โซ่ทองคำอยากให้อ่านให้มากกว่า3บรรทัดนะครับแล้วจะได้ความรู้เกี่ยวกับตลาดต่างๆครับ ขอบคุณครับ
ทฤษฏี Dow รู้ไว้กำไรจะได้ไม่ Down
Dow Theory เป็นทฤษฎีที่พูดถึงการเคลื่อนไหวของราคาหุ้น กับ แนวโน้มตลาด ซึ่งคิดค้นโดย Charles H, Dow ผู้ก่อตั้งและบรรณาธิการของ The Wall Street Journal และผู้ร่วมก่อตั้ง Dow Jones and Company ซึ่ง ทฤษฎีดาวนี้ถือได้ว่าเป็นต้นแบบของการวิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิคซึ่งมีด้วยกัน 6 ประการ ได้แก่
1.แนวโน้มตลาด (Market Trend) แบ่งได้ 3 ลักษณะ คือ
1.1 แนวโน้มหลัก เป็นการเปลี่ยนแปลงของราคาในระยะยาว กินเวลามากกว่า 1 ปีเป็นต้นไป
1.2 แนวโน้มรอง เป็นการเปลี่ยนแปลงระยะสั้นจากแนวโน้มหลัก กินระยะเวลา 1 เดือน - 1 ปี
1.3 แนวโน้มย่อย เป็นการเปลี่ยนแปลงของราคาในแต่ละวันซึ่งไม่มีผลต่อแนวโน้มหลัก กินระยะเวลาน้อยกว่า 1 เดือน
นักลงทุนหลายๆ ท่านก็คงมีคำถามว่า แล้ว หน้าตา ของแนวโน้มทั้ง 3 ข้อมันมีหน้าตาเป็นอย่างไร เราไปดูกันเลยครับ
1.1 แนวโน้มหลัก หรือ Primary Movement / Primary Trend
ข้อสังเกต
ระยะเวลาการเกิด > 1 ปี
ทฤษฎีดาวกล่าวว่า ในแนวโน้มหลักนี้ไม่มีนักลงทุนคนใดทราบแน่ชัดว่าจะสิ้นสุดลงเมื่อไร และ แนวโน้มหลักนี้ ไม่มีใครสามารถควบคุมตลาดได้ (ไม่สามารถควบคุมได้ในระยะยาว) เพราะ เมื่อนักลงทุนจำนวนมหาศาล (รวมเป็นเงินมหาศาล) เข้ามาในตลาด จะมีมีนักลงทุนคนใดคนหนึ่งที่จะสามารถควบคุมภาวะตลาดในระยะยาวได้ ซึ่งแปลว่า แนวโน้มหลักนั้นจะชี้ให้เห็นแนวโน้มที่แท้จริงของตลาด (อาจรวมไปถึงธุรกิจโดยรวมด้วย) โดยแนวโน้มหลักนั้นจะแบ่งได้ 2 แบบคือ
#1 แนวโน้มหลักขาขึ้น (Uptrend)
#2 แนวโน้มหลักขาลง (Downtrend)
ต่อมาเรามาดูข้อ 1.2 กันบ้างซึ่งก็คือแนวโน้มรอง หรือ Secondary Movement / Secondary Trend
ข้อสังเกต
ระยะเวลาการเกิด : 1 เดือน < ระยะเวลา < 1 ปี
ข้อสังเกตของแนวโน้มรองนี้สังเกตได้ง่ายๆ คือ จะวิ่งสวนทางกลับ แนวโน้มหลัก หมายความว่า หากแนวโน้มหลัก วิ่งขึ้น แนวโน้มรอง จะวิ่งลง ในทางตรงกันข้าม หากแนวโน้มหลักวิ่งลง แนวโน้มรอง จะวิ่งขึ้น โดยแนวโน้มรองที่วิ่งลงในแนวโน้มขาขึ้น เราเรียกว่า "Correction" และ แนวโน้มรองที่วิ่งขึ้นในแนวโน้มขาลง เราเรียกว่า "Rebound" มาดูภาพกันเลยดีกว่าครับ
#1 Secondary Trend Correction
#2 Secondary Trend Rebound
และสุดท้ายก็คือข้อที่ 1.3 แนวโน้มย่อย Daily Fluctaution / Minor Trend
ข้อสังเกต
สำหรับแนวโน้มย่อยนี้ ข้อสังเกตก็คือ เราไม่สามารถทราบได้ว่า แนวโน้มนั้น ไปทางไหน (ไม่รู้ว่าขึ้นหรือลงกันแน่) ซึ่งแนวโน้มย่อยๆ นี้เอง ที่มาประกอบกันเป็นแนวโน้มรอง และแนวโน้มใหญ่ตามลำดับ [ในแนวโน้มย่อยนี้ สามารถควบคุมได้โดยนักลงทุนรายใหญ่ เพราะเป็นเพียงแนวโน้มสั้นๆ เท่านั้น]
Minor Trend
----------------------
2.แนวโน้มหลักมี 3 ระยะ
ตลาดกระทิง 3 ระยะ
2.1 ระยะสะสม (Accumulation Phase) : ระยะนี้คนส่วนใหญ่ยังไม่สนใจว่าแนวโน้มราคาหลักทรัพย์กำลังเกิดขึ้น แต่จะมีนักลงทุนกลุ่มหนึ่งเรื่มสะสมหุ้น อาจจะเป็น นักลงทุน VI หรือ นักลงทุนรายใหญ่
2.2 ระยะปรับตัวขึ้นครั้งใหญ่ในขาขึ้น (Big Move phase) : เป็นระยะที่นักลงทุนส่วนใหญ่จะเข้ามาลงทุนในหุ้นตัวนั้น หรือ ลงทุนในตลาดฯ
2.3 ระยะอื่มตัว (Excess phase) : ระยะนี้นักลงทุนรายย่อยเข้ามาในตลาดหุ้นจำนวนมาก ตลาดเริ่มอิ่มตัว และเป็นระยะที่ใกล้ถึงจุดสูงสุดแล้ว
ตลาดหมี 3 ระยะ
2.1 ระยะกระจายตัว ( Distribution phase) : ระยะนี้เป็นการจบรอบนักลงทุน VI และรายใหญ่เริ่มถอนตัวออกจากตลาดฯ และขายให้กับนักลงทุนรายย่อย (ที่เข้ามาในตลาดจำนวนมาก)
2.2 ระยะปรับตัวครั้งใหญ่ในขาลง (Big Move Phase) : ระยะนี้เป็นการร่วงลงอย่างรวดเร็ว และกินระยะเวลาช่วงหนึ่ง (นักลงทุนรายย่อยจะขาดทุนอย่างมาก)
2.3 ระยะสิ้นหวัง (Despair) : ระยะนี้เป็นระยะที่นักลงทุนรายใหญ่ เริ่มถอนตัวจากตลาดจากการขาดทุนอย่างหนัก และ จะเกิดใกล้ๆ กับจุดต่ำสุดของขาลง เมื่อเจอจุดต่ำสุดแล้วจะกลับไปเป็นระยะสะสมใหม่อีกครั้ง
3.ตลาดสะท้อนข้อมูลหลักทรัพย์ไว้หมดแล้ว : ราคาที่เกิดขึ้นในตลาดนั้นได้สะท้อนถึงข้อมูลสาธารณะที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นปัจจัยพื้นฐานและปัจจัยทางเทคนิคเอาไว้หมดแล้ว
4.ค่าเฉลี่ยของตลาดจะต้องสนับสนุนซึ่งกันและกัน : ซึ่งก็คือค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม หรือ ตัวเลขต่างๆ ที่แสดงให้เห็นแนวโน้มการเติบโตในตลาด จะต้องไปในทิศทางเดียวกันกับแนวโน้มราคาที่เกิดขึ้น
5.ปริมาณการซื้อขาย (Volume) จะต้องสนับสนุนแนวโน้มที่เกิดขึ้น : Dow Theory เชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงของราคาที่เกิดจากปริมาณการซื้อขายจำนวนมากแสดงถึงความเห็นส่วนใหญ่ในตลาด ซึ่งถือเป็นสัญญาณสนับสนุนที่สำคัญของแนวโน้มที่เกิดขึ้น
6.แนวโน้มจะยังคงอยู่จนกระทั่งมีสัญญาณที่ชัดเจนของการเปลี่ยนแนวโน้ม : ในแนวโน้มขาขึ้นราคาจะยังวิ่งขึ้นต่อและทำ New High จนกว่าจะมีปัจจัยหรือเหตุการณ์ที่มีอิทธิพลมากพอจะมาเปลี่ยนให้เป็นแนวโน้มขาลง
----------------------------------
ตลาดกระทิง 3 ระยะ
1 ระยะสะสม (Accumulation Phase) : ระยะนี้คนส่วนใหญ่ยังไม่สนใจว่าแนวโน้มราคาหลักทรัพย์กำลังเกิดขึ้น แต่จะมีนักลงทุนกลุ่มหนึ่งเรื่มสะสมหุ้น อาจจะเป็น นักลงทุน VI หรือ นักลงทุนรายใหญ่
2 ระยะปรับตัวขึ้นครั้งใหญ่ในขาขึ้น (Big Move phase) : เป็นระยะที่นักลงทุนส่วนใหญ่จะเข้ามาลงทุนในหุ้นตัวนั้น หรือ ลงทุนในตลาดฯ
3 ระยะอื่มตัว (Excess phase) : ระยะนี้นักลงทุนรายย่อยเข้ามาในตลาดหุ้นจำนวนมาก ตลาดเริ่มอิ่มตัว และเป็นระยะที่ใกล้ถึงจุดสูงสุดแล้ว
ตลาดหมี 3 ระยะ
1 ระยะกระจายตัว ( Distribution phase) : ระยะนี้เป็นการจบรอบนักลงทุน VI และรายใหญ่เริ่มถอนตัวออกจากตลาดฯ และขายให้กับนักลงทุนรายย่อย (ที่เข้ามาในตลาดจำนวนมาก)
2 ระยะปรับตัวครั้งใหญ่ในขาลง (Big Move Phase) : ระยะนี้เป็นการร่วงลงอย่างรวดเร็ว และกินระยะเวลาช่วงหนึ่ง (นักลงทุนรายย่อยจะขาดทุนอย่างมาก)
3 ระยะสิ้นหวัง (Despair) : ระยะนี้เป็นระยะที่นักลงทุนรายใหญ่ เริ่มถอนตัวจากตลาดจากการขาดทุนอย่างหนัก และ จะเกิดใกล้ๆ กับจุดต่ำสุดของขาลง เมื่อเจอจุดต่ำสุดแล้วจะกลับไปเป็นระยะสะสมใหม่อีกครั้ง
ทีนี้เราคงทราบกันแล้วว่า แนวโน้มหลักของตลาดนั้น มีอยู่ด้วยกัน 3 ระยะซึ่งจะเกิดขึ้นซ้ำไปซ้ำมาแต่คำถามก็คือแล้วหน้าตาของแต่ละระยะล่ะ จะสังเกตได้อย่างไร เพื่อไม่ให้เสียเวลาอันมีค่าของนักลงทุน เรามาดูหน้าตาของแต่ละระยะกันเลยครับ
คำอธิบายภาพ
Bull Market หรือ ตลาดกระทิง ซึ่งเป็นตลาดขาขึ้น
#ระยะที่ 1 ระยะสะสม (Accumulation) : จะเป็นช่วงที่ตลาดยังทรงๆ ในช่วงนั้นยังเป็นช่วงที่นักลงทุนไม่ค่อยสนใจกับตลาดหุ้น สังเกตได้จากตลาดจะเคลื่อนที่แบบไม่มีแนวโน้ม (Non-Trend) หรือ Sideway นั่นเอง
#ระยะที่ 2 ระยะปรับตัวขึ้นครั้งใหญ่ (Big Move) : ระยะนี้เริ่มเมื่อเกิดการทะลุแนวต้านของ Sideway ขึ้นมา แล้วการย่อตัวในครั้งนั้น ไม่ทำ New Low หรือ ไม่หลุดแนวรับ (ที่เคยเป็นแนวต้าน) จากนั้นก็จะปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องทำจุดสูงสุดและจุดต่ำสุด สูงขึ้นไปเรื่อยๆ
#ระยะที่ 3 ระยะอิ่มตัว (Excess) : ระยะนี้เป็นระยะที่นักลงทุนรายย่อยและนักลงทุนหน้าใหม่เข้ามาในตลาดจำนวนมากอย่างเห็นได้ชัด จนมีคำหล่าวในตลาด Wall Street ว่า "หากคนขับ Taxi พูดถึงเรื่องหุ้น" เมื่อไรแปลว่าจุดสูงสุดของตลาดนั้นใกล้เข้ามาแล้ว [สังเกตได้จากบริเวณใกล้ๆ จุดสูงสุดของแนวโน้มขาขึ้น]
Bear Market หรือ ตลาดหมี ซึ่งเป็นตลาดขาลง
#ระยะที่ 1 ระยะแจกจ่าย (Distribution) : สังเกตได้จากตลาดไม่ทำ New High แต่กลับวิ่ง Sideway หรือ Non-Trend และอยู่บริเวณจุดสูงสุด
#ระยะที่ 2 ระยะปรับตัวลงครั้งใหญ่ (Big Move) : สังเกตได้จากหากราคาปรับตัวหลุดแนวรับ แล้วทำจุดต่ำสุดใหม่ และ Rebound ไม่ผ่านแนวต้าน (ที่เป็นแนวรับเดิม) จากนั้นราคาจะปรับตัวลงอย่างต่อเนื่องทำจุดสูงสุดและจุดต่ำสุด ต่ำลงเรื่อยๆ
#ระยะที่ 3 ระยะสิ้นหวัง (Despair) : นักลงทุนที่ลงทุนไว้ขายขาดทุนออกมาเป็นจำนวนมาก และออกจากตลาดหุ้นไป สังเกตได้จากการเห็นจุดต่ำสุด หากเห็นจุดต่ำสุดจะถือว่าเป็นการจบแน้วโน้มขาลง และจะเข้าสู้ ระยะที่ 1 ของตลาดกระทิงใหม่นั่นเอง
เครดิตที่มา
http://www.investmentory.com/2013/05/dow-down-3.html
"โซ่ทองคำ" เสนอสาระคดี วัฏจักรของตลาดหุ้น ตลาดกระทิง และตลาดหมี
ทฤษฏี Dow รู้ไว้กำไรจะได้ไม่ Down
Dow Theory เป็นทฤษฎีที่พูดถึงการเคลื่อนไหวของราคาหุ้น กับ แนวโน้มตลาด ซึ่งคิดค้นโดย Charles H, Dow ผู้ก่อตั้งและบรรณาธิการของ The Wall Street Journal และผู้ร่วมก่อตั้ง Dow Jones and Company ซึ่ง ทฤษฎีดาวนี้ถือได้ว่าเป็นต้นแบบของการวิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิคซึ่งมีด้วยกัน 6 ประการ ได้แก่
1.แนวโน้มตลาด (Market Trend) แบ่งได้ 3 ลักษณะ คือ
1.1 แนวโน้มหลัก เป็นการเปลี่ยนแปลงของราคาในระยะยาว กินเวลามากกว่า 1 ปีเป็นต้นไป
1.2 แนวโน้มรอง เป็นการเปลี่ยนแปลงระยะสั้นจากแนวโน้มหลัก กินระยะเวลา 1 เดือน - 1 ปี
1.3 แนวโน้มย่อย เป็นการเปลี่ยนแปลงของราคาในแต่ละวันซึ่งไม่มีผลต่อแนวโน้มหลัก กินระยะเวลาน้อยกว่า 1 เดือน
นักลงทุนหลายๆ ท่านก็คงมีคำถามว่า แล้ว หน้าตา ของแนวโน้มทั้ง 3 ข้อมันมีหน้าตาเป็นอย่างไร เราไปดูกันเลยครับ
1.1 แนวโน้มหลัก หรือ Primary Movement / Primary Trend
ข้อสังเกต
ระยะเวลาการเกิด > 1 ปี
ทฤษฎีดาวกล่าวว่า ในแนวโน้มหลักนี้ไม่มีนักลงทุนคนใดทราบแน่ชัดว่าจะสิ้นสุดลงเมื่อไร และ แนวโน้มหลักนี้ ไม่มีใครสามารถควบคุมตลาดได้ (ไม่สามารถควบคุมได้ในระยะยาว) เพราะ เมื่อนักลงทุนจำนวนมหาศาล (รวมเป็นเงินมหาศาล) เข้ามาในตลาด จะมีมีนักลงทุนคนใดคนหนึ่งที่จะสามารถควบคุมภาวะตลาดในระยะยาวได้ ซึ่งแปลว่า แนวโน้มหลักนั้นจะชี้ให้เห็นแนวโน้มที่แท้จริงของตลาด (อาจรวมไปถึงธุรกิจโดยรวมด้วย) โดยแนวโน้มหลักนั้นจะแบ่งได้ 2 แบบคือ
#1 แนวโน้มหลักขาขึ้น (Uptrend)
#2 แนวโน้มหลักขาลง (Downtrend)
ต่อมาเรามาดูข้อ 1.2 กันบ้างซึ่งก็คือแนวโน้มรอง หรือ Secondary Movement / Secondary Trend
ข้อสังเกต
ระยะเวลาการเกิด : 1 เดือน < ระยะเวลา < 1 ปี
ข้อสังเกตของแนวโน้มรองนี้สังเกตได้ง่ายๆ คือ จะวิ่งสวนทางกลับ แนวโน้มหลัก หมายความว่า หากแนวโน้มหลัก วิ่งขึ้น แนวโน้มรอง จะวิ่งลง ในทางตรงกันข้าม หากแนวโน้มหลักวิ่งลง แนวโน้มรอง จะวิ่งขึ้น โดยแนวโน้มรองที่วิ่งลงในแนวโน้มขาขึ้น เราเรียกว่า "Correction" และ แนวโน้มรองที่วิ่งขึ้นในแนวโน้มขาลง เราเรียกว่า "Rebound" มาดูภาพกันเลยดีกว่าครับ
#1 Secondary Trend Correction
#2 Secondary Trend Rebound
และสุดท้ายก็คือข้อที่ 1.3 แนวโน้มย่อย Daily Fluctaution / Minor Trend
ข้อสังเกต
สำหรับแนวโน้มย่อยนี้ ข้อสังเกตก็คือ เราไม่สามารถทราบได้ว่า แนวโน้มนั้น ไปทางไหน (ไม่รู้ว่าขึ้นหรือลงกันแน่) ซึ่งแนวโน้มย่อยๆ นี้เอง ที่มาประกอบกันเป็นแนวโน้มรอง และแนวโน้มใหญ่ตามลำดับ [ในแนวโน้มย่อยนี้ สามารถควบคุมได้โดยนักลงทุนรายใหญ่ เพราะเป็นเพียงแนวโน้มสั้นๆ เท่านั้น]
Minor Trend
----------------------
2.แนวโน้มหลักมี 3 ระยะ
ตลาดกระทิง 3 ระยะ
2.1 ระยะสะสม (Accumulation Phase) : ระยะนี้คนส่วนใหญ่ยังไม่สนใจว่าแนวโน้มราคาหลักทรัพย์กำลังเกิดขึ้น แต่จะมีนักลงทุนกลุ่มหนึ่งเรื่มสะสมหุ้น อาจจะเป็น นักลงทุน VI หรือ นักลงทุนรายใหญ่
2.2 ระยะปรับตัวขึ้นครั้งใหญ่ในขาขึ้น (Big Move phase) : เป็นระยะที่นักลงทุนส่วนใหญ่จะเข้ามาลงทุนในหุ้นตัวนั้น หรือ ลงทุนในตลาดฯ
2.3 ระยะอื่มตัว (Excess phase) : ระยะนี้นักลงทุนรายย่อยเข้ามาในตลาดหุ้นจำนวนมาก ตลาดเริ่มอิ่มตัว และเป็นระยะที่ใกล้ถึงจุดสูงสุดแล้ว
ตลาดหมี 3 ระยะ
2.1 ระยะกระจายตัว ( Distribution phase) : ระยะนี้เป็นการจบรอบนักลงทุน VI และรายใหญ่เริ่มถอนตัวออกจากตลาดฯ และขายให้กับนักลงทุนรายย่อย (ที่เข้ามาในตลาดจำนวนมาก)
2.2 ระยะปรับตัวครั้งใหญ่ในขาลง (Big Move Phase) : ระยะนี้เป็นการร่วงลงอย่างรวดเร็ว และกินระยะเวลาช่วงหนึ่ง (นักลงทุนรายย่อยจะขาดทุนอย่างมาก)
2.3 ระยะสิ้นหวัง (Despair) : ระยะนี้เป็นระยะที่นักลงทุนรายใหญ่ เริ่มถอนตัวจากตลาดจากการขาดทุนอย่างหนัก และ จะเกิดใกล้ๆ กับจุดต่ำสุดของขาลง เมื่อเจอจุดต่ำสุดแล้วจะกลับไปเป็นระยะสะสมใหม่อีกครั้ง
3.ตลาดสะท้อนข้อมูลหลักทรัพย์ไว้หมดแล้ว : ราคาที่เกิดขึ้นในตลาดนั้นได้สะท้อนถึงข้อมูลสาธารณะที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นปัจจัยพื้นฐานและปัจจัยทางเทคนิคเอาไว้หมดแล้ว
4.ค่าเฉลี่ยของตลาดจะต้องสนับสนุนซึ่งกันและกัน : ซึ่งก็คือค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม หรือ ตัวเลขต่างๆ ที่แสดงให้เห็นแนวโน้มการเติบโตในตลาด จะต้องไปในทิศทางเดียวกันกับแนวโน้มราคาที่เกิดขึ้น
5.ปริมาณการซื้อขาย (Volume) จะต้องสนับสนุนแนวโน้มที่เกิดขึ้น : Dow Theory เชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงของราคาที่เกิดจากปริมาณการซื้อขายจำนวนมากแสดงถึงความเห็นส่วนใหญ่ในตลาด ซึ่งถือเป็นสัญญาณสนับสนุนที่สำคัญของแนวโน้มที่เกิดขึ้น
6.แนวโน้มจะยังคงอยู่จนกระทั่งมีสัญญาณที่ชัดเจนของการเปลี่ยนแนวโน้ม : ในแนวโน้มขาขึ้นราคาจะยังวิ่งขึ้นต่อและทำ New High จนกว่าจะมีปัจจัยหรือเหตุการณ์ที่มีอิทธิพลมากพอจะมาเปลี่ยนให้เป็นแนวโน้มขาลง
----------------------------------
ตลาดกระทิง 3 ระยะ
1 ระยะสะสม (Accumulation Phase) : ระยะนี้คนส่วนใหญ่ยังไม่สนใจว่าแนวโน้มราคาหลักทรัพย์กำลังเกิดขึ้น แต่จะมีนักลงทุนกลุ่มหนึ่งเรื่มสะสมหุ้น อาจจะเป็น นักลงทุน VI หรือ นักลงทุนรายใหญ่
2 ระยะปรับตัวขึ้นครั้งใหญ่ในขาขึ้น (Big Move phase) : เป็นระยะที่นักลงทุนส่วนใหญ่จะเข้ามาลงทุนในหุ้นตัวนั้น หรือ ลงทุนในตลาดฯ
3 ระยะอื่มตัว (Excess phase) : ระยะนี้นักลงทุนรายย่อยเข้ามาในตลาดหุ้นจำนวนมาก ตลาดเริ่มอิ่มตัว และเป็นระยะที่ใกล้ถึงจุดสูงสุดแล้ว
ตลาดหมี 3 ระยะ
1 ระยะกระจายตัว ( Distribution phase) : ระยะนี้เป็นการจบรอบนักลงทุน VI และรายใหญ่เริ่มถอนตัวออกจากตลาดฯ และขายให้กับนักลงทุนรายย่อย (ที่เข้ามาในตลาดจำนวนมาก)
2 ระยะปรับตัวครั้งใหญ่ในขาลง (Big Move Phase) : ระยะนี้เป็นการร่วงลงอย่างรวดเร็ว และกินระยะเวลาช่วงหนึ่ง (นักลงทุนรายย่อยจะขาดทุนอย่างมาก)
3 ระยะสิ้นหวัง (Despair) : ระยะนี้เป็นระยะที่นักลงทุนรายใหญ่ เริ่มถอนตัวจากตลาดจากการขาดทุนอย่างหนัก และ จะเกิดใกล้ๆ กับจุดต่ำสุดของขาลง เมื่อเจอจุดต่ำสุดแล้วจะกลับไปเป็นระยะสะสมใหม่อีกครั้ง
ทีนี้เราคงทราบกันแล้วว่า แนวโน้มหลักของตลาดนั้น มีอยู่ด้วยกัน 3 ระยะซึ่งจะเกิดขึ้นซ้ำไปซ้ำมาแต่คำถามก็คือแล้วหน้าตาของแต่ละระยะล่ะ จะสังเกตได้อย่างไร เพื่อไม่ให้เสียเวลาอันมีค่าของนักลงทุน เรามาดูหน้าตาของแต่ละระยะกันเลยครับ
คำอธิบายภาพ
Bull Market หรือ ตลาดกระทิง ซึ่งเป็นตลาดขาขึ้น
#ระยะที่ 1 ระยะสะสม (Accumulation) : จะเป็นช่วงที่ตลาดยังทรงๆ ในช่วงนั้นยังเป็นช่วงที่นักลงทุนไม่ค่อยสนใจกับตลาดหุ้น สังเกตได้จากตลาดจะเคลื่อนที่แบบไม่มีแนวโน้ม (Non-Trend) หรือ Sideway นั่นเอง
#ระยะที่ 2 ระยะปรับตัวขึ้นครั้งใหญ่ (Big Move) : ระยะนี้เริ่มเมื่อเกิดการทะลุแนวต้านของ Sideway ขึ้นมา แล้วการย่อตัวในครั้งนั้น ไม่ทำ New Low หรือ ไม่หลุดแนวรับ (ที่เคยเป็นแนวต้าน) จากนั้นก็จะปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องทำจุดสูงสุดและจุดต่ำสุด สูงขึ้นไปเรื่อยๆ
#ระยะที่ 3 ระยะอิ่มตัว (Excess) : ระยะนี้เป็นระยะที่นักลงทุนรายย่อยและนักลงทุนหน้าใหม่เข้ามาในตลาดจำนวนมากอย่างเห็นได้ชัด จนมีคำหล่าวในตลาด Wall Street ว่า "หากคนขับ Taxi พูดถึงเรื่องหุ้น" เมื่อไรแปลว่าจุดสูงสุดของตลาดนั้นใกล้เข้ามาแล้ว [สังเกตได้จากบริเวณใกล้ๆ จุดสูงสุดของแนวโน้มขาขึ้น]
Bear Market หรือ ตลาดหมี ซึ่งเป็นตลาดขาลง
#ระยะที่ 1 ระยะแจกจ่าย (Distribution) : สังเกตได้จากตลาดไม่ทำ New High แต่กลับวิ่ง Sideway หรือ Non-Trend และอยู่บริเวณจุดสูงสุด
#ระยะที่ 2 ระยะปรับตัวลงครั้งใหญ่ (Big Move) : สังเกตได้จากหากราคาปรับตัวหลุดแนวรับ แล้วทำจุดต่ำสุดใหม่ และ Rebound ไม่ผ่านแนวต้าน (ที่เป็นแนวรับเดิม) จากนั้นราคาจะปรับตัวลงอย่างต่อเนื่องทำจุดสูงสุดและจุดต่ำสุด ต่ำลงเรื่อยๆ
#ระยะที่ 3 ระยะสิ้นหวัง (Despair) : นักลงทุนที่ลงทุนไว้ขายขาดทุนออกมาเป็นจำนวนมาก และออกจากตลาดหุ้นไป สังเกตได้จากการเห็นจุดต่ำสุด หากเห็นจุดต่ำสุดจะถือว่าเป็นการจบแน้วโน้มขาลง และจะเข้าสู้ ระยะที่ 1 ของตลาดกระทิงใหม่นั่นเอง
เครดิตที่มา
http://www.investmentory.com/2013/05/dow-down-3.html