เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก คุณ kucityfanpage สมาชิกเว็บไซต์ยูทูบดอทคอม
การทางพิเศษแห่งประเทศไทย เตรียมปรับแบบสร้างทางด่วนใน ม.เกษตรฯ ขณะที่อธิการบดี ยังคัดค้าน โดยให้เหตุผลว่า โครงการดังกล่าวมีโครงสร้างสูงถึง 28 เมตร จึงเกรงว่าอาจเกิดอุบัติเหตุร้ายแรงภายในมหาวิทยาลัย
เมื่อวันที่ 14 มกราคม ที่ผ่านมา พล.อ.พฤณท์ สุวรรณทัต รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในฐานะกำกับดูแลการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) กล่าวว่า กทพ. ต้องหารือร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) เพื่อให้เกิดความชัดเจน เกี่ยวกับการก่อสร้างโครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ หลังจากมหาวิทยาลัยไม่เห็นด้วยกับแนวทางการก่อสร้างในตอนที่ 1 หรือ N1 เริ่มต้นจากทางพิเศษศรีรัชมาตามถนนรัตนาธิเบศร์ ผ่านแครายไปตามถนนงามวงศ์วานถึงแยกเกษตรศาสตร์ โดยเฉพาะถนนงามวงศ์วานช่วงที่ผ่านหน้ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพราะเกรงว่าจะส่งผลกระทบกับทางมหาวิทยาลัย
ดังนั้น เพื่อให้ทางมหาวิทยาลัยได้ประโยชน์สูงสุด กทพ. จึงได้ปรับแบบโดยเพิ่มทางขึ้นลงในมหาวิทยาลัย ซึ่งจะช่วยให้นักศึกษา บุคลากร ในมหาวิทยาลัย และประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงได้รับความสะดวกจากการใช้ทางด่วนโดยไม่ต้องไปอ้อมจนต้องเจอปัญหารถติด ส่วนเรื่องอื่น ๆ คงต้องหารือร่วมกันอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ได้ข้อสรุปที่ทุกฝ่ายให้การยอมรับ
พล.อ.พฤณท์ ยังกล่าวอีกว่า พื้นที่ในมหาวิทยาลัยที่ กทพ. ใช้ในการก่อสร้างเป็นการเบี่ยงเข้าไปเล็กน้อยเท่านั้น จึงไม่ส่งผลกระทบกับมหาวิทยาลัยมากนัก การออกแบบก็พยายามให้เกิดผลกระทบน้อยที่สุดอยู่แล้ว แต่เนื่องจากมีการกำหนดแนวทางไว้อย่างชัดเจน ดังนั้น คงไม่สามารถเบี่ยงเส้นทางไปก่อสร้างในแนวอื่นได้ ทั้งนี้ขอยืนยันว่า การก่อสร้างในโครงการดังกล่าวจะไม่ล่าช้า เพราะกระทรวงคมนาคมมีนโยบายจะให้เริ่มก่อสร้างตอนที่ 2 หรือ N2 ก่อน โดยจะเริ่มที่แยกเกษตรศาสตร์ไปตามแนวสายทางซ้อนทับบนเกาะกลางถนนเกษตร-นวมินทร์ ของกรมทางหลวง (ทล.) ถึงถนนนวมินทร์ เนื่องจากมีเสาตอม่อพร้อมดำเนินโครงการอยู่แล้ว ดังนั้น ในช่วง N1 จึงสามารถเจรจากันไปได้จนกว่าจะได้ข้อสรุป โดยไม่ได้กำหนดระยะเวลาที่แน่นอนว่าจะต้องเจรจาให้แล้วเสร็จภายในกี่เดือน
ทางด้าน พล.ต.อ. วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ปลัดกระทรวงคมนาคม ในฐานะประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) กทพ. กล่าวว่า เมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมาได้ไปให้ข้อมูลเกี่ยวกับการก่อสร้างโครงการดังกล่าวกับประชาชนแล้ว หลังมีนิสิตและผู้แทนจาก มก. ยื่นข้อเสนอเกี่ยวกับการก่อสร้างโครงการให้พิจารณา ก็ได้อธิบายให้รับทราบว่า เดิม กทพ. จะทำตอม่อบริเวณกลางถนนงามวงศ์วานผ่านตลอดแนวหน้า มก. แต่ติดปัญหามีท่อระบบสาธารณูปโภคขนาดใหญ่ จึงเปลี่ยนไปพิจารณาการใช้แนวฝั่งเหนือ หรือใต้ของถนนเพื่อใช้เป็นจุดสร้างเสาตอม่อแทน แต่หากใช้พื้นที่ทางใต้ของถนนจะส่งผลกระทบกับประชาชนเป็นจำนวนมาก เพราะมีประชาชนอาศัยอยู่หนาแน่น จึงเปลี่ยนไปใช้ฝั่งเหนือ เป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และเพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบกับทางมหาวิทยาลัย จึงได้พิจารณาให้เป็นแบบโครงสร้างยกสูงขึ้น ซึ่งจะไม่ส่งผลกระทบกับพื้นที่ด้านล่างของมหาวิทยาลัยเลย
พล.ต.อ.วิเชียร กล่าวอีกว่า การพิจารณาเรื่องดังกล่าวคงจะต้องหารือกันด้วยเหตุและผล ที่ผ่านมาได้เชิญมหาวิทยาลัยเข้าไปหารือร่วมกับบริษัทที่ปรึกษาของโครงการ เพื่อให้เห็นความจำเป็นในการก่อสร้างทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ จะช่วยแก้ไขปัญหาการจราจรที่ติดขัดได้ โดยยืนยันว่าที่ผ่านมาการก่อสร้างในโครงการดังกล่าว โดยเฉพาะช่วง N1 ได้ศึกษารายละเอียดข้อมูลต่าง ๆ มาดีที่สุดแล้ว จะพยายามให้กระทบน้อยที่สุด แต่ก็ต้องกระทบบ้าง
ขณะที่ นายวุฒิชัย กปิลกาญจน์ อธิการบดี มก. กล่าวว่า กทพ.มีแผนดำเนินการโครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 3 เป็นโครงสร้างทางด่วน 28 เมตร เท่ากับอาคาร 10 ชั้น ซึ่งที่ผ่านมา มก. เคยทำหนังสือถึงผู้ว่าการ กทพ. แล้วว่า เรื่องนี้ มก. คัดค้านอย่างเต็มที่ แต่เป็นการคัดค้านเฉพาะแผนที่ 5 ซึ่งเป็นการทำทางด่วนสูงเท่ากับตึก 10 ชั้น ของคณะบริหารธุรกิจ ในฝั่งประตู 3 ทางเข้าฝั่งถนนวิภาวดีฯ โดยทาง กทพ.ได้ออกแบบให้ทางด่วนล้ำเข้ามาภายในมหาวิทยาลัยมากเกินไป ซึ่งการสร้างถนนสูงเกือบ 30 เมตร หากมีรถประสบอุบัติเหตุตกลงมาในมหาวิทยาลัย ใครจะเป็นผู้รับผิดชอบ และนี่ยังไม่รวมถึงเรื่องมลพิษทางเสียง หรือมลภาวะต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นอีก ซึ่งขณะนี้ มก. กำลังรวบรวมรายชื่อบุคลากร นิสิต นักเรียน และบุคลากรของโรงเรียนสาธิต มก. เพื่อนำไปยื่นให้ทาง กทพ. พิจารณาต่อไป
อย่างไรก็ตาม รายงานข่าวแจ้งว่า โครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือเป็นทางยกระดับขนาด 6 ช่องจราจร ตอนที่ 1 มีระยะทางประมาณ 19.2 กิโลเมตร มีการสัมมนารับฟังความคิดเห็นของประชาชนไปแล้ว 3 ครั้ง ตอนที่ 2 มีระยะทางประมาณ 9.2 กิโลเมตร โดยในปลายเส้นทางตอนที่ 2 ต่อกับต้นเส้นทางตอนที่ 3 มีทางเชื่อมแยกไปยังถนนกาญจนาภิเษก เรียกว่าตอนเชื่อมต่อตะวันตก-ตะวันออกหรือ อีสท์-เวสต์ คอร์ริดอร์ (East-West Corridor) เป็นทางด่วนส่วนต่อขยายที่เริ่มต้นตั้งแต่ทางแยกถนนนวมินทร์ จนถึงถนนวงแหวนรอบนอกฝั่งตะวันออก มีระยะทางประมาณ 3 กิโลเมตร และตอนที่ 3 มีระยะทางประมาณ 11.5 กิโลเมตร
คลิป Animation ทางด่วนผ่าน ม.เกษตร โพสต์โดย คุณ kucityfanpage
เจาะข่าวเด่น 15 มกราคม 2556 (ตอนที่1)
เจาะข่าวเด่น 16 มกราคม 2556 (ตอนที่2)
กทพ. ลุยสร้างทางด่วน ม.เกษตรฯ -อธิการฯ ค้าน หวั่นมีอุบัติเหตุ
เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก คุณ kucityfanpage สมาชิกเว็บไซต์ยูทูบดอทคอม
การทางพิเศษแห่งประเทศไทย เตรียมปรับแบบสร้างทางด่วนใน ม.เกษตรฯ ขณะที่อธิการบดี ยังคัดค้าน โดยให้เหตุผลว่า โครงการดังกล่าวมีโครงสร้างสูงถึง 28 เมตร จึงเกรงว่าอาจเกิดอุบัติเหตุร้ายแรงภายในมหาวิทยาลัย
เมื่อวันที่ 14 มกราคม ที่ผ่านมา พล.อ.พฤณท์ สุวรรณทัต รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในฐานะกำกับดูแลการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) กล่าวว่า กทพ. ต้องหารือร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) เพื่อให้เกิดความชัดเจน เกี่ยวกับการก่อสร้างโครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ หลังจากมหาวิทยาลัยไม่เห็นด้วยกับแนวทางการก่อสร้างในตอนที่ 1 หรือ N1 เริ่มต้นจากทางพิเศษศรีรัชมาตามถนนรัตนาธิเบศร์ ผ่านแครายไปตามถนนงามวงศ์วานถึงแยกเกษตรศาสตร์ โดยเฉพาะถนนงามวงศ์วานช่วงที่ผ่านหน้ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพราะเกรงว่าจะส่งผลกระทบกับทางมหาวิทยาลัย
ดังนั้น เพื่อให้ทางมหาวิทยาลัยได้ประโยชน์สูงสุด กทพ. จึงได้ปรับแบบโดยเพิ่มทางขึ้นลงในมหาวิทยาลัย ซึ่งจะช่วยให้นักศึกษา บุคลากร ในมหาวิทยาลัย และประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงได้รับความสะดวกจากการใช้ทางด่วนโดยไม่ต้องไปอ้อมจนต้องเจอปัญหารถติด ส่วนเรื่องอื่น ๆ คงต้องหารือร่วมกันอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ได้ข้อสรุปที่ทุกฝ่ายให้การยอมรับ
พล.อ.พฤณท์ ยังกล่าวอีกว่า พื้นที่ในมหาวิทยาลัยที่ กทพ. ใช้ในการก่อสร้างเป็นการเบี่ยงเข้าไปเล็กน้อยเท่านั้น จึงไม่ส่งผลกระทบกับมหาวิทยาลัยมากนัก การออกแบบก็พยายามให้เกิดผลกระทบน้อยที่สุดอยู่แล้ว แต่เนื่องจากมีการกำหนดแนวทางไว้อย่างชัดเจน ดังนั้น คงไม่สามารถเบี่ยงเส้นทางไปก่อสร้างในแนวอื่นได้ ทั้งนี้ขอยืนยันว่า การก่อสร้างในโครงการดังกล่าวจะไม่ล่าช้า เพราะกระทรวงคมนาคมมีนโยบายจะให้เริ่มก่อสร้างตอนที่ 2 หรือ N2 ก่อน โดยจะเริ่มที่แยกเกษตรศาสตร์ไปตามแนวสายทางซ้อนทับบนเกาะกลางถนนเกษตร-นวมินทร์ ของกรมทางหลวง (ทล.) ถึงถนนนวมินทร์ เนื่องจากมีเสาตอม่อพร้อมดำเนินโครงการอยู่แล้ว ดังนั้น ในช่วง N1 จึงสามารถเจรจากันไปได้จนกว่าจะได้ข้อสรุป โดยไม่ได้กำหนดระยะเวลาที่แน่นอนว่าจะต้องเจรจาให้แล้วเสร็จภายในกี่เดือน
ทางด้าน พล.ต.อ. วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ปลัดกระทรวงคมนาคม ในฐานะประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) กทพ. กล่าวว่า เมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมาได้ไปให้ข้อมูลเกี่ยวกับการก่อสร้างโครงการดังกล่าวกับประชาชนแล้ว หลังมีนิสิตและผู้แทนจาก มก. ยื่นข้อเสนอเกี่ยวกับการก่อสร้างโครงการให้พิจารณา ก็ได้อธิบายให้รับทราบว่า เดิม กทพ. จะทำตอม่อบริเวณกลางถนนงามวงศ์วานผ่านตลอดแนวหน้า มก. แต่ติดปัญหามีท่อระบบสาธารณูปโภคขนาดใหญ่ จึงเปลี่ยนไปพิจารณาการใช้แนวฝั่งเหนือ หรือใต้ของถนนเพื่อใช้เป็นจุดสร้างเสาตอม่อแทน แต่หากใช้พื้นที่ทางใต้ของถนนจะส่งผลกระทบกับประชาชนเป็นจำนวนมาก เพราะมีประชาชนอาศัยอยู่หนาแน่น จึงเปลี่ยนไปใช้ฝั่งเหนือ เป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และเพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบกับทางมหาวิทยาลัย จึงได้พิจารณาให้เป็นแบบโครงสร้างยกสูงขึ้น ซึ่งจะไม่ส่งผลกระทบกับพื้นที่ด้านล่างของมหาวิทยาลัยเลย
พล.ต.อ.วิเชียร กล่าวอีกว่า การพิจารณาเรื่องดังกล่าวคงจะต้องหารือกันด้วยเหตุและผล ที่ผ่านมาได้เชิญมหาวิทยาลัยเข้าไปหารือร่วมกับบริษัทที่ปรึกษาของโครงการ เพื่อให้เห็นความจำเป็นในการก่อสร้างทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ จะช่วยแก้ไขปัญหาการจราจรที่ติดขัดได้ โดยยืนยันว่าที่ผ่านมาการก่อสร้างในโครงการดังกล่าว โดยเฉพาะช่วง N1 ได้ศึกษารายละเอียดข้อมูลต่าง ๆ มาดีที่สุดแล้ว จะพยายามให้กระทบน้อยที่สุด แต่ก็ต้องกระทบบ้าง
ขณะที่ นายวุฒิชัย กปิลกาญจน์ อธิการบดี มก. กล่าวว่า กทพ.มีแผนดำเนินการโครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 3 เป็นโครงสร้างทางด่วน 28 เมตร เท่ากับอาคาร 10 ชั้น ซึ่งที่ผ่านมา มก. เคยทำหนังสือถึงผู้ว่าการ กทพ. แล้วว่า เรื่องนี้ มก. คัดค้านอย่างเต็มที่ แต่เป็นการคัดค้านเฉพาะแผนที่ 5 ซึ่งเป็นการทำทางด่วนสูงเท่ากับตึก 10 ชั้น ของคณะบริหารธุรกิจ ในฝั่งประตู 3 ทางเข้าฝั่งถนนวิภาวดีฯ โดยทาง กทพ.ได้ออกแบบให้ทางด่วนล้ำเข้ามาภายในมหาวิทยาลัยมากเกินไป ซึ่งการสร้างถนนสูงเกือบ 30 เมตร หากมีรถประสบอุบัติเหตุตกลงมาในมหาวิทยาลัย ใครจะเป็นผู้รับผิดชอบ และนี่ยังไม่รวมถึงเรื่องมลพิษทางเสียง หรือมลภาวะต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นอีก ซึ่งขณะนี้ มก. กำลังรวบรวมรายชื่อบุคลากร นิสิต นักเรียน และบุคลากรของโรงเรียนสาธิต มก. เพื่อนำไปยื่นให้ทาง กทพ. พิจารณาต่อไป
อย่างไรก็ตาม รายงานข่าวแจ้งว่า โครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือเป็นทางยกระดับขนาด 6 ช่องจราจร ตอนที่ 1 มีระยะทางประมาณ 19.2 กิโลเมตร มีการสัมมนารับฟังความคิดเห็นของประชาชนไปแล้ว 3 ครั้ง ตอนที่ 2 มีระยะทางประมาณ 9.2 กิโลเมตร โดยในปลายเส้นทางตอนที่ 2 ต่อกับต้นเส้นทางตอนที่ 3 มีทางเชื่อมแยกไปยังถนนกาญจนาภิเษก เรียกว่าตอนเชื่อมต่อตะวันตก-ตะวันออกหรือ อีสท์-เวสต์ คอร์ริดอร์ (East-West Corridor) เป็นทางด่วนส่วนต่อขยายที่เริ่มต้นตั้งแต่ทางแยกถนนนวมินทร์ จนถึงถนนวงแหวนรอบนอกฝั่งตะวันออก มีระยะทางประมาณ 3 กิโลเมตร และตอนที่ 3 มีระยะทางประมาณ 11.5 กิโลเมตร
คลิป Animation ทางด่วนผ่าน ม.เกษตร โพสต์โดย คุณ kucityfanpage
เจาะข่าวเด่น 15 มกราคม 2556 (ตอนที่1)
เจาะข่าวเด่น 16 มกราคม 2556 (ตอนที่2)