วิธีทำอย่างไรให้ลูกเชื่อฟัง ( ตอนที่ 1 ) by แม่สายป่าน

กระทู้สนทนา


วิธีทำอย่างไรให้ลูกเชื่อฟัง ( ตอนที่ 1 )

วิธีการพูดระหว่างพ่อแม่และลูกเป็นสิ่งที่สำคัญ ซึ่งส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้ และการรับฟังของลูก ตอนนี้แม่สายป่านแยกออกมาเป็น 3 ประเภทที่พ่อแม่สื่อสารกับลูก

1.    Aggressive way – พ่อแม่ประเภทนี้จะตะโกนหรือตะคอกลูกบ่อยๆ และใช้คำพูดไม่ดีกับลูก ซึ่งส่งผลให้ลูกโต้ตอบได้หลายแบบเช่น ซนมากขึ้นกว่าเดิม, ตะคอกกลับใส่พ่อแม่ หรือ ไม่สนใจคำสั่งของพ่อแม่
2.    Passive form – พ่อแม่ประเภทนี้มักไม่ใช้คำพูดที่รุนแรง น้ำเสียงนุ่มนวล กับลูก ซึ่งเมื่อถึงลิมิตที่ทนไม่ได้จะสื่อสารกับลูกเป็นแบบแรกคือ Aggressive tone
3.    Assertive way – ซึ่งเป็นแบบที่ได้ผลที่สุดเมื่อใช้ในการสื่อสารกับลูก โดยพูดจากับลูกด้วยน้ำเสียงที่อบอุ่น แต่มีความมั่นใน และใช้คำพูดที่คิดบวก หรือที่เราเรียกกันว่า positive.

มาดู Tips and Trick กันนะคะ เพื่อช่วยพัฒนาการสื่อสารกับลูกน้อย
1.    พยายามใช้ชื่อลูกน้อยอยู่เสมอ – ซึ่งช่วยให้เรียกความสนใจจากลูกน้อยก่อนที่เราจะพูดในประโยคต่อไป อาทิเช่น น้องออมคะ ช่วยแม่ปิดประตูหน่อยจ๊ะ เด็กเล็กมักจะมีความสนอกสนใจต่อสิ่งเดียวเท่านั้น ดังนั้นเมื่อคุณเรียกลูกพยายามให้ลูกหันมาหรือสนใจคุณก่อน ก่อนที่คุณจะสื่อสารในประโยคต่อไป อาทิเช่น น้องออมคะ (รอจนกว่าน้องออมหยุดเล่นลูกบอลแล้วหันมาหาคุณก่อน) แล้วค่อยพูดต่อว่า “มื้อเที่ยงกำลังจะเสร็จภายในอีก 10 นาทีแล้วนะจ๊ะ.
2.    ใช้คำพูดที่เป็นบวก (Positive Language) – พยายามอย่าใข้คำพูดว่า “ไม่” หรือ “ห้าม” หากคุณสังเกตุดีๆ ทุกครั้งของการพูดคำว่า ไม่ หรือ ห้าม อาทิเช่น น้องออมคะห้ามปีนเก้าอี้นะคะ หรือ น้องออมคะห้ามนอนบนพื้นหน้าบ้านนนะคะ ลูกก็จะรีบทำทันทีที่คุณหยุดพูดประโยคนั้น พยายามให้พูดกับลูกว่า “น้องออมคะ เราสามารถนอนบนพื้นในบ้านได้เท่านั้นนะลูก” หรือ “ปีนเก้าอี้ มันอันตรายนะลูก” แม่สายป่านรู้ว่าสิ่งที่กล่าวมาด้านต้น ถึงแม้ว่าจะยากในช่วงแรก แต่ต้องฝึกฝนพูดบ่อยๆคะ เพราะว่ามันคุ้มค่ากับความอดทน และและพยายามจริงๆคะเพราะการที่เราใช้คำพูดที่ทำให้ลูกรู้สึกแย่แล้ว อาทิเช่น ทำไมลูกดื้ออย่างนี้คะ เป็นเด็กไม่ดีเลย จะเป็นการสร้างภาพให้ลูก และรวมถึงทำให้ลูกไม่มีความมั่นใจในตัวเองอีกด้วยคะ การที่เราชื่นชมลูกบ่อยๆ จะให้ลูกมีความกล้าที่จะทำ รวมถึงทำให้ลูกมีพฤติกรรมที่ดีขึ้นต่อพ่อแม่ เดี๋ยวแม่สายป่านขอยกตัวอย่างให้ฟังคะ “แม่ชอบเวลาลูกเล่นแล้วเก็บของเล่นจังเลยคะ”
3.    สื่อสารกับลูกด้วยสายตา หรือ เรียกว่า “Eye Contact” – ทุกครั้งที่สื่อสารคุณพ่อคุณแม่พยายามก้มหรือย่อให้อยู่ระดับเดียวกับลูก หรือนั่งบนโต๊ะกับเด็กๆ เวลาพูดคุยกับลูกๆ รวมถึงก่อนที่จะสื่อสารประโยคใดๆให้เรียกชื่อลูกก่อน
4.    ใช้น้ำเสียงให้ถูกต้อง ถูกเวลาอย่างเหมาะสม – พยายามอย่าพูดคุยกับลูกโดยการตะโกน หรือตะเบงเสียงดังๆ เนื่องจากหากคุณใช้เสียงดังกับการสื่อสารกับลูกตลอดเวลา จะทำให้ลูกเข้าใจว่าเป็นเรื่องธรรมดา และจะไม่ฟังหรือไม่ปฏิบัติตาม พยายามแยกแยะเสียงให้ลูกได้เข้าใจ เสียงแบบนี้ แปลว่าไม่ได้ หากคุณพูดกับลูกเสียงโทนเดียวกันหมด เด็กจะไม่เข้าใจว่าคุณสื่อสารอะไร หรือว่าคุณดุเค้ากันแน่
5.    ยื่นขอเสนอให้ลูกเลือก เมื่อต้องการให้ลูกทำตามสิ่งที่คุณต้องการ – เมื่อคุณต้องการให้ลูกร่วมมือกับคุณ มันจะง่ายชึ้นหากลูกเข้าใจว่าทำไมลูกถึงต้องทำ แล้วที่ต้องทำเพราะจะได้ผลประโยชน์อะไร ลูกต้องการที่จะเห็นความสำคัญของทิศทางที่คุณอยากให้ลูกทำ ยกตัวอย่างนะคะ
“เมื่อลูกแต่งตัวเสร็จแล้ว ลูกจะได้ออกไปเที่ยวข้างนอกกับแม่” “หลังจากลูกทำการบ้านเสร็จแล้ว หนูจะได้ดูทีวี” “หนูอยากใส่เสื้อสีแดงหรือสีเหลืองดีคะ” อย่าพยายามใข้คำว่า “ถ้า” แต่ให้ใช้คำว่า “เมื่อ” แทน

ติดตามบทความทั้งหมดได้ที่ www.aomjaitoy.com หรือ www.facebook.com/aomjaitoyfanpage
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่