วันนี้แม่สายป่านมีวิธีพูดอย่างไรจึงจะทำให้เด็กเชื่อฟัง และให้ความร่วมมือ ตอนที่ 1 มาฝากคะ
คุณพ่อคุณแม่มักจะถามบ่อยๆนะคะว่า
1. น้ำเสียงและวิธีการ สำคัญพอๆกับ เนื้อหา ที่เราพูดกับเด็กหรือไม่
แน่นอนคะ ทัศนคติของพ่อแม่นั้น สำคัญพอๆกับคำพูดที่ออกจากปาก ทัศนคติที่จะได้รับความร่วมมือจากเด็ก คือคำพูดที่สื่อถึงพวกเขาว่า " ลูกเป็นที่รัก และเป็นคนที่มีความสามารถ แต่ตอนนี้ เรากำลังมีปัญหาที่ต้องการให้ลูกใส่ใจ และเมื่อลูกรู้ถึงปัญหาแล้ว ลูกอาจจะตอบสนองได้อย่างมีความรับผิดชอบ"
ในทางตรงกันข้าม ทัศนคติที่จะทำให้พ่อแม่พ่ายแพ้ต่อเด็ก คือคำพูดที่สื่อถึงเด็กว่า "ลูกน่ารำคาญ และไม่ได้เรื่อง ลูกมักจะทำอะไรผิดอยู่ตลอดเวลา และเหตุการณ์ล่าสุดที่เกิดขึ้นนี้ ก็เป็นหลักฐานอีกประการหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่าลูกใช้ไม่ได้"
2. ถ้าสิ่งที่สำคัญที่สุดคือทัศนคติของพ่อแม่ แล้วทำไมถึงต้องคำนึงด้วยว่าเราจะต้องใช้คำพูดกับเด็กอย่างไร?
สายตาที่แสดงถึงความรู้สึกเหยียดหยาม หรือน้ำเสียงที่แสดงอาการดูถูของพ่อแม่ ทำให้เด็กรู้สึกเจ็บปวดได้อย่างมาก แต่ในขณะเดียวกัน ถ้าเด็กได้ยินคนพูดว่าเขาว่า "โง่" "ชุ่ย" "ไม่รับผิดชอบ" เด็กก็จะรู้สึกเจ็บปวดสองเท่า
คำพูดที่บาดใจมักจะตราอยู่ในใจได้นาน และเป็นพิษร้ายต่อเด็กอย่างมาก สิ่งที่เลวร้านที่สุดคือ บางครั้งเขาอาจจะนำคำพูดเดียวกันนี้ มาใช้เป็นอาวุธทำร้ายยเราในวันข้างหน้า
3. มันจะผิดไหมที่จะพูด "ขอร้อง" เด็ก ให้เขาทำในสิ่งที่เราต้องการ?
แน่นอนคะว่าการขอร้อง เด็กให้ทำเรื่องเล็กๆน้อยๆ เช่น "น้องออมคะช่วยแม่หยิบเกลือให้แม่หน่อยคะ" คำพูดของร้องดีๆเหล่านี้เป็นสิ่งที่คุณควรใช้กับเด็ก ซึ่งย่อมดีกว่าการสั่งเด็กว่า "ส่งขวดเกลือมา" การที่เราพูดขอร้องเด็กนั้น เพื่อเป็นต้นแบบ ให้เขาเห็นถึงวิธีการพูดที่เป็นที่ยอมรับของสังคม เมื่อต้องการขอให้คนอื่นช่วยอะไรเราเล็กๆน้อยๆ
การขอร้องเช่นนี้จะมีประโยชน์ที่สุด เมื่ออยู่ในช่วงเวลาที่ไม่ตึเครียด แต่ในยามที่เราอารมภ์เสีย การขอร้องเด็กอย่างอ่อนโยน อาจจะทำให้เกิด ปัญหาตามมาได้ ลองอ่านบทสนทนานี้ดูนะคะ
แม่สายป่าน : (พยายามพูดดี) ขอร้องละลูก อย่าปีนเก้าอี้
น้องออมใจ : ( ยังคงจะปีนต่อไป)
แม่สายป่าน: (เสียงดังขึ้น) อย่าทำอย่างนั้นนะลูก
น้องออมใจ: (ยังปีนอยู่)
แม่สายป่าน: (ตีน้องออมใจ) " แม่ขอร้องดีๆแล้วใช่ไหม'
เกิดอะไรขึ้นกับเหตุการณ์นี้ คือจากพูดจาสุภาพอ่อนโยน กลายเป็นใช้ความรุนแรงจากหน้ามือเป็นหลังมือ นั่นเป็นเพราะ เราพยายามอดกลั้นความรู้สึก แล้วถูกเมินเฉย โทสะจะบันดาลขึ้นอย่างรวดเร็ว เรามีแนวโน้มที่จะคิดว่า "กล้าดียังไงถึงไม่ฟังแม่ ฉันพยายามพูดดีๆแล้วนะ ดีละ จะแสดงให้ดู ... เพียะ"
เมือ่ใดก็ตามที่เราอยากจะให้อะไรเกิดขึ้นอย่างทันทีทันควัน การพูดอย่างจริงจังจะใช้ได้ดีกว่าการขอร้อง คำพูดดังๆที่กล่าวอย่างหนักแน่นว่า "เก้าอี้ไม่ได้มีไว้สำหรับปีนเล่นนะ" อาจจะทำให้ลูกหยุดปีนได้ แต่หากลูกยังปีนอีก ก็ควรจะอุ้มลูกออกจากเก้าอี้ พร้อมพูดอยากหนักแน่นว่า เก้าอี้ไม่ได้ไว้ให้ปีนเล่น เอาไว้สำหรับนั่ง
วันนี้แม่สายป่านขอฝากไว้เพียงเท่านี้นะคะ
ติดตามบทความทั้งหมดได้ที่
www.aomjaitoy.com
www.facebook.com/aomjaitoyfanpage
ช่วงนี้แม่สายป่านงานยุ่งมากเลยคะ จะพยายามอัพเดทบ่อยๆนะคะ
วันนี้แม่สายป่านมีวิธีพูดอย่างไรจึงจะทำให้เด็กเชื่อฟัง และให้ความร่วมมือ ตอนที่ 1
คุณพ่อคุณแม่มักจะถามบ่อยๆนะคะว่า
1. น้ำเสียงและวิธีการ สำคัญพอๆกับ เนื้อหา ที่เราพูดกับเด็กหรือไม่
แน่นอนคะ ทัศนคติของพ่อแม่นั้น สำคัญพอๆกับคำพูดที่ออกจากปาก ทัศนคติที่จะได้รับความร่วมมือจากเด็ก คือคำพูดที่สื่อถึงพวกเขาว่า " ลูกเป็นที่รัก และเป็นคนที่มีความสามารถ แต่ตอนนี้ เรากำลังมีปัญหาที่ต้องการให้ลูกใส่ใจ และเมื่อลูกรู้ถึงปัญหาแล้ว ลูกอาจจะตอบสนองได้อย่างมีความรับผิดชอบ"
ในทางตรงกันข้าม ทัศนคติที่จะทำให้พ่อแม่พ่ายแพ้ต่อเด็ก คือคำพูดที่สื่อถึงเด็กว่า "ลูกน่ารำคาญ และไม่ได้เรื่อง ลูกมักจะทำอะไรผิดอยู่ตลอดเวลา และเหตุการณ์ล่าสุดที่เกิดขึ้นนี้ ก็เป็นหลักฐานอีกประการหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่าลูกใช้ไม่ได้"
2. ถ้าสิ่งที่สำคัญที่สุดคือทัศนคติของพ่อแม่ แล้วทำไมถึงต้องคำนึงด้วยว่าเราจะต้องใช้คำพูดกับเด็กอย่างไร?
สายตาที่แสดงถึงความรู้สึกเหยียดหยาม หรือน้ำเสียงที่แสดงอาการดูถูของพ่อแม่ ทำให้เด็กรู้สึกเจ็บปวดได้อย่างมาก แต่ในขณะเดียวกัน ถ้าเด็กได้ยินคนพูดว่าเขาว่า "โง่" "ชุ่ย" "ไม่รับผิดชอบ" เด็กก็จะรู้สึกเจ็บปวดสองเท่า
คำพูดที่บาดใจมักจะตราอยู่ในใจได้นาน และเป็นพิษร้ายต่อเด็กอย่างมาก สิ่งที่เลวร้านที่สุดคือ บางครั้งเขาอาจจะนำคำพูดเดียวกันนี้ มาใช้เป็นอาวุธทำร้ายยเราในวันข้างหน้า
3. มันจะผิดไหมที่จะพูด "ขอร้อง" เด็ก ให้เขาทำในสิ่งที่เราต้องการ?
แน่นอนคะว่าการขอร้อง เด็กให้ทำเรื่องเล็กๆน้อยๆ เช่น "น้องออมคะช่วยแม่หยิบเกลือให้แม่หน่อยคะ" คำพูดของร้องดีๆเหล่านี้เป็นสิ่งที่คุณควรใช้กับเด็ก ซึ่งย่อมดีกว่าการสั่งเด็กว่า "ส่งขวดเกลือมา" การที่เราพูดขอร้องเด็กนั้น เพื่อเป็นต้นแบบ ให้เขาเห็นถึงวิธีการพูดที่เป็นที่ยอมรับของสังคม เมื่อต้องการขอให้คนอื่นช่วยอะไรเราเล็กๆน้อยๆ
การขอร้องเช่นนี้จะมีประโยชน์ที่สุด เมื่ออยู่ในช่วงเวลาที่ไม่ตึเครียด แต่ในยามที่เราอารมภ์เสีย การขอร้องเด็กอย่างอ่อนโยน อาจจะทำให้เกิด ปัญหาตามมาได้ ลองอ่านบทสนทนานี้ดูนะคะ
แม่สายป่าน : (พยายามพูดดี) ขอร้องละลูก อย่าปีนเก้าอี้
น้องออมใจ : ( ยังคงจะปีนต่อไป)
แม่สายป่าน: (เสียงดังขึ้น) อย่าทำอย่างนั้นนะลูก
น้องออมใจ: (ยังปีนอยู่)
แม่สายป่าน: (ตีน้องออมใจ) " แม่ขอร้องดีๆแล้วใช่ไหม'
เกิดอะไรขึ้นกับเหตุการณ์นี้ คือจากพูดจาสุภาพอ่อนโยน กลายเป็นใช้ความรุนแรงจากหน้ามือเป็นหลังมือ นั่นเป็นเพราะ เราพยายามอดกลั้นความรู้สึก แล้วถูกเมินเฉย โทสะจะบันดาลขึ้นอย่างรวดเร็ว เรามีแนวโน้มที่จะคิดว่า "กล้าดียังไงถึงไม่ฟังแม่ ฉันพยายามพูดดีๆแล้วนะ ดีละ จะแสดงให้ดู ... เพียะ"
เมือ่ใดก็ตามที่เราอยากจะให้อะไรเกิดขึ้นอย่างทันทีทันควัน การพูดอย่างจริงจังจะใช้ได้ดีกว่าการขอร้อง คำพูดดังๆที่กล่าวอย่างหนักแน่นว่า "เก้าอี้ไม่ได้มีไว้สำหรับปีนเล่นนะ" อาจจะทำให้ลูกหยุดปีนได้ แต่หากลูกยังปีนอีก ก็ควรจะอุ้มลูกออกจากเก้าอี้ พร้อมพูดอยากหนักแน่นว่า เก้าอี้ไม่ได้ไว้ให้ปีนเล่น เอาไว้สำหรับนั่ง
วันนี้แม่สายป่านขอฝากไว้เพียงเท่านี้นะคะ
ติดตามบทความทั้งหมดได้ที่
www.aomjaitoy.com
www.facebook.com/aomjaitoyfanpage
ช่วงนี้แม่สายป่านงานยุ่งมากเลยคะ จะพยายามอัพเดทบ่อยๆนะคะ