ชัชชาติ ((อีกแล้ว)) 20 บาทตลอดสาย ปลายปี57 ได้ หรือ ไม่ได้ ???

กระทู้คำถาม
http://www.dailynews.co.th/businesss/227738
วันพุธที่ 21 สิงหาคม 2556 เวลา 21:29 น.

คมนาคมเร่งเดินหน้าตั๋วร่วม
คมนาคม ถกเร่งออกตั๋วร่วมทางด่วน- รถไฟฟ้า- รถเมล์ เตรียมใช้ตั๋วร่วมทางด่วนก่อนสิ้นปีนี้ ส่วนรถไฟฟ้าปลายปี 57

พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยหลังประชุมคณะกรรมการบริหารจัดการตั๋วร่วมว่า ที่ประชุมมีมติให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.)ไปประสานกับกรมสรรพากรจัดเตรียมทำระบบการเก็บค่าผ่านทางอัตโนมัติ(อีซี พาส)ร่วมกันระหว่างการทางพิเศษแห่งประเทศไทย(กทพ.) และกรมทางหลวง(ทล.) เพื่อให้ประชาชนได้รับความสะดวกในการใช้บริการทางพิเศษ(ทางด่วน)มากยิ่งขึ้น โดยจะต้องจัดทำแผนการดำเนินงานทั้งหมดให้แล้วเสร็จภายในเดือนต.ค.นี้ เพื่อให้ใช้ได้ภายในปีนี้

“นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รมว.คมนาคม ต้องการให้ประชาชนได้รับความสะดวกในการใช้ทางด่วนของ กทพ.และกรมทางหลวงมากขึ้น โดยใช้ระบบอัตโนมัติเป็นแบบเดียวกัน แต่ต้องหารือกับกรมสรรพากรด้วยเพราะการคิดค่าผ่านทางด่วนของ ทั้ง 2 ที่ต่างกัน โดยการทางพิเศษฯ จะรวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% แต่กรมทางหลวง ไม่ได้เก็บ ดังนั้นรายได้ที่เก็บจากผู้ใช้บริการจะต้องนำส่งให้กรมทางหลวงเฉพาะค่าผ่านทางจริงเท่านั้น และให้ธนาคารกรุงไทย เป็นผู้จัดทำระบบศูนย์บริหารจัดการรายได้กลาง(เคลียริ่ง เฮ้าส์)”

นายเผด็จ ประดิษฐเพชร ปฏิบัติหน้าที่แทนผู้อำนวยการสำนักบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม สนข. กล่าวว่า กรมทางหลวงอยู่ระหว่างติดตั้งระบบเก็บค่าผ่านทางอัตโนมัติบนทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง(มอเตอร์เวย์)สาย 7 และสาย 9 โดยจะใช้ชื่อบริการเดียวกับ กทพ. คือ อีซี่ พาส และพร้อมเปิดให้บริการเร็วๆนี้  ส่วนการนำระบบตั๋วร่วมเข้ามาใช้บริการร่วมกับรถไฟฟ้าบีทีเอส รถไฟฟ้าใต้ดิน รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิ้งค์ รถเมล์ และเรือโดยสาร อยู่ระหว่างศึกษารายละเอียด และการจัดทำระบบเคลียริ่ง เฮ้าส์ โดยคาดจะเริ่มติดตั้งระบบต่างๆได้ในเดือนม.ค.57 ใช้เวลาติดตั้งและทดลองระบบจนถึงเดือนธ.ค.57 จากนั้นจึงจะสามารถใช้บริการได้ เบื้องต้นอาจจะใช้กับระบบรางก่อน จากนั้นจึงขยายไปบริการขนส่งอื่นๆต่อไป

ทั้งนี้เบื้องต้นกลุ่มบริษัทที่ปรึกษาได้ศึกษาออกแบบการเก็บค่าโดยสารผ่านระบบตั๋วร่วมไว้ 3 แบบ คือ

ทุกระบบใช้ราคาเดียว คือ 20 บาทตลอดสาย หรือ

คิดตามระยะทาง โดยเก็บอัตราแรกเข้าครั้งเดียวจากนั้นคิดตามระยะทางที่ใช้บริการ เช่น เมื่อนั่งรถไฟฟ้าบีทีเอส แล้วไปต่อรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิ้ง หรือรถไฟฟ้าใต้ดิน ก็ไม่ต้องจ่ายเริ่มต้นใหม่ สามารถนำบัตรไปแตะเพื่อเข้าใช้ระบบได้ และ

การจัดเก็บโดยกำหนดพื้นที่(โซนนิ่ง)ในการใช้บริการ

“การเก็บค่าโดยสารในลักษณะนี้ รัฐบาลอาจไม่ต้องชดเชยให้กับผู้ประกอบการ หากสามารถดึงประชาชนให้ใช้บริการได้มาก เพราะปัจจุบันในกรุงเทพฯและปริมณฑลมีคนใช้รถประมาณ 17 ล้านครั้งต่อวัน แบ่งเป็นรถยนต์ส่วนตัวประมาณ 10 ล้านครั้ง หรือ 55% และขนส่งสาธารณะประมาณ 7 ล้านครั้ง หรือ 45% โดยขนส่งสาธารณะ ยังแบ่งเป็นรถไฟฟ้าประมาณ 1 ล้านครั้ง และรถโดยสาร 4-5 ล้านครั้งต่อวัน

***************************

put เดอะ ไร้ท์ แมน
on  เดอะ ไร้ท์ จ๊อบ

เลือกรัฐบาลดี รัฐบาลก็จะคัดคนดี มาทำงาน
ก็จะได้ผลงานดีๆสู่ประชาชนแบบนี้แล
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่