รัฐสภา กำลังจะถกกันประเด็นแก้ไขรัฐธรรมนูญหลายข้อ ที่สมควรจะต้องได้รับการตรวจสอบ
จากประชาชนเจ้าของประเทศอย่างใกล้ชิด
โดยเฉพาะความพยายามที่จะให้พรรคการเมือง ครอบงำทั้งสภาล่างและสภาบน เพื่อความสะดวกของนักเลือกตั้งที่จะทำให้อำนาจการเมืองกระจุกอยู่ที่คนกลุ่มเดียว โดยอ้างว่าผ่านการเลือกตั้งมาแล้ว จะทำอะไรก็ได้ทั้งนั้น โดยไม่ต้องให้ใครมาตรวจมากรอง
ทั้งๆ ที่ รัฐธรรมนูญยังไม่สามารถจะให้ความมั่นใจกับคนไทย ว่า กระบวนการหย่อนบัตรเลือกตั้งของประเทศบริสุทธิ์ยุติธรรมแค่ไหน อย่างไร
ประเด็นที่มา และคุณสมบัติของผู้จะสมัครเป็นสมาชิกวุฒิสภา หรือ ส.ว. ที่มีการแปรญัตติแก้ไขในชั้นกรรมาธิการ และกำลังจะเสนอกลับมาในวาระ 2 วันนี้ ตอกย้ำว่าเมืองไทยกำลังจะกลับไปสู่ภาวะ “สภาเครือญาติ” หรือ “สภาผัวเมีย” อีกครั้งหนึ่ง อย่างน่ากลัวยิ่ง
บทบัญญัติข้อหนึ่งในมาตรา 115 ของรัฐธรรมนูญ 2550 ที่ใช้อยู่ทุกวันนี้ ระบุว่า
ผู้ลงสมัคร ส.ว. ต้องไม่เป็นบุพการี คู่สมรส และบุตรของ ส.ส. หรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่ทำหน้าที่อยู่
ข่าวบอกว่า ร่างแก้ไขที่จะนำเข้าวาระ 2 นั้น ตัดข้อความนี้ออกไปทั้งท่อน
อีกทั้งยังตัดข้อกำหนดเดิมที่ระบุว่าผู้ลงสมัคร ส.ว. ต้องไม่เป็นสมาชิกพรรคการเมือง ขณะที่ลงสมัครรับเลือกตั้งหรือต้องปลอดจากการเป็นสมาชิกพรรคการเมือง หรือเคยเป็น ส.ส. ไม่เกิน 5 ปี นับถึงวันสมัครรับเลือกตั้ง
ข้อความนี้ก็ถูกตัดออกไปเช่นกัน
อีกทั้งยังจะแก้ไขให้ ส.ว. สามารถอยู่เกินหนึ่งสมัยได้ด้วย
นักการเมืองที่เสนอแก้ไขหัวข้อเหล่านี้ ต้องการอะไร?
ไม่ต้องวิเคราะห์ให้ยาก ก็พอจะเห็นไส้เห็นพุงของ “นักเลือกตั้ง” ที่ขัดเคืองกับบทบาทของ ส.ว. สรรหาจำนวนหนึ่ง ที่ได้ทำหน้าที่ตรวจสอบการทำงานของสภาล่างและรัฐบาลมาตลอด
พรรคการเมือง ที่มีอำนาจ จึงตั้งเป็นเป้าหมายมาตลอดว่า เมื่อมีจังหวะจะต้องแก้รัฐธรรมนูญ เพื่อตนจะสามารถคุมได้ทั้งสภาล่างและสภาบน ซึ่งแปลว่า กลไกของการตรวจสอบซึ่งกันและกัน ที่เป็นหลักการสำคัญของรัฐธรรมนูญในระบอบประชาธิปไตย จะถูกทำลายลงไปต่อหน้าต่อตา
เหตุผลที่รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันกำหนดไม่ให้ “บุพการี คู่สมรสและบุตร ของ ส.ส.” นั้น ชัดเจนอยู่ในตัว
นั่นคือ ใครที่อาสามาเป็น “ผู้แทนปวงชน” ไม่ว่าจะอยู่สภาล่างหรือสภาบน จะต้องไม่มีปรากฏการณ์ของ “การทับซ้อนผลประโยชน์” ที่จะทำให้ประชาชนสงสัยคลางแคลงว่ากระบวนการ “ตรวจสอบ” มีผลในทางปฏิบัติจริงหรือไม่
หากว่า วุฒิสภา ถูกกำหนดหน้าที่ให้ “ตรวจสอบ” และแต่งตั้งตำแหน่งสำคัญๆ ทางการเมือง ก็ไม่ควรที่จะมีคนที่เป็นญาติพี่น้องกับ ส.ส. หรือคนมีตำแหน่งทางเมืองมานั่งอยู่ เพราะว่าย่อมจะหนีไม่พ้นที่จะถูกตั้งข้อสงสัยว่า หากผู้ที่เข้าข่ายถูกตรวจสอบ หรือได้รับการเสนอแต่งตั้งตำแหน่งทางการเมืองเป็นญาติ กับ ส.ว. คนใด จะสามารถทำหน้าที่อย่างถูกต้องเป็นธรรมหรือไม่
การที่มีความพยายามของ ส.ส. เสียงข้างมาก ต้องการจะตัดเงื่อนไขแห่งคุณสมบัติของ ส.ว. ทิ้งไป ก็ย่อมตีความเป็นอย่างอื่นไม่ได้ นอกจากว่าพวกเขาเหล่านี้กำลังเตรียมการที่จะกุมอำนาจเบ็ดเสร็จทั้งสองสภา และหลีกเลี่ยงการตรวจสอบอย่างเข้มข้น
กรรมย่อมส่อเจตนาอย่างปฏิเสธไม่ได้
เชื่อเถอะ...ความพยายามที่จะ “รื้อ” กลไกการตรวจสอบในรัฐธรรมนูญ จะไม่หยุดเพียงแค่นี้ เป้าหมายต่อไปก็คือการถอดเขี้ยวเล็บของ “องค์กรอิสระ” เพื่อนักการเมืองสามารถจะหลีกเลี่ยงการถูกตรวจสอบ และกระทำความชั่วร้ายต่างๆ ได้ โดยไม่ต้องผ่านการตรวจคัดกรองและเอกซเรย์อีกต่อไป
ถึงจุดนั้น...บ้านเมืองนี้ก็จะตกอยู่ใต้อุ้งมือของนักเลือกตั้ง ที่มีเงินหนาและอิทธิพลทางเลวร้าย... อย่างเบ็ดเสร็จ
อนาคตบ้านเมือง จะเป็นอย่างไร ก็ไม่ยากเกินกว่าที่ชาวบ้านอย่างเราๆ จะจินตนาการได้
ที่มา:
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/opinion/suthichaiyoon/20130820/524139/เมื่อฟื้น-‘สภาผัวเมีย’...-กลไกตรวจสอบคนชั่วก็พิการ.html
ปล.อ่านเองคิดเองครับ...เอิ๊ก ๆ ๆ
เมื่อฟื้น ‘สภาผัวเมีย’... กลไกตรวจสอบคนชั่วก็พิการ
จากประชาชนเจ้าของประเทศอย่างใกล้ชิด
โดยเฉพาะความพยายามที่จะให้พรรคการเมือง ครอบงำทั้งสภาล่างและสภาบน เพื่อความสะดวกของนักเลือกตั้งที่จะทำให้อำนาจการเมืองกระจุกอยู่ที่คนกลุ่มเดียว โดยอ้างว่าผ่านการเลือกตั้งมาแล้ว จะทำอะไรก็ได้ทั้งนั้น โดยไม่ต้องให้ใครมาตรวจมากรอง
ทั้งๆ ที่ รัฐธรรมนูญยังไม่สามารถจะให้ความมั่นใจกับคนไทย ว่า กระบวนการหย่อนบัตรเลือกตั้งของประเทศบริสุทธิ์ยุติธรรมแค่ไหน อย่างไร
ประเด็นที่มา และคุณสมบัติของผู้จะสมัครเป็นสมาชิกวุฒิสภา หรือ ส.ว. ที่มีการแปรญัตติแก้ไขในชั้นกรรมาธิการ และกำลังจะเสนอกลับมาในวาระ 2 วันนี้ ตอกย้ำว่าเมืองไทยกำลังจะกลับไปสู่ภาวะ “สภาเครือญาติ” หรือ “สภาผัวเมีย” อีกครั้งหนึ่ง อย่างน่ากลัวยิ่ง
บทบัญญัติข้อหนึ่งในมาตรา 115 ของรัฐธรรมนูญ 2550 ที่ใช้อยู่ทุกวันนี้ ระบุว่า
ผู้ลงสมัคร ส.ว. ต้องไม่เป็นบุพการี คู่สมรส และบุตรของ ส.ส. หรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่ทำหน้าที่อยู่
ข่าวบอกว่า ร่างแก้ไขที่จะนำเข้าวาระ 2 นั้น ตัดข้อความนี้ออกไปทั้งท่อน
อีกทั้งยังตัดข้อกำหนดเดิมที่ระบุว่าผู้ลงสมัคร ส.ว. ต้องไม่เป็นสมาชิกพรรคการเมือง ขณะที่ลงสมัครรับเลือกตั้งหรือต้องปลอดจากการเป็นสมาชิกพรรคการเมือง หรือเคยเป็น ส.ส. ไม่เกิน 5 ปี นับถึงวันสมัครรับเลือกตั้ง
ข้อความนี้ก็ถูกตัดออกไปเช่นกัน
อีกทั้งยังจะแก้ไขให้ ส.ว. สามารถอยู่เกินหนึ่งสมัยได้ด้วย
นักการเมืองที่เสนอแก้ไขหัวข้อเหล่านี้ ต้องการอะไร?
ไม่ต้องวิเคราะห์ให้ยาก ก็พอจะเห็นไส้เห็นพุงของ “นักเลือกตั้ง” ที่ขัดเคืองกับบทบาทของ ส.ว. สรรหาจำนวนหนึ่ง ที่ได้ทำหน้าที่ตรวจสอบการทำงานของสภาล่างและรัฐบาลมาตลอด
พรรคการเมือง ที่มีอำนาจ จึงตั้งเป็นเป้าหมายมาตลอดว่า เมื่อมีจังหวะจะต้องแก้รัฐธรรมนูญ เพื่อตนจะสามารถคุมได้ทั้งสภาล่างและสภาบน ซึ่งแปลว่า กลไกของการตรวจสอบซึ่งกันและกัน ที่เป็นหลักการสำคัญของรัฐธรรมนูญในระบอบประชาธิปไตย จะถูกทำลายลงไปต่อหน้าต่อตา
เหตุผลที่รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันกำหนดไม่ให้ “บุพการี คู่สมรสและบุตร ของ ส.ส.” นั้น ชัดเจนอยู่ในตัว
นั่นคือ ใครที่อาสามาเป็น “ผู้แทนปวงชน” ไม่ว่าจะอยู่สภาล่างหรือสภาบน จะต้องไม่มีปรากฏการณ์ของ “การทับซ้อนผลประโยชน์” ที่จะทำให้ประชาชนสงสัยคลางแคลงว่ากระบวนการ “ตรวจสอบ” มีผลในทางปฏิบัติจริงหรือไม่
หากว่า วุฒิสภา ถูกกำหนดหน้าที่ให้ “ตรวจสอบ” และแต่งตั้งตำแหน่งสำคัญๆ ทางการเมือง ก็ไม่ควรที่จะมีคนที่เป็นญาติพี่น้องกับ ส.ส. หรือคนมีตำแหน่งทางเมืองมานั่งอยู่ เพราะว่าย่อมจะหนีไม่พ้นที่จะถูกตั้งข้อสงสัยว่า หากผู้ที่เข้าข่ายถูกตรวจสอบ หรือได้รับการเสนอแต่งตั้งตำแหน่งทางการเมืองเป็นญาติ กับ ส.ว. คนใด จะสามารถทำหน้าที่อย่างถูกต้องเป็นธรรมหรือไม่
การที่มีความพยายามของ ส.ส. เสียงข้างมาก ต้องการจะตัดเงื่อนไขแห่งคุณสมบัติของ ส.ว. ทิ้งไป ก็ย่อมตีความเป็นอย่างอื่นไม่ได้ นอกจากว่าพวกเขาเหล่านี้กำลังเตรียมการที่จะกุมอำนาจเบ็ดเสร็จทั้งสองสภา และหลีกเลี่ยงการตรวจสอบอย่างเข้มข้น
กรรมย่อมส่อเจตนาอย่างปฏิเสธไม่ได้
เชื่อเถอะ...ความพยายามที่จะ “รื้อ” กลไกการตรวจสอบในรัฐธรรมนูญ จะไม่หยุดเพียงแค่นี้ เป้าหมายต่อไปก็คือการถอดเขี้ยวเล็บของ “องค์กรอิสระ” เพื่อนักการเมืองสามารถจะหลีกเลี่ยงการถูกตรวจสอบ และกระทำความชั่วร้ายต่างๆ ได้ โดยไม่ต้องผ่านการตรวจคัดกรองและเอกซเรย์อีกต่อไป
ถึงจุดนั้น...บ้านเมืองนี้ก็จะตกอยู่ใต้อุ้งมือของนักเลือกตั้ง ที่มีเงินหนาและอิทธิพลทางเลวร้าย... อย่างเบ็ดเสร็จ
อนาคตบ้านเมือง จะเป็นอย่างไร ก็ไม่ยากเกินกว่าที่ชาวบ้านอย่างเราๆ จะจินตนาการได้
ที่มา:http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/opinion/suthichaiyoon/20130820/524139/เมื่อฟื้น-‘สภาผัวเมีย’...-กลไกตรวจสอบคนชั่วก็พิการ.html
ปล.อ่านเองคิดเองครับ...เอิ๊ก ๆ ๆ