เปิดแนวคิดบริหารความเสี่ยงธุรกิจโรงพยาบาล ทำไมทุ่มเม็ดเงินกว่า 7 หมื่นล้านบาท ปักหลักธุรกิจโรงพยาบาลแดนมังกร และไม่ขอนำโรงพยาบาลเข้าตลาดหุ้น
เพราะรู้ตัวดีกว่าธุรกิจสุขภาพของไทยหากอยู่แต่ในประเทศก็จะไม่มีวันเติบโต แกร่งกล้าพอสู้มือทุนข้ามชาติที่ฮึกเหิมตั้ง "กองทุนซื้อกิจการ" (Take Over) กระหน่ำภูมิภาคอาเซียน โดยเฉพาะกลุ่มคานาซา เนชั่นแนล (Khazanah Nasional) กองทุนการเงินขนาดใหญ่ของรัฐบาลมาเลเซีย เจ้าของเครือข่ายธุรกิจโรงพยาบาล IHH (Integrated Healthcare) จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ และมาเลเซีย ที่วิ่งไล่ซื้อกิจการธุรกิจโรงพยาบาล ขึ้นแท่นเบอร์ 1 ธุรกิจโรงพยาบาลของโลก
กลุ่มธุรกิจโรงพยาบาลธนบุรีของ น.พ.บุญ วนาสิน ในฐานะประธานกรรมการฯ ประกอบด้วยโรงพยาบาลในกลุ่ม 18 แห่ง จะอยู่แบบกลางๆต่อไปไม่ได้ ต้องกรุยทางแต่เนิ่นๆก่อนโดนรุกคืบเขมือบธุรกิจที่สร้างมากับมือ
หมอบุญ สำทับว่า IHH ออกตัวแรง จนโรงพยาบาลในไทยผู้ประกาศเป็น Medical Hub (ศูนย์กลางการแพทย์ในอาเซียน) มาก่อนหวาดหวั่น เพราะก้าวไม่ทันแผนการณ์ฮุบกิจการของกองทุนแห่งนี้ ขนาดผิดกันตั้งแต่เงินทุนกิจการไทยใหญ่สุดก็แตะหมื่นล้านบาท แต่ IHH ว่ากันเป็นแสนล้านบาท
แน่นอนข้ออ่อนด้อยที่โรงพยาบาลไทยเสียเปรียบต่างชาติคือเงินทุน จุดกำเนิดธุรกิจโรงพยาบาลไทยเริ่มต้นจากหมอ หันไปขยายธุรกิจจากตึกแถวเป็นโรงพยาบาลรูปแบบ Family Business (ธุรกิจครอบครัว) หากต้องการใหญ่ก็ต้องเข้าตลาดหุ้นต่อฐานเงินทุน กลายเป็นการสุ่มเสี่ยงต่อการเข้าซื้อกิจการ
แผนของหมอบุญ คือใช้วิธีการให้กลุ่มโรงพยาบาลธนบุรี ซึ่งเป็นโรงพยาบาลขนาดกลาง "เพิ่มความใหญ่" โดยการออกไปลงทุนหาทางโตในตลาดใหญ่อย่างจีน และไม่นำกลุ่มโรงพยาบาลเข้าตลาดหลักทรัพย์เพื่อระดมทุน ล่อใจทุนใหญ่ เพื่อเสี่ยงโดนซื้อกิจการ
“ส่วนตัว กลุ่มรพ.ธนบุรี มองว่าโรงพยาบาลไม่ควรเป็นธุรกิจที่เข้าตลาดหลักทรัพย์ เพราะหวังกำไรสูงสุด เราอยู่อย่างนี้ก็อยู่ได้ เราไม่ต้องการใหญ่อยากจับตลาดบริการคนชั้นกลาง ไม่แข่งเทียบกับโรงพยาบาลขนาดใหญ่เจ็บไข้ทีเสียอาทิตย์ละเป็นล้าน แต่เราขอเป็นทางเลือก” เขาให้เหตุผล
ส่วนธุรกิจโรงพยาบาลธนบุรีในเมืองไทยอาจจะขยายการลงทุนบ้างแต่ไม่ใหญ่โตพรวดพราด เน้นไปที่โครงการ "เนอร์สซิ่งโฮม" ใช้เงินลงทุน 2,000-3,000 บาท ดักโอกาสในอนาคต รองรับลูกค้าผู้สูงอายุ
คุณหมอยึดหลัก “โรงพยาบาลผม คนไข้ต้องอยู่ได้ เราจึงอยู่ได้ คนไข้บางรายเราทำราคาเก็บค่ารักษา 50 บาทยังมีอยู่ แต่ไปจีนอีกเรื่องเพราะจับกลุ่มคนรวย"
ตามแผนบุกแดนมังกร จะใช้เม็ดเงินกว่า 70,000 ล้านบาท โดยภายใน 2 ปีจากนี้ยังมีเป้าหมายจะสร้างโรงพยาบาล 4 แห่งในเมืองหนานจิง และฉางโจ รองรับคนต่างชาติและคนจีนมีฐานะ รวมไปถึงไปร่วมกับรัฐบาลจีน เข้าไปบริหารโรงพยาบาลในคุณหมิง และไห่หนาน
"ธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนในจีนยังไปโลด ดัชนีชี้วัดเติบโตถึงปีละ 30% แค่โฟกัส "ตลาดคนรวย" ของเมืองจีน 3%ของประชากร 1,300 ล้านคน ก็พอแล้ว"
คุณหมอนักบริหาร
นพ.บุญ วนาสิน ประธานกรรมการกลุ่มโรงพยาบาลธนบุรี เติบโตมากับครอบครัวทำธุรกิจค้าข้าว ซื้อขาย (Trading) สินค้าเกษตรตั้งแต่รุ่นปู่ แต่เจ้าตัวกลับข้ามไปเรียนหมอ กลายเป็นการเหนี่ยวนำวิธีคิดในแบบนักธุรกิจ ที่บ่มเพาะจากครอบครัวบวกกับความรู้ที่ร่ำเรียนหมอ สู่กระบวนท่าการบริหารสไตล์ “คุณหมอนักบริหาร”
คุณหมอเล่าว่า "จุดเปลี่ยน" ที่ทำให้เริ่มฉุกคิดถึงการลงทุนเพื่อต่อยอดความมั่งคั่งเกิดขึ้นเมื่อตอนไปฝึกหัดวิชาชีพแพทย์ ณ มหาวิทยาลัย จอนส์ ฮอปกินส์ (Johns Hopkins University) สหรัฐอเมริกา เมื่อ 30 กว่าปีที่ผ่านมา
“เริ่มรู้สึกว่าหากเป็นหมอต่อไปโอกาสจะสร้างความมั่งคั่งไม่มี เพราะวิชาชีพหมอในไทยจะคิดค่ารักษาแพงก็ไม่ได้ คนไทยไม่มีเงินเยอะขนาดนั้น ผมจึงตัดสินใจนำเงินเก็บไปลงทุนธุรกิจในพอร์ตต่างๆ เริ่มจากหุ้น ต่อไปสู่ธุรกิจเต็มรูปแบบอย่าง Trading สินค้าเกษตร และเรียลเอสเตท รวมถึงการเป็นเจ้าของธุรกิจโรงพยาบาล ต่อยอดวิชาชีพที่เป็นหนึ่งในกลุ่มธุรกิจดาวเด่นมีอนาคต"
วิธีคิดของหมอมาเป็นนักบริหาร ลงตัวเป็นกลยุทธ์ฉบับหมอบุญ กับแบบแผนความคิดที่ต้อง "มองการณ์ไกล ไม่ประมาท ไม่เผลอเลือกธุรกิจสุ่มเสี่ยงเกินไป"
หมอบุญยังเข้าใจความต่างระหว่าง 2 บทบาทของคนเป็นหมอ กับนักบริหารธุรกิจ หมอมีหน้าที่รักษาสุขภาพของคนไข้ จึงต้องทำงานอย่าง Conservative (อนุรักษนิยม) ทุกสิ่งทุกอย่างอยู่บนการตัดสินใจที่รอบคอบ ตามขั้นตอนการวินิจฉัย เพราะเกี่ยวข้องกับชีวิตคน
“คนเป็นหมอเก่งก็จริง แต่จะต้องทำงานแบบระวังตัวพลาดไม่ได้”
แต่สำหรับนักธุรกิจ จะต้องมองการณ์ไกล คิดแผนให้เก่ง ไม่ใช่มาจากตำราและประสบการณ์เพียงอย่างเดียว แต่ต้องเสพข่าวสารรอบด้านพร้อมกับออกไปดูสถานที่จริง คุยกับคนหลากหลายทั้งนักธุรกิจ นายธนาคาร ศึกษาแนวโน้ม มองปัจจัยเสี่ยงจากทุกสภาพ มาประกอบกัน ทั้งการเมือง เศรษฐกิจ สังคม ปะติดปะต่อภาพ มองไปอีก 5-10 ปีข้างหน้าธุรกิจไหนเป็นดาวเด่น ดาวดับ
พอร์ตธุรกิจที่หมอบุญบริหารในมือทั้งอสังหาริมทรัพย์ Tradingสินค้าเกษตร และธุรกิจโรงพยาบาล คือดาวเด่นในทัศนะของเขาในอีก 5-10 ปีจากนี้ และเพื่อโฟกัสอนาคตธุรกิจทั้ง 3 ขา คุณหมอจึงค่อยๆลดสัดส่วนการลงทุนในหุ้นจากพอร์ตนับพันล้านบาทลงมาเหลือหลักร้อยล้านบาท เพราะเข้าใจธรรมชาติของตลาดลงทุนนี้ว่ามีความผันผวน
“ไม่มีเวลาไปดูเกาะติดหุ้นตลอดเวลาบ่อย เพราะต้องเดินทางไปหาลู่ทางการลงทุนในต่างประเทศ ยิ่งตลาดหุ้นผันผวนมาก สู้ไปทุ่มเทธุรกิจที่อยู่ตรงหน้าและมีอนาคตดีกว่า” คุณหมอบอกที่มาของการสละเรือ ลดน้ำหนักขายหุ้นในพอร์ตตัวเอง
ธุรกิจ : BizWeek
โดย : ประกายดาว แบ่งสันเทียะ
"นพ.บุญ วนาสิน" คิดไกลวินิจฉัย "สูตรมั่งคั่ง"
เพราะรู้ตัวดีกว่าธุรกิจสุขภาพของไทยหากอยู่แต่ในประเทศก็จะไม่มีวันเติบโต แกร่งกล้าพอสู้มือทุนข้ามชาติที่ฮึกเหิมตั้ง "กองทุนซื้อกิจการ" (Take Over) กระหน่ำภูมิภาคอาเซียน โดยเฉพาะกลุ่มคานาซา เนชั่นแนล (Khazanah Nasional) กองทุนการเงินขนาดใหญ่ของรัฐบาลมาเลเซีย เจ้าของเครือข่ายธุรกิจโรงพยาบาล IHH (Integrated Healthcare) จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ และมาเลเซีย ที่วิ่งไล่ซื้อกิจการธุรกิจโรงพยาบาล ขึ้นแท่นเบอร์ 1 ธุรกิจโรงพยาบาลของโลก
กลุ่มธุรกิจโรงพยาบาลธนบุรีของ น.พ.บุญ วนาสิน ในฐานะประธานกรรมการฯ ประกอบด้วยโรงพยาบาลในกลุ่ม 18 แห่ง จะอยู่แบบกลางๆต่อไปไม่ได้ ต้องกรุยทางแต่เนิ่นๆก่อนโดนรุกคืบเขมือบธุรกิจที่สร้างมากับมือ
หมอบุญ สำทับว่า IHH ออกตัวแรง จนโรงพยาบาลในไทยผู้ประกาศเป็น Medical Hub (ศูนย์กลางการแพทย์ในอาเซียน) มาก่อนหวาดหวั่น เพราะก้าวไม่ทันแผนการณ์ฮุบกิจการของกองทุนแห่งนี้ ขนาดผิดกันตั้งแต่เงินทุนกิจการไทยใหญ่สุดก็แตะหมื่นล้านบาท แต่ IHH ว่ากันเป็นแสนล้านบาท
แน่นอนข้ออ่อนด้อยที่โรงพยาบาลไทยเสียเปรียบต่างชาติคือเงินทุน จุดกำเนิดธุรกิจโรงพยาบาลไทยเริ่มต้นจากหมอ หันไปขยายธุรกิจจากตึกแถวเป็นโรงพยาบาลรูปแบบ Family Business (ธุรกิจครอบครัว) หากต้องการใหญ่ก็ต้องเข้าตลาดหุ้นต่อฐานเงินทุน กลายเป็นการสุ่มเสี่ยงต่อการเข้าซื้อกิจการ
แผนของหมอบุญ คือใช้วิธีการให้กลุ่มโรงพยาบาลธนบุรี ซึ่งเป็นโรงพยาบาลขนาดกลาง "เพิ่มความใหญ่" โดยการออกไปลงทุนหาทางโตในตลาดใหญ่อย่างจีน และไม่นำกลุ่มโรงพยาบาลเข้าตลาดหลักทรัพย์เพื่อระดมทุน ล่อใจทุนใหญ่ เพื่อเสี่ยงโดนซื้อกิจการ
“ส่วนตัว กลุ่มรพ.ธนบุรี มองว่าโรงพยาบาลไม่ควรเป็นธุรกิจที่เข้าตลาดหลักทรัพย์ เพราะหวังกำไรสูงสุด เราอยู่อย่างนี้ก็อยู่ได้ เราไม่ต้องการใหญ่อยากจับตลาดบริการคนชั้นกลาง ไม่แข่งเทียบกับโรงพยาบาลขนาดใหญ่เจ็บไข้ทีเสียอาทิตย์ละเป็นล้าน แต่เราขอเป็นทางเลือก” เขาให้เหตุผล
ส่วนธุรกิจโรงพยาบาลธนบุรีในเมืองไทยอาจจะขยายการลงทุนบ้างแต่ไม่ใหญ่โตพรวดพราด เน้นไปที่โครงการ "เนอร์สซิ่งโฮม" ใช้เงินลงทุน 2,000-3,000 บาท ดักโอกาสในอนาคต รองรับลูกค้าผู้สูงอายุ
คุณหมอยึดหลัก “โรงพยาบาลผม คนไข้ต้องอยู่ได้ เราจึงอยู่ได้ คนไข้บางรายเราทำราคาเก็บค่ารักษา 50 บาทยังมีอยู่ แต่ไปจีนอีกเรื่องเพราะจับกลุ่มคนรวย"
ตามแผนบุกแดนมังกร จะใช้เม็ดเงินกว่า 70,000 ล้านบาท โดยภายใน 2 ปีจากนี้ยังมีเป้าหมายจะสร้างโรงพยาบาล 4 แห่งในเมืองหนานจิง และฉางโจ รองรับคนต่างชาติและคนจีนมีฐานะ รวมไปถึงไปร่วมกับรัฐบาลจีน เข้าไปบริหารโรงพยาบาลในคุณหมิง และไห่หนาน
"ธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนในจีนยังไปโลด ดัชนีชี้วัดเติบโตถึงปีละ 30% แค่โฟกัส "ตลาดคนรวย" ของเมืองจีน 3%ของประชากร 1,300 ล้านคน ก็พอแล้ว"
คุณหมอนักบริหาร
นพ.บุญ วนาสิน ประธานกรรมการกลุ่มโรงพยาบาลธนบุรี เติบโตมากับครอบครัวทำธุรกิจค้าข้าว ซื้อขาย (Trading) สินค้าเกษตรตั้งแต่รุ่นปู่ แต่เจ้าตัวกลับข้ามไปเรียนหมอ กลายเป็นการเหนี่ยวนำวิธีคิดในแบบนักธุรกิจ ที่บ่มเพาะจากครอบครัวบวกกับความรู้ที่ร่ำเรียนหมอ สู่กระบวนท่าการบริหารสไตล์ “คุณหมอนักบริหาร”
คุณหมอเล่าว่า "จุดเปลี่ยน" ที่ทำให้เริ่มฉุกคิดถึงการลงทุนเพื่อต่อยอดความมั่งคั่งเกิดขึ้นเมื่อตอนไปฝึกหัดวิชาชีพแพทย์ ณ มหาวิทยาลัย จอนส์ ฮอปกินส์ (Johns Hopkins University) สหรัฐอเมริกา เมื่อ 30 กว่าปีที่ผ่านมา
“เริ่มรู้สึกว่าหากเป็นหมอต่อไปโอกาสจะสร้างความมั่งคั่งไม่มี เพราะวิชาชีพหมอในไทยจะคิดค่ารักษาแพงก็ไม่ได้ คนไทยไม่มีเงินเยอะขนาดนั้น ผมจึงตัดสินใจนำเงินเก็บไปลงทุนธุรกิจในพอร์ตต่างๆ เริ่มจากหุ้น ต่อไปสู่ธุรกิจเต็มรูปแบบอย่าง Trading สินค้าเกษตร และเรียลเอสเตท รวมถึงการเป็นเจ้าของธุรกิจโรงพยาบาล ต่อยอดวิชาชีพที่เป็นหนึ่งในกลุ่มธุรกิจดาวเด่นมีอนาคต"
วิธีคิดของหมอมาเป็นนักบริหาร ลงตัวเป็นกลยุทธ์ฉบับหมอบุญ กับแบบแผนความคิดที่ต้อง "มองการณ์ไกล ไม่ประมาท ไม่เผลอเลือกธุรกิจสุ่มเสี่ยงเกินไป"
หมอบุญยังเข้าใจความต่างระหว่าง 2 บทบาทของคนเป็นหมอ กับนักบริหารธุรกิจ หมอมีหน้าที่รักษาสุขภาพของคนไข้ จึงต้องทำงานอย่าง Conservative (อนุรักษนิยม) ทุกสิ่งทุกอย่างอยู่บนการตัดสินใจที่รอบคอบ ตามขั้นตอนการวินิจฉัย เพราะเกี่ยวข้องกับชีวิตคน
“คนเป็นหมอเก่งก็จริง แต่จะต้องทำงานแบบระวังตัวพลาดไม่ได้”
แต่สำหรับนักธุรกิจ จะต้องมองการณ์ไกล คิดแผนให้เก่ง ไม่ใช่มาจากตำราและประสบการณ์เพียงอย่างเดียว แต่ต้องเสพข่าวสารรอบด้านพร้อมกับออกไปดูสถานที่จริง คุยกับคนหลากหลายทั้งนักธุรกิจ นายธนาคาร ศึกษาแนวโน้ม มองปัจจัยเสี่ยงจากทุกสภาพ มาประกอบกัน ทั้งการเมือง เศรษฐกิจ สังคม ปะติดปะต่อภาพ มองไปอีก 5-10 ปีข้างหน้าธุรกิจไหนเป็นดาวเด่น ดาวดับ
พอร์ตธุรกิจที่หมอบุญบริหารในมือทั้งอสังหาริมทรัพย์ Tradingสินค้าเกษตร และธุรกิจโรงพยาบาล คือดาวเด่นในทัศนะของเขาในอีก 5-10 ปีจากนี้ และเพื่อโฟกัสอนาคตธุรกิจทั้ง 3 ขา คุณหมอจึงค่อยๆลดสัดส่วนการลงทุนในหุ้นจากพอร์ตนับพันล้านบาทลงมาเหลือหลักร้อยล้านบาท เพราะเข้าใจธรรมชาติของตลาดลงทุนนี้ว่ามีความผันผวน
“ไม่มีเวลาไปดูเกาะติดหุ้นตลอดเวลาบ่อย เพราะต้องเดินทางไปหาลู่ทางการลงทุนในต่างประเทศ ยิ่งตลาดหุ้นผันผวนมาก สู้ไปทุ่มเทธุรกิจที่อยู่ตรงหน้าและมีอนาคตดีกว่า” คุณหมอบอกที่มาของการสละเรือ ลดน้ำหนักขายหุ้นในพอร์ตตัวเอง
ธุรกิจ : BizWeek
โดย : ประกายดาว แบ่งสันเทียะ