คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 2
ไม่มีทางที่จะตั้งสถาบันกษัตริย์ขึ้นมาในอเมริกาได้ครับ ประชาชนกับผู้ร่วมก่อตั้งอเมริกาไม่ยอมแน่
คำที่กษัตริย์จอร์จที่สามพูดนี้เป็นตอนที่วอชิงตันลาออกจากการเป็นผบ.ทหารสูงสุดของกองทัพอเมริกาครับ การกระทำนี้ของวอชิงตันนั้นทำให้ยุโรปตะลึง เพราะพวกขุนนางยุโรปมองว่าตอนนั้นวอชิงตันเป็นคนเดียวที่กุมอำนาจทหารไว้ เป็นผู้มีบารมีต่อกองทัพอย่างสูงมาก นายทหารแม่ทัพทั้งหลายเคารพเชื่อฟัง ถึงแม้ว่าวอชิงตันจะไม่ใช้กำลังทหารยึดอำนาจตั้งตัวเป็นกษัตริย์ แต่ก็น่าจะใช้เป็นเครื่องต่อรองให้ตนเองได้ผลตอบแทนอะไรดีๆ บ้าง ไม่น่าจะปล่อยทิ้งอำนาจโดยการลาออกเลย
ถ้าศึกษาลึกๆ แล้วจะพบว่าแนวคิดปณิธานของวอชิงตันนั้นสมกับเป็นผู้ก่อตั้งรัฐเสรีประชาธิปไตยจริงๆ ครับ เพราะช่วงหลังจากที่กองทัพอังกฤษยอมแพ้ที่ยอร์คทาว์นแต่ยังไม่เซ็นสัญญาสงบศึกนั้น อังกฤษยังมีกองทัพขนาดกลางอยู่ในนิวยอร์ค วอชิงตันยังจำเป็นต้องคงกองทัพอเมริกาไว้คานกับอังกฤษ ถึงแม้ว่าจะแทบไม่มีการรบกันเลยก็ตาม การคงกองทัพไว้โดยไม่รบนั้นสร้างปัญหาขึ้นค่อนข้างมาก โดยเฉพาะเรื่องค่าตอบแทนของทหาร สภาคองเกรสนั้นไม่มีเงินพอจะจ่ายเป็นเบี้ยเลี้ยงให้ทหารได้ พอนานเข้าทหารก็เริ่มไม่พอใจ ประกอบกับไม่มีการรบอะไรกันเกือบสองปี ก็เลยมีนายทหารวางแผนว่าจะเดินทัพไป"ข่มขู่"สภาซะหน่อย (ตอนนี้นักประวัติศาสตร์ก็ถกเถียงกันว่ากองทัพตอนนั้นจะข่มขู่สภาขนาดไหน จะถึงขั้นรัฐประหารหรือเปล่า) แต่วอชิงตันก็หยุดยั้งกองทัพไว้ได้ พอจบสงครามวอชิงตันก็ยุบกองทัพตามคำสั่งของสภาทันที ไม่ยอมคงกองทัพไว้จนกว่าทหารจะได้เงินเดือนตามที่สภาสัญญา การกระทำของวอชิงตันนี้เป็นการสร้างและตอกย้ำมโนคติที่ว่าสภาอยู่เหนือกองทัพ ประชาชนอยู่เหนือทหาร แม่ทัพอเมริกาในยุคต่อๆ มาแม้ว่าจะเก่งกล้าแค่ไหนก็ต้องเชื่อฟังคำสั่งของสภาและประธานาธิบดี (เช่นแมคอาเธอร์โดนปลดกลางอากาศเป็นต้น) และแน่นอนว่าไม่มีการปฏิวัตินะครับ
คำที่กษัตริย์จอร์จที่สามพูดนี้เป็นตอนที่วอชิงตันลาออกจากการเป็นผบ.ทหารสูงสุดของกองทัพอเมริกาครับ การกระทำนี้ของวอชิงตันนั้นทำให้ยุโรปตะลึง เพราะพวกขุนนางยุโรปมองว่าตอนนั้นวอชิงตันเป็นคนเดียวที่กุมอำนาจทหารไว้ เป็นผู้มีบารมีต่อกองทัพอย่างสูงมาก นายทหารแม่ทัพทั้งหลายเคารพเชื่อฟัง ถึงแม้ว่าวอชิงตันจะไม่ใช้กำลังทหารยึดอำนาจตั้งตัวเป็นกษัตริย์ แต่ก็น่าจะใช้เป็นเครื่องต่อรองให้ตนเองได้ผลตอบแทนอะไรดีๆ บ้าง ไม่น่าจะปล่อยทิ้งอำนาจโดยการลาออกเลย
ถ้าศึกษาลึกๆ แล้วจะพบว่าแนวคิดปณิธานของวอชิงตันนั้นสมกับเป็นผู้ก่อตั้งรัฐเสรีประชาธิปไตยจริงๆ ครับ เพราะช่วงหลังจากที่กองทัพอังกฤษยอมแพ้ที่ยอร์คทาว์นแต่ยังไม่เซ็นสัญญาสงบศึกนั้น อังกฤษยังมีกองทัพขนาดกลางอยู่ในนิวยอร์ค วอชิงตันยังจำเป็นต้องคงกองทัพอเมริกาไว้คานกับอังกฤษ ถึงแม้ว่าจะแทบไม่มีการรบกันเลยก็ตาม การคงกองทัพไว้โดยไม่รบนั้นสร้างปัญหาขึ้นค่อนข้างมาก โดยเฉพาะเรื่องค่าตอบแทนของทหาร สภาคองเกรสนั้นไม่มีเงินพอจะจ่ายเป็นเบี้ยเลี้ยงให้ทหารได้ พอนานเข้าทหารก็เริ่มไม่พอใจ ประกอบกับไม่มีการรบอะไรกันเกือบสองปี ก็เลยมีนายทหารวางแผนว่าจะเดินทัพไป"ข่มขู่"สภาซะหน่อย (ตอนนี้นักประวัติศาสตร์ก็ถกเถียงกันว่ากองทัพตอนนั้นจะข่มขู่สภาขนาดไหน จะถึงขั้นรัฐประหารหรือเปล่า) แต่วอชิงตันก็หยุดยั้งกองทัพไว้ได้ พอจบสงครามวอชิงตันก็ยุบกองทัพตามคำสั่งของสภาทันที ไม่ยอมคงกองทัพไว้จนกว่าทหารจะได้เงินเดือนตามที่สภาสัญญา การกระทำของวอชิงตันนี้เป็นการสร้างและตอกย้ำมโนคติที่ว่าสภาอยู่เหนือกองทัพ ประชาชนอยู่เหนือทหาร แม่ทัพอเมริกาในยุคต่อๆ มาแม้ว่าจะเก่งกล้าแค่ไหนก็ต้องเชื่อฟังคำสั่งของสภาและประธานาธิบดี (เช่นแมคอาเธอร์โดนปลดกลางอากาศเป็นต้น) และแน่นอนว่าไม่มีการปฏิวัตินะครับ
แสดงความคิดเห็น
อยากสอบถามเรื่องของจอร์จ วอชิงตันครับ
อยากทราบว่า ในช่วงที่วอชิงตันได้ครองอำนาจสูงสุดของสหรัฐอเมริกา เค้า
1. มีอำนาจพอที่จะแต่งตั้งตนเองเป็นกษัตริย์มั้ยครับ
2. ถ้าเค้ามีความคิดเช่นนี้ บรรดาบิดาผู้ก่อตั้งประเทศ(Founding Father) จะยอมเค้ามั้ยครับ
3. ประชาชนชาวอเมริกันจะยอมเค้ามั้ยครับ(ในตอนนั้น ค.ศ. 1789 น่ะ)