ตอนนี้เศรษฐกิจไทยเข้าสู่ภาวะถดถอย อีกไม่นานอาจได้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจตามมา
มอมเมาประชาชนด้วยนโยบายโค ตรประชานิยม ทำให้การคลังประเทศเสียหายหลายแสนล้านบาท
ส่งเสริม และกระตุ้นให้ประชาชนเป็นหนี้ จนหนี้ครัวเรือนพุ่งไปเกิน 80 % ของจีดีพีไปเรียบร้อยแล้ว คิดเป็นเงินก็กว่า 8 ล้านล้านบาท
ไหนจะอสังหาฯ ที่ไม่มีการควบคุม ปล่อยให้ผู้ประกอบการเปิดโครงการอย่างกับดอกเห็ด จนตอนนี้เกิด oversupply ไปแล้ว
นอกจากบริหารห่วยแล้ว ยังสนใจแต่เรื่องพวกพ้องตัวเอง เปิดสภาฯ มาแทนที่จะเร่งเอากฎหายการเงินมาพิจารณา แต่พี่แกเล่นเอา กฎหมายนิรโทษกรรม และแก้รัฐธรรมนูญมาก่อนเฉยเลย ไม่รู้ว่าประชาชนได้อะไรจากการนิรโทษกรรม กับการแก้รัฐธรรมนูญ
ถ้าเกิดวิกฤตเศรษฐกิจรอบนี้ พรรคเพื่อไทยคงดับ ไม่ได้เกิดแบบพรรคความหวังใหม่ ส่วนตาเหลี่ยมชาตินี้คงไม่ได้กลับไทย คงเป็นผีเร่รอนไปตลอดชีวิต
ไม่มีอะไร ก็แค่อยากสะกิดให้พวกที่เชียร์เหลี่ยมแบบไม่ลืมหูลืมตาได้ตาสว่างขึ้นมาบ้างครับ
-------------------------------------------------------------------------------------------------------
บีบีซีชี้เศรษฐกิจไทยเข้าสู่ภาวะถดถอย
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
สำนักข่าวบีบีซีของอังกฤษรายงานว่าประเทศไทยกำลังเข้าสู่ภาวะถดถอย หลังจากเศรษฐกิจหดตัวอย่างไม่คาดฝัน ในไตรมาสที่สองของปีนี้
รายงานระบุว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ หรือ จีดีพี ในช่วงระหว่างเดือนเมษาย...นถึงเดือนมิถุนายน หดตัวลง 0.3 % หลังจากหดตัวลง 1.7% ในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ ทั้งที่ก่อนหน้านี้ เศรษฐกิจของไทยยังเติบโตอย่างแข็งแกร่ง แซงหน้าเศรษฐกิจของประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาค จากการขยายตัวระหว่างปี 2555 มากกว่า 6%
นักวิเคราะห์หลายคน ต่างคาดว่า สถานการณ์เศรษฐกิจไทยจะเป็นแบบนี้ต่อไป นายซันเจย์ มาเธอร์ หัวหน้าฝ่ายวิจัยเศรษฐกิจของอาร์บีเอส ให้ความเห็นต่อบีบีซีว่า การอ่อนแอทั้งตัวเลขการส่งออกอุปสงค์ภายในประเทศ รวมถึงความเชื่อมั่นที่ลดลงของภาคธุรกิจ ส่งผลให้เกิดภาวะถดถอย
นายมาเธอร์ กล่าวว่า ปัญหาพื้นฐานของที่นี่ ไม่ใช่แค่การส่งออก แต่ยังเกี่ยวข้องกับอุปสงค์ภายในประเทศด้วย ซึ่งเราควรจะได้เห็นตัวเลขการเติบโตราว 3.5% ในช่วงต้นปีนี้ ท่ามกลางความคาดหมายว่า ไทยจะก้าวไปข้างหน้าอย่างมั่นคงแซงหน้าเศรษฐกิจชาติอื่นในเอเชีย ดังนั้นมันจึงน่าผิดหวังอย่างใหญ่หลวง
นอกจากนี้ ยังมีปัญหาเรื่องที่รัฐบาลต้องลงทุนในโครงการใหญ่ ๆ หลังเกิดความเสียหายอย่างหนัก อันเนื่องมาจากการเกิดมหาอุทกภัย เมื่อปลายปี 2554 ยังส่งผลให้การบริโภคภายในประเทศตกต่ำอีกด้วย ซึ่งการบริโภคภายในประเทศ คิดเป็น 50% ของผลิตทางเศรษฐกิจของประเทศ
แม้ว่าในช่วงปลายปี 2555 การเติบโตของเศรษฐกิจไทยจะมากกว่าที่คาดหมาย จากการที่ตัวเลขจีดีพี ระหว่างเดือนตุลาคมถึงเดือนธันวาคม พุ่งขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้านี้ ถึง 18.9% แต่หนี้ภาคครัวเรือนที่สูงขึ้น เช่นเดียวกับราคาสินค้าที่พุ่งขึ้นเรื่อย ๆ ได้กลายเป็นสาเหตุแห่งความวิตก ซึ่งตามมาด้วยการลดอัตราดอกเบี้ยเมื่อเดือนพฤษภาคม
ขณะที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ยังคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 2.5% หลังการประชุมครั้งล่าสุด
รัฐบาลปู บริหารประเทศได้ห่วยมาก
มอมเมาประชาชนด้วยนโยบายโค ตรประชานิยม ทำให้การคลังประเทศเสียหายหลายแสนล้านบาท
ส่งเสริม และกระตุ้นให้ประชาชนเป็นหนี้ จนหนี้ครัวเรือนพุ่งไปเกิน 80 % ของจีดีพีไปเรียบร้อยแล้ว คิดเป็นเงินก็กว่า 8 ล้านล้านบาท
ไหนจะอสังหาฯ ที่ไม่มีการควบคุม ปล่อยให้ผู้ประกอบการเปิดโครงการอย่างกับดอกเห็ด จนตอนนี้เกิด oversupply ไปแล้ว
นอกจากบริหารห่วยแล้ว ยังสนใจแต่เรื่องพวกพ้องตัวเอง เปิดสภาฯ มาแทนที่จะเร่งเอากฎหายการเงินมาพิจารณา แต่พี่แกเล่นเอา กฎหมายนิรโทษกรรม และแก้รัฐธรรมนูญมาก่อนเฉยเลย ไม่รู้ว่าประชาชนได้อะไรจากการนิรโทษกรรม กับการแก้รัฐธรรมนูญ
ถ้าเกิดวิกฤตเศรษฐกิจรอบนี้ พรรคเพื่อไทยคงดับ ไม่ได้เกิดแบบพรรคความหวังใหม่ ส่วนตาเหลี่ยมชาตินี้คงไม่ได้กลับไทย คงเป็นผีเร่รอนไปตลอดชีวิต
ไม่มีอะไร ก็แค่อยากสะกิดให้พวกที่เชียร์เหลี่ยมแบบไม่ลืมหูลืมตาได้ตาสว่างขึ้นมาบ้างครับ
-------------------------------------------------------------------------------------------------------
บีบีซีชี้เศรษฐกิจไทยเข้าสู่ภาวะถดถอย
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
สำนักข่าวบีบีซีของอังกฤษรายงานว่าประเทศไทยกำลังเข้าสู่ภาวะถดถอย หลังจากเศรษฐกิจหดตัวอย่างไม่คาดฝัน ในไตรมาสที่สองของปีนี้
รายงานระบุว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ หรือ จีดีพี ในช่วงระหว่างเดือนเมษาย...นถึงเดือนมิถุนายน หดตัวลง 0.3 % หลังจากหดตัวลง 1.7% ในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ ทั้งที่ก่อนหน้านี้ เศรษฐกิจของไทยยังเติบโตอย่างแข็งแกร่ง แซงหน้าเศรษฐกิจของประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาค จากการขยายตัวระหว่างปี 2555 มากกว่า 6%
นักวิเคราะห์หลายคน ต่างคาดว่า สถานการณ์เศรษฐกิจไทยจะเป็นแบบนี้ต่อไป นายซันเจย์ มาเธอร์ หัวหน้าฝ่ายวิจัยเศรษฐกิจของอาร์บีเอส ให้ความเห็นต่อบีบีซีว่า การอ่อนแอทั้งตัวเลขการส่งออกอุปสงค์ภายในประเทศ รวมถึงความเชื่อมั่นที่ลดลงของภาคธุรกิจ ส่งผลให้เกิดภาวะถดถอย
นายมาเธอร์ กล่าวว่า ปัญหาพื้นฐานของที่นี่ ไม่ใช่แค่การส่งออก แต่ยังเกี่ยวข้องกับอุปสงค์ภายในประเทศด้วย ซึ่งเราควรจะได้เห็นตัวเลขการเติบโตราว 3.5% ในช่วงต้นปีนี้ ท่ามกลางความคาดหมายว่า ไทยจะก้าวไปข้างหน้าอย่างมั่นคงแซงหน้าเศรษฐกิจชาติอื่นในเอเชีย ดังนั้นมันจึงน่าผิดหวังอย่างใหญ่หลวง
นอกจากนี้ ยังมีปัญหาเรื่องที่รัฐบาลต้องลงทุนในโครงการใหญ่ ๆ หลังเกิดความเสียหายอย่างหนัก อันเนื่องมาจากการเกิดมหาอุทกภัย เมื่อปลายปี 2554 ยังส่งผลให้การบริโภคภายในประเทศตกต่ำอีกด้วย ซึ่งการบริโภคภายในประเทศ คิดเป็น 50% ของผลิตทางเศรษฐกิจของประเทศ
แม้ว่าในช่วงปลายปี 2555 การเติบโตของเศรษฐกิจไทยจะมากกว่าที่คาดหมาย จากการที่ตัวเลขจีดีพี ระหว่างเดือนตุลาคมถึงเดือนธันวาคม พุ่งขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้านี้ ถึง 18.9% แต่หนี้ภาคครัวเรือนที่สูงขึ้น เช่นเดียวกับราคาสินค้าที่พุ่งขึ้นเรื่อย ๆ ได้กลายเป็นสาเหตุแห่งความวิตก ซึ่งตามมาด้วยการลดอัตราดอกเบี้ยเมื่อเดือนพฤษภาคม
ขณะที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ยังคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 2.5% หลังการประชุมครั้งล่าสุด