ถนนเลี่ยงเมือง ฝันเป็นจริง หรือฝันค้างของคนหาดใหญ่
จากสภาพการจราจรในเมืองหาดใหญ่ ลามไปถึงเขตเทศบาลเมืองคอหงส์ ปัจจุบันเป็นปัญหาที่สร้างความหนักใจเป็นอย่างมาก ถึงขนาดครั้งนึง นายกเทศมนตรี นายไพร พัฒโน ถึงกับประกาศนโยบายรถรางโมโนเรล ให้รู้แล้วรู้รอดไป ซึ่งทางทีมงานที่ดินหาดใหญ่ ก็เอาใจช่วยให้เกิดนะครับ แต่ก็ไม่รู้ว่า ทางท่านนายกไพร จะคลอดรถรางโมโนเรลก่อน หรือ จะจอดเพราะใบแดง กกต. ก่อนหรือเปล่าก็ไม่รู้ ก็ต้องดูกันต่อไป เอาใจช่วยครับ
เพราะการที่ความเจริญเติบโตของเมืองถูกบีบให้มีความจำกัดในเฉพาะส่วนพื้นที่ชั้นในเท่านั้น เนื่องจากฝั่งตะวันออกของเมืองหาดใหญ่ ตั้งแต่แยกประตู 108 ไล่ไปจนถึง ศูนย์วิจัยการยาง ถัดไปเป็นค่ายคอหงส์ เรื่อยไปจนถึงสวนสาธารณะ โซนดังกล่าว หรือด้านขวาของถนนกาญจนวนิช เส้นหาดใหญ่ – สงขลา สายเก่า พื้นที่ที่กล่าวมาไม่สามารถที่จะพัฒนาในเชิงพาณิชย์ให้เกิดเป็นเมืองใหม่ได้อย่างแน่นอน ซึ่งพื้นที่ส่วนนี้กินบริเวณค่อนข้างกว้าง ถึงกว้างมากๆ ของใจกลางอำเภอหาดใหญ่ เปรียบเสมือนเป็นป้อมปราการ บีบให้ความเจริญทางธุรกิจไหลไปในทางเดียวกัน คือ ฝั่งเทศบาลนครหาดใหญ่ ถึงแม้ว่าช่วงหลังมาภาครัฐจะพยายามบายพาสรถที่มีปริมาณมาก เข้าสู่ถนนสายตัดใหม่ (ซอยนวลแก้ว) แล้วนั้น
แต่นั่น เป็นการตอกย้ำให้ถนนทุกสายป้อนความเจริญมุ่งเข้าสู่ตัวเมืองเทศบาลนครหาดใหญ่เข้าไปอีก มันทำให้สภาพปัจจุบันของเทศบาลนครหาดใหญ่มีความแออัดเป็นอย่างมาก อาคารเริ่มบีบขึ้นแนวดิ่ง (ถ้าไม่เกี่ยวกับสุญญากาศของผังเมืองฉบับใหม่) ลองคิดดูครับ หากอาคารขึ้นแนวดิ่งมากเท่าไหร่ ปริมาณการจราจรก็ยิ่งมากขึ้นหลายเท่าตัว คิดดูสิครับ พื้นที่แค่ 2 ไร่ สร้างคอนโดฯ เป็นสิบๆชั้น มีประชากรอาศัยอยู่หลายร้อยคน แล้วรถที่มีจะกี่คัน ถนนจะพอไม๊ บทเรียนจาก กทม. ที่รถมีมากกว่าถนนเป็นการตอกย้ำเรื่องการจราจรอย่างชัดเจนที่สุด
ท่านผู้อ่านลองคิดดูเล่นๆนะครับว่าหากคอนโดฯที่สร้างกันอยู่ 19 โครงการ บวกกับ อีก 4-5 โครงการที่จะตามมา หากแล้วเสร็จปริมาณรถยนต์จะเพิ่มขึ้นอีกเท่าไหร่ แค่คิดถึงสภาพการจราจรที่ติดขัดก็ปวดกะบาลแล้วครับพี่น้อง หันมามองทางถนนศรีภูวนารถ ไปจนถึงอุโมงค์ลอดรางรถไฟ เรื่อยไปถึงแยกท่าเคียน ที่ในปี 55 พี่น้องชาวหาดใหญ่ดีใจจนเนื้อเต้น เพราะมีการอนุมัติเร่งรัดให้มีการเวนคืน และจ่ายเงินกันเป็นอันแล้วเสร็จ ออกอาการว่าจะสร้างถนนตัดผ่านเพื่อระบายรถออกไปทางถนนแยกสนามบิน เลยมีคนแห่กันไปซื้อที่บริเวณดังกล่าวโดยไม่ทราบข้อเท็จจริงแม้แต่น้อยว่า ปัจจุบัน ถนนท่าเคียน ถึงแยกสนามบินว่าเป็นอย่างไร ขอบอกได้คำเดียวครับว่า เรียบร้อยครับ เวนคืนเรียบร้อย ทุบบ้านเรียบร้อย แม้แต่สำนักสงฆ์ (ธรรมสากล) ก็ทุบกุฏิ ย้ายอาคารหลบเรียบร้อย ผลปรากฏว่าเรียบทั้งร้อยจริงๆครับ สำหรับคนที่ซื้อไว้ ถามว่างบประมาณที่จะสร้างถนนดังกล่าวมีจริงไม๊ มีจริงครับ แต่ ! มีนักการเมืองหวังดีช่วยโยกงบฯไปใช้ที่อื่นก่อน เท่านั้นเองครับ พวกเราพี่น้องชาวหาดใหญ่แห้วอีกตามเคย ส่วนจะเป็นนักการเมืองคนไหน อยากรู้หลังไมค์นะครับ บอกใบ้นิดเดียวว่า นักการเมืองบ้านเราเองแหละครับไม่ใช่คนไกล
เพราะฉะนั้น หลายคนที่ฝันจะเห็นถนนจากแยกท่าเคียน – แยกสนามบินใน ภายในปี 56 – 57 นี้ บอกได้คำเดียวว่าเจ๊งบ๊งจริงๆครับ สอดคล้องกับก่อนหน้านี้มีหมู่บ้านที่จะเกิดขึ้นบนสายสนามบินมากมายหลายโครงการ ตอนนี้ก็ต่างชะลอตัวกันหมด เพราะต่างทราบดีว่า ในโลกนี้ “ความแน่นอน คือ ความไม่แน่นอน “ จริง ๆ
เมื่อพิจารณาภาพรวมแล้วความแออัดของเทศบาลนครหาดใหญ่ น่าจะถึงจุดที่ต้องขยายเมืองแล้วจริงๆเสียที ดังนั้น โครงการถนนเลี่ยงเมืองสายตะวันออก ที่มีแผนกันมานานแล้ว เริ่มกลับมาพูดถึง และมีการทบทวนกันยกใหญ่ บวกกับจังหวะและโอกาส ที่ AEC จะเข้ามา และถนนมอเตอร์เวย์สายหาดใหญ่ – สะเดา มีแนวโน้มที่จะเกิดค่อนข้างสูง ซึ่งถนนเลี่ยงเมืองสายตะวันออกจะเชื่อมโยง กับ ถนนมอเตอร์เวย์สายหาดใหญ่ – สะเดา ที่จะเกิดขึ้น เพื่อบายพาสรถเข้าสู่ถนนลพบุรีราเมศวร์ได้
ดังนั้น หากสังเกตช่วงนี้จะมีหลายภาคส่วนเริ่มกลับมาให้ความสนใจเรื่องดังกล่าวอย่างจริงๆจังๆอีกครั้งหนึ่ง โดยสังเกตได้จากปัจจุบันกลุ่มทุนเริ่มมีการกว้านซื้อที่ดินในแนวถนนเลี่ยงเมืองสายตะวันออก ตั้งแต่ ต้นปี 55 แล้ว ซึ่งตอนนี้ราคาที่ดินที่คาดว่าอยู่ในแนวเวนคืน น่าจะแทบไม่เหลือในมือเจ้าของเดิมอีกเลย หากเหลือก็น้อยมากแทบนับแปลงได้
ทางทีมงานที่ดินหาดใหญ่ ซึ่งได้เกาะติดโครงการดังกล่าวมาอย่างต่อเนื่อง มีแหล่งข่าวภายในของแขวงการทางจังหวัดสงขลา ได้ยืนยันกับทางทีมงานที่ดินหาดใหญ่ว่า โครงการดังกล่าวมีจริง ศึกษาและบรรจุในแผนแม่บทจริง แต่จะทำหรือไม่นั้น ไม่แน่ใจ เพราะปัจจุบันก็ยังไม่ได้ออกไปสำรวจอย่างเป็นเรื่องเป็นราวเลย และที่สำคัญถ้าเริ่มก่อสร้างเมื่อ 5 – 6 ปีที่แล้ว จะใช้งบประมาณไม่น่าจะเกิน 500 ล้านบาท แต่ในปัจจุบันถ้าเอากันจริงๆ เงินลงทุนหลัก 1,000 ล้านบาท อาจจะได้เห็น แต่สิ่งหนึ่งที่ยังเป็นปัจจัยหลัก คือ กลุ่มทุนผู้ถือผลประโยชน์ตัวจริง กว้านซื้อที่ดินเสร็จหรือยัง
อ่านต่อที่
http://www.teedinhatyai.com/show_news.php?news_id=10
ถนนเลี่ยงเมือง ฝันเป็นจริง หรือฝันค้างของคนหาดใหญ่
ถนนเลี่ยงเมือง ฝันเป็นจริง หรือฝันค้างของคนหาดใหญ่
จากสภาพการจราจรในเมืองหาดใหญ่ ลามไปถึงเขตเทศบาลเมืองคอหงส์ ปัจจุบันเป็นปัญหาที่สร้างความหนักใจเป็นอย่างมาก ถึงขนาดครั้งนึง นายกเทศมนตรี นายไพร พัฒโน ถึงกับประกาศนโยบายรถรางโมโนเรล ให้รู้แล้วรู้รอดไป ซึ่งทางทีมงานที่ดินหาดใหญ่ ก็เอาใจช่วยให้เกิดนะครับ แต่ก็ไม่รู้ว่า ทางท่านนายกไพร จะคลอดรถรางโมโนเรลก่อน หรือ จะจอดเพราะใบแดง กกต. ก่อนหรือเปล่าก็ไม่รู้ ก็ต้องดูกันต่อไป เอาใจช่วยครับ
เพราะการที่ความเจริญเติบโตของเมืองถูกบีบให้มีความจำกัดในเฉพาะส่วนพื้นที่ชั้นในเท่านั้น เนื่องจากฝั่งตะวันออกของเมืองหาดใหญ่ ตั้งแต่แยกประตู 108 ไล่ไปจนถึง ศูนย์วิจัยการยาง ถัดไปเป็นค่ายคอหงส์ เรื่อยไปจนถึงสวนสาธารณะ โซนดังกล่าว หรือด้านขวาของถนนกาญจนวนิช เส้นหาดใหญ่ – สงขลา สายเก่า พื้นที่ที่กล่าวมาไม่สามารถที่จะพัฒนาในเชิงพาณิชย์ให้เกิดเป็นเมืองใหม่ได้อย่างแน่นอน ซึ่งพื้นที่ส่วนนี้กินบริเวณค่อนข้างกว้าง ถึงกว้างมากๆ ของใจกลางอำเภอหาดใหญ่ เปรียบเสมือนเป็นป้อมปราการ บีบให้ความเจริญทางธุรกิจไหลไปในทางเดียวกัน คือ ฝั่งเทศบาลนครหาดใหญ่ ถึงแม้ว่าช่วงหลังมาภาครัฐจะพยายามบายพาสรถที่มีปริมาณมาก เข้าสู่ถนนสายตัดใหม่ (ซอยนวลแก้ว) แล้วนั้น
แต่นั่น เป็นการตอกย้ำให้ถนนทุกสายป้อนความเจริญมุ่งเข้าสู่ตัวเมืองเทศบาลนครหาดใหญ่เข้าไปอีก มันทำให้สภาพปัจจุบันของเทศบาลนครหาดใหญ่มีความแออัดเป็นอย่างมาก อาคารเริ่มบีบขึ้นแนวดิ่ง (ถ้าไม่เกี่ยวกับสุญญากาศของผังเมืองฉบับใหม่) ลองคิดดูครับ หากอาคารขึ้นแนวดิ่งมากเท่าไหร่ ปริมาณการจราจรก็ยิ่งมากขึ้นหลายเท่าตัว คิดดูสิครับ พื้นที่แค่ 2 ไร่ สร้างคอนโดฯ เป็นสิบๆชั้น มีประชากรอาศัยอยู่หลายร้อยคน แล้วรถที่มีจะกี่คัน ถนนจะพอไม๊ บทเรียนจาก กทม. ที่รถมีมากกว่าถนนเป็นการตอกย้ำเรื่องการจราจรอย่างชัดเจนที่สุด
ท่านผู้อ่านลองคิดดูเล่นๆนะครับว่าหากคอนโดฯที่สร้างกันอยู่ 19 โครงการ บวกกับ อีก 4-5 โครงการที่จะตามมา หากแล้วเสร็จปริมาณรถยนต์จะเพิ่มขึ้นอีกเท่าไหร่ แค่คิดถึงสภาพการจราจรที่ติดขัดก็ปวดกะบาลแล้วครับพี่น้อง หันมามองทางถนนศรีภูวนารถ ไปจนถึงอุโมงค์ลอดรางรถไฟ เรื่อยไปถึงแยกท่าเคียน ที่ในปี 55 พี่น้องชาวหาดใหญ่ดีใจจนเนื้อเต้น เพราะมีการอนุมัติเร่งรัดให้มีการเวนคืน และจ่ายเงินกันเป็นอันแล้วเสร็จ ออกอาการว่าจะสร้างถนนตัดผ่านเพื่อระบายรถออกไปทางถนนแยกสนามบิน เลยมีคนแห่กันไปซื้อที่บริเวณดังกล่าวโดยไม่ทราบข้อเท็จจริงแม้แต่น้อยว่า ปัจจุบัน ถนนท่าเคียน ถึงแยกสนามบินว่าเป็นอย่างไร ขอบอกได้คำเดียวครับว่า เรียบร้อยครับ เวนคืนเรียบร้อย ทุบบ้านเรียบร้อย แม้แต่สำนักสงฆ์ (ธรรมสากล) ก็ทุบกุฏิ ย้ายอาคารหลบเรียบร้อย ผลปรากฏว่าเรียบทั้งร้อยจริงๆครับ สำหรับคนที่ซื้อไว้ ถามว่างบประมาณที่จะสร้างถนนดังกล่าวมีจริงไม๊ มีจริงครับ แต่ ! มีนักการเมืองหวังดีช่วยโยกงบฯไปใช้ที่อื่นก่อน เท่านั้นเองครับ พวกเราพี่น้องชาวหาดใหญ่แห้วอีกตามเคย ส่วนจะเป็นนักการเมืองคนไหน อยากรู้หลังไมค์นะครับ บอกใบ้นิดเดียวว่า นักการเมืองบ้านเราเองแหละครับไม่ใช่คนไกล
เพราะฉะนั้น หลายคนที่ฝันจะเห็นถนนจากแยกท่าเคียน – แยกสนามบินใน ภายในปี 56 – 57 นี้ บอกได้คำเดียวว่าเจ๊งบ๊งจริงๆครับ สอดคล้องกับก่อนหน้านี้มีหมู่บ้านที่จะเกิดขึ้นบนสายสนามบินมากมายหลายโครงการ ตอนนี้ก็ต่างชะลอตัวกันหมด เพราะต่างทราบดีว่า ในโลกนี้ “ความแน่นอน คือ ความไม่แน่นอน “ จริง ๆ
เมื่อพิจารณาภาพรวมแล้วความแออัดของเทศบาลนครหาดใหญ่ น่าจะถึงจุดที่ต้องขยายเมืองแล้วจริงๆเสียที ดังนั้น โครงการถนนเลี่ยงเมืองสายตะวันออก ที่มีแผนกันมานานแล้ว เริ่มกลับมาพูดถึง และมีการทบทวนกันยกใหญ่ บวกกับจังหวะและโอกาส ที่ AEC จะเข้ามา และถนนมอเตอร์เวย์สายหาดใหญ่ – สะเดา มีแนวโน้มที่จะเกิดค่อนข้างสูง ซึ่งถนนเลี่ยงเมืองสายตะวันออกจะเชื่อมโยง กับ ถนนมอเตอร์เวย์สายหาดใหญ่ – สะเดา ที่จะเกิดขึ้น เพื่อบายพาสรถเข้าสู่ถนนลพบุรีราเมศวร์ได้
ดังนั้น หากสังเกตช่วงนี้จะมีหลายภาคส่วนเริ่มกลับมาให้ความสนใจเรื่องดังกล่าวอย่างจริงๆจังๆอีกครั้งหนึ่ง โดยสังเกตได้จากปัจจุบันกลุ่มทุนเริ่มมีการกว้านซื้อที่ดินในแนวถนนเลี่ยงเมืองสายตะวันออก ตั้งแต่ ต้นปี 55 แล้ว ซึ่งตอนนี้ราคาที่ดินที่คาดว่าอยู่ในแนวเวนคืน น่าจะแทบไม่เหลือในมือเจ้าของเดิมอีกเลย หากเหลือก็น้อยมากแทบนับแปลงได้
ทางทีมงานที่ดินหาดใหญ่ ซึ่งได้เกาะติดโครงการดังกล่าวมาอย่างต่อเนื่อง มีแหล่งข่าวภายในของแขวงการทางจังหวัดสงขลา ได้ยืนยันกับทางทีมงานที่ดินหาดใหญ่ว่า โครงการดังกล่าวมีจริง ศึกษาและบรรจุในแผนแม่บทจริง แต่จะทำหรือไม่นั้น ไม่แน่ใจ เพราะปัจจุบันก็ยังไม่ได้ออกไปสำรวจอย่างเป็นเรื่องเป็นราวเลย และที่สำคัญถ้าเริ่มก่อสร้างเมื่อ 5 – 6 ปีที่แล้ว จะใช้งบประมาณไม่น่าจะเกิน 500 ล้านบาท แต่ในปัจจุบันถ้าเอากันจริงๆ เงินลงทุนหลัก 1,000 ล้านบาท อาจจะได้เห็น แต่สิ่งหนึ่งที่ยังเป็นปัจจัยหลัก คือ กลุ่มทุนผู้ถือผลประโยชน์ตัวจริง กว้านซื้อที่ดินเสร็จหรือยัง
อ่านต่อที่
http://www.teedinhatyai.com/show_news.php?news_id=10