AEC ย่อมาจาก Asean Economic Communityแปลเป็นไทยว่า ประชาคมอาเซี่ยน ประกอบด้วย ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 10ประเทศได้แก่ ไทย พม่า มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เวียดนาม ลาว กัมพูชา และ บรูไน มีประชากรรวมกัน ประมาณ 600 ล้านคน ได้ตกลงร่วมกันว่า พวกเราจะเปิดพรมแดนเรื่องการค้าการขาย ใครมีอะไร ก็เอาไปขายในประเทศทั้ง10ประเทศได้ โดยไม่ต้องเสียภาษีเหมือนแต่ก่อน
นั่นหมายความว่า เมื่อก่อน เกษตรกรไทย ผลิตของออกมาเพื่อคน62ล้านคน จะเปลี่ยนเป็นผลิตของออกมาเพื่อคน 600ล้านคน ในทำนองเดียวกัน เกษตรกรอีก 9 ประเทศ ก็ย่อมต้องคิดอย่างนี้เช่นกัน นอกจากเราจะมีตลาดที่จะขายของได้เพิ่มขึ้นแล้ว เรายังมีแม่ค้าที่จะขายแข่งกับเรามากขึ้นด้วย
คำถามก็คือ ในเกมส์นี้ เกษตรกรไทย จะได้หรือเสีย
การจะวิเคราะห์ว่า ใครจะได้ใครจะเสีย ต้องดูว่า
1.ใครผลิตของมีต้นทุนต่ำกว่า
2.ใครผลิตของมีคุณภาพสูงกว่า
ในเรื่องต้นทุนการผลิต ต้องมองไปที่ ใครสามารถเข้าถึงปัจจัยการผลิตทีมีคุณภาพได้ในราคาที่ถูกกว่าโดยเปรียบเทียบ ซึ่งตัวใหญ่ๆจะมีเรื่องปุ๋ย ยา และค่าแรง
ปุ๋ย ยา ที่ขายอยู่ในประเทศเรานั้น 70% มาจากจีน และเมื่อมองความสัมพันธ์ทางการค้า ระหว่างจีนกับ ประเทศที่เหลืออีก9 ประเทศ เวียตนามมาเป็นอันดับ1(ไม่รู้มีคนไทย กี่คนที่รู้ว่า ลำใย ลิ้นจี่ ที่ส่งไปจีนมหาศาลในแต่ละปีนั้น ต้องส่งผ่านพ่อค้าเวียตนาม ก่อนจะไปขายที่จีน) อันดับ2 คือพม่า เพราะพม่ากับจีนมีความลึกซึ้งกันอย่างลุ่มลึก พม่าอิงหลังจีน ทางด้านการเมืองเพื่อเป็นยันต์กันผี อเมริกามายาวนาน จีนลงทุนในพม่าสูงที่สุด อีกทั้ง พม่าได้เปิดด่านทางการค้าแบบถาวร สร้างเส้นทางไฮเวย์เสร็จแล้ว
ต้นทุนค่าแรง เราแพ้ทั้ง เวียตนาม ทั้งพม่า ทั้งลาว ทั้งกัมพูชา
ต้นทุนการผลิตใน2ปัจจัยนี้ เราอยู่อันดับ5 และถ้ามองไปเฉพาะประเทศที่มุ่งเกษตรกรรม อย่าง เวียตนาม พม่า ลาว กัมพูชา เรามาอันดับบ้วย บางคนอาจจะค้านว่า คำว่าต้นทุน การผลิตหมายถึงประสิทธิภาพทางการผลิตด้วย หมายความว่า ต่อพื้นที่ 1 ไร่ ใครผลิตได้มากกว่ากัน จะมีผลต่อต้นทุนการผลิตด้วย ขอบอกว่า เรื่องนี้เราก็แพ้ เวียตนาม
ในเรื่องคุณภาพการผลิต ปัจจุบัน เรากับเวียตนาม หายใจรดจมูกกัน ผลิตของที่มีคุณภาพใกล้เคียงกันมาก ในเรื่องนี้ เราเหนือกว่า พม่า เหนือกว่า ลาว กัมพูชา แต่ เรื่องเหล่านี้ สามารถตามกันทันได้ในเวลาไม่นาน
ดังนั้นในการเปิดเสรีทางการค้า ด้วยเหตุผลที่ยกมา ผมเชื่อว่า เกษตรกรไทยเสียมากกว่าได้ ดังนั้นเกษตรกรทุกระดับจะต้องปรับตัวโดยการติดตามข้อมูลทางการตลาด พฤติกรรมการบริโภคของผู้บริโภค ข้อมูลการผลิตของเกษตรกรในต่างประเทศ เพื่อนำมาประกอบการพิจารณาบริหารจัดการต้นทุนการผลิต การเพิ่มประสิทธิภาพกะบวนการผลิต การสร้างความแตกต่างในสินค้า ที่สำคัญการปรับตัวเข้าสู่ระบบการรับรองมาตรฐานกระบวนการผลิตและมาตรฐานสินค้า เพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าและราคา ให้แข่งขันได้
ที่สำคัญที่สุดคือภาครัฐ ต้องปรับตัว และทันสถานการณ์มากกว่านี้ เมื่อวันก่อนแนะนำเกษตรกรไปดำเนินการขอระบบมาตรฐานGAP เกษตรอำเภอตอบว่า "ไว้รอปีหน้าเถอะ" ถ้าภาครัฐยังเช้าชามเย็นชามอยู่อย่างนี้ ยิ่งทำให้เกษตรกรไทยยากที่จะต่อสู้ในเกมส์แข่งขันนี้ได้
โดย นายเกษตรดี
9 สิงหาคม 2556
ที่มา:www.kasetdee.com
เปิดAECเกษตรกร ได้หรือเสีย?
นั่นหมายความว่า เมื่อก่อน เกษตรกรไทย ผลิตของออกมาเพื่อคน62ล้านคน จะเปลี่ยนเป็นผลิตของออกมาเพื่อคน 600ล้านคน ในทำนองเดียวกัน เกษตรกรอีก 9 ประเทศ ก็ย่อมต้องคิดอย่างนี้เช่นกัน นอกจากเราจะมีตลาดที่จะขายของได้เพิ่มขึ้นแล้ว เรายังมีแม่ค้าที่จะขายแข่งกับเรามากขึ้นด้วย
คำถามก็คือ ในเกมส์นี้ เกษตรกรไทย จะได้หรือเสีย
การจะวิเคราะห์ว่า ใครจะได้ใครจะเสีย ต้องดูว่า
1.ใครผลิตของมีต้นทุนต่ำกว่า
2.ใครผลิตของมีคุณภาพสูงกว่า
ในเรื่องต้นทุนการผลิต ต้องมองไปที่ ใครสามารถเข้าถึงปัจจัยการผลิตทีมีคุณภาพได้ในราคาที่ถูกกว่าโดยเปรียบเทียบ ซึ่งตัวใหญ่ๆจะมีเรื่องปุ๋ย ยา และค่าแรง
ปุ๋ย ยา ที่ขายอยู่ในประเทศเรานั้น 70% มาจากจีน และเมื่อมองความสัมพันธ์ทางการค้า ระหว่างจีนกับ ประเทศที่เหลืออีก9 ประเทศ เวียตนามมาเป็นอันดับ1(ไม่รู้มีคนไทย กี่คนที่รู้ว่า ลำใย ลิ้นจี่ ที่ส่งไปจีนมหาศาลในแต่ละปีนั้น ต้องส่งผ่านพ่อค้าเวียตนาม ก่อนจะไปขายที่จีน) อันดับ2 คือพม่า เพราะพม่ากับจีนมีความลึกซึ้งกันอย่างลุ่มลึก พม่าอิงหลังจีน ทางด้านการเมืองเพื่อเป็นยันต์กันผี อเมริกามายาวนาน จีนลงทุนในพม่าสูงที่สุด อีกทั้ง พม่าได้เปิดด่านทางการค้าแบบถาวร สร้างเส้นทางไฮเวย์เสร็จแล้ว
ต้นทุนค่าแรง เราแพ้ทั้ง เวียตนาม ทั้งพม่า ทั้งลาว ทั้งกัมพูชา
ต้นทุนการผลิตใน2ปัจจัยนี้ เราอยู่อันดับ5 และถ้ามองไปเฉพาะประเทศที่มุ่งเกษตรกรรม อย่าง เวียตนาม พม่า ลาว กัมพูชา เรามาอันดับบ้วย บางคนอาจจะค้านว่า คำว่าต้นทุน การผลิตหมายถึงประสิทธิภาพทางการผลิตด้วย หมายความว่า ต่อพื้นที่ 1 ไร่ ใครผลิตได้มากกว่ากัน จะมีผลต่อต้นทุนการผลิตด้วย ขอบอกว่า เรื่องนี้เราก็แพ้ เวียตนาม
ในเรื่องคุณภาพการผลิต ปัจจุบัน เรากับเวียตนาม หายใจรดจมูกกัน ผลิตของที่มีคุณภาพใกล้เคียงกันมาก ในเรื่องนี้ เราเหนือกว่า พม่า เหนือกว่า ลาว กัมพูชา แต่ เรื่องเหล่านี้ สามารถตามกันทันได้ในเวลาไม่นาน
ดังนั้นในการเปิดเสรีทางการค้า ด้วยเหตุผลที่ยกมา ผมเชื่อว่า เกษตรกรไทยเสียมากกว่าได้ ดังนั้นเกษตรกรทุกระดับจะต้องปรับตัวโดยการติดตามข้อมูลทางการตลาด พฤติกรรมการบริโภคของผู้บริโภค ข้อมูลการผลิตของเกษตรกรในต่างประเทศ เพื่อนำมาประกอบการพิจารณาบริหารจัดการต้นทุนการผลิต การเพิ่มประสิทธิภาพกะบวนการผลิต การสร้างความแตกต่างในสินค้า ที่สำคัญการปรับตัวเข้าสู่ระบบการรับรองมาตรฐานกระบวนการผลิตและมาตรฐานสินค้า เพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าและราคา ให้แข่งขันได้
ที่สำคัญที่สุดคือภาครัฐ ต้องปรับตัว และทันสถานการณ์มากกว่านี้ เมื่อวันก่อนแนะนำเกษตรกรไปดำเนินการขอระบบมาตรฐานGAP เกษตรอำเภอตอบว่า "ไว้รอปีหน้าเถอะ" ถ้าภาครัฐยังเช้าชามเย็นชามอยู่อย่างนี้ ยิ่งทำให้เกษตรกรไทยยากที่จะต่อสู้ในเกมส์แข่งขันนี้ได้
โดย นายเกษตรดี
9 สิงหาคม 2556
ที่มา:www.kasetdee.com