงสร้างเสร็จแล้ว ได้ถนอมเลี้ยงดูบุตรด้วยความเมตตากรุณา โดยไม่คำนึงผลตอบ แทนแม้แต่น้อย
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จึงได้กำหนดให้มีเครื่องหมายประจำ กระทรวง เป็นรูปวงกลมสายตรงกลางวงกลมเป็นรูปพระประชาบดีประทับอยู่เหนือแท่น มีลายกนกเป็น ภาพศีรษะฤาษี 7 ตน อยู่รอบวงกลมเดียวกัน ซึ่งแสดงถึงความร่วมมือของทุกส่วนในสังคมเบื้องล่างมีอักษร "กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์"
ฤาษี 7 ตน หรือสัปตฤาษี ซึ่งนำมาบรรลุในเครื่องหมายด้วยนั้น มีความหมายเกี่ยวกับการพัฒนาสังคมและสวัสดิการเพื่อก่อให้เกิดความมั่นคงของมนุษย์และความมั่นคงทางสังคม 7 ประเภท คือ
1. การพัฒนาสังคมและจัดสวัสดิการเด็กและเยาวชน
2. การพัฒนาสังคมและจัดสวัสดิการครอบครัว
3. การพัฒนาสังคมและจัดสวัสดิการสตรี
4. การพัฒนาสังคมและจัดสวัสดิการคนพิการและผู้สูงอายุ
5. การพัฒนาสังคมและจัดสวัสดิการผู้ด้อยโอกาสและอื่น ๆ
6. การพัฒนาสังคมและจัดสวัสดิการที่อยู่อาศัย
7. การพัฒนาสังคมและจัดสวัสดิการชุมชนและสังคม
ทั้งนี้ สำนักเลขาธิการรัฐมนตรี ได้ประกาศเครื่องหมายราชการของกระทรวงการพัฒนาสังคมและ ความมั่นคงของมนุษย์ ในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ตราสัญลักษณ์จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ
1. ส่วนของภาพ ที่ให้ความหมายในแต่ละประเด็นว่า
– พระพุธ เป็นเทพประจำวันพุธ มีกายสีเขียว เปี่ยมด้วยภูมิปัญญามีความรอบรู้เป็นเลิศ
– พระหัตถ์ขวาถือคัมภีร์ แสดงถึงความรอบรู้ในวิทยาการต่างๆ
– พระหัตถ์ซ้ายถือพระขรรค์ แสดงถึงความเฉียบคม มีอำนาจพระเศียรเปล่งรัศมี แสดงถึงพระปัญญาญาณ
2. กรอบภาพ ให้ความหมายว่า
– ลายรูปพระเกศตอนบนของกรอบเป็นการเสริมภาพพระพุธซึ่งแสดงสติปัญญา และความรอบรู้
-ลายขมวดตอนล่างของกรอบ แสดงถึงศูนย์รวมแห่งความรู้ข่าวสารข้อมูลต่างๆ
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
1. รูปทรงของสัญลักษณ์ที่เป็นโล่ หมายถึง การปกป้อง การป้องกัน ซึ่งในหลายประเทศนิยมใช้รูปทรงโล่ แทนทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
2. ต้นโพธิ์ และแผ่นดิน
ต้นโพธิ์ หมายถึง ต้นไม้ หรือ โพธิ์ทองของชาวไทย ซึ่งเป็นสิ่งที่เรายึดมั่น
ใบไม้ หมายถึง ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่เกื้อกูลมนุษย์เพราะมีการสังเคราะห์แสง (photosynthesis) รวมทั้งเป็นปุ๋ยที่เป็นประโยชน์ต่อสิ่งมีชีวิตในโลกด้วย
แผ่นดิน หมายถึง ความเชื่อมต่อระหว่างต้นไม้ที่ต้องพึ่งพาดิน ดินต้องได้รับปุ๋ยจากต้นไม้ ภาพนี้เป็นตัวแทนของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช (อส.) กรมป่าไม้ (ปม.) องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (อ.อ.ป.) และกรมทางด้านสิ่งแวดล้อมทั้งหมด คือ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม (สส.) และกรมควบคุมมลพิษ (คพ.)
3. ช้าง 2 เชือก เป็น ช้างเพศเมีย (แม่) และลูกช้าง หมายถึง สัตว์ป่า ความเข้มแข็ง การดำรงพันธุ์ ความเมตตาของแม่ที่มีต่อลูก ลูกช้างเป็นช้างเผือก หมายถึง ความเป็นพิเศษ เป็นตัวแทน อส. โดยเฉพาะเรื่องของสัตว์ป่า อ.อ.ป. (เรื่อง คชบาล) และองค์การสวนสัตว์ (อสส.)
4. ปลาโลมา หมายถึง มีการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม (adaptation) วิวัฒนาการ (evolution) เฉลียวฉลาด ปลาโลมา ทะเล ชายฝั่ง และ หาดทราย แทนกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช (อส.) ในส่วนของอุทยานแห่งชาติทางทะเล สำหรับคลื่นน้ำจืด แทน กรมทรัพยากรน้ำ (ทน.) กรมทรัพยากรน้ำบาดาล (ทบ.) และองค์การจัดการน้ำเสีย (อจน.)
5. พระอาทิตย์ หมายถึง ผู้ก่อให้เกิดธรรมชาติและทุกสรรพสิ่ง เป็นอำนาจ พลังงาน ที่สะอาดและบริสุทธิ์ (Clean Development Mechanism) และสิ่งแวดล้อม จึงเป็นตัวแทนกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม (ทส.)
6. เพชร หมายถึง ความแข็งแกร่ง ความมีค่า สะอาด บริสุทธิ์ เป็นแร่ชนิดหนึ่งแทนกรมทรัพยากรธรณี (ทธ.)
7. หยดน้ำ หมายถึง ความสะอาดบริสุทธิ์ ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แทนกรมทรัพยากรน้ำ (ทน.) และกรมทรัพยากรน้ำบาดาล (ทบ.)
8. ลายไทย หมายถึง ความเป็นไทย
9. มณฑป แสดงถึง ความเป็นไทย ปลายแหลม หมายถึง ความแหลมคม สามารถทะลุทะลวงปัญหาได้
10. ลูกโลก เป็นโลกใบเดียวกันแต่มี 2 ด้าน ด้านตะวันออก (ประเทศไทย) และด้านตะวันตก ลูกโลกทั้ง 2 ด้าน มีไม้ค้ำ หมายถึง เรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องของทั้งโลก และประเทศไทยค้ำจุนโลกใบนี้ไว้ทั้งโลก โลกมีสีฟ้า หมายถึง สิ่งแวดล้อม ที่สะอาดและบริสุทธิ์
11. ผ้าคลุมโล่ หมายถึง การปกป้องโลก เสมือนบรรยากาศปกคลุมโลก
12. สีเขียว หมายถึง สิ่งแวดล้อม
จากการสืบค้นข้อมูลในเว็บไซต์ต่างๆ พบว่า ที่มาที่ไปของตราสัญลักษณ์ของกระทรวงต่างๆ ในประเทศไทย มีอยู่ตามที่เขียน อยากทราบที่มาที่ไปของตราสัญลักษณ์ของกระทรวงอื่นๆ ที่ไม่มีในกระทู้นี้
ตราสัญลักษณ์ของกระทรวงต่างๆ ในประเทศไทย
ตราสัญลักษณ์ของกระทรวงอุตสาหกรรม คือ ตรานารายณ์เกษียรสมุทร ซึ่งนำจากเรื่องนารายณ์สิบปาง ปางที่สองหรือกูรมาวตาร โดยถือเอาสัญลักษณ์ขณะที่พระนารายณ์ทรงแสดงอิทธิฤทธิ์ประกอบพิธีกวนน้ำอมฤต ซึ่งในการกวนน้ำอมฤตนี้ ก็ได้เกิดผลิตผลอย่างอื่น ๆ ขึ้นในโลกอีกด้วย
กระทรวงสาธารณสุข
เมื่อได้จัดตั้งกระทรวงสาธารณสุขขึ้นแล้ว ทางราชการได้กำหนดรูปคบเพลิงมีปีกและมีงูพันคบเพลิงเป็นตรากระทรวงสาธารณสุข
กระทรวงวัฒนธรรม
ตราแรกของกระทรวงวัฒนธรรมนั้น เป็นรูปพระพรหม 4 หน้า 4 หัตถ์ ประทับอยู่ยนดอกบัวบานโพล่จากน้ำ หัตถ์ซ้ายบนถือสมุดดำ (หมายถึงศิลปวิทยา)หัตถ์ซ้ายล่างถือประดำ (เกี่ยวกับคะแนนนับ)หัตถ์ขวาบนถือช้อนตักเนย (แสดงว่าไม่มีอาวุธอย่างไร)หัตถ์ขวาล่างถือหม้อน้ำ (เกี่ยวกับน้ำอมฤต) ภายในกรอบวงกลมเบื้องล่างมีอักษร "กระทรวงวัฒนธรรม"
ตรากระทรวงวัฒนธรรมเมื่อแรกเริ่มใช้
ตราสัญลักษณ์เป็นรูปดวงประทีปภายในบุษบก เหนือหมู่ลายเมฆหมอก หมายถึง ปัญญาซึ่งเป็นรากฐานของวัฒนธรรม (กรมศิลปากร เป็นผู้ออกแบบ โดยศึกษาจากรูปแบบตราสภาวัฒนธรรมแห่งชาติ เมื่อ พ.ศ. 2485 และนำมาดัดแปลง ปรับรูปแบบให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น
กระทรวงพลังงาน
โลกุตระ สื่อความหมายถึง พุทธปัญญา ความหยั่งรู้ในการทำให้หลุดพ้น นอกจากนี้สัญลักษณ์นี้ ยังอาจดูได้ประหนึ่งคล้าย "เปลวไฟ" ที่กำลังลุกโชติช่วง ให้ความสว่างไสว สะท้อนถึงพลังงานที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และความเจริญของประเทศ
กระทรวงการต่างประเทศ
ตราบัวแก้ว ซึ่งเป็นรูปเทพยดานั่งในดอกบัว ถือดอกบัวข้างขวา ถือวชิระข้างซ้ายนั้น เป็นตราของกระทรวงการต่างประเทศ ตรานี้มีปรากฏใช้มาตั้งแต่กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ตราบัวแก้วเป็นตราซึ่งเจ้าพระยาพระคลังใช้ประทับในเอกสารของกรมท่า (ซึ่งต่อมาในสมัยปัจจุบันได้ปรับรูปมาเป็น กรมเจ้าท่า กระทรวงคมนาคม) และเอกสารที่เกี่ยวข้องกับงานด้านการต่างประเทศ เช่น สนธิสัญญาต่าง ๆ
ในยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น ตราสำคัญในราชการไทยมีสามดวง คือตราพระคชสีห์สำหรับสมุหพระกลาโหม ซึ่งใช้ในราชการด้านการทหารทั่วไป ตราพระราชสีห์สำหรับสมุหนายก ใช้ในราชการด้านมหาดไทย และตราบัวแก้วประจำตำแหน่งพระคลัง กฎหมายไทยที่เรียกว่า "กฎหมายตราสามดวง" ก็เป็นเพราะมีการประทับตราทั้งสามดวงนี้ ซึ่งมีตราบัวแก้วรวมอยู่ด้วยดวงหนึ่ง
ในปี พ.ศ. 2418 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้แยกราชการด้านการคลัง (กรมพระคลังมหาสมบัติ) ออกจากกรมท่า ตราบัวแก้วจึงเป็นตราประจำตำแหน่งเสนาบดีจตุสดมภ์ กรมท่า และต่อมาเมื่อได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ จัดระบบราชการใหม่โดยแบ่งเป็น 12 กระทรวง ตราบัวแก้ว จึงเป็นตราประจำเสนาบดีว่าการต่างประเทศ และกลายมาเป็นตราของกระทรวงการต่างประเทศจนปัจจุบัน การใช้ตราบัวแก้วในปัจจุบันนี้ไม่ได้ใช้ประทับในเอกสารทางราชการเหมือนเช่นในสมัยโบราณแล้ว (ตราสำหรับเอกสารราชการไทยทั้งหมด รวมทั้งที่ใช้ในเอกสารราชการของกระทรวงการต่างประเทศด้วย คือตราครุฑ)แต่ถือเป็นตราประจำกระทรวง และเป็นตราประจำสโมสรสราญรมย์ อันเป็นสโมสรของข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศด้วย
กระทรวงการต่างประเทศมีเพลงประจำกระทรวง คือเพลง "บัวแก้ว" ประพันธ์คำร้องและทำนองโดย หลวงวิจิตรวาทการ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
กระทรวงยุติธรรม
แต่เดิมนั้นมีราชประเพณีพระราชทานพระราชลัญจกรแก่เสนาบดีเป็นตราประจำตัวเป็นเกียรติยศ ถ้าเสนาบดีผู้ใดพ้นไปจากตำแหน่งก็ต้องส่งคืน สำหรับเสนาบดีกระทรวงยุติธรรมเดิมนั้นใช้ตราจันทรมณฑล ซึ่งเป็นตราประจำตัวของ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ ภายหลังพระราชทานเป็นตราตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.6) ปีพุทธศักราช 2459 ได้มีการเปลี่ยนแปลงตราตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม เป็นตราดุลพาห
ตราดุลพาห มีลักษณะเป็นดวงตราใหญ่ มีรูปดุลขัดอยู่ที่ด้ามพระขรรค์ ตั้งอยู่บนพานกลีบบัวสองชั้น มีฐานสิงห์รอง มีลายกนกล้อม
พระราชทานนามว่า ตราดุลพาห ตามคำกราบบังคมทูลเสนอของพระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงปราจิณกิตติบดี
ตราดุลพาห แปลความตามศัพท์ว่า เครื่องมือสำหรับชั่งหรือวัด ให้เกิดความเที่ยงธรรม ได้แก่ ตราชู คือเครื่องชั่งให้รู้หนักเบา แปลความตามนัย หมายถึง ความรับผิดชอบในการผดุงความยุติธรรมให้สถิตเสถียร สม่ำเสมอ ไม่เอนเอียงไปข้างฝ่ายใดด้วยอคติ
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
พระประชาบดีหมายถึง เทพผู้เป็นที่พึ่งของประชาชน เป็นบุตรของพระพรหม หรือเรียกอีกชื่อหนึ่ง ว่า เทพมเหศักดิ์ ซึ่งเป็นผู้ให้การสงเคราะห์แก่ประชาชน เป็นมนสาบุตร หมายถึง พระพรหมนึกให้เกิดพระประบดีและบริวาร ซึ่งเป็นฤาษี 7คน หรือสัปตฤาษี ได้รับมอบหมายจากพระพรหมให้มาสร้างมนุษย์และ สัตว์อื่น ๆ เมื่อทรงสร้างเสร็จแล้ว ได้ถนอมเลี้ยงดูบุตรด้วยความเมตตากรุณา โดยไม่คำนึงผลตอบ แทนแม้แต่น้อย
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จึงได้กำหนดให้มีเครื่องหมายประจำ กระทรวง เป็นรูปวงกลมสายตรงกลางวงกลมเป็นรูปพระประชาบดีประทับอยู่เหนือแท่น มีลายกนกเป็น ภาพศีรษะฤาษี 7 ตน อยู่รอบวงกลมเดียวกัน ซึ่งแสดงถึงความร่วมมือของทุกส่วนในสังคมเบื้องล่างมีอักษร "กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์"
ฤาษี 7 ตน หรือสัปตฤาษี ซึ่งนำมาบรรลุในเครื่องหมายด้วยนั้น มีความหมายเกี่ยวกับการพัฒนาสังคมและสวัสดิการเพื่อก่อให้เกิดความมั่นคงของมนุษย์และความมั่นคงทางสังคม 7 ประเภท คือ
1. การพัฒนาสังคมและจัดสวัสดิการเด็กและเยาวชน
2. การพัฒนาสังคมและจัดสวัสดิการครอบครัว
3. การพัฒนาสังคมและจัดสวัสดิการสตรี
4. การพัฒนาสังคมและจัดสวัสดิการคนพิการและผู้สูงอายุ
5. การพัฒนาสังคมและจัดสวัสดิการผู้ด้อยโอกาสและอื่น ๆ
6. การพัฒนาสังคมและจัดสวัสดิการที่อยู่อาศัย
7. การพัฒนาสังคมและจัดสวัสดิการชุมชนและสังคม
ทั้งนี้ สำนักเลขาธิการรัฐมนตรี ได้ประกาศเครื่องหมายราชการของกระทรวงการพัฒนาสังคมและ ความมั่นคงของมนุษย์ ในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ตราสัญลักษณ์จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ
1. ส่วนของภาพ ที่ให้ความหมายในแต่ละประเด็นว่า
– พระพุธ เป็นเทพประจำวันพุธ มีกายสีเขียว เปี่ยมด้วยภูมิปัญญามีความรอบรู้เป็นเลิศ
– พระหัตถ์ขวาถือคัมภีร์ แสดงถึงความรอบรู้ในวิทยาการต่างๆ
– พระหัตถ์ซ้ายถือพระขรรค์ แสดงถึงความเฉียบคม มีอำนาจพระเศียรเปล่งรัศมี แสดงถึงพระปัญญาญาณ
2. กรอบภาพ ให้ความหมายว่า
– ลายรูปพระเกศตอนบนของกรอบเป็นการเสริมภาพพระพุธซึ่งแสดงสติปัญญา และความรอบรู้
-ลายขมวดตอนล่างของกรอบ แสดงถึงศูนย์รวมแห่งความรู้ข่าวสารข้อมูลต่างๆ
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
1. รูปทรงของสัญลักษณ์ที่เป็นโล่ หมายถึง การปกป้อง การป้องกัน ซึ่งในหลายประเทศนิยมใช้รูปทรงโล่ แทนทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
2. ต้นโพธิ์ และแผ่นดิน
ต้นโพธิ์ หมายถึง ต้นไม้ หรือ โพธิ์ทองของชาวไทย ซึ่งเป็นสิ่งที่เรายึดมั่น
ใบไม้ หมายถึง ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่เกื้อกูลมนุษย์เพราะมีการสังเคราะห์แสง (photosynthesis) รวมทั้งเป็นปุ๋ยที่เป็นประโยชน์ต่อสิ่งมีชีวิตในโลกด้วย
แผ่นดิน หมายถึง ความเชื่อมต่อระหว่างต้นไม้ที่ต้องพึ่งพาดิน ดินต้องได้รับปุ๋ยจากต้นไม้ ภาพนี้เป็นตัวแทนของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช (อส.) กรมป่าไม้ (ปม.) องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (อ.อ.ป.) และกรมทางด้านสิ่งแวดล้อมทั้งหมด คือ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม (สส.) และกรมควบคุมมลพิษ (คพ.)
3. ช้าง 2 เชือก เป็น ช้างเพศเมีย (แม่) และลูกช้าง หมายถึง สัตว์ป่า ความเข้มแข็ง การดำรงพันธุ์ ความเมตตาของแม่ที่มีต่อลูก ลูกช้างเป็นช้างเผือก หมายถึง ความเป็นพิเศษ เป็นตัวแทน อส. โดยเฉพาะเรื่องของสัตว์ป่า อ.อ.ป. (เรื่อง คชบาล) และองค์การสวนสัตว์ (อสส.)
4. ปลาโลมา หมายถึง มีการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม (adaptation) วิวัฒนาการ (evolution) เฉลียวฉลาด ปลาโลมา ทะเล ชายฝั่ง และ หาดทราย แทนกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช (อส.) ในส่วนของอุทยานแห่งชาติทางทะเล สำหรับคลื่นน้ำจืด แทน กรมทรัพยากรน้ำ (ทน.) กรมทรัพยากรน้ำบาดาล (ทบ.) และองค์การจัดการน้ำเสีย (อจน.)
5. พระอาทิตย์ หมายถึง ผู้ก่อให้เกิดธรรมชาติและทุกสรรพสิ่ง เป็นอำนาจ พลังงาน ที่สะอาดและบริสุทธิ์ (Clean Development Mechanism) และสิ่งแวดล้อม จึงเป็นตัวแทนกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม (ทส.)
6. เพชร หมายถึง ความแข็งแกร่ง ความมีค่า สะอาด บริสุทธิ์ เป็นแร่ชนิดหนึ่งแทนกรมทรัพยากรธรณี (ทธ.)
7. หยดน้ำ หมายถึง ความสะอาดบริสุทธิ์ ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แทนกรมทรัพยากรน้ำ (ทน.) และกรมทรัพยากรน้ำบาดาล (ทบ.)
8. ลายไทย หมายถึง ความเป็นไทย
9. มณฑป แสดงถึง ความเป็นไทย ปลายแหลม หมายถึง ความแหลมคม สามารถทะลุทะลวงปัญหาได้
10. ลูกโลก เป็นโลกใบเดียวกันแต่มี 2 ด้าน ด้านตะวันออก (ประเทศไทย) และด้านตะวันตก ลูกโลกทั้ง 2 ด้าน มีไม้ค้ำ หมายถึง เรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องของทั้งโลก และประเทศไทยค้ำจุนโลกใบนี้ไว้ทั้งโลก โลกมีสีฟ้า หมายถึง สิ่งแวดล้อม ที่สะอาดและบริสุทธิ์
11. ผ้าคลุมโล่ หมายถึง การปกป้องโลก เสมือนบรรยากาศปกคลุมโลก
12. สีเขียว หมายถึง สิ่งแวดล้อม
จากการสืบค้นข้อมูลในเว็บไซต์ต่างๆ พบว่า ที่มาที่ไปของตราสัญลักษณ์ของกระทรวงต่างๆ ในประเทศไทย มีอยู่ตามที่เขียน อยากทราบที่มาที่ไปของตราสัญลักษณ์ของกระทรวงอื่นๆ ที่ไม่มีในกระทู้นี้