นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ได้สั่งการให้สำนักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) สรุปรายละเอียดการปรับแผนก่อสร้างระบบรถไฟฟ้ามวลเบา (ไลท์ เรล) แทนการก่อสร้างโครงการทางด่วนขั้นที่ 3 เริ่มจากทางพิเศษศรีรัชไปถนนรัตนาธิเบศร์ผ่านแคราย แยกเกษตรศาสตร์ต่อไปถนนนวมินทร์ และถนนกรุงเทพฯ-ชลบุรี สายใหม่ ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ให้กระทรวงคมนาคมพิจารณาภายใน 1 เดือน หลังจากพิจารณาแล้วเห็นว่าจะช่วยลดผลกระทบชุมชนในการเวนคืนที่ดิน โดยเฉพาะช่วงถนนงามวงศ์วาน และสอดคล้องกับนโยบายพรรคเพื่อไทยที่ต้องการผลักดันการก่อสร้างรถไฟฟ้า 10 สาย
ทั้งนี้ การก่อสร้างรถไฟฟ้าระบบไลท์เรล เบื้องต้นจะก่อสร้างทั้งใต้ดินในช่วงงามวงศ์วาน มีต้นทุนการก่อสร้างประมาณ 2,500 ล้านบาทต่อกิโลเมตร และยกระดับ มีต้นทุนการก่อสร้าง 800-1,000 ล้านบาทต่อกิโลเมตร หากใช้พื้นที่บริเวณเกาะกลาง และยังใช้โครงสร้างเดิม คือ ตอม่อของ กทพ.ที่เคยก่อสร้างไว้แล้ว และให้ทบทวนแผนการก่อสร้างทางด่วนสายใหม่ ให้ขยายไปยังพื้นที่รอบนอกกรุงเทพฯและปริมณฑลเป็นหลัก เช่น สายเหนือ ขยับไปบริเวณคลองรังสิต เป็นต้น
(ที่มา:มติชนรายวัน 12 ก.พ.2556)
คมนาคมปิ๊งทำ"ไลท์เรล" แทนทางด่วนขั้นที่ 3 เลี่ยงปัญหาเวนคืนที่ดิน
ทั้งนี้ การก่อสร้างรถไฟฟ้าระบบไลท์เรล เบื้องต้นจะก่อสร้างทั้งใต้ดินในช่วงงามวงศ์วาน มีต้นทุนการก่อสร้างประมาณ 2,500 ล้านบาทต่อกิโลเมตร และยกระดับ มีต้นทุนการก่อสร้าง 800-1,000 ล้านบาทต่อกิโลเมตร หากใช้พื้นที่บริเวณเกาะกลาง และยังใช้โครงสร้างเดิม คือ ตอม่อของ กทพ.ที่เคยก่อสร้างไว้แล้ว และให้ทบทวนแผนการก่อสร้างทางด่วนสายใหม่ ให้ขยายไปยังพื้นที่รอบนอกกรุงเทพฯและปริมณฑลเป็นหลัก เช่น สายเหนือ ขยับไปบริเวณคลองรังสิต เป็นต้น
(ที่มา:มติชนรายวัน 12 ก.พ.2556)