สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 16
ลักษณะขององค์กรไม่เอื้อครับ
ลองไล่ปัญหาดู
ทำไมรถไฟไม่ตรงเวลา
> เพราะรถไฟวิ่งได้ช้า
ทำไมรถไฟวิ่งได้ช้า
> เพราะอุปกรณ์ไม่พร้อม
1. ระบบราง ยังเป็นรางเดี่ยวเป็นส่วนมาก และมีสภาพไม่สมบูรณ์
2. จุดตัดรางกับถนนมีเยอะมาก
3. หัวรถจักรเก่าถึงเก่ามาก สภาพไม่สมบูรณ์ ขาดการซ่อมบำรุงที่เหมาะสม
ทำไมอุปกรณ์ไม่พร้อม
> เพราะขาดเงินทุน และการจัดการบุคลากรที่ย่ำแย่
ทำไมขาดเงินทุน
> เพราะรถไฟขาดทุนตลอด
ทำไมรถไฟถึงขาดทุน
> เพราะรถไฟมีต้นทุนการดำเนินงานที่สูงมาก
1. ค่าอุปกรณ์ที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ
2. การแบกภาระการทุนเองทั้งหมด ทั้งระบบราง ระบบการเดินรถ อาคารสถานที่ และขบวนรถ เปรียบเทียบกับคู่แข่งด้านการขนส่งอื่น ๆ ที่ไม่ต้องแบกรับภาระมากเท่ารถไฟ เช่น รถโดยสาร ไม่ต้องลงทุนสร้างถนนหรือสถานี เครื่องบิน ไม่ต้องลงทุนสร้างสนามบิน ฯลฯ
3. ค่าตอบแทนพนักงานที่สูงมาก
4. ไม่สามารถหาประโยชน์จากที่ดินที่ครอบครองไว้ได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย
ทำไมรถไฟถึงมีการจัดการบุคลากรที่ย่ำแย่
> เพราะรถไฟมีสหภาพการรถไฟ
โดยหลักการการมีสหภาพไม่ใช่เรื่องที่แย่ แต่สหภาพการรถไฟนั้น เป็นที่เลื่องชื่อลือชามานานแล้ว ทั้งการเล่นพรรคเล่นพวก การมีบุคลากรที่เกินความจำเป็น ค่าตอบแทนที่เกินหน้าที่ แถมช่วงหลัง ๆ ยังฝักใฝ่การเมืองอีกด้วย
การจะปรับปรุงรถไฟไทยนั้น ทางออกคือการแปรรูป ส่วน Infrastructure ต่าง ๆ เป็นของรัฐ รัฐต้องลงทุนสร้างโครงสร้างพื้นฐาน ส่วนของการเดินรถให้เอกชนเข้ามาประมูลเพื่อบริหาร จัดหาขบวนรถมาเดิน พูดง่าย ๆ คือต้องให้ไม่เสียเปรียบการขนส่งทางรถยนต์หรือเครื่องบิน
ลองไล่ปัญหาดู
ทำไมรถไฟไม่ตรงเวลา
> เพราะรถไฟวิ่งได้ช้า
ทำไมรถไฟวิ่งได้ช้า
> เพราะอุปกรณ์ไม่พร้อม
1. ระบบราง ยังเป็นรางเดี่ยวเป็นส่วนมาก และมีสภาพไม่สมบูรณ์
2. จุดตัดรางกับถนนมีเยอะมาก
3. หัวรถจักรเก่าถึงเก่ามาก สภาพไม่สมบูรณ์ ขาดการซ่อมบำรุงที่เหมาะสม
ทำไมอุปกรณ์ไม่พร้อม
> เพราะขาดเงินทุน และการจัดการบุคลากรที่ย่ำแย่
ทำไมขาดเงินทุน
> เพราะรถไฟขาดทุนตลอด
ทำไมรถไฟถึงขาดทุน
> เพราะรถไฟมีต้นทุนการดำเนินงานที่สูงมาก
1. ค่าอุปกรณ์ที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ
2. การแบกภาระการทุนเองทั้งหมด ทั้งระบบราง ระบบการเดินรถ อาคารสถานที่ และขบวนรถ เปรียบเทียบกับคู่แข่งด้านการขนส่งอื่น ๆ ที่ไม่ต้องแบกรับภาระมากเท่ารถไฟ เช่น รถโดยสาร ไม่ต้องลงทุนสร้างถนนหรือสถานี เครื่องบิน ไม่ต้องลงทุนสร้างสนามบิน ฯลฯ
3. ค่าตอบแทนพนักงานที่สูงมาก
4. ไม่สามารถหาประโยชน์จากที่ดินที่ครอบครองไว้ได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย
ทำไมรถไฟถึงมีการจัดการบุคลากรที่ย่ำแย่
> เพราะรถไฟมีสหภาพการรถไฟ
โดยหลักการการมีสหภาพไม่ใช่เรื่องที่แย่ แต่สหภาพการรถไฟนั้น เป็นที่เลื่องชื่อลือชามานานแล้ว ทั้งการเล่นพรรคเล่นพวก การมีบุคลากรที่เกินความจำเป็น ค่าตอบแทนที่เกินหน้าที่ แถมช่วงหลัง ๆ ยังฝักใฝ่การเมืองอีกด้วย
การจะปรับปรุงรถไฟไทยนั้น ทางออกคือการแปรรูป ส่วน Infrastructure ต่าง ๆ เป็นของรัฐ รัฐต้องลงทุนสร้างโครงสร้างพื้นฐาน ส่วนของการเดินรถให้เอกชนเข้ามาประมูลเพื่อบริหาร จัดหาขบวนรถมาเดิน พูดง่าย ๆ คือต้องให้ไม่เสียเปรียบการขนส่งทางรถยนต์หรือเครื่องบิน
ความคิดเห็นที่ 15
เท่าที่เคยหาข้อมูลมานะครับ ผิดหรือถูกแค่ไหนไม่รับประกัน
รถไฟ เป็นงานบริการคล้ายๆโรงแรม แต่กรณีโรงแรมเป็นเอกชนที่มีการแข่งขันกันสูง ทุกโรงแรมก็จะพยายามสร้างความประทับใจให้ลูกค้า แต่รถไฟไม่ใช่ครับ ไม่ว่าคุณภาพจะแย่ยังไงเราก็ยังไม่มีสิทธิ์ไปขึ้นรถไฟของเจ้าอื่น นี่พูดถึงเมื่อนานมาแล้วที่ระบบขนส่งอย่างอื่นยังไม่ดีนักนะครับ
พอผูกขาดเสร็จ เจ้าหน้าที่ก็ทำงานเช้าชาม-เย็นชาม เอาง่ายๆ ทำงานมาก หรือทำงานน้อย เงินเดือนก็ไม่ต่างกัน (ถึงต่างกันก็จิ๋วเดียวครับ) ดังนั้นทุกอย่างที่เคยอยู่ในสภาพดีก็เริ่มโทรมลง ทั้งสภาพรถ สภาพสถานี ระบบราง ฯลฯ
พอทุกอย่างเริ่มโทรมลง ประกอบกับมีการขนส่งรูปแบบอื่นให้คนเลือกมากขึ้น เช่น รถเมล์ รถทัวร์ รถตู้ คนก็เลือกที่จะเดินทางด้วยรูปแบบอื่นมากกว่า เพราะสะดวก สะอาดกว่า ในขณะที่รถไฟพอเริ่มโทรม การทำความเร็วก็ลดลง ยิ่งทำให้เสียเวลามากขึ้น คนก็ยิ่งหนีไปหาการเดินทางที่รวดเร็วกว่า
พอคนโดยสารลดลง แต่ต้นทุนค่าโดยสารต่อเที่ยวยังเท่าเดิม หรือเพิ่มขึ้นตามสภาวะเงินเฟ้อ (ค่าน้ำมันขึ้น เงินเดือนพนักงานขึ้น) ก็เริ่มขาดทุน พอเริ่มขาดทุนก็ไม่มีเงินที่จะปรับปรุงซ่อมแซมหัวรถจักร ระบบราง ฯลฯ ทุกอย่างก็ยิ่งโทรมลงไปครับ
พอนานวันเข้ามันไม่ใช่แค่โทรมอย่างเดียวครับ บางอย่างยังเกิดการพังขึ้น สมมติถ้าโบกี้รถไฟพังแต่ไม่มีเงินซื้อใหม่เพราะยังขาดทุนอยู่ ก็ต้องเอาโบกี้ที่มีอยู่วิ่งมากกว่ากว่าเดิม หลายครั้งพอรถไฟเทียบสถานีแล้วก็ต้องรีบออกไปในทันที ยิ่งทำให้ไม่ได้รับการบำรุงรักษา การความสะอาดที่ดีพอ ก็จะทำให้พังเร็วขึ้นไปอีกครับ
พอหลังจากนั้นรถที่มีไม่ค่อยจะพออยู่แล้ว เกิดมีการพังอีกก็จะทำให้ขบวนรถไม่พอ และทำให้การเดินรถยิ่งล่าช้าลงครับ ถ้าลองนั่งรถไฟขึ้นจากหัวลำโพงเลยจะสังเกตได้ว่า บางขบวนช้าตั้งแต่ตอนออกเลยครับ เพราะว่าไม่มีรถที่จะมาวิ่ง ต้องรอให้รถไฟขบวนอื่นเข้ามาก่อนพอเข้ามาเสร็จก็เอาขบวนนั้นมาวิ่งต่อทันที (ประมาณนี้ครับ) มันก็เลยยิ่งทำให้ไม่ตรงเวลาไปเรื่อยๆครับ
และอีกอย่างผมว่าวิสัยทัศน์การบริหารของผู้ว่าการรถไฟคนก่อนๆไม่ดีด้วยครับ พอรถไฟเริ่มขาดทุน หลังจากที่ทำงานเช้าชาม-เย็นชาม ไม่มีคนมาขึ้น แทนที่จะแก้ด้วยการพัฒนาคุณภาพและบริการแข่งกับการคนส่งรูปแบบอื่นเพื่อจะดึงผู้โดยสารไว้จะได้ไม่ขาดทุน กลับเลือกที่จะ "ยกเลิกการเดินรถขบวนที่ขาดทุน" (อันนี้ลองดูได้จากรางรถไฟ และสถานีรถไฟบางแห่งที่ไม่มีรถไฟโดยสารวิ่งแล้วครับ) และกลับเลือกที่จะเดินรถไฟสินค้าอย่างเดียวเพราะว่ากำไรต่อเที่ยวได้เยอะกว่า (แต่ท่านคงลืมคิดถึงเงินเดือนพนักงานที่ยัต้องจ่ายในปริมาณเท่าเดิมๆทุกเดือนครับ)
พอยกเลิกขบวนรถไฟไปหลายขบวน ทำให้การเดินทางโดยรถไฟไม่สะดวก จะขึ้นรถไฟทีก็ต้องรอนานกว่าจะมีรถไปในที่ที่ต้องการครับก็ยิ่งทำให้ไม่มีใครอยากขึ้นไปอีกครับ
ประมาณนี้มั๊งครับ เท่าที่ผมลองหาข้อมูลเก่าๆแล้วสรุปเอาเอง
รถไฟ เป็นงานบริการคล้ายๆโรงแรม แต่กรณีโรงแรมเป็นเอกชนที่มีการแข่งขันกันสูง ทุกโรงแรมก็จะพยายามสร้างความประทับใจให้ลูกค้า แต่รถไฟไม่ใช่ครับ ไม่ว่าคุณภาพจะแย่ยังไงเราก็ยังไม่มีสิทธิ์ไปขึ้นรถไฟของเจ้าอื่น นี่พูดถึงเมื่อนานมาแล้วที่ระบบขนส่งอย่างอื่นยังไม่ดีนักนะครับ
พอผูกขาดเสร็จ เจ้าหน้าที่ก็ทำงานเช้าชาม-เย็นชาม เอาง่ายๆ ทำงานมาก หรือทำงานน้อย เงินเดือนก็ไม่ต่างกัน (ถึงต่างกันก็จิ๋วเดียวครับ) ดังนั้นทุกอย่างที่เคยอยู่ในสภาพดีก็เริ่มโทรมลง ทั้งสภาพรถ สภาพสถานี ระบบราง ฯลฯ
พอทุกอย่างเริ่มโทรมลง ประกอบกับมีการขนส่งรูปแบบอื่นให้คนเลือกมากขึ้น เช่น รถเมล์ รถทัวร์ รถตู้ คนก็เลือกที่จะเดินทางด้วยรูปแบบอื่นมากกว่า เพราะสะดวก สะอาดกว่า ในขณะที่รถไฟพอเริ่มโทรม การทำความเร็วก็ลดลง ยิ่งทำให้เสียเวลามากขึ้น คนก็ยิ่งหนีไปหาการเดินทางที่รวดเร็วกว่า
พอคนโดยสารลดลง แต่ต้นทุนค่าโดยสารต่อเที่ยวยังเท่าเดิม หรือเพิ่มขึ้นตามสภาวะเงินเฟ้อ (ค่าน้ำมันขึ้น เงินเดือนพนักงานขึ้น) ก็เริ่มขาดทุน พอเริ่มขาดทุนก็ไม่มีเงินที่จะปรับปรุงซ่อมแซมหัวรถจักร ระบบราง ฯลฯ ทุกอย่างก็ยิ่งโทรมลงไปครับ
พอนานวันเข้ามันไม่ใช่แค่โทรมอย่างเดียวครับ บางอย่างยังเกิดการพังขึ้น สมมติถ้าโบกี้รถไฟพังแต่ไม่มีเงินซื้อใหม่เพราะยังขาดทุนอยู่ ก็ต้องเอาโบกี้ที่มีอยู่วิ่งมากกว่ากว่าเดิม หลายครั้งพอรถไฟเทียบสถานีแล้วก็ต้องรีบออกไปในทันที ยิ่งทำให้ไม่ได้รับการบำรุงรักษา การความสะอาดที่ดีพอ ก็จะทำให้พังเร็วขึ้นไปอีกครับ
พอหลังจากนั้นรถที่มีไม่ค่อยจะพออยู่แล้ว เกิดมีการพังอีกก็จะทำให้ขบวนรถไม่พอ และทำให้การเดินรถยิ่งล่าช้าลงครับ ถ้าลองนั่งรถไฟขึ้นจากหัวลำโพงเลยจะสังเกตได้ว่า บางขบวนช้าตั้งแต่ตอนออกเลยครับ เพราะว่าไม่มีรถที่จะมาวิ่ง ต้องรอให้รถไฟขบวนอื่นเข้ามาก่อนพอเข้ามาเสร็จก็เอาขบวนนั้นมาวิ่งต่อทันที (ประมาณนี้ครับ) มันก็เลยยิ่งทำให้ไม่ตรงเวลาไปเรื่อยๆครับ
และอีกอย่างผมว่าวิสัยทัศน์การบริหารของผู้ว่าการรถไฟคนก่อนๆไม่ดีด้วยครับ พอรถไฟเริ่มขาดทุน หลังจากที่ทำงานเช้าชาม-เย็นชาม ไม่มีคนมาขึ้น แทนที่จะแก้ด้วยการพัฒนาคุณภาพและบริการแข่งกับการคนส่งรูปแบบอื่นเพื่อจะดึงผู้โดยสารไว้จะได้ไม่ขาดทุน กลับเลือกที่จะ "ยกเลิกการเดินรถขบวนที่ขาดทุน" (อันนี้ลองดูได้จากรางรถไฟ และสถานีรถไฟบางแห่งที่ไม่มีรถไฟโดยสารวิ่งแล้วครับ) และกลับเลือกที่จะเดินรถไฟสินค้าอย่างเดียวเพราะว่ากำไรต่อเที่ยวได้เยอะกว่า (แต่ท่านคงลืมคิดถึงเงินเดือนพนักงานที่ยัต้องจ่ายในปริมาณเท่าเดิมๆทุกเดือนครับ)
พอยกเลิกขบวนรถไฟไปหลายขบวน ทำให้การเดินทางโดยรถไฟไม่สะดวก จะขึ้นรถไฟทีก็ต้องรอนานกว่าจะมีรถไปในที่ที่ต้องการครับก็ยิ่งทำให้ไม่มีใครอยากขึ้นไปอีกครับ
ประมาณนี้มั๊งครับ เท่าที่ผมลองหาข้อมูลเก่าๆแล้วสรุปเอาเอง
แสดงความคิดเห็น
ทำไมรถไฟของไทยถึงไม่ตรงเวลาคะ มันเกิดจากอะไร เคลื่อนที่ช้า ออกจากที่จอดช้า มีการพักระหว่างทาง หรืออะไร ทำไมไม่เเก้ไขกัน